ผ้ามัดหมี่ - ตัวอย่างผ้ามัดหมี่ในภาคกลาง, จ.อุทัยธานี

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
21/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้ามัดหมี่จังหวัดอุทัยธานี

ผ้าไหมมัดหมี่ลา  ยดั้งเดิม  กลุ่มทอผ้าบ้านนาตาโพ อำเภอบ้านไร่


เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์

บ้านโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน / บ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ / บ้านเนินมะค่า ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก พบการทอผ้าไหม / ฝ้ายมัดหมี่ที่มีทั้งลวดลายดั้งเดิมที่มาจากชน “ลาวครั่ง” ที่มีลักษณะเด่นตรงที่การใช้สีสันที่เข้ม และสด มีการจัดวางอย่างเหมาะสมและงดงาม และลายที่ประยุกต์ตาม สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว ธรรมชาติหรือวัฒนธรรมความเชื่อโดยที่พบ ได้แก่ ลายพญานาค ลายม้า ลายขอต่าง ๆ ลายเขี้ยวหมา ลายดอกแก้ว ลายดอกจัน ลายเบ็ดน้อย ลายตะเหลียวฮ่อ ลายปลา ลายเอี้ย ลายนาคสองหัว ลายดอกพยอม ลายกาบ ลายนกยูง เป็นต้น พบว่าส่วนใหญ่ใช้นำมาทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าสไบ ย่าม ฯลฯ

การสืบทอดทางวัฒนธรรม

ในพื้นที่ที่ทำการสำรวจ พบว่ามีการสืบทอดวัฒนธรรมกาทอผ้ามาจากชน “ลาวครั่ง” ซึ่งเป็น กลุ่มชนที่สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มาจากเมืองหลวงพระบางที่มีวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ของการทอผ้าที่โดดเด่นและสวยงาม การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มวัฒนธรรมชนชาวลาวครั่งจากลุ่มแม่น้ำโขงมาสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงแรกได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคอีสานของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เป็นต้น และในช่วงเวลาต่อมาได้มีการอพยพเพื่อเปลี่ยนแปลงพื้นที่อันเนื่องมาจากสภาพความแห้งแล้ง  โดยได้โยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย  ได้แก่ในพื้นที่จังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก กำแพงเพชร เป็นต้น

ผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนแดง อำเภอทับทัน

 
กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย

ที่บ้านโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน และบ้านไร่ ตำบลบ้านไร่อำเภอบ้านไร่ พบว่ามีการรวมกลุ่มผู้ทอผ้าและทอลายโดยใช้เอกลักษณ์หรือการสืบทอดมาจากชน “ลาวครั่ง” สีที่เข้มและสดนี้เกิดจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ ได้แก่ สีแดงจากครั่ง สีส้มจากหมากสุก สีเหลืองจากดอกคูน เป็นต้น ผสมผสานวัตถุดิบที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ การทอตัวซิ่น มัดหมี่ด้วยไหม ส่วนตีนซิ่นใช้ทอด้วยฝ้าย โดยกลมกลืนอยู่บนผ้าผืนเดียว ส่วนที่บ้านเนินมะค่าตำบลลานสัก อำเภอลานสัก พบว่าชาวบ้านในพื้นที่การผลิตวัตถุดิบคือ ไหมเอง ทั้งการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
   

ผ้ามัดหมี่ลายหมี่โลด หรือหมี่ลวด บ้านหนองจอก ตำบลหนองจอก อำเภอบ้านไร่

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_4/matmi1/matmi4/matmi8/matmi8.ht...