วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

การย้อมเส้นฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ

สีย้อมมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ สีที่ได้จากธรรมชาติตามแบบพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ส่วนอีกชนิดหนึ่งนั้นได้แก่ สีที่ได้จากวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีส่วนผสมทางเคมีมากในเวลาใช้แล้วสีมักจะไม่ค่อยสดใสและอีกประการหนึ่ง เวลาใช้ไปนานๆ สีจะจืดชืดสู้สีธรรมชาติไทยเราไม่ได้ ถึงจะตากแดดตากฝนจนขาดเป็นผ้าขี้ริ้วแล้วสีย้อมก็ยังสดใสอยู่สีที่ได้จากธรรมชาติของไทยเรานั้นส่วนมาก จะได้จากต้นไม้ เปลือกแก่น รากและผลดังจะกล่าวถึงสีต่าง ๆ ดังนี้

ต้นไม้ เปลือกแก่น
ราก

สีที่ได้

รากยอ

สีแดง

ต้นคราม

สีคราม

แถลง(มะพูด)

สีตองอ่อน(กระดังงา)

ลูกกระจาย

สีดำ

ขมิ้นชัน แก่นเข (แกแล)

สีเหลือง

สะตี

สีส้ม (แดงเลือดนก)

ลูกหว้า

สีลูกหว้า (ม่วงอ่อน)

ครามแล้วย้อมทับด้วยแถลงอีกทีหนึ่ง

สีเขียว

ใบหูกวาง

สีเขียว

เปลือกสมอ

สีเขียว

  •  วิธีการย้อมด้วยรากยอ

ยอเป็นต้นไม้ยืนต้นใบมีลักษณะคล้ายกับใบหูกวางแต่สีเขียวเข้ม ใบหนากว่าใบหูกวาง ขึ้นอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ชาวบ้านมักใช้ใบในการประกอบอาหาร ผลใช้ตำส้มได้เหมือนกัน รากให้สีเป็นสีแดงโดยนำเอารากของต้นยอที่แห้งเลือกเอารากที่มีอายุสักหน่อย(แก่)เพื่อจะได้ให้มีสีที่เข้มนำมาหั่นเป็นแว่นๆ หรือสับเป็นชิ้นเล็กๆ หลังจากนั้นนำเอาไปต้มให้เดือดกับน้ำสะอาด ประมาณดูว่าสีที่รากของต้นยอจะออกมาผสมกับน้ำสีแดงคล้ำ จึงยกลงกรองเอาแต่น้ำสีเท่านั้น

จากนั้นใช้ฝ้ายที่เตรียมไว้ชุบน้ำให้ฝ้ายเปียกบิดให้หมาดเสียก่อนที่จะนำลงไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำสีประมาณ 30 นาทีหรือมากกว่านั้นก็ได้หมั่นคนไปคนมาเพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายได้อย่างทั่วถึงแล้วนำเอาฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อสีบิดให้หมาด(ปั้น)นำไปล้างในน้ำสะอาดอีกหนหนึ่งจากนั้นก็นำเอาฝ้ายที่ล้างสะอาดเข้าราวตากให้แห้ง ฝ้ายที่ย้อมก็จะเป็นสีแดงตามต้องการ


    
  สีแดงที่ย้อมได้จากรากยอ


  •   วิธีการย้อมด้วยคราม

 

ครามเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือครามบ้านและครามป่า แต่ที่ใช้ทำครามเป็นครามบ้าน ครามป่าไม่ใช้เพราะย้อมผ้าไม่ได้ ครามบ้านมีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 1 เมตรครึ่งลักษณะของใบเล็กคล้ายๆ ใบมะขามเมื่อครามอายุได้ประมาร 3 เดือนครามก็จะออกดอกแสดงว่าครามแก่เต็มที่แล้ว ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อนๆ นำเอาไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 2 – 3 วันจนใบครามเปื่อย จากนั้นแก้มัดครามหลุดออกจากลำต้นนำลำต้นออกทิ้ง เอาปูนขาวในอัตราส่วนพอเหมาะกันกับน้ำที่แช่ครามใส่ผสมลงไปในภาชนะนั้นแทนต้นคราม นำเอาขี้เถ้า (ได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ) มาผสมลงไป 2 – 3 คืนจนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใส่ออกให้หมดให้เหลือเนื้อครามก็จะได้น้ำสีตามสีต้องการ (ถ้าจะให้เนื้อครามนี้ละเอียดควรใช้ผ้าขาวบางกรองอีกทีหนึ่ง) เมื่อได้น้ำสีแล้วนำฝ้ายไปขยำในหม้อคราม ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อฝ้าย เมื่อเห็นว่าได้สีตามต้องการแล้วจึงเอาขึ้นจากหม้อครามบิดให้หมาดนำไปล้างในน้ำสะอาดนำไปเข้าราวแตกแดดให้แห้ง

  •   วิธีการย้อมด้วยแถลง (มะพูด)

แถลงเป็นพืชไม้ล้มลุกประเภทไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบมีสีเขียวตองอ่อน แต่ไม่ได้ให้สี สีที่ได้จากรากของแถลงโดยนำเอารากแถลงมาผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้งนำมาต้มเคี่ยวไว้ประมาณสัก 3 – 4 วันจึงเอาน้ำที่ต้มเคี่ยวแล้วมากรองเอาแต่น้ำสี นำเอาฝ้ายที่เตรียมไว้ลงไปย้อมหลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกหนหนึ่ง เมื่อได้สีตามต้องการ จึงเอาขึ้นราวตากแดดให้แห้ง

  •  วิธีการย้อมด้วยลูกกระจาย

ต้นกระจายเป็นไม้ยืนต้นจำพวกต้นโพธิ์ชอบขึ้นอยู่ตามป่าทั่ว ๆ ไปมีผลกลมๆ คล้ายผลมะขามป้อม สีดำสนิทนำเอาผลกระจายที่แก่มาป่นให้ละเอียด เอาไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีถึง 1 ช.ม. จนกว่าจะได้น้ำสี “สีดำ” นำเอามากรองเอาแต่น้ำสี นำฝ้ายลงย้อมโดยทิ้งไว้สักพักหนึ่งในหม้อสี คะเนดูว่าสีติดฝ้ายดีแล้วจึงยกเอาฝ้ายขึ้นล้างเข้าราวตากแดดจน  แห้ง

 

  •  วิธีการย้อมด้วยเข     

เขเป็นต้นไม้เถาชนิดหนึ่งมีหนามตามลำต้นขึ้นอยู่ตามป่าตามโคกเวลาต้องการสีจากต้นเขจะนำเอาแก่นเขมาตากให้แห้งนำมาผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มกับน้ำสะอาดจนเดือน ถ้าปรากฏเป็นสีเหลืองเข้ม ๆ จึงยกลงและนำเอาน้ำสีมากรองให้ชิ้นเขออกจากน้ำสีหม้อแรกเอาเขที่กรองหม้อแรกไปใส่หม้อน้ำต้มต่อไปจนได้น้ำสีจากเขซึ่งอ่อนกว่าน้ำสีหม้อแรกทำแบบเดียวกันจนครบ 3 ครั้งก็จะได้น้ำสีเป็น 3 หม้อตั้งแต่อ่อนสุดจนถึงแก่สุด เมื่อได้แล้วนำเอาฝ้ายที่เตรียมไว้แล้วจุ่มต้มลงในน้ำสีหม้อสาม (สีอ่อนสุด) กวนไปกวนมา เพื่อให้น้ำสีเข้าในฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ให้ฝ้ายด่างแล้วยกขึ้นจากหม้อสาม บิดพอหมาด นำจุ่มลงในหม้อสองและหม้อแรกทำแบบเดียวกันจนครบ 3 หม้อ นำมาซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตกจึงนำมากระแทกเพื่อให้ฝ้ายแตกออกจากกัน (ไม่เป็นปมสะดวกแก่การกรอเป็นเส้นเข้าหลอด)นำไปเข้าไม้ตากให้แห้งเหล่านี้มาต้มจนกว่าสีภายในเม็ดจะออกเป็นสีแดงเข้ม ๆ นำไปกรองให้สะอาดและนำฝ้ายที่เตรียมไว้ลงไปย้อมโดยแกว่างไปแกว่งมาจนสีที่ย้อมนั้นติดดี แล้วจึงบิด ซักน้ำสะอาดนำเข้าราวตากนับว่าใช้ได้ 

 
  เส้นฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ 

 

  •  วิธีการย้อมด้วยลูกหว้า

หว้าเป็นไม้ยืนต้น ต้นใหญ่ใบเล็กคล้ายใบตะแบกพร้อมกับมีผลขนาดเท่าประมาณผลองุ่น ใช้สีม่วงใช้ผลที่สุกแล้วนำมาคั้นเอาน้ำนำเอาน้ำที่คั้นไปต้มประมาณ 1 -2 ครั้ง เพื่อไม่ให้สีเปลี่ยนแปลงและยกกรองให้สะอาดนำเอาฝ้ายลงคนมาคะเนดูว่าสีเข้ากันดีจึงยกขึ้นดูถ้าหากว่าสีติดทั่วกันทั้งหมดนำไปซักน้ำสะอาดบิดเข้าใส่ราวตากแดด


 

  •  วิธีการย้อมด้วยใบหูกวาง

หูกวางเป็นไม้ยืนต้นใบใหญ่  รีเล็กน้อยมีดอกมีผลใบแผ่เป็นชั้น ให้ร่มเงาใช้ใบที่มีสีเขียวนำมาตำคั้นเอาน้ำกรองให้สะอาดขึ้นต้มให้เดือด เอาฝ้ายลงย้อมจะได้สีเป็นสีเขียวอ่อน

 

  •   วิธีการย้อมด้วยเปลือกสมอ

เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งงวดพอควรแล้วรินเอาแต่น้ำใส่ในหม้อดิน ขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่เอาฝ้ายที่ต้องการย้อมนำลงมาต้มพร้อมกับน้ำสีจะได้สีเขียวตามต้องการ(เวลาที่จะย้อมฝ้ายให้เป็นสีเขียวต้องใช้ฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งก่อน)

  • วิธีการย้อมด้วยขมิ้นชัน

ขมิ้นชันเป็นพืชไม้ล้มลุกชอบขึ้นอยู่ตามที่ลุ่ม ลักษณะของลำต้นเหมือนกับข่าใบยาวเหมือนกับต้นพุทธรักษา ใช้หัวผสมทำยาและทำอาหารรับประทานได้สีเป็นสีเหลืองวิธีย้อมใช้หัวล้างน้ำให้สะอาดตำและคั้นเอาน้ำไว้ นำไปกรองให้สะอาดหลังจากนั้นใช้ฝ้ายที่จะย้อมลงชุบน้ำและบิดให้แห้งนำลงมาย้อมในน้ำที่กรองจะได้สีเหลืองตามต้องการ แต่ถ้าหากว่าจะให้สีติดฝ้ายแน่นควรจะใช้น้ำมะนาวผสมลงไปในสีที่จะย้อมด้วยจะได้สีเหลืองตามต้องการ

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/NaNanew/Color/color.html