วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
25/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ลวดลายงูหรือนาคในผ้าไทโบราณ (2)

ภาพที่ 4 มัดหมี่ไทอีสาน ลายงูเลื้อย          

 

  

ภาพที่ 5 ลายงูบนภาชนะดินเผาลายเขียนสีสมัยโลหะบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี  

 

ภาพที่ 6 หมี่คั่นไทยอีสานลายนาค

 


ภาพที่ 7 ขิดไทยอีสานลายนาค       


ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานกล่าวถึงลวดลาย นาคบนผ้าทรงของตัวละครในวรรณคดีสำคัญของชาติหลายเรื่อง(อรไท 2537) อาทิ ในสมัยรัชกาลที่ 1 กล่าวถึงใน อุณรุทและรามเกียรติ์ในบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวถึงตอนพระอุณรุท เสด็จไปล้อมช้างก่อนทำพิธีโขลนทวาร ได้เสร็จมาสรงวารินและทรงสนับเพลารูปนาคดังบทกลอนว่า

           ภาพที่ 8 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคชูสน  

 


ภาพที่ 9 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคชูบายศรี     

 

ภาพที่ 10 รูปพญานาค 7 เศียรสมัยทวารวดี     

 

ภาพที่ 11 มัดหมี่ไหมอีสาน ลายนาคแผ่พังพาน      

 

ภาพที่ 12 ผ้ากั้งไทลาว ลายนาคแผ่พังพานที่ถ้ำจาม เขางู จ.ราชบุรี

“เข้า ที่ชำระสระสนานสุคนธ์ธารเกสรขจรกลิ่น สนับเพลาเชิงรูปนาคิน ภูษาพื้น นิลใยยอง”ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้กล่าวถึงผ้าทรงของตัวละครสำคัญอาทิตัวละครตัวพระ คือ พระรามตอนอภิเษกทรงภูษาลาย “ทองผุดเชิงช่อวาสุกรี” ตอนศึกกุมภกรรณพระรามพระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงช่อนาคินทร์สังเวียนวง”ตอนศึก อินทรชิต พระรามพระลักษณ์ทรงพระภูษา “เป็นรูปนาคราช 7 เศียร” ตอนศึกท้าวอัศกรรณ พระรามพระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงรูปวาสุกรี 7 เศียร”ตอนศึกอินทรชิต


พระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคินทร์” ตอนรับทัพสุริยาภพ พระสัตรุดทรงพระภูษา “เป็นรูปนาคราช 7 เศียร”เป็นต้น ส่วนตัวละครตัวยักษ์ มีท้าวทศพักตร์ตอน ประพาสป่า ทรงสนับเพลา “เชิงนาคินทร์” พระยาทูษณ์ยักษี ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคา” สหัสกุมารยักษี ทรงสนับเพลา “เชิงนาคินทร์” อิทรชิต ทรงสนับเพลา “เครือขดนาคินทร์” ท้าวราพณาสูร ทรงพระภูษา “ลายรูปนาคินทร์”  ท้าวคนธรรพ์ยักษาทรงสนับเพลา “เป็นรูปนาคินทร์” นอกจากตัวละครสำคัญจะทรงพระภูษาและสนับเพลาลายนาค และนาคราช 7 เศียร แล้วยังปรากฏว่าทรงพระสนับเพลาลายนาคเกี่ยวกันคือ ท้าวจักรวรรดิยักษา ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคินทร์เกี่ยวกัน” ซึ่งในลวดลายผ้ามัดหมี่ไท จะทอเป็นลายนาคเกี้ยว(ภาพที่ 15 )บรรพชนเผ่าไทได้คิดประดิษฐ์ลวดลายงูหรือนาคในศิลปะไทและผ้าไทมาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติสาสตร์ ลวดลายงูหรือนาคได้มีวิวัฒนาการเป็นลวดลายต่างๆ ที่ละเอียดประณีต อาทิ ลายงูเลื้อย ลายนาค ลายนาคชูสน ลายนาคชูบายศรี ลายนาค 7 เศียร ลายครุฑยุดนาค รวมทั้งลายนาคเกี้ยวสมควรที่คนไทจะช่วยกันอนุรักษ์ลวดลายไทลายงูหรือนาคให้ อยู่คู่ไทตลอดไป


ภาพ ที่ 13 มัดหมี่สุรินทร์ ลายนาค 

 

ภาพที่ 14 พระภูษาทรงสมัยธนบุรี ลายครุฑยุดนาค

       

    

ภาพที่15 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคเกี้ยว     

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือ SILK
จัดทำเมื่อเดือนมีนาคม 2551

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNatextile2008/snake%20in%20tai%20textile/snake%20in%20tai%20textile1.html

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร