วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
14/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้ายกเมืองไทย : จังหวัดสุรินทร์

เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์

พบการทอผ้าไหมยกดอก จำแนกได้เป็น
1. ผ้าทอลายสองยกดอก ได้แก่ ลายลูกแก้ว 6 ตะกอ 8 ตะกอลายผักแว่นหรือเม็ดพริกไทย ลายไข่แมงมุม โดยทอเป็นผ้าผืนสำหรับตัดชุด และนิยมทำเป็นผ้าสไบทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ผ้าสไบผู้ชายจะเป็นลายตารางยกดอกที่ชายผ้า ส่วนผ้าสไบผู้หญิงทอเป็นผ้ายกดอก (ฉนูดเล็ก) และมักใช้สีดำหรือสีขาว

2. ผ้าทอยกเป็นลายตารางเล็กทอโดยใช้เส้นยืนหลาย ๆ สี สีละ 2-4 เส้น เรียงสลับกันไปตามหน้ากว้างของผืนผ้า ทอ 4 ตะกอ โดยทอยกทีละ 2 ตะกอ จากการสำรวจพบลายละเบิกลายเกล็ดเต่า นิยมทอเป็นผ้าผืนสำหรับตัดชุด

3. ผ้าทอยกดอกลายลูกไม้เป็นผ้าที่มีการทอยกดอกนูน เป็นลายดอกพิกุล 4  ตะกอและ 6 ตะกอ ลายดอกจัน 9 ตะกอ 10 ตะกอ 12 ตะกอ ส่วนใหญ่นิยมใช้ทอเป็นผ้านุ่งและผ้าผืนสำหรับตัดชุด ในพื้นที่ดังกล่าวมีการทอผ้าไหมมัดหมี่ยกดอก ด้วยวิธีผสมผสานกัน ระหว่างผ้ามัดหมี่ และผ้าทอยกดอกรวมในผืนเดียวกัน

 
กระบวนการ ปัญหา และอุปสรรค ทางด้านการผลิตและการจำหน่าย

แต่เดิมการทอผ้ายกดอกของจังหวัดนี้จะใช้เท้าเหยียบตะกอสลับกันไปมา ตามลวดลายที่ได้กำหนดไว้ แต่ในปัจจุบันหันมานิยมใช้การยกตะกอด้วยมือทีละตะกอสลับกับทอลายขัดจนครบลวดลายหนึ่ง จากนั้นเริ่มต้นใหม่จนครบตะกอที่กำหนดไว้ เช่น 4 ตะกอ หรือ 8 ตะกอ เป็นต้น มักใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งทำให้เนื้อผ้ามีความละเอียดย้อมสีโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และเน้นการทอแน่น เพื่อให้เนื้อผ้าที่ได้มีความหนา

ผ้าไหมยกดอกลายประกาจันทร์


ผ้ายกเมืองไทย : จังหวัดแพร่

เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือที่ได้พบการทอผ้ายกแต่ไม่แพร่หลายนัก จากการสำรวจได้พบการทอผ้ายกที่ กลุ่มสตรีบ้านค้างตะนะ ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอวังชิ้นทอเป็นลายดอกพิกุล ลายดอกแก้ว เป็นต้น


ผ้ายกลายดอกพิกุลที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่


ผ้ายกลายดอกแก้ว ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/PHAYOK/phayok.html