วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
13/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

กว่าจะเป็นเส้นไหม 

เนื้อหาและภาพจากหนังสือผ้าไหมพื้นบ้าน

ก่อนที่จะกล่าวถึงการทอผ้าไหมไทย ควรที่จะรู้ที่มาเสียก่อนว่าก่อนที่จะเป็นเส้นไหมนั้นเนื่องจากการผลิตเส้น ไหมมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ที่ยาวตั้งแต่การปลูกหม่อนเพื่อเป็นอาหารของตัวไหมจนถึงไหมจนถึงการสาวไหมดังนั้นการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมจึงเป็นสาระสำคัญอันดับแรกที่จะต้องพิจารณา

                      ต้นหม่อน


ต้นหม่อน

ต้นหม่อนที่รู้จักในขณะนี้มีอยู่  2  ชนิดคือต้นหม่อนที่ปลูกไว้กินผลเป็นช่อเวลาสุกจะมีสีดำรสอมเปรี้ยวอมหวานใช้รับประทานทำแยมได้อีกชนิดหนึ่งเป็นหม่อนที่ ปลูกไว้เลี้ยไหมหม่อนชนิดนี้มีผลเป็นช่อเล็กไม่นิยมรับประทานแต่มีใบโตและดกใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี   

สำหรับพันธุ์หม่อนที่ปลูกไว้เลี้ยงไหมในประเทศมีอยู่หลายพันธุ์เช่น หม่อนน้อย หม่อนตาดำ ห ม่อนส้ม หม่อนสร้อย หม่อนไผ่ หม่อนจาก หม่อนสา หม่อนหยวก หม่อนใบมน หม่อนใบโพธิ์ หม่อนแก้วชนบทหม่อนคุณไพ หม่ิอนแก้วอุบล ฯลฯ ซึ่งบางชื่ออาจจะเป็นพันธุ์เดียวกันแต่เรียก ชื่อต่างกันตามท้องถิ่นแต่หม่อนที่นิยมปลูกเพื่อเลี้ยงไหมกันมากตามท้องที่ต่างๆมีดังนี้

 

  • หม่อนน้อย เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงกิ่งมีขนาดใหญ่ลำต้นมีสีนวล ๆ ต ามีมากลักษณะขอบใบหนาเป็นมันสีเขียวแก่เป็นรูปใบโพธิ์ปลายใบแหลมขอบใบไม่มีเว้าหรือมี ก็จะเป็นแบบเว้าตื้นๆประมาณ 2-3เว้าเท่านั้นมีขนบนใบน้อยมากเมื่อลูบไม่รู้สึกสากมือเป็นที่นิย มปลูกมากที่สุดแต่ฌป็นโรครากเน่าง่าย

 

  • หม่อนไผ่   เป็นหม่อนให้ดอกตัวเมืยกิ่งมีขนาดปานกลางลำกิ่งอ่อนโค้งมีสีน้ำตาลอมเขียว ตาค่อนข้างมากขอบใบเว้าหมดทุกใบ มีปริมาณเนื้อใบน้อยใบบางสากมือให้ผลผลิตต่ำเชื่อว่า   เป็นพันธุ์ที่ต้านโรครากเน่าจึงเหมาะสำหรับนำไปเป็นต้นตอในแปลงที่มีโรครากเน่าระบาด

  • หม่อนตาดำ  เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงคล้ายหม่อนน้อยกิ่งมีขนาดเล็ก  กว่าและลำต้นมีสีเขียวกว่าหม่อนน้อย ใบขนาดเล็กบางไม่เป็นมันสีเขียวอ่อนเป็นรูปไข่ปลายใบ   แหลมใบเว้า 5-8ใบนับจากโคนกิ่ง

 

  • หม่อนสร้อย  เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้กิ่งมีขนาดใหญ่มีแขนงเล็กจำนวนมากการแตกกิ่งดีตามีมากลักษะใบมีทั้งขอบใบเรียบและเว้าส่วนมากจะิอยู่ในลำตัวเดียวกันซึ่งจะพบเสมอใบบางสากมือเล็กน้อยต้นหม่อนชนิดนี้มีข้อเสียตรงที่ใบเหี่ยวง่ายเก็บไว้ได้ไม่นานริดใบออกจากกิ่งยาวกว่า เนื่องจากมีกิ่งแขนงเล็กๆมากจึงไม่นิยมปลูก

 

  • หม่อนคุณไพ เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวเมืยกิ่งมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีกิ่งแขนงลักษณะขอบใบโดยมากจะไม่เว้า แต่มองด้านข้างขอบใบจะมีลักษณะเป็นคลื่นใบบางโดยเฉพาะส่วนยอดใบจะเหี่ยวง่าย แม้อยู่บนต้นในช่วงแดดจัดทนแล้งไม่ค่อยได้แต่ถ้าดูแลบำรุงรักษาดีจะให้ผมผลิตสูงในขณะนี้เชื่อกันว่าเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรครากเน่า ได้ดี             


หนอนไหม

      หนอนไหมเป็นแมลงจำพวกผีเสื้อตระกูล Bombycidac มีลักษณะพิเศษประจำตระกูลคือตัวหนอน (Lavae) จะพ่นเส้นใยเพื่อใช้ในการทำรังห่อหุ้มตัวเองแล้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้ (Pupae) อยู่ภายในรังนั้น และเส้นใยที่ใช้ทำรังนั้นมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการทอผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมชนิดต่างๆ  ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลกในปัจจุบันหนอนไหมที่จะกล่าวถึงนี้เป็นหนอนไหมที่กินใบหม่อนเป็นอาหาร


 

 

การเลี้ยงไหม

การเลี้ยงไหมไทยในประเทศมีมานานนับพันปีแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเนื่องจากในภาคนี้มีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกหม่อนและอุณหภูมิพอเหมาะแก่การเลี้ยงไหมทำให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันแทบทุกจังหวัด

อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไหมแบบพื้นบ้านนั้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเอาเส้นไหมใช้เป็นวัตถุึดิบในการทอผ้าไหมเพื่อใช้เองตามประเพณีนิยม เช่นการแต่งงานของชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมรจะนิยมไหว้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือด้วยผ้าไหมดังนั้นชาวบ้านจึงทอผ้าไหมไว้เตรียมการแต่งงานของลูกสาว

สำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคนิคและอุปกรณ์การเลี้ยงมากขึ้นหนอนไหมเดิมเป็นสายพันธุ์พื้นบ้านที่มีการฟัีกไข่หลายครั้ง่ต่อปีก็มีการนำพันธุ์ไหมจากประเทศจีนหรือญี่ปุ่นเข้ามาผสมพันธุ์ไหมพื้นบ้านทำให้มีการพัฒนาพันธุ์ไหมมากขี้น       




 

ส่วนลักษณะการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนั้นในปัจจุบันพอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ

ก. การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบพื้นบ้านมีการทำกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือน
ข. การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตามนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลเช่นการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีอยู่ทั่วไป อาทิ นิคมสร้างตนเองนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร  นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
ค. การปลุกหม่อนเลี้ยงไหมในรูปบริษัทการผลิตขนาดใหญ่ เช่นบริษัท จุลไหมไทย จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่สามแยกวังชมภู จังหวัดเพชรบูรณ์ บริษัท บุญมาเกษตรกรรมไหมไทย จำกัด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ศูนย์วิจัยอบรมหม่อนไหม จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งหน่วยงานการผลิตขนาดใหญ่เหล่านี้นอกจากมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้วยังมีการซื้อขายพันธู์ไหมและการสาวไหมด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยอีกด้วย


 

ตามปกติเส้นไหมพื้นบ้านจะแบ่งขนาดออกเป็น 3 ขนาดคือ ไหมหัว ไหมกลาง ไหมน้อย

1.  ไหมหัวหรือไหม 3 เป็นเส้นไหมที่สาวจากเปลือกนอกของรังไหม ตามปกติจะมีขี้ไหมหรือมีปุ่มปมติดอยู่ด้วย
2.  ไหมกลางหรือไหม 2 เป็นเส้นไหมที่สาวจากรังไหมภายหลังจากสาวไหมเปลือกนอกออกแล้วแต่ได้เส้นไหมที่มีขนาดใหญ่หน่อยตามปกติจะเป็นเส้นไหมในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป
3.  ไหมน้อยหรือไหม 1เป็นการสาวไหมที่ได้จากเส้นไหมที่สาวเปลือกไหมออกแล้วและได้เส้นไหมขนาดเล็กเรียบอย่างสม่ำเสมอ  โดยมากจะได้จากเส้นไหมที่สาวในท้องที่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้แถวจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
ที่กล่าวมานี้เป็นการแบ่งขนาดเส้นไหมอย่างหยาบแต่บางแห่งจะมีการแบ่งเส้นไหมแต่ละขนาดออกเป็น 2 ขนาดอีก เช่น ไหม 2 เอ ไหม 2 บี หรือไหม 1 เอ ไหม 1 บี ทั้งนี้แล้วแต่ความละเอียดปราณีตของผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเส้นไหม

ต้นฉบับ : 

http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/D_3p/d_3p.html
http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/D_3p/D_4p/d_4p.html