วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
25/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้าตุ้ม เมืองลอง

           ผ้าตุ้มเป็นผ้าที่ใช้คลุมตัวเพื่อให้ความอบอุ่น ทั้งหญิงและชาย ในบางโอกาสก็ผูกหัวท้ายมัดติดกับเสาเรือน ทำเป็นแปลให้เด็กอ่อน ผ้าตุ้มเป็นผ้าที่ทอด้วยฝ้ายปั่นมือสีขาวนวล โดยกำหนดเส้นยืนเป็นสีขาว และสร้างลวดลายโดยใช้เส้นยืนพิเศษสีดำ น้ำเงินสลับขาวตีเกลียว ในส่วนของพื้นเรียบใช้เทคนิคการทอโดยเหยียบม้า (เหยียบตะกอ)เพื่อสร้างพื้นผิวให้เกิดลายต่างๆ เช่น ลายสอง ลายสี่ และลายก้างปลา ผ้าที่ทอจะมีหน้ากว้าง      12 – 14 นิ้ว ความยาวประมาณ 60 – 70 นิ้ว

ทอเก็บลายในส่วนหัวของผ้า ซึ่งจะมีลายหลากหลายโดยเฉพาะลายที่ใช้สำหรับผู้หญิงก็จะเป็นลายที่ดูอ่อน หวานอย่างลายดอกไม้ ลายดอกผักกูด ผักแว่น ลายจันทร์แปดกลีบ และลายขันดอกส่วนลายที่ใช้ในผ้าตุ้มของผู้ชาย จะเป็นลวดลายที่ดูมั่งคง แข็งแรง เช่น ลายช้าง ลายม้า ลายคนขี่หลังช้าง ลายคนขี่หลังม้า และลายขัดดอกบนหลังม้า เป็นต้น ส่วนที่ใช้เก็บลายส่วนใหญ่มักจะใช้สีแดง สีเหลือง สีดำ และสีเขียว

เมื่อทอได้ตามขนาดและเป็นลวดลายที่เย็บต่อกันตรงกลางโดยวิธีสอยเป็นลาย ลูกโซ่ ส่วนขอบด้านที่มีการเก็บลายใช้ผ้าสีแดงกุ๊นในส่วนของหัวผ้า ไม่นิยมกุ๊นสีแดงทั้งผืน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของผ้าตุ้มเมืองลองแต่ในกรณีเดียวกัน หากไม่กุ๊นขอบก็จะปล่อยเป็นเชิงครุยทั้งสองข้าง หัวท้าย เพื่อใช้เป็นผ้าปกสะสี


ลายผ้าตุ้มโบราณเมืองลอง


ลายขันดอกหลังช้าง                                        

 

ลายนกสร้อยและลายช้าง   

 

                              

ลายไก่นั่งม้า


       
ลายดอกต่อมเครือและขันดอกหลังม้า    

         

            

ลายนกสร้อยม้าต่างขันดอก 

     

     

ลายดอกต่อมขอแยงเงาขันดอกหลังม้า

 

ลายดอกต่อมอ้อมนกสร้อย   

 

                        

ลายดอกต่อมอ้อมม้าต่างขันดอก    

 

                 

ลายจันแปดกลีบ

     
ลายนาคน้อย                                            

 

ลายขอไล่อ้อมดอกเก็ดถะหวา                                

 

ลายขออ้อมดอกจัน

                                      

ลายดอกจันอ้อมโก้งเก้ง                                                                

 

ลายจันแปดกลีบ

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจากหนังสือ ฝ้ายแก้ว ไหมคำ ของ อ.โกมล พานิชพันธ์
จัดทำเมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2551

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNatextile2008/phatum/phatum.html