วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

วัฒนธรรมการใช้ผ้าห่อคัมภีร์

ชาวไทยวน ลื้อ และลาว ในอดีตมีประเพณี “การสร้างธรรม”ถวายวัด ซึ่งถือว่าได้อานิสงส์มากการสร้างธรรม ก็คือการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น คำสอน ชาดก ตำนาน ประวัติ ฯลฯ ลงบนใบลาน คัมภีร์ใบลานเหล่านี้จะจัดทำอย่างประณีต จารึกด้วยอักษรธรรม มีไม้แกะสลักปิดทอง งดงามประกบใบลานไว้ไม่ให้งอ มีผ้าห่อคัมภีร์นี้และมัดด้วยด้ายฝั้น

ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน จะมี 2 ลักษณะคือ
1. ผ้าที่ทอด้วยเส้นฝ้ายหรือไหมล้วนๆแบบธรรมดาก็คือเป็นผ้าฝ้ายสีขาว ส่วนที่เป็นผ้าไหมอาจทอด้วยเทคนิคธรรมดา หรือทอเป็นผ้าลายมัดหมี่ขนาดกว้างยาวประมาณ 75  X  50 ซม.

2. ผ้าที่มีไม้ไผ่สอดสลับ ซึ่งจะใช้เส้นฝ้ายหลากสี มีทั้งที่ทอด้วยเทคนิคธรรมดา และทอด้วยวิธีขิดเป็นลวดลายพื้นฐานรูปต่าง ๆ สลับกับไม้ไผ่สอดคั่นเป็นระยะโดยตลอด หรืออีกลักษณะหนึ่งคือทอด้วยวิธีเกาะโดยสลับสีเส้นฝ้ายกับไม้ไผ่สอดคั่นกันจนเป็นผืนเป็นลวดลายเรขาคณิต มีขนาดกว้างยาวประมาณ 55  X 30 ซม.

ปัจจุบันนี้ประเพณี“การสร้างธรรม” ได้เสื่อมไปการทอผ้าห่อคัมภีร์ใบลานจึงเสื่อมสูญไปด้วย คงเหลือแต่ผ้าที่ปรากฏหลักฐานห่อคัมภีร์เก่าแก่เก็บไว้ใน “หอธรรม” (หอไตร) ตามวัดต่างๆ เท่านั้น


เราจะสามารถรู้ได้ว่า ผืนผ้าเก่าแก่ที่สืบทอดมาเป็นผ้าห่อคัมภีร์ ก็ด้วยสังเกตจากขนาดของผืนผ้า ลักษณะการใช้ไม้ไผ่สอดคั่น หรือการขลิบริมผ้าโดยรอบด้วยผ้าสีแดงหรือขาว และมักมีเส้นด้วยสำหรับมัดห่อคัมภีร์ร้อยติดอยู่

ผืนนี้ใช้ไม้ไผ่สอดสานกับเส้นฝ้ายตลอดทั้งผืน

 

ผืนนี้ทอด้วยเทคนิคขิดสลับกับการสอดไม้ไผ่คั่น


ผืนนี้ใช้เทคนิคเกาะ โดยสอดสลับสีเส้นฝ้ายกับ  ไม้ไผ่จนเกิดเป็นลวดลายเรขาคณิต

 

ผืนนี้ทอด้วยเทคนิคขิดสลับกับการสอดไม้ไผ่คั่น
 
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/KHAMPHI/khamphi.html