วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
15/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้าแพรวา

ผีเสื้อผสมใบบุ่น         นาคหัวชุมผสมใบบุ่น            ใบบุ่นก้านก่อง                   นาคสี่แขน

                                                                                           

แพรมน คือ ผ้าผืนน้อยสี่เหลี่ยมเอาไว้ปรกหน้าคลุมหัวเวลามีงานเทศกาล
 
แพรวา
คือ ผ้าสไบผืนยาว เอาไว้ห่มไปทำบุญที่วัด หรือคลุมไหล่ในช่วงหน้าหนาว

ผ้าแส่ว คือ ผ้าแม่ลายที่ได้รวบรวมเอาไว้ในชิ้นเดียวกันเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับจกผ้าแพรวา

ผ้าแพรวาทอด้วยมือมีมาตั้งแต่โบราณ โดยฝีมือของชาวภูไท ปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเอง ผ้าแพรวาใช้เส้นสีต่างๆ สีตั้งเดิมไม่เกิน 5 สี ได้แก่ สีเขียวสด สีเหลืองทอง สีน้ำเงิน สีขาว จะทอเป็นพื้นสีแดงย้อมครั่งธรรมชาติ ลวดลายกั้นกลางระหว่างดอกเรียกว่า “ลายคั่น” จะสลับดอกตามขวางไปเรื่อย ๆ จนเกือบถึงเชิงผ้าจะมีลายโดดๆ อยู่ 1 แถว เรียกว่า “ลายช่อปลายเชิง” จากนั้นจึงจะเป็นเชิงผ้าพื้นที่อยู่ปลายผ้า

 

ผ้าแส่ว

การทอผ้าแพรวา มีการนำลวดลายดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นลายเดียวกับลายแม่แบบของผ้าขิด แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ

  • ลายที่ได้จากรูปทรงของสัตว์   เช่น    ลายนาคเกี้ยว
  • ลายที่ได้จากรูปทรงของพืชพรรณไม้  เช่น    ลายดอกสร้อย
  • ลายจำลองจากสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้   เช่น    ลายปราสาท
  • ลายเบ็ดเตล็ด   เช่น ลายขนมเปียกปูน  ลายขิดตา

ลายต่างๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว ความแปลกสะดุดตาของลวดลายและสี บวกกับกรรมวิธีการผลิตที่ต้องใช้ความประณีต และความใส่ใจในงานของผู้ทอ ซึ่งต้องใช้เวลาแรมเดือนของการทอผ้าแพรวาหนึ่งผืน ส่งผลให้ราคาผ้าแพรวาค่อนข้างสูง

ผ้าแพรมนสำหรับใช้คลุมหัวซึ่งเป็นส่วนใช้ในการตกแต่งการแต่งกายของสาวชาวภูไท

 

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/SAR/Phraewa/phraewa.html

ขอบคุณ เนื้อหาและภาพจาก ผ้าทอพื้นเมืองและผ้าทอพื้นเมืองในภาคอีสาน