ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองนครสวรรค์และผ้าเมืองพิจิตร

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้าเมืองนครสวรรค์และผ้าเมืองพิจิตร

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครสวรรค์

    “เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบรเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”
จังหวัดนครสวรรค์ ประตูสู่ภาคเหนือ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไทยในเขตภาคเหนือ ตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน  เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศ ไทย ทำให้เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์รวมของเส้นทางการคมนาคมทางน้ำของรัฐในอดีตและ ยังเป็นศูนย์รวมเส้นทางคมนาคมทางบกในปัจจุบัน และจากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าจังหวัดนครสวรรค์   เป็นดินแดนที่มีความเจริญมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เช่น เป็น เมืองหน้าด่านสมัยสุโขทัย เป็นชุมทางสินค้าสมัยอยุธยา เป็นเมืองที่คอยส่งกำลังบำรุงในสมัยกรุงธนบุรีและเป็นชุุมทางการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ 9,597.7ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ  ทิศเหนือติดจัง หวัดกำแพงเพชรและพิจิตร ทิศตะวันออกติดจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ทิศใต้ติดจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ส่วนทิศตะวันตกติดกับจังหวัดตาก แบ่งการปกครองออกเป็น12 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอนครสวรรค์ อำเภอลาดยาว อำเภอตาคลี อำเภอชุมแสง อำเภอบรรพตพิสัย  อำเภอท่าตะโก  อำเภอพยุหะคีรี  อำเภอไพศาล  อำเภอหนองบัว อำเภอตากฟ้า อำเภอโกรก พระ อำเภอเก้าเลี้ยว และกิ่งอำเภอแม่วงก์ กิ่งอำเภอแม่เปิน

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดพิจิตร

“เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพชรรวมใจ บึงสีไฟลือ เลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน”

พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย ชื่อเมืองมีความหมายว่า“เมืองงาม” มีที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุ โลก ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ กล่าวกันว่าเมือง พิจิตรเดิมมีชื่อเรียกว่า“เมืองสระหลวง”นอกจาก นี้  เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตน โกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยัง มีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่น ๆ  เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่  5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่  ทั้งนี้เพราะแม่น้ำน่าน ตื้นเขิน  คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง  ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของนิทาน เรื่อง ไกรทอง  อันลือลั่นอีกด้วย

จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดกับจังหวัดพิษณุโลก ทิศใต้ติดกับจังหวัด นครสวรรค์ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดกำแพงเพชรและ นครสวรรค์ จังหวัดพิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอและ 3 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอดงเจริญและกิ่งอำเภอบึงนาราง

 ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B16/b16.html


การทอผ้าของจังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์มีคนหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาอยู่    โดย เฉพาะชาวจีน ซึ่งจะเห็นได้จากประเพณีการแห่มังกรซึ่งมีจนถึง  ปัจจุบัน นอกจากชาวจีนแล้ว ยังมีมอญ ลาวเวียง ลาวพวน ลาวครั่ง และลาวโซ่ง จากหลักฐานทางโบราณคดีมีการพบแวดินเผา ทำให้ทราบว่าชุมชนแถบนี้ได้เคยมีการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีตอน ต้น ลักษณะการทอผ้าของชุมชนแถบนี้ที่พบมีลักษณะเป็นการทอ แบบมัดหมี่ ในอดีตมีการทอมัดหมี่เป็นตัวซิ่นส่วนตีนซิ่น  เป็นจกของของลาวครั่งที่อาศัยอยู่ แต่ปัจจุบันผู้เฒ่าผู้แก่นิยมใส่เฉพาะใน ช่วงที่มีงานเทศกาลประจำปี ปัจจุบันผ้าทอพื้นบ้านเป็นผ้าทอลาย มัดหมี่ ทอด้วยกี่กระตุก วัสดุที่ใช้ทอมีทั้งไหม ฝ้ายและด้ายสำเร็จรูปลวดลายของผ้าส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดมาจากท้องถิ่น อื่น  ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ขอนแก่นเป็นต้น ลวดลายที่พบ เช่น ลายไทย ลายดอกทานตะวัน ลายนาคสน ลายยอดฉัตร ลายดอกแก้ว ผ้าฝ้ายลายสนในวัง เป็นต้น

แหล่งทอผ้าของจังหวัดนครสวรรค์

  • อำเภอตากฟ้า         บ้านหนองสะแก บ้านหนองระกำ บ้านพุนิมิต บ้านพนาค บ้านธารสัมฤทธิ์
  • อำเภอตาคลี           บ้านลาดทิพยรส ตำบลลาดทิพยรส บ้านจันเสน
  • อำเภอท่าตะโก        บ้านพนมลอก ตำบลพนมลอก


การทอผ้าของจังหวัดพิจิตร
กลุ่มชนที่อาศัยในจังหวัดพิจิตร นั้นมีการอพยพโยกย้ายเข้ามาอยู่กันมานาน มีทั้งชาวไทยภาคกลาง ลาวโซ่ง ลาวยวน ลาวพวน   ลาวครั่ง และชาวอิสาน ดังนั้นการทอผ้าของจังหวัดพิจิตร เป็นการ ทอแบบมัดหมี่ โดยใช้วัสดุทั้งไหม ฝ้าย และด้ายสำเร็จรูป จากการอพยพเข้ามาอยู่ของคนหลายกลุ่ม ทำให้ลวดลายที่ปรากฏมีทั้งของท้องถิ่น และเป็นลวดลายที่นำเอามาจากท้องถิ่นอื่น ลวดลายที่พบ ได้แก่ ลายนกยูง ลายขาเปีย ลายกระจิบ เป็นต้น


แหล่งทอผ้าของจังหวัดพิจิตร

  • อำเภอโพธิ์ประทับช้าง  บ้านหนองพง ตำบลทุ่งใหญ่
  • อำเภอตะพานหิน       บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม
  • อำเภอสามง่าม         บ้านสระยายชี ตำบลเนินปอ
  • กิ่งอำเภอบึงนาราง      บ้านห้วยแก้ว

ต้นฉบับ :http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B16/C26/c26.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครสวรรค์
ผ้ามัดหมี่ มีหลายชนิด เช่น ประเภทผ้าทอสองตะกรอ สี่ตระกรอ มีทั้งผ้าซิ่น ผ้าพื้นสำหรับตัดชุด ผ้าขาวม้า

ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิจิตร
ผ้าป่าแดง   ซึ่งเป็นการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ทอเป็นผืนผ้า ผ้าที่ทอ ได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้ามัดหมี่ และผ้าตัวอักษรตามสั่ง

 ต้นฉบับ :http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B16/C27/c27.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร