ผ้ามัดหมี่ - ตัวอย่างผ้ามัดหมี่ในภาคเหนือ, จ.เชียงราย, จ.เชียงใหม่

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
21/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ตัวอย่างจังหวัดที่มีการทอผ้ามัดหมี่ในพื้นที่ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงราย

ผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ลายตีนสร้อย


ผ้าซิ่นไหมมัดหมี่  ลายดอกหน่วยตาข่าย


   
ผ้ามัดหมี่ลายกระจับน้อย อำเภอเชียงแสน

เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์

ที่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน พบการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายแบบอีสานดั้งเดิม ได้แก่ ลายกระจับน้อย ลายดอกตาข่าย และลายยอดเจดีย์เป็นต้น

การสืบทอดทางวัฒนธรรม

บ้านสันธาตุ ตำบลโยกนก อำเภอเชียงแสน และ บ้านโป่งถืบ ตำบลเวียง อำเภอฝาง เป็นการทอผ้าของชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในอำเภอเชียงแสน และอำเภอฝาง โดยเป็นกลุ่มของชาวบ้านที่อพยพ มาจากจังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี และขอนแก่น มีการนำศิลปะการทอผ้า ไหมมัดหมี่แบบดั้งเดิมของชาวอีสานมาเผยแพร่และสืบต่อกันภายในชุมชน

กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย

ที่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน พบว่ามีการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมเอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบจะทอเพื่อใช้เองและจำหน่าย ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ การขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดความรู้ความชำนาญในการทอ และปัญหาทางด้านการตลาด


จังหวัดเชียงใหม่
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์

  • ที่บ้านโป่งถีบ ตำบลเวียง อำเภอฝาง พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายตาข่าย ลายเครือลายยอดเจดีย์ ลายนาค   ลายสร้อย โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าผืน
  • ที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง พบการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ ส่วนใหญ่ทอเป็นผ้าซิ่น
  • ที่อำเภอจอมทอง กลุ่มทอผ้าบ้านแม่กลาง ตำบลบ้านหลวง และบ้านสบเตี๊ยะ ตำบลสบเตี๊ยะ พบการทอผ้าฝ้าย / ไหม / ไหมประดิษฐ์ มัดหมี่ลวดลายดั้งเดิมได้แก่ ลายผักแว่น ลายงูห้อยส้าว ลายนก ลายจันทร์แลกกลีบ ลายกุด
  • ลายจี่ดอกเปา โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็น ผ้าซิ่น ผ้าปูเตียงและลายประยุกต์ที่คิดขึ้นใหม่ ใช้ทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าผืน ผ้าคลุมต่างๆ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ เสื้อผ้า ย่าม หมวก กระเป๋า หมอน เป็นต้น

ที่บ้านหลังทอ ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด พบการทผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายตาหมู่โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้าซิ่น

   
การสืบทอดทางวัฒนธรรม

บ้านสันธาตุ ตำบลโยกนก อำเภอเชียงแสน และ บ้านโป่งถืบ ตำบลเวียง อำเภอฝาง เป็นการทอผ้าของชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในอำเภอเชียงแสน และอำเภอฝาง โดยเป็นกลุ่มของชาวบ้านที่อพยพ มาจากจังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี และขอนแก่น มีการนำศิลปะการทอผ้า ไหมมัดหมี่แบบดั้งเดิมของชาวอีสานมาเผยแพร่และสืบต่อกันภายในชุมชน
   

กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย

ที่บ้านโป่งถืบ ตำบลเวียง อำเภอฝาง พบว่ามีการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมเองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ สีที่ใช้ย้อมจะเป็นสี วิทยาศาสตร์ โดยซื้อหามาจากร้านค้าในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย กี่ที่ใช้ทอจะมีทั้งกี่ธรรมดา และกี่กระตุกจะทอเพื่อใช้เอง และเพื่อจำหน่ายปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสตรีทอผ้า มีประธานกลุ่มคือ คุณสำรวจ เสร็จกิจ จะใช้ช่วงจากการทำไร่ทำนา เมื่อทอสำเร็จจะมีการจำหน่ายใน 3 ช่องทางคือ การฝากจำหน่ายตามร้านค้าในอำเภอหรือตามการสั่งผลิต และจำหน่ายเองโดยตรง

 

  ผ้าซิ่นฝ้ายมัดหมี่จากบ้านยายปาย อำเภอสันกำแพง

ที่อำเภอจอมทอง พบว่าเป็นแหล่งทอผ้าขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่มีการรวมกลุ่มทอผ้าภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มักทอแบบมัดหมี่ พบการทอแบบจกบ้างเล็กน้อยกี่ที่พบส่วนใหญ่ใช้กี่พื้นเมือง (กี่มือ) จะพบกี่กระตุกบ้าง มีการทอลักษณะ 2 ตะกอ มักทอลวดลายตามที่มีผู้สั่งวัตถุดิบที่ใช้มีทั้งผลิตเองและซื้อมา สีที่ใช้ย้อมมีทั้งสีธรรมชาติ และสีวิทยาศาสตร์การจำหน่ายส่วนใหญ่กระทำผ่านพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ รูปอื่น ๆ อีกส่วนหนึ่งมีการส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่นในรูปของผ้าทอม้วน  จากการสำรวจ พบว่าชุมชนมีความตื่นตัวควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบต้องให้ความช่วยเหลือทางด้านการอบรม หรือให้ความรู้ทางด้านการตลาด รวมทั้งเทคนิคการทอ

 ผ้าไหมมัดหมี่ลายยอดเจดีย์ ลายนาค ตำบลเวียง อำเภอฝาง

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_4/matmi1/matmi2/matmi6/matmi6.ht...