วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
02/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

แม้ว


  

ประวัติความเป็นมา

ชาวเขาเผ่าแม้ว เรียกตนว่า ‘' ฮมัง ‘' หรือ ‘' ม้ง ‘' มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมไม่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันเป็นหลายทาง บ้างมีความเห็นว่าชาวแม้วเป็นเผ่าพันธุ์อิสระหรือไม่ก็เป็นเผ่าพันธุ์ผสม มีข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวแม้วอยู่ทางแถบเหนือของเอ เซีย อันมีลักษณะกึ่งคอเคเซียนกึ่งมองโลก เมื่ออพยพลงใต้ได้ผสมกับเผ่าพันธุ์อื่น ๆ บ้างในช่วงของการอพยพ

มีตำนานที่เล่าขานกันใน หมู่ชาวแม้วในประเทศจีนว่าบรรพบุรุษของพวกเข่าเคยอยู่ในพื้นที่ที่หนาวเย็น มาก ต่อมาจึงได้อพยพเข้าสู่อาณาเขตที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากเกสารเก่าแก่ที่สุดของจีนที่กล่าวถึงชื่อแม้วประมาณ ๔ , ๗๐๐ ปีก่อน ระบุว่ามีชาวแม้วอยู่ในลุ่มน้ำเหลืองแล้ว แต่การใช้ชื่อแม้วในเอกสารจีนอาจมีความสับสนอยู่บ้าง เนื่องจากในบางช่วงของประวัติศาสตร์ชื่อแม้วได้ขาดหายไปจากเอกสารโดยมีคำว่า ‘' หมาน ‘' ( คนป่าเถื่อน หรืออนารยชน ) มาใช้เรียกชนชาติอื่น ๆ ไม่ใช้เชื้อสายจีน หลักฐานเหล่านี้ ยังได้กล่าวถึงการทำสงครามาระหว่างชาวแม้วกับจีนเรื่อยมาจนกระทั่งมาถึง สมัยาราวงศ์หมิง ( เหม็ง ) ที่จีนได้ใช้กองทัพขนาดใหญ่รุกเข้าสู่พื้นที่ของชาวแม้ว อันเป็นเหตุผลักดันให้พวกเขาจำต้องอพยพหนีร่นลงมาทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ การปะทะกันยังเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์แมนจู ทำให้ส่วนหนึ่งที่ยอมอยู่ในอำนาจของจีน เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นและอีกส่วนหนึ่งที่มีการหนีร่นลงทางใต้ จนเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ลาว และไทย รวมทั้งเข้าสู่บางส่วนของรัฐฉานในพม่าด้วย

 


การแบ่งกลุ่มย่อยและการกระจายตัว

คำว่า แม้ว หรือ เหมียว หรือ เมี่ยวในสำเนียงภาษาจีน มีผู้ลงความเห็นกันไปหลายทาง บ้างก็ว่าหมายถึงคนป่าเถื่อนบ้างก็ว่าหมายถึงคนพื้นเมือง และยังมีผู้กล่าวเป็นการเรียกเปรียบเทียบกับเสียงของแมว เพราะภาษาพูดของพวกเขาฟังเหมือนเสียงแมวร้อง อย่างไรก็ตาม มีผู้วิเคราะห์คำว่าเหมียวในภาษาจีนว่าเกิดจากการผสมกันของคำสองคำ คือคำว่าต้นพืชอ่อนที่เพิ่งเริ่มงอกในนา และมีการตีความว่าเป็นการหมายถึงคนพื้นเมือง คืออยู่มาก่อนพวกชาวจีน สำหรับคำเรียกชื่อกลุ่มของตนเองว่า ฮม้ง หรือ ม้ง ตามสำเนียงกลุ่มย่อยนั้น โดยทั่วไปพวกเขาไม่สามารถบอกาความหมายได้ แต่มีผู้ให้ความหมายว่าหมายถึง อิสระชน

ตามหลักฐานเอกสารจีนระบุ ว่านับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ หยวน ( ค . ศ . ๑๒๗๙ – ๑๓๖๘ ) ชาวแม้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย คือ แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วขาว ( ไป่แม้ว ) และน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้น ( ประมาณ ค . ศ . ๑๖๔๔ ) เอกสารระบุว่ามีแม้วขาว ( ไป่แม้ว ) แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) แม้วดำ ( ไฮแม้ว ) และแม้วแดง ( หุงแม้ว ) อย่างไรก็ตามมีผู้นับชื่อเรียกกลุ่มแม้วต่าง ๆเป็นภาษาจีนว่ามีไม่น้อยกว่า ๕๐ ชื่อ ไปจนถึง ๘๐ – ๙๐ ชื่อ ในมณฑลไกวเจาแต่หากเป็นชื่อที่เรียกโดยภาษาแม้วเอง มีผู้ระบุว่ามีเพียง ๑๐ ชื่อเท่านั้น

สำหรับกลุ่มย่อยของชาวแม้วในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ

๑ ) ม้งจั๊ว อาจแปลได้ว่า ม้งเขียวหรือม้งน้ำเงิน ชาวแม้วกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่าม้งโดยไม่มีเสียง ‘' ฮ '' นำ พวกเขามักจะถูกเรียกในภาษาไทยว่า แม้วดำ แม้วลาย หรือแม้วดอกส่วนชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่ง มักนิยมเรียกพวกเขาว่าฮม้งเหล่งซึ่งอาจแปลได้ว่าฮม้งลาย

๒ ) ฮม้งเด๊อ แปลว่าฮม้งขาว เป็นชื่อพวกเขาเรียกตนเองโดยมีเสียง ‘' ฮ ‘' นำ คำว่า ‘' ฮม้ง '' ชื่อเรียกเป็นภาษาไทยก็ใช้ว่าแม้วขาว เคยมีผู้เรียกกลุ่มนี้ว่าแม้วเผือก แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงสูยหายไป ส่วนกลุ่มม้งจั๊วจะเรียกพวกเขาว่า ม้งเกล๊อซึ่งก็เป็นคำเดียวกับฮม้งเด๊อเช่นกัน แต่ออกสำเนียงต่างกันไป

อย่างไรก็ตามเคยมีผู้ กล่าวว่ามีชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่งเรียกว่าแม้วกั่ว ( ม ) บ๊า อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน แต่มีจำนวนไม่มากนักและกำลังถูกกลืนโดยกลุ่มแม้วน้ำเงินในพื้นที่ อันที่จริงกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า หรือออกเสียงในสำเนียง ม้งจั๊ว ว่า ม้งกั่ว ( ม ) บั๊ง ซึ่งอาจแปลได้ว่า ฮม้งแขนปล้อง จัดเป็นส่วนหนึ่งของฮม้งขาวนั่นเอง เมื่อมีการอพยพของชาวลาวลี้ภัยเข้าสู่ประเทศไทย นับตั้งแต่ พ . ศ . ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ในจำนวนผู้อพยพจะมีฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า ร่วมอยู่ด้วย แต่ถือว่าเป็นชาวลาวอพยพที่ถูกจัดให้อยู่ตามศูนย์อพยพต่าง ๆ มิใช่ชาวเขาในประเทศไทย การจำแนกกลุ่มย่อยของชาวแม้วเหล่านี้ทำได้ง่ายโดยการสังเกตเครื่องแต่งกาย ตามประเพณี และสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน

จากสถิติประชากรชาวเขา ที่รวบรวมโดย สถาบันวิจัยชาวเขา ในช่วงปี พ . ศ . ๒๕๓๕ พบว่ามีชาวแม้วอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ๒๓๗ หมู่บ้าน ๑๑ , ๗๗๕ หลังคาเรือนและมีประชากรรวม ๙๑ , ๕๓๗ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๕ . ๙๖ ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย ( ๕๗๓ , ๓๖๙ คน ) พวกเขาได้กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ๑๓ จังหวัด ดังนี้

การกระจายตัวของชาวแม้วในประเทศไทย

ลำดับที่

จังหวัด

หมู่บ้าน

หลังคาเรือน

จำนวนคน

๑๐

๑๑

๑๒

๑๓

ตาก

น่าน

เชียงใหม่

เชียงราย

เพชรบูรณ์

พิษณุโลก

พะเยา

กำแพงเพชร

แม่ฮ่องสอน

แพร่

ลำปาง

เลย

สุโขทัย

๔๓

๒๓

๖๔

๓๗

๑๕

๑๖

๒ , ๘๕๒

๑ , ๔๙๖

๑ , ๖๘๘

๑ , ๙๓๖

๑ , ๑๓๕

๘๓๘

๖๖๘

๓๙๘

๒๖๘

๑๙๖

๑๒๔

๙๐

๘๖

๒๑ , ๑๒๑

๑๖ , ๓๓๙

๑๔ , ๙๑๑

๑๐ , ๒๑๗

๘ , ๔๐๖

๕ , ๖๔๙

๕ , ๐๖๔

๓ , ๒๔๗

๒ , ๖๓๖

๑ , ๘๒๑

๙๐๕

๖๑๖

๖๐๕

รวมทั้งสิ้น

๒๓๗

๑๑ , ๗๗๕

๙๑ , ๕๓๗

 

การแต่งกายตามประเพณี

ความแตกต่างของกลุ่มย่อยของชาวแม้วนั้น สังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะการแต่งกายตามประเพณี ดังนี้

๑ ) กลุ่มม้งจั้ว ( ม้งน้ำเงินหรือม้งเขียว )

เครื่องแต่งกายชาย - นิยมใช้ผ้าสีย้อมครามหรือสีดำเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยมีเสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ขลิบขอบข้อมือ เสื้อด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และอาจปักลวดลายลายประกอบด้วยตัวเสื้อไม่มีคอปก ชายสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายตลอดแนวสาบเสื้อจะใช้แถบผ้าสีๆ กุ๊นเดนลายและปักลวดลายประกอบดูสะดุดตา ชายเสื้อจะสั้นเพียงเอวหรือสั้นกว่านั้นเล็กน้อย กางเกงสีเดียวกับเสื้อเป็นกางเกงที่ขากว้างมากเป้าหย่อนยานแต่ปลายขาแคบลง ขอบปลายขากางเกงอาจมีการปัดลายด้วยด้ายสีต่าง ๆ ด้วย รอบเอวจะใช้ผ้าสีแดงซึ่งมีความยาวประมาณ ๔ - ๕ เมตร เคียนทับกางเกงไว้ ชายผ้าแดงทั้งสองข้างจะปัดลวดลายสวยงาม เมื่อพันผ้าแดงรอบเอว ชายผ้าทั้งสองข้างจะถูกห้อยโชว์ลวดลายไว้ด้านหน้า ชายหนุ่มจะนิยมคาดเข็มขัดเงินหรือเข็มขัดหนังทับผ้าแดงนี้อีกชั้นหนึ่ง

เครื่องแต่งกายหญิง : นิยมใช้ผ้าสีเดียวกันกับเครื่องแต่งกายชาย แขนยาวจรดข้อมือและขลิบขอบแบนด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ตัวเสื้อจะมีชายยาวกว่าเสื้อผู้ชาย และจะเก็บชายเสื้อไว้ด้านในกระโปรง สาบเสื้อด้านซ้ายและขวาจะปัดลวดลายหรือขลิบด้วยผ้าสีดูสวยงาม ปกเสื้อเป็นแบบคอปกกะลาสีห้อยพับไปด้านหลัง ด้านหนึ่งของคอปกเสื้อจะมีการประดิษฐ์ลวดลายสวยงามเป็นกราอวดฝีมือกัน ด้วยกระโปรงเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ชิ้น เย็บต่อกันและเย็บตลอดตัว แต่ขอบกระโปรงไม่เย็บต่อกัน จึงเป็นกระโปรงที่ต้องนุ่งโดยป้ายทับชายกันไว้ด้านหน้า ผ้าท่อนบนของประโปรงจะเป็นผ้าพื้นสีขาว ผ้าท่อนกลางเป็นผ้าเขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้ง เมื่อผ่านกระบวนการย้อมแล้วจะกลายเป็นผ้าสีย้อมคราม มีลวดลายตลอดผืน ส่วนผ้าท่อนล่างจะมีสีเช่นเดียวผ้าท่อนกลาง แต่จะปักด้วยด้ายสีและกุ๊นด้วยผ้าสีเป็นลวดลายต่าง ๆตลอดตัวเช่นกัน ตรงบริเวณรอยผ่าของกระโปรงด้านหน้า จะมีผ้าผืนสี่เหลี่ยมยาวผืนหนึ่งคาดปิดทับรอยผ่าด้านหน้าไว้ ผ้าห้อยหน้าผืนนี้ในหมู่บ้านหญิงสาวจะประกวดประชันกันด้วยฝีมือการปักลวดลาย ผ้าอย่างเต็มที่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วมักจะใช้ผ้าพื้นสีแดงยาว ที่ชายทั้งสองข้างปัดลวดลายสวยงามพันทับกระโปรงและจะปล่อยพู่หางสีแดงหลาย เส้นไว้ด้านหลัง หญิงสาวจะคาดเข็มขัดเงินทับผ้าคาดเอวนี้อีกชั้นหนึ่ง ผู้หญิงของกลุ่มนี้นิยมพันมวยผมขนาดใหญ่ไว้กลางศรีษะและมักจะใช้ผ้าแถบตา ๆ ดำ - ขาวคาดมวยผมแล้วประดับด้วยลูกปัดสีสวย ๆ ร้อยเป็นเส้น ๆ ในยามปกติเมื่อต้องเดินทางจากบ้านไปไร่ ผู้หญิงจะมีผ้าพันแข้งป้องกันผิวหนังถูกขีดข่วน แต่ถ้าเป็นในโอกาสพิเศษหญิง สาว จะใช้ผ้าแถบผืนเล็ก ๆ ที่มีความยาวมากพันรอบส่วนขาช่วงล่างเป็นชั้น ๆ อย่างพิถีพิถัน

๒ ) กลุ่มฮม้งเด๊อ ( ฮม้งขาว )

เครื่องแต่งกายชาย ; นิยมใช้ผ้าสีเดียวกับกลุ่มม้งจั๊วลักษณะเสื้อคล้ายกับเสื้อผู้ชายมังจั๊ว เพียงแต่ชายเสื้อจะสั้นเต่อมากกว่า กางเกงเหมือนกางเกงจีน ซึ่งต่างไปจากกลุ่มม้งจั๊วอย่างเห็นได้ชัด และมีผ้าแถบสีแดงปักลวดลายทั้งสองชายพันทับกางเกงรอบเอวแล้วคาดด้วยเข็มขัด เงินหรืออาจเป็นเข็มขัดหนังก็ได้

เครื่องแต่งกายหญิง เสื้อเป็นสีเดียวกับมังจั๊ว แต่แนวสาบเสื้อทั้งสองข้างจะนิยมขลิบด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเรียบๆเสื้อ แขนยาวจรดข้อมือ รอบข้อมือเสื้อทั้งสองข้างขลิบด้วยผ้าสีเดียวกับสาบเสื้อ คอปกด้านหลังเป็นปกเสื้อทรงกะลาสีเช่นกัน และมีการปักลวดลายสวยงามด้านหนึ่งของปกเสื้อด้วยชายเสื้อจะสอดไว้ด้านใน ของกระโปรงสีขาวทั้งตัว ซึ่งไม่มีการปัดลวดลายใดๆ ลงบนตัวกระโปรง อันที่จริงกระโปรงของผู้หญิงฮม้งเด๊อ ก็มีลักษณะเหมือนกับของม้งจั๊วาคือเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ผืนเย็บต่อกัน เย็บจีบารอบตัว และเป็นผืนกระโปรงที่ไม่เย็บขอบเข้าด้วยกัน เพียงแต่กระโปรงฮม้งเด๊อจะเป็นสีขาวล้วน ๆ สำหรับหญิงสาวนั้น ผ้าห้อยหน้าที่ปิดทับรอยผ่าของกระโปรง จะมีการปัดลวดลายงามมาก ในยามปกติผู้หญิงเม้งเด๊อ นิยมสวมกางเกงจีนมากกว่ากระโปรงสีขาวซึ่งจะสกปรกได้ง่าย ผู้หญิงของกลุ่มนี้ นิยมเหล้ามวยผมคล้อยมาทางด้านหน้าของศรีษะ และมีผ้าคาดผมปักลวดลายโชว์ไว้ด้านหน้า รวมทั้งการใช้ผ้าพันแข้งด้วย

เครื่องโพกผมของทั้ง ๒ กลุ่มย่อย จะมีความแตกต่างกันไปตามท้องที่และแซ่สกุล ทั้งรูปทรงสีสันและวิธีพันศรีษะทั้งหญิงและชายทั้ง ๒ กลุ่ม นิยมประดับเครื่องเงินจำพวกกำไลคอ กำไลข้อมือ แหวน ตุ้มหู และเหรียญเงินรูปกลมและรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมักจะเย็บประดับลงบนตัวเสื้อและผ้าโพกผมรวมทั้งสองข้าง ในสมัยก่อนผู้ชายก็นิยมเครื่องโพกศรีษะด้วย
ส่วนกลุ่มฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า นั้น การแต่งกายเป็นแบบเดียวกับฮม้งเด๊อ เพียงแต่รอบแขนเสื้อผู้หญิงทั้งสองข้างจะมีแถบผ้าสีเขียวหรือสีฟ้าคาดเป็น ปล้อง ๆ จึงเรียกกันว่า ฮม้งแขนปล้อ

การตั้งบ้านเรือน

ในสมัยที่ยังมีการปลูกฝิ่นกันโดยแพร่หลาย ชาวแม้วมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับประมาณ ๑ , ๐๐๐ เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ต่อมาเมื่อหมู่บ้านส่วนใหญ่เลิกปลูกฝิ่นโดยหันมาปลูกพืชเงินสดชนิดอื่น ๆ ความจำเป็นที่จะต้องตั้งถิ่นฐานภูเขาสูง ๆก็หมดไปอย่างไรก็ตามการเลือกทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านและด้วยกัน จำเป็นต้องพิจารณาดูทำเลที่เหมาะสมตามหลักความเชื่อ เพราะหากเลือกทำเลผิดพลาดอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยลงได้

ลักษณะบ้านเรือนตามระเพณี เป็นการปลูกบ้านคร่อมดินโดยการปรับพื้นดินให้ราบเรียบเป็นพื้นเรือน แล้วจึงปลูกตัวบ้านคร่อมทับลงไป โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ฝาบ้านอาจใช้ไม้ไผ่สับฟาก หรือไม้แผ่นที่ใช้ขวานถากหลังคาอาจใช้ตับหญ้าหรือแป้นเกล็ดไม้ ซึ่งชนิดหลังจะมีความทนทานกว่ามาก สามารถอยู่ได้เป็นสิบปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่บ่อย ๆ เหมือนหญ้าคา ปัจจุบันมีการใช้วัสดุสมัยใหม่กันมากขึ้น รวมทั้งการสร้างบ้านในรูปทรงแบบพื้นราบ ถึงแม้ว่าการจัดภายในบ้านจะมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มย่อยและต่างกันตาม แซ่สกุลก็ตาม องค์ประกอบที่สำคัญภายในบ้านยังคงมีเหมือน ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ประตูบ้านด้านที่หันสู่ลาดเขา ส่วนที่ลาดลงซึ่งจัดว่าเป็นประตูด้านหน้าหรือประตูสำคัญ เรียกว่า ขอจ้งต่า ( หรือขอจ้งดั่ง ในสำเนียงม้งจั๊ว ) การประกอบพิธีสำคัญ ๆ เช่นการเรียกขวัญ การส่งวิญญาณผู้ตายออกจากบ้าน การแต่งงานจะต้องผ่านประตูนี้ อีกประตูหนึ่งซึ่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้าน จัดว่าเป็นประตูธรรมดา เรียกว่า ขอจ้งสั่ว โดยทั่วไปกลุ่มม้งจั๊วมักจะไม่มีประตูด้านนี้ ถัดจากประตูสำคัญจะเป็นห้องนอนของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งห้องของหัวหน้าครัวเรือนมักจะเป็นห้องที่อยู่ติดประตู ลูกสาวและลูกชายที่โตแล้วจะนอนแยกห้องกัน ตาไฟมี ๒ แห่ง คือเตาไฟใหญ่เรียกว่าขอส่อ ( หรือขอสู่ในภาษาม้งจั๊ว ) ก่อด้วยดินวางกระทะใบบัวใช้เป็นเตาหงข้าว ต้มอาหารสัตว์ ทำอาหารเลี้ยงแขกในพิธี ต้มกลั่นเหล้าและต้มย้อมผ้า ส่วนเตาไฟเล็กเรียกว่าขอจุ๊ ใช้เป็นที่ทำอาหารประจำวันและต้มน้ำ หิ้งผี เรียกว่า ท่าเน้ง ( หรือทั่งเน้งในภาษาม้งจั๊ว ) อยู่ตรงข้ามกับประตูสำคัญโดยปรกติยุ้งข้าวและข้าวโพดจะอยู่ในตัวบ้านด้วย บริเวณริมด้านหนึ่งใกล้กับครกกระเดื่องสำหรับตำข้าว ในปัจจุบันครกกระเดื่องตำข้าวเริ่มหายไป เพราะมีโรงสีข้าวแทนที่ หากมีแขกมาอาศัยพักนอน กลุ่มฮม้งเด๊อ จะปูเสื่อให้ตรงบริเวณพื้นที่โล่งกลางบ้าน ในขณะที่กลุ่มม้งจั๊ว จะมีแคร่ยกพื้นไว้คอยรับแขกใกล้กับประตูสำคัญ เสากลางบ้านนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้านด้วย เพราะถือเป็นเสาผีฟ้า เรียกว่า เย่ต๊า ( หรือยี่กลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) หรือเทียบได้กับเสาเอกของบ้าน บริเวณใกล้ ๆ กับหิ้งผี จะมีกระดาษแผ่นสีขาวปิดข้างฝาเรียกว่าสีก๊ะ ( หรือกั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) เป็นผีที่คอยดูแลทุกข์สุขของคนในบ้าน ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของบ้านชาวแม้วคือไม่มีบานหน้าต่าง ดังนั้นภายในบ้านจึงค่อนข้างมืด ระยะหลังมีผู้นิยมเจาะช่องหน้าต่างเพิ่มขึ้นทำให้ภายในบ้านดูสว่างขึ้น

ครอบครัวและเครือญาติ

สังคมของชาวแม้ว จัดว่าเป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบแซ่สกุล คนในแซ่สกุลเดียวกันเป็นญาติพี่น้องกันแม้จะไม่สามารถสืบบรรพบุรุษาร่วมกัน ได้ก็ตาม ดังนั้น ชายและหญิงจากแซ่สกุลเดียวกัน จึงไม่สามารถแต่งงานกันได้ รวมทั้งไม่อาจมีความสัมพันธ์ทางเพศกันได้ด้วย เนื่องจากชาวแม้วสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย เมื่อหญิงชายแต่งงานกัน ผู้หญิงจะต้องออกจากสกุลของพ่อแม่ตนเองมาอยู่ฝ่ายผู้ชาย ภายใต้ผีฝ่ายผู้ชายด้วย โดยทั่วไปหนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่ มักจะอยู่ร่วมในชายคาเดียวกันกับพ่อแม่ของฝ่ายชาย อันจัดเป็นรูปแบบของครอบครัวแบบขยาย ลูกชายคนโตมักจะนำครอบครัวของตนแยกเรือนออกไปก่อนเป็นครอบครัวเดี่ยว จนในที่สุด เหลือแต่ครอบครัวของลูกชายคนเล็ก ซึ่งจะต้องดูแลพ่อแม่และสืบทอดการดูแลบ้านต่อไป

ถึงแม้สังคมชาวแม้วจะ อนุญาตให้หนุ่มสาวสามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน แต่ก็ต้องระมัดระวังมิให้เป็นการลบหลู่ผู้ใหญ่หรือผีเรือน การแต่งงานมีได้หลายวิธี ตั้งแต่การหมั้นหมายกันตั้งแต่ยังเล็กระหว่างพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย การส่งเถ้าแก่ไปสู่ขอโดยตรง จนถึงการาลักพาหรือพาหนีโดยฝ่ายชายเป็นผู้กระทำ จากนั้นจึงส่งผู้ใหญ่มาติดต่อแจ้งแก่ฝ่ายหญิง โดยทั่วไปการแต่งงานตามประเพณีจะเกิดขึ้นหลังจากคู่หนุ่มสาวได้อยู่กินกัน มาระยะหนึ่งแล้วอาจจะ ๑ - ๒ ปีแล้วแต่จะตกลงกัน มีคู่สามีภรรยาบางคู่ที่อยู่กินกันจนลูกอายุ ๓ - ๔ ปี แล้วยังไม่เข้าพิธีแต่งงานตามประเพณีก็มี แต่ก็รับทราบกันว่าเป็นคู่สามีภรรยาที่จะต้องทำพิธีแต่งงานในโอกาสต่อไป การแต่งงานนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้จ่ายค่าสินสอดทั้งหมดให้แก่พ่อแม่เจ้าสาว ซึ่งในพิธีแต่งงานจะต้องมีเถ้าแก่ของทั้งสองฝ่าย เข้านั่งเจรจาต่อรองาค่าตัวเจ้าสาวกันจนเป็นที่ตกลงกัน

กล่าวได้ว่าโดยทั่วไป ชาวแม้วนิยมครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ก็อนุญาตให้ชายมีภรรยาหลายคนได้ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ต้องการบุตรชายไว้สืบสกุลและความต้องการแรงงานทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

ความเชื่อและพิธีกรรมที่สำคัญ

ชาวแม้วมีความเชื่อถือผีวิญญาณและการบูชาบรรพบุรุษสำหรับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น อาจจัดแบ่งได้ดังนี้

๑ ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับเทพหรือเทวดา ที่สำคัญมี เหย่อโช้วเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ หย่งเหล่า เป็นผู้ดูแลให้มนุษย์ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยุ่ว้าตัวะเต่ง เปรียบเหมือนพระยม ผู้มีหน้าที่ตัดสินให้วิญญาณผู้ตายมาเกิดใหม่ ถือเซ้งถือตี่ หรือ เซ้งเต๊เซ้งเชอ เป็นผีเจ้าที่เจ้าทาง กะยิ้ง เป็นผีฟ้าผู้ให้ลูกแก่มนุษย์ที่ต้องการและร้องขอ

๒ ) เน้ง เป็นผีฝ่ายที่คอยต่อสู้กับผีร้าย นับว่ามีบทบาทมากในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่เชื่อกันว่าเกิดจากการที่ขวัญออกจากร่างไป ผีเน้งจะช่วยรักษาผู่ป่วยโดยผ่านร่างทรงของหมอผีทรง หรือโดยคำเชื้อเชิญของหมอผีคาถาให้มาช่วย

๓ ) ด๊า ( หรือกลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) จัดเป็นผีทั่ว ๆ ไปซึ่งมีทั้งที่ให้คุณและให้โทษ ผีเรือนเรียกว่า ด๊าโหวเจ๋ ซึ่งประกอบด้วยผีประตู ผีเสาเรือน ผีก๊ะ ผีหิ้งผี ผีเตาไฟใหญ่ ผีเตาไฟเล็กและผีบรรพบุรุษ นอกจากนั้นจะเป็นผีทั่ว ๆไป เช่น ผีน้ำ ผีป่า ผีถ้ำ เป็นต้น ส่วนผีซึ่งจัดว่ามีหน้าที่คร่าชีวิตมนุษย์เรียกว่า ด๊าชื่อ ( น ) หย่ง

ชาวแม้วจึงเชื่อว่า มนุษย์ทีทั้งส่วนของร่างกายไปด้วยสาเหตุใดก็ตามจะทำให้คนผู้นั้นล้มเจ็บลง จึงจำเป็นต้องหาวิธีนำขวัญกลับมายังร่างของผู้ป่วยนั้น เพื่อจะได้หายเป็นปรกติ นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดด้วย ดังนั้นพิธีกรรมที่สำคัญ ๆ จึงมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของคนโดยตรง เช่น การเรียกขวัญ เรียกว่า ฮูปลี่ เป็นการเรียกให้ขวัญผู้ป่วยกลับมาเข้าร่างเดิม การเลี้ยงผีวัว เรียกว่า อัวยุ่ด๊า โดยเชื่อกันว่าพ่อหรือแม่ที่ตายไปต้องการให้ลูกหลานที่ยังอยู่ประกอบพิธีส่ง ไปให้ การทำผี เรียกว่า อัวเน้ง เป็นการบำบัดรักษาผู้ป่วย แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือการทำผีเข้าทรง เรียกว่า อัวเน้งเท่อกับการทำผีเรียน เรียกว่าอัวเน้งเก่อ ส่วนประเภทแรกเป็นการเชิญผีมาเข้าทรงหมอผี ส่วนประเภทหลังเป็นเป็นการเชิญผีมาช่วยทำให้คาถาได้ผลยิ่งขึ้นในการรักษาผู้ ป่วย

ประเพณีสำคัญในรอบปี

ประเพณีสำคัญที่สุด คือ ประเพณีฉลองปีใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ของเดือนแรกในรอบ ๑๒ เดือน ตามระบบจันทรคติ การนับระบบจันทรคติของชาวแม้ว เป็นการนับต่อเนื่องถึง ๓๐ ค่ำ จึงเรียกพิธีปีใหม่ว่า น่อเป๊โจ่ว หรือ อาจแปลว่า กินสามสิบ ซึ่งถือว่าเมื่อครบ ๓๐ ค่ำ ของเดือนสุดท้ายของปี ก็เป็นอันสิ้นสุดปีเก่าย่างเข้าสู่ปีใหม่ ดังนั้น ในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ทุกคนจะไม่ไปไร่ แต่จะแต่งตัวด้วยชุดใหม่ หนุ่มสาวจะเล่นเกมโยนลูกบอลผ้าสีดำกัน ในขณะที่พวกผู้ชายจะนิยมเล่นลูกข่างกัน มีการทำขนแป้งข้าวเหนียวแจกจ่ายกันมีการเชิญเพื่อนบ้านญาติพี่น้อง มารับประทานอาหารร่วมกันโดยทั่วไปวันฉลองปีใหม่มักจะตกในราวเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่ชาวบ้านเสร็จกิจจากการเกี่ยวข้าวกันแล้ว

นอกจากประเพณีฉลองปีใหม่ แล้ว ชาวแม้วยังมีประเพณีที่เป็นวัฏจักรชีวิตทั่วไป คือ ประเพณีการเกิด การแต่งงานและการตาย ที่ยังคงยึดกันอยู่อย่างกว้างขวาง กลุ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการปฎิบัติอย่างมาก คือ กลุ่มทีได้หันมานับศาสนาคริสต์แล้ว ทำให้ต้องละทิ้งการปฎิบัติเกี่ยวกับผีต่าง ๆ ลงไป
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในรอบปี

สังคมของชาวแม้ว จัดเป็นสังคมเกษตรกรรม ในจำพวกเกษตรกรรมแบบตัดฟันโค่นเผาเพื่อการเพาะปลูก ที่ดินที่ถูกกำหนดไว้เป็นพื้นที่เพาะปลูกของปีถัดไป จะถูกโค่นถางในเอนมีนาคมเพื่อรอการเผาช่วงที่อากาศร้อนจัด ปลายเดือนมีนาคมต่อต้นเดือนเมษายน เป็นเวลาที่เหมาะแก่การเผาไร่ ช่วงหลังของเดือนเมษายนหลังจากาที่ฝนเริ่มมาในช่วงแรก ๆ แล้วชาวบ้านจะเริ่มปลูกข้าวโพด โดยการผสมพันธ์พืชผักสวนครัวบางชนิดลงไปด้วย เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกข้าวไร่ ซึ่งเป็นพืชบริโภคหลักร่วมไปกับพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่ปลูกผสมร่วมด้วย ครอบครัวที่มีที่นาจะเริ่มซ่อมแซมเหมืองฝายและคันนา เดือนมิถุนายนชาวบ้านจะเริ่มกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวครั้งแรก ที่นาเริ่มถูกไถเตรียมที่ไว้ เดือนกรกฎาคมเริ่มปลูกข้าวในนาและกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด เดือนสิงหาคมชาวบ้านที่ปลูกฝิ่นจะตระเตรียมที่สำหรับการปลูกฝิ่น ไร่ข้าวโพดเริ่มเก็บผลผลิตได้แล้วและจะเก็บข้าวโพดต่อเนื่องไปจนถึงกันยายน เมื่อเก็บผลผลิตแล้ว ไร่ข้าวโพดของบางารายอาจจะถูกเตรียมสำหรับเป็นไร่ฝิ่นต่อไป เมล็ดฝิ่นรุ่นแรกจะถูกหว่านลงในไร่ในช่วงเดือนกันยายนไปจนถึงตุลาคม และในเดือนตุลาคมนี้เองที่เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่ได้บ้างแล้ การเกี่ยวข้าวไร่จะเป็นงานหนักในเดือนพฤศจิกายน พร้อมกันไปกับการกำจัดวัชพืชในไร่ฝิ่นส่วนข้าวนาจะเริ่มเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้เช่นกัน ไปจนถึงธันวาคม การกรีดฝิ่นจะทำในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเป็นเวลาที่จะต้องเตรียมที่ไร่สำหรับฤดูเกษตรครั้งต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวแม้วเลิกปลูกฝิ่น และหันมาปลูกพืชเงินสดชนิดอื่น ๆ แทน ช่วงเวลาในการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของพืชที่ ปลูกนั้น ๆ นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์ หากเป็นสัตว์ขนาดไม่ใหญ่นักเช่น ไก่และหมู จะเลี้ยงอยู่ภายในบริเวณหมู่บ้าน มักเป็นหน้าที่ของผู้หญิงและเด็ก ส่วนสัตว์ใหญ่ ได้แก่ วัว ควายและม้า มักจะมีพื้นที่เลี้ยงสัตว์อยู่ห่างจากหมู่บ้านที่ชาวบ้านนิยมนำสัตว์ไป เลี้ยงปล่อยไว้ด้วยกัน ผู้ชายจะเป็นผู้คอยอยู่ดูแลสัตว์ใหญ่เหล่านี้ ปัจจุบันการเลี้ยงแพะและม้ากำลังหายไปจากหมู่บ้านส่วนใหญ่ หมูและไก่รวมทั้งแพะมักจะถูกใช้ในการทำพิธีเซ่นไหว้ต่าง ๆ สำหรับพิธีที่เกี่ยวกับความตาย จะต้องใช้วัวหรือควายในการทำพิธี ส่วนวัวและม้าอาจถูกฝึกให้เป็นสัตว์บรรทุกด้วย เมื่อมีการหันมาทำนากันมากขึ้น หลายหมู่บ้านจึงมีการเลี้ยงควายเพื่อใช้ทำนากันมากขึ้น
ความสัมพันธ์กับคนในล้านนา

  • ในอดีตนั้น ก่อนที่จะมีโครงการพัฒนาเข้าไปยังหมู่บ้านชาวเขา โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า ชาวแม้วมีความสัมพันธ์กับชาวพื้นราบค่อนข้างน้อย แม้การแต่งงานข้ามเผ่ากันก็หาได้ยากจีนฮ่อดูจะมีความสัมพันธ์กับชาวแม้วใน ทางการค้ามากกว่าชาวพื้นราบ เนื่องจากสมัยก่อนพ่อค้าจีนฮ่อจะใช้ม้าต่างบรรทุกสินค้าหลากหลายชนิดเดินทาง ขึ้นไปค้าขายถึงหมู่บ้านชาวเขารวมทั้งการรับซื้อฝิ่นจากชาวเขาด้วย ความสัมพันธ์นี้ทำให้ชาวแม้วจำนวนมากสมมารถพูดภาษาจีนฮ่อได้และเป็นที่น่า สังเกตว่าในพื้นที่ที่ชาวแม้วอยู่ร่วมกับชาวกะเหรี่ยง พวกเขายังสามารถเรียนรู้และพูดภาษากะเหรี่ยงได้ ความสัมพันธ์กับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ นั้น ชาวแม้วมักจะเป็นผู้จ้างแรงงานมากกว่าเป็นแรงงานรับจ้าง การเป็นแรงงานรับจ้างมักจะเกิดขึ้นภายในหมู่บ้านตนเองเป็นส่วนใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดน่านในอดีต ทั้งชาวเขาและชาวพื้นราบมักจะต้องเดินทางไปซื้อเกลือที่บ้านบ่อเกลือ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด โดยเฉพาะชาวแม้วหลังการเก็บเกี่ยวข้าวจะนิยมเดินทางพร้อมม้าต่างเป็นกลุ่ม ใหญ่ ๆ เพื่อมาซื้อเกลือที่บ่อเกลือ ความสัมพันธ์กันจึงอยู่บนพื้นฐานของการค้าขายเป็นสำคัญ

 

  • ในปัจจุบันเมื่อการพัฒนาเข้าถึงหมู่บ้านชาวเขาอย่างกว้างขวาง ความสัมพันธ์กับสังคมภายนอกเป็นไปอย่างกว้างขวางทั้งกับหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน พ่อค้าซื้อขายผลผลิต การติดต่อกับตลาดในเมืองต่าง ๆ การออกหางานทำนอกภาคการเกษตร การส่งลูกหลานเข้าเรียนต่อในเมืองแม้กระทั่งการติดต่อกับญาติพี่น้องข้าม ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ก็กำลังเป็นที่แพร่หลาย ดังนั้นจึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ของชาวแม้วกับคนภายนอกในปัจจุบันมิได้จำกัดอยู่ในสังคมของชาว ล้านนาเท่านั้น แต่ยังได้ขยายไปถึงสังคมเมืองอื่น ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ


นอกจากที่กล่าวมานี้แล้ว ยังได้พบว่า บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ได้ศึกษาเรื่องราวของชนเผ่านี้ไว้แล้ว เมื่อ พ . ศ . ๒๔๙๓ ดังปรากฏในหนังสือของท่านชื่อ ๓๐ ชาติในเชียงราย ซึ่งกล่าวว่า

แม้ว หรือที่ปัจจุบันเรียกตามชื่อของชนเผ่าว่า ม้ง เป็นชนชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาและการแต่งกายตลอดจนขนธรรมเนียม คล้ายกับชาวจีนฮ่อ ปัจจุบันอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่บนยอดเขาต่าง ๆ ในเขตมณฑลทิเบต ยูนนานของจีน รัฐฉานของพม่า อินโดจีน และประเทศไทยในตอนเหนือ เหตุที่ชนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาอยู่เขตประเทศไทย เนื่องจากชาวแม้วมีอาชีพทางปลูกฝิ่น พื้นที่บนเขาต่าง ๆ ในมณฑลทิเบตและยูนนานตอนเหนือซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่เดิมทุรกันดาร พื้นที่บนภูเขาโล่งเตียนรัฐบาลจีนห้ามตัดฟันต้นไม้ ห้ามทำการปลูกค้าฝิ่นและสูบฝิ่น ชาวแม้วถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่และบรรดาโจรฮ่อที่เดินทางผ่านไปมาบนยอดเขา เสมอ จึงพากันอพยพมาอยู่ตามชายแดนยูนนานใต้ตอนแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งห่างจากการกวดขันของเจ้าหน้าที่จีน มีภูเขาสูงต่ำเรียงรายหลายพันยอดบางพวกก็เข้าไปอยู่ในเขตพม่า อินโดจีนเหนือตามภูเขาชายแดน ครั้นอยู่ไม่เป็นปกติสุข เพราะเกิดความยุ่งยากในทางการเมืองและดินแดนเหล่านั้นมีการปล้นสะดม การปะทะกันระหว่างทหารจีนรัฐบาลเก่าและรัฐบาลใหม่ ฝรั่งเศษกับลาวญวนอิสระ กะเหรี่ยงกับพม่า และมีโจรฮ่อคอยแย่งชิงรบกวนอยู่เสมอ ชาวแม้วจึงพากันอพยพเข้ามาอยู่ตามภูเขาต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

ชาวแม้วในจังหวัด เชียงรายนั้น มีอยู่บนดอยช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ดอยผาหม่น อำเภอเทิง ดอยหลวง อำเภอเชียงของ ที่อำเภอเชียงคำมีอยู่บนดอยน้ำบง ดอยนาง ดอยผาแดง ดอยภูลังกา จังหวัดพะเยา ดอยทุ่งก่อ อำเภอเมือง

ชาวแม้วอาศัยอยู่รวมกัน เป็นหมู่ ๆ ท่ามกลางอากาศเย็นและเวิ้งว้างบนภูเขาสูงไม่ห่างจากลำห้วย ซึ่งสามารถนำเอาน้ำมาใช้ภายในบ้านได้ หมู่หนึ่งมีประมาณ ๑๐ – ๔๐ หลังคาเรือนก่อนถึงหมู่บ้านประมาณ ๑ กิโลเมตร จะมีเฉลวอันใหญ่ขวางทางในเวลามีงานพิธี เป็นเครื่องหมายห้ามเข้า ทั้งนี้ ไม่มีรั้วบ้านล้อมรอบเป็นขอบเขต บางหมู่บ้านใช้ไม้ไผ่หรือไม้ซางเจาะทุลุปล้องกลางต่อกันไปต่อเอาน้ำมาใช้ภาย ในบ้านเรือนบ้านที่ปลูกนั้นสร้างอย่างหยาบ ๆ เป็นรูปเหลี่ยมผืนผ้า โดยมากทำด้วยไม้ไผ่ปลูกติดอยู่กับพื้นดิน ทำร้านสูงประมาณ ๑ ศอก เพื่อเป็นที่นอนและกั้นเป็นห้อง ๆ ไป บ้านผู้มีฐานะดีใช้ไม้กระดานซึ่งทำขึ้นโดยวิธีตอกลิ่มจากซุงให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาตั้งเป็นฝาเรือน ใช้ไม้ไผ่ขนาบทั้งข้างนอกและข้างในเอาหวายมัดยึดไว้อีกชั้นหนึ่ง หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือใบก้อ ( ปาล์มชนิดหนึ่ง ) ใบหวาย ใบไผ่ ไม้ไผ่ผ่าคว่ำหงาย ฯลฯมีประตูอยู่ตรงกลาง เมื่อเข้าไปจะพบเตาไฟตั้งอยู่บนพื้นดินทางขวามือ ถัดไปเป็นหิ้งผีเรือน มีที่นั่งรับประทานอาหารกับเตาไฟสำหรับทำอาหารให้สัตว์อยู่ทางซ้ายมือ ยกร้านเป็นที่เก็บข้าวเปลือก ถัดไปเป็นห้องนอนของชาวแม้ว หลังคาบ้านเตี้ยไม่มีเพดานด้านในมองขึ้นไปบนขื่อ จะเห็นสีดาของควันไฟจับลำไม้ไผ่เป็นเงา ตามเสาบางบ้านประดับด้วยเขากวาง บริเวณนอกบ้านมีเล้าไก่ คอกหมู โรงม้าและทำเป็นทางเดินรอบ ๆ ไม่มีรั้วบ้าน น้ำที่ใช้ไม่มีโอ่งหรือถังสำหรับบรรจุน้ำมีแต่กระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ๒ ปล้อง ทะลุปล้องกลางยาว ๑ วาเศษ ใช้ตักน้ำและเก็บน้ำ ผู้หญิงจะตื่นแต่เช้ามืดแบกกระบอกน้ำลงไปตักยังห้วยแล้วแบกทาบหลังขึ้นมากๆ

ชาวแม้วมีอาชีพในการทำ ไร่ ปลูกข้าวโพด ข้าวเจ้า พริก ฝิ่น ยาสูบ ฯลฯ สัตว์เลี้ยงมีม้า ลา ไก่ หมู วัว สุนัข อาหาร ประเภทเนื้อของชาวแม้วจะเป็นเนื้อหมู หรือเนื้อวัวทำเป็นเนื้อเค็มตากแห้งไว้รับประทานเวลาไปทำงานในไร่ โดยใช้ต้มกับผักกาด หัวชู ฟัก แตง ถั่ว ฯลฯ บางครั้งผัดน้ำมันหรือปิ้งรับประทานเวลารับประทานอาหารใช้ตะเกียบแบบชาวจีน และยังต้องมีน้ำชาแก่ ๆ แบบจีนดื่มตามไปด้วย

ฝิ่นเป็นอาชีพสำคัญของ ชาวแม้วในขณะนั้น ( พ . ศ . ๒๔๙๐ ) เพราะนำรายได้มาสู่เขาปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก แม้ทางรัฐบาลไทยจะไม่อนุญาตให้มีการปลูกฝิ่น แต่ชาวแม้วก็ยังลักลอบปลูกกันอยู่ตามไหล่เขา ส่วนการสูบฝิ่นนั้น ดูเหมือนมีประจำแทบทุกหลังคาเรือน เหตุแห่งการติดฝิ่น คือปรากฏว่าชาวแม้วมักเจ็บป่วยเสมอ แทนที่จะเข้าใจว่าการเจ็บป่วยนั้นอาจเกิดจากอาหารเสียหมักหมมอยู่ในร่างกาย ทำให้มีการปวดหรือเหตุอื่น ได้แต่เซ่นผีหรือเอาฝิ่นมาสูบเพื่อระงับการเจ็บปวด หลายครั้งต่อหลายครั้งเข้าจึงทำให้ติดฝิ่น การโค่นทำลายต้นไม้เพื่อทำไร่ก็ยังเป็นไปอย่างปกติ จนภูเขาบางลูก มีแต่ต้นไม้เล็ก ๆ บางลูกกลายเป็นภูเขาหัวโล้น ผลเสียหายจึงตกอยู่กับประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ

ชาวแม้วเลี้ยงสุนัขไว้ใน บ้านแทบทุกหลังคาเรือน สุนัขพันธ์แม้วมีขนสีดำ สีขาว ปุกปุย ยาวกว่าสุนัขทางพื้นที่ราบเวลาเล็ก ๆน่าเอ็นดู แต่โตขึ้นค่อนข้างดุ ชอบอากาศเย็น ได้มีผู้นำมาเลี้ยงไว้ตามพื้นที่ราบบางแห่ง แต่สุนัขชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในถิ่นที่มีอากาศร้อนได้ไม่นาน ชาวแม้วทำปืนและลูกปืนใช้เองตลอดจนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีดพร้า จอบ เสียม เครื่องเงิน กำไลมือและห่วงคอ ซึ่งจะทำเองหมดทุกอย่างเสื้อผ้า เช่น เสื้อ กระโปรง กางเกง ผู้หญิงเป็นคนปั่นทอทำด้วยป่านป่า ต้นกัญชาและฝ้าย เครื่องทอผ้าก็ทำแบบง่าย ๆ คือใช้กี่เอวโดยผูกปลายกลุ่มด้ายยืนเข้ากับเสา อีกข้างหนึ่งผูกกับเอวแล้วทอ

ในการล่าสัตว์ ชาวแม้วมักทำเป็นร้านสูงตามต้นไม้ใกล้ที่สัตว์ลงกินน้ำ บางทีก็ทำเป็นซุ้มไม้ดักยิงสัตว์ ชาวแม้วมีความชำนาญในการยิงปืนและหน้าไม้มาก สิ่งเสพย์ติดนอกจากฝิ่นแล้วมียาสูบซึ่งใช้กล้องยาสูบทำด้วยเหง้าไม้ไผ่และ บ้องยา ไม่ใช้ใบตองหรือกระดาษมวนบุหรี่ ผู้หญิงและเด็กไม่สูบฝิ่น มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่นิยมสูบฝิ่น

ชาวแม้วเป็นคนที่ค่อน ข้างใจคับแคบ ตระหนี่ถี่เหนียวแต่ไม่โหดร้าย มีความสามัคคีกันระหว่างชาวบ้าน ขี้เกียจกว่าชาวเย้ามาก ไม่มีตัวหนังสือ เขาบอกว่าเดิมชาวแม้วมีตัวหนังสือเหมือนกัน แต่โดยเหตุที่บรรพบุรุษของเขาแต่โบราณกาล ต้องอพยพลี้หนีภัยอยู่เสมอ วันหนึ่งขณะที่นำหนังสือภาษาแม้วบรรทุกม้าเดินทางมาถึงริมลำธารแห่งหนึ่ง ก็ได้ปลดตะกร้าหนังสือลงจากหลังม้าแล้วพากันหลับอยู่ใต้ต้นไม้ และลืมปล่อยม้าไปกินหญ้า ม้าจึงกินหนังสือเป็นอาหารแทน นับแต่นั้นมาชาวแม้วจึงไม่มีหนังสือใช้

ชีวิตความเป็นอยู่ประจำ วันของชาวแม้วคล้ายคลึงกับชาวเขาพวกอื่น ๆ คือผู้หญิงตื่นนอนก่อนผู้ชายเวลาเช้ามืด หุงข้าวทำอาหารไว้สามีและสมาชิกภายในครอบครัว หาอาหารให้สัตว์เลี้ยง ตำข้าว กลางวันไปทำไร่ ผู้ชายเจ้าของบ้านตื่นสายค่อนข้างจะขี้เกียจ เพราะเห็นแต่สูบบ้องยา นั่งสนทนาและสูบฝิ่น เด็กหนุ่มตื่นก่อนไปไร่แต่เช้ากลับมาถึงบ้านตอนเย็นพักผ่อน ส่วนผู้หญิงเมื่อกลับจากไร่มาแล้วก็ต้องตำข้าว ทำอาหารการกินอยู่ง่าย ๆ เพียงผักต้มก็ใช้รับประทานได้ ไม่ชอบ รสเผ็ด ไม่ใช้น้ำปลา กะปิ หอม กระเทียม คงใช้เกลือเม็ดอย่างเดียว ความเป็นอยู่ค่อนข้างสกปรกกว่าชาวเขาพวกอื่น ๆ ทั้งหมดนานๆ ครั้งจึงจะอาบน้ำ ปกติก็เอาผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเท่านั้นปล่อยให้ฝุ่นและขี้เขม่าจับข้าวของ เครื่องใช้ต่าง ๆ วางไม่เป็นระเบียบ ปล่อยเกะกะไปตามเรื่อง ผู้ชายชาวแม้วนิยมมีภรรยาสองคนและปล่อยให้ภรรยาทำงานหนัก ถือเป็นเสมือนทาสที่ซื้อมาเพื่อใช้งาน ถ้าชายใดมีภรรยา ๑ คนแล้ว ยังหากินไม่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง หรือยังไม่มีเงินพอใช้จ่าย ก็ต้องหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีก เวลาที่เขามีความสุขที่สุด คือขณะที่ตนนั่งจิบน้ำชาอยู่ บนบ้านมองออกไปทางประตู เห็นม้าหลายตัวกำลังร้องร่าเริง และภรรยาทั้งสองกำลังให้หญ้าม้า

แม้วแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือแม้วขาว แม้ว่าและแม้วลายแต่ละกลุ่มมีชีวิตและวัฒนธรรม ดังนี้

แม้วขาว

แม้วขาว แต่งกายคล้ายแม้วดำ แต่สังเกตได้จากแม้วขาวแต่งกายมีแถบผ้าริมขอบเสื้อเป็นสีขาว ผู้หญิงสวมกางเกงสีดำยาวลงมาหุ้มข้อเท้า สวมเสื้อดำหลวม ๆ มีแถบขาวที่ริมขอบเสื้อผ่าเสื้อผ่ากลางป้ายลงมาทางเอวไม่มีกระดุม บางทีปล่อยเสื้อเปิดเห็นถัน มีผ้าคาดเอวหลายชั้น และปล่อยผ้ายาวปิดลงมาจากเอวหน้าถึงใต้เข่า สวมห่วงคอทำด้วยโลหะเงินซ้อน ๆ กันผู้มีฐานะดีก็สวมห่วงคอหลายอัน แต่ไม่เกิน ๖ อัน เพราะหนัก นอกจากห่วงคอแล้วมีกำไลข้อมืออีก ผมใช้เกล้ามวยสูง โพกศรีษะหรือสวมหมวกกลม ๆ ต่างหูทำด้วยโลหะเงินใส่ทั้งสองข้าง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีขาวแบบจีน มีผ้าปักสีขาวเป็นดอกลวดลายต่าง ๆ คาดเอว เสื้อเด็กนุ่งสีดาแขนยาวติดผ้าแถบขาวจากคอตลอดลงมาชายมีเรือนแล้วไม่นิยมติด ผ้าแถบเปิดให้เห็นท้องแต่ต่ำกว่าแม้วดำ สวมหมวก สวม หมวกกลม ๆ ไม่มีปีก ทุกคนโกนศรีษะไว้ผมจุกสั้น ๆ ตรงขวัญ ๑ หย่อม กำไลข้อเท้าทำด้วยโลหะเงินสวมข้างละ ๑ อัน ที่คอมีห่วงคอ แต่จำนวนน้อยกว่าผู้หญิงไม่สวมร้องเท้า

ก่อนถึงหมู่บ้านแม้วจะพบ ศาลาข้างทาง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๑๐๐ เมตร สำหรับใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนเวลาเดินทางเหน็ดเหนื่อย ภายในบ้านมีแท่นบูชาหรือหิ้งผีเราะชาวแม้วนับถือดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เวลาเจ็บป่วยก็มีการเซ่นผี กินยาสมุนไพรและสูบฝิ่น เจ็บป่วยมากก็ฆ่าหมู เซ่นผี ทำบุญ โดยทำสะพานต่ออายุ การเลี้ยงผีหมู่บ้านทำเป็นประตู มีรูปหอกดาบและธงทิว ( ตุง ) มัดแขวนห้อยลงมาฆ่าไก่และสุนัขเลี้ยงผี เอาเลือดไก่เลือดสุนัขทาที่หอกดาบนั้นแล้วเอาปีกไก่ หัวไก่ หัวสุนัข มัดห้อยแขวนไว้ตรงประตู ซึ่งสร้างไว้ห่างหมู่บ้าน ๑ กิโลเมตร

  • ภาษาของชาวแม้วขาวคล้าย คลึงชาวแม้วดำและแม้วลายชื่อผู้ชายมักขึ้นต้ด้วยคำว่า เลา เช่น เลาต๋า เลาเลอ เลาซาง เลาเสอ เลาอู เลาลื้อ เลาสี เลาปา เลาจิว ฯลฯ ชื่อผู้หญิง เช่น ยิ่ง ไหม้ เหมย ฯลฯ ชื่อสัตว์สิ่งของ เช่น เน่ง - ม้า ปักกือ - ข้าวโพด ย่างยิ่ง - ฝิ่น เต้ง - ตะเกียง ก่า - ไก่ โลล่วโก้ว - หม้อหุงข้าว เต้าล้า - ผ้าแดง เจ - บ้าน ฯลฯ ประโยค เช่นโมละจีล่า - ไปที่ไหนมา โยจีโย - เอาหรือไม่เอา จีมัวยายิง - ไม่มีฝิ่น โย่งละมา - สวยจริง จีโป้ - ไม่ทราบ เน่าเหมาจิโต้ว - รับประทานอาหารแล้วหรือยัง เย้าตือ - อยู่ที่ไหน โห่วจิ้ว - ดื่มสุรา เย้าเจ - เชิญนั่ง


  • เครื่องดนตรี มีแคนเป่าอย่างชาวเขาพวกอื่น ๆ การซื้อขายบนเขาใช้เงินเหรียญรูปีแอนนา เงินเหรียญอินโดจีนแบบเก่าและเงินแท่ง มักนำเอาไปฝังไว้ตามป่าบนเขา ไม่เก็บไว้ในบ้าน เวลาต้องการซื้อของในเมืองก็นำเอาพริก ฝ้าย ฯลฯ มาขายแล้วซื้อของกลับไป

 

  • ขนบธรรมเนียมการต้อนรับ แขกต่างถิ่น เขาจะทักทายด้วยประโยคชาวเหนือว่า ‘' โอมาน่อ เมินนานบ่อหันหน้ากัน - นั่ง เอาหนังสัตว์หรือผ้าเจี๋ยน ( ทำด้วยขนสัตว์มีมากในยูนนาน ) หมอนไม้ท่อนเล็ก ๆ มาให้ ๑ ท่อน ส่วนน้ำร้อนน้ำชาสุราอาหารนั้นแขกต้องหารับประทานเอาเอง ไม่นำมาเลี้ยงต้อนรับ ถ้าเป็นแขกคุ้นเคยสนิทกัน กลางคืนจะเอาฝิ่นมาให้สูบ นอนงอเข่าสูบฝิ่นพ่นควันไปสนทนากันไปจนดึกดื่น จึงเลิกสูบเข้านอน การพบปะทำความเคารพกัน ใช้กำมือ ๒ ข้างอย่างจีน ทักทายกันด้วยการไต่ถามทุกข์สุขการทำมาหากิน


สุราทำด้วยข้าวเปลือก ข้าวโพ แต่การทำสุราของชาวแม้วสกปรก ภายหลังนึ่งให้สุกผสมแป้งเชื้อสุราแล้วเอามากองไว้ยังพื้นดิน เอาไม้ปิด เอาขี้เถ้าถมอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ ๕ วันกลิ่นขึ้นฉุนเอามาใส่หวดไม้ นึ่งกลั่นเอาสุรา รสสุราข้าวเปลือกของชาวแม้วหอมกลมกล่อมดี

  • งานปีใหม่ ชาวแม้วจะฆ่าหมู ไก่ ทุกหลังคาเรือนไก่ประมาณ ๑๐ ตัว หมู๑ – ๓ ตัว ทำการเซ่นผีเรือนก่อนจากนั้นก็เป่าแคน ร้องรำเพลงแห่กันไปดื่มสุราอาหารทุกหลังคาเรือน ทำบุญอุทิศเสื้อผ้าให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยปักกิ่งไม้เรียงราย เอาผ้าที่จะทำบุญนั้นพาดไว้ทำซุ้มประตูหมู่บ้านห้ามไม่ให้คนต่างถิ่นเข้าไป อย่างชาวเขาอื่น ๆ งานพิธีปีใหม่ มีการเล่นโยนบ่ากอง ( ถุงผ้าบรรจุเม็ดมะขาม ) ระหว่างชายหญิงโดยชายอยู่ฝ่ายหนึ่ง หญิงอยู่ฝ่ายหนึ่งตลอดวัน กลางคืนทุกบ้านต่างก่อกองไฟ กลางลานบ้านเป่าแคนร้องรำทำเพลง เต้นรำดื่มสุราอาหารทั้งหนุ่มสาวเฒ่าแก่


ถ้าชายแม้วผู้ใดคิดปลูก บ้านใหม่ เขาจะแจ้งให้ชาวบ้านทราบ ทุกคนมาช่วยงานตั้งแต่ขุดหลุมยกเสาปลูกสร้างเป็นตัวบ้านเรือน เจ้าของบ้านที่ยากจนก็เลี้ยงชาวบ้านเพียงข้าวสุกเปล่า ๆ ถ้ามีฐานะดีบ้าง เจ้าบ้านฆ่าไก่ หมู ต้มกลั่นสุราเลี้ยงชาวบ้านผู้มาช่วยงานอย่างอิ่มหนำสำราญ

การเที่ยวสาวของชาวแม้ว มีขนบธรรมเนียมแปลกกว่าชาวเขาเผ่าอื่น คือชายหนุ่มไปหาหญิงสาวโดยไม่ยอมขึ้นไปสนทนากันในบ้าน มักจะไปร้องเพลงอยู่นอกบ้านให้หญิงสาวได้ยิน หรือบางทีเห็นหญิงสาวเอาอาหารให้หมู ม้า ไก่ หรือกำลังตำข้าวก็เอาก้อนหินปาไปใกล้ ๆพอหญิงสาวหันมาดูก็ทำไม้ทำมือชี้บุ้ยชี้ใบ้ให้หญิงสาวไปสนทนากับตนในป่า ถ้าหญิงสาวกำลังทำงานอยู่ ปลีกตัวไปไม่ได้ก็ทำไม้ทำมือบอกเป็นภาษาใบ้แจ้งให้ทราบว่ายังไม่เสร็จงาน หรือบางทีเดินไปกระซิบบอกให้ชายหนุ่มไปรออยู่ก่อนที่ตรงนั้นตรงนี้ ชายหนุ่มจำต้องไปนั่งรออยู่ในป่า บางทีหญิงสาวไม่ไปตามนัดก็กลับไปทำบุ้ยใบ้กวักมืออีก ถ้าเป็นเวลากลางคืน ชายหนุ่มถือคบเพลิงร้องเพลงให้หญิงสาวได้ยินออกไปดู พอเห็นหญิงสาวเข้าก็เอาคบเพลิงแก่วงไปแกว่งมาเป็นสัญญาณนัดแนะให้หญิงสาวออก เดินตามไปนั่งสนทนาเกี้ยวกันในป่า บางทีชายหนุ่มเดินทางจากหมู่บ้านซึ่งอยู่ไกลกันคนละภูเขา ขี่ม้ามาเที่ยวสาวก็มี

ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน ของชาวแม้วแต่เดิมนั้นชายจะต้องลักพาหญิงสาวไปอยู่บ้านของตนก่อน ไม่มีการหมั้น ถ้าชอบพอรักใคร่หญิงแม้วคนใด ก็นัดแนะไปสนทนากันในป่า จะกอดสัมผัสกันอย่างไรก็ไม่ว่ากัน ถ้าหญิงไม่ชอบชายก็ไม่ยอมออกไปพบปะสนทนาด้วย หากชายต้องการหญิงนั้นเป็นภรรยาจริง ๆ และพยายามพูดจาโดยละมุนละม่อม ไม่เป็นผลก็ใช้วิธีดักฉุด คือต้องนัดแนะเพื่อนชาย ๒ คนเป็นอย่างน้อย ดักอยู่ตรงระหว่างเส้นทางที่หญิงสาวไปไร่ตอนสายซึ่งตามปกติหญิงสาวมักไปไร่ ตามลำพัง พอหญิงสาวเดินผ่านก็ตะครุบตัวเอาผ้าปิดปากมัดมือจูงไปให้ชายหนุ่มผู้ต้องการ หญิงสาวนั้นแล้วนำไปกักไว้ยังกระท่อมในไร่ร้าง หรือหญิงสาวยินยอมเป็นภรรยาเป็นโดยสันติวิธี ก็พาไว้ที่บ้านของตน ถ้ามารดาหญิงเดินร่วมทาง ก็ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งคอยกันไปทางอื่น หลังจากนั้นจึงส่งผู้เฒ่าผู้แก่ไปเจรจาขอขมาสู่ขอบิดามารดาหญิงสาวจะพูดว่า เอาเป็นผัวเป็นเมียกันเสีย แล้วเรียกเงินสินสอดเป็นเงินเเท่ง ๕ - ๘ แท่ง ( ซื้อขายในเชียงรายช่วง พ . ศ ๒๔๙๓ ราคาเงินแท่งละ ๑๕๐ บาท ) ชายหนุ่ยผู้อัตคัดเงินจริง ๆ มีเพียง ๓ แท่งก็ใช้ได้ ถ้าไม่มีเงินเลยก็ต้องไปกู้ยืมคนอื่นมา โดยสัญญาว่าจะถางป่าทำไร่ฝิ่นแล้วนำเงินมาชดใช้ให้

การฉุดคร่าหญิงสาวนั้น เป็นวิธีสุดท้ายของชายหนุ่มที่หญิงสาวไม่พึงพอใจตน บางทีก็เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทเป็นปากเสียงกัน ระหว่างชายหนุ่มคนรักเดิมของหญิงสาวกับชายผู้ฉุดคร่า ถึงกับยกพวกชักมีดด้ามงาช้างออกทำท่าจะประหัดประหารกัน ด้วยเหตุนี้หญิงสาวที่มีคนรักแล้วหรือยังไม่มี มีแต่คนมาชอบพอรักใคร่ซึ่งตนไม่พอใจ จึงต้องระมัดระวังตัวในเวลาไปไร่เพราะอาจเจอกับโจรหนุ่มเข้าได้ คือต้องคอยติดตามไปกับบิดามารดาพี่ชายน้องชายหรือคนรักอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะผิดคู่ไป เมื่อชายหนุ่มลักพาหญิงสาวที่ตนชอบพอไปไว้ที่บ้านและส่งผู้ใหญ่มาขอขมานั้น ก็ยังไม่ประกอบการแต่งงานจนกว่าชายหนุ่มจะมอบเงินสินสอนเรียบร้อยแล้ว จึงนัดวันแต่งงานกัน ครั้นถึงวันเวลาทางฝ่ายผู้หญิงฆ่าหมู ๒ ตัว เชิญบรรดาญาติพี่น้องและชาวบ้านมากินเลี้ยงหมดทุกคน

ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน นี้ เขาห้ามไม่ให้ญาติทางฝ่ายบิดามาแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน หากเป็นญาติทางฝ่ายมารดาแล้วก็อาจแต่งงานกันไว้ เมื่อเด็กเกิดมา ชาวแม้วเอาน้ำอุ่มลูบตัว เอาห่วงคอทำด้วยโลหะเงินสวมเพื่อป้องกันบรรดาผีปีศาจร้ายเข้ามารบกวนเด็กจน เจ็บป่วย ให้สวมหมวกกลมเล็ก ๆ ผูกเหรียญเงินประดับ พอโตขึ้นก็ปล่อยให้เล่นตามลานดินกับเด็กเพื่อนบ้าน

ถ้ามีชาวแม้วคนหนึ่งคนใด ตายลง เขาจะเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่แล้วยกเอาวางบนแคร่ไม้ ซึ่งทำด้วยไม้กระดานตอกลิ่ม หรือบางทีก็ใช้ไม้ลำ ๒ - ๓ เล่ม ผูกติดกันเป็นแพ เจ้าของบ้านให้เพื่อนบ้านไปหาชื้อวัวควายจากหมู่บ้านชาวเหนือ เอาขึ้นไปฆ่าทำอาหารเลี้ยงแขกวันละ ๓ มื้อ ตลอดเวลาที่ตั้งศพอยู่ ถ้าเป็นคนไม่สำคัญนัก เช่น บุตรคนเล็กตาย ก็มีการฆ่าหมูแทนวัวควายเอาศพไว้บนบ้าน ๓ - ๔ วัน ฆ่าหมูวันละ ๑ ตัว เลี้ยงชาวบ้านที่มาช่วยงานทั้งหญิงและชาย ถ้าเป็นศพหัวหน้าครอบครัว ญาติพี่น้องมีความอาลัยอาวรณ์มาก ก็เอาไว้นานวันปล่อยให้ศพขึ้นอืดพองน้ำเหลืองไหวเยิ้ม แมลงวันจับเป็นกลุ่ม ๆกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ญาติคนใดไปงานศพต้องเอามือไปแตะศพที่มีน้ำเหลืองเฟะนั้น แล้วร้องไห้รำพันถึงผู้ตาย ผู้ใดจะพูดว่า ‘' เหม็น ' ไม่ได้ เจ้าของบ้านจะโกรธเคืองถือว่าผิดผี ไม่รักใคร่กัน เมื่อเวลาเป็นคนอยู่เคยชอบพอรักใคร่ ครั้นล้มคว่ำถึงตายกลายเป็นผีเน่าเฟะไปเช่นนี้กลับรังเกียจ เป็นคนที่คบไม่ได้ คำรำพันนั้นถ้าผู้ใดรำพันถึงความหลังอันดีของผู้ตายเป็นที่จับใจเจ้าของบ้าน เขาจะตัดเนื้อวัวมอบให้ไปรับประทานที่บ้านอีกด้วย

ความเป็นอยู่ของชาวแม้ว ค่อนข้างสกปรก ชอบเอาเนื้อวัว เนื้อควาย หมู ทาเกลือแขวนไว้โดยไม่ย่างไฟ จนมีหนอนขึ้นไต่ เวลารับประทานก็เขี่ยหนอนทิ้ง แล้วเอาหมกขี้เถ้าในเตาไฟหรือปิ้งไฟกินอย่างเอร็ดอร่อย การฆ่าวัวควายในงานศพถือเป็นขนบเนียมของเขา ถ้าเป็นคนมี

มีฐานะดีก็ฆ่าวัวควาย ๒ - ๓ ตัว ถ้าอัตคัดก็ฆ่าเพียงตัวเดียว ผู้ตายบางคนมีบุตรชายหลายคน บรรดาบุตรชายทุกคนต้องนำวัวมาฆ่าเซ่นศพบิดาคนละ ๑ ตัว ถ้ามีบุตร ๑๒ คน ก็ฆ่าวัวหรือควาย ๑๒ ตัว เลี้ยงชาวบ้านให้อิ่มหนำสำราญ ส่วนที่เหลือก็ตัดแจกกันไป ระหว่างเนื้อวัวกับเนื้อควายนี้ ชาวแม้วชอบเนื้อควายมากกว่า ถือว่าผู้ตายชอบรับประทาน

ชาวแม้วไม่นิยมทำโลงใส่ ศพ ใช้วิธีหามไม้กระดานที่วางศพนั้นไปอย่างใกล้ชิด โดยไม่รังเกียจต่อน้ำเหลืองที่ไหลเยิ้มหยดลงมาถูกเสื้อผ้าของตน ไม่เอาใจใส่ต่อแมลงวันและกลิ่นเหม็นที่ลอยกระจายไปในอากาศ ผู้ใดว่า ‘' เหม็น '' หรือทำท่าขยะแขยงก็จะถูกโกรธด่าว่ากัน เวลาเคลื่อนศพก็ยิงปืนขึ้นฟ้าอย่างสนั่นหวั่นไหวตลอดทาง บางทีแขนศพหลุดตกลงมาก็หยิบขึ้นวางไว้ใหม่ ที่ป่าช้าขุดหลุมลึก ๑ เมตร เอาไม้กระดานปู อุ้มศพลงวางพร้อมเสื้อผ้าของผู้ตาย แล้วเอาไม้กระดานที่หามศพไปนั้นวางบนศพ เกลี่ยดินกลบหลุมวางหินซ้อนทับข้างบนเอากิ่งไม้ปักเป็นเครื่องหมายไว้ เสร็จพิธีฝังแล้วต่างก็พากับกลับบ้าน

แม้วขาวมีมากบนดอยผาแดง เขตอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา และเขตล้านช้าง ซึ่งเป็นภูเขาต่อเนื่องกัน เช่น ดอยน้ำบง ดอยน้ำปลาย ดอยนาง ผาจะลอ ฯลฯ เขตจังหวัดน่านก็มีมาก เช่น ที่ดอยภูลังกา อำเภอปง ถ้าต้องการเดินทางไปดอยผาแดงก็ออกเดินทางไปจากตัวอำเภอเชียงคำไปสู่ตำบล เจดีย์คำ เดินขึ้นเขาไปถึงปากถ้ำแล้ว แยกไปทางขาวมือถึงบ้านห้วยแฝก ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวแม้วขาว



แม้วดำ

แม้วดำ ต่างกับแม้วขาว ตรงเครื่องแต่งกายและภาษาพูดเพียงเล็กน้อย เช่น แม้วดำ ว่า ‘' โม่กาตื้อล่อ '' แปลว่าไปที่ไหน แม้วข้าวว่า ‘' โม่งดาจีลา ‘' สำหรับขนบธรรมเนียมการเลี้ยงผี แต่งงาน พิธีศพ เป็นไปอย่างเดียวกัน ทั้งสองกลุ่มนี้แต่งงานกันได้ การพบปะสัมมาคารวะกันทำคล้าย ๆ ไหว้ แต่ไม่พนมมือ และไม่ประสานมืออย่างจีน ทำท่าคล้ายจะถอยน้ำถอยลม พร้อมกับผงศรีษะ ๒ - ๓ ครั้ง

ผู้ชายแม้วดำแต่งกาย คล้ายแม้วขาว ทั้งหมวกเสื้อและกางเกง ผิดแต่เสื้อตรงหน้าอกสั้นจากคอลงไปแค่ลิ้นปี่ ( ระดับใต้นม ) ข้างล่างเปิดให้เห็นท้องและชายโครง ไม่มีติดแถบผ้าสีขาวไว้ที่คอเสื้อและชายเสื้อ ซึ่งนับวาเปิดให้เห็นท้องมากกว่าแม้วขาว ที่เอวของเด็กหนุ่มคาดเอวด้วยผ้าสีแดงแต่ใช้เข็มขัดติดกระเป๋าหนังใบเล็ก สำหรับใส่เงินและยาสูบสวมห่วงคอด้วยโลหะเงิน ถ้าเป็นคนอัตคัดจะสวมห่วงคอ ๑ อัน คนมั่งมีสวม ๕ - ๖ อันซ้อนกัน

ผู้หญิงชาวแม้วดำ ไว้ผมยาวเกล้าขมวดเป็นก้อนสูงกลางศรีษะ สวมถุงผ้าทำคล้ายหมวก เสื้อผ้าอกป้ายข้างสีดำยาวแค่เอวอย่างแม้วขาว ผิดแต่ผู้หญิงแม้วดำสวมกระโปรงสีอ่อน ทอด้วยใยกัญชาป่า เย็บด้วยมือจีบรอบแบบกระโปรงฮาวายแต่สั้นเพียงหัวเข่า พิมพ์ดอกลวดลายต่าง ๆ ลงบนกระโปรงเล็กน้อย ตรงเอวหน้ามีผ้าผืนหนึ่งกว้างประมาณ ๑ คืบ ปิดห้อยลงไป

ผู้หญิงแม้วทุกคนชอบ ประดับกายด้วยโลหะเงิน ทำเป็นห่วงคอ กำไลมือ ห่วงหู สำหรับห่วงคอและกำไลมือมักสวมหลายอัน ถ้าผู้ใดสวมมากอันถือว่าเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย ขนบรรมเนียมของชาวแม้วนั้นคล้ายคลึงชาวเย้า ชาวแขลีซอ มีการฆ่าไก่หมูวัวควายเซ่นผี การนับวันเดือนปีเหมือนชาวจีนฮ่อหญิงที่แต่งงานแล้วต้องตกเป็นทาสของสามี ตลอดไป

แม้วดำมีชื่ออย่างเดียว กับแม้วพวกอื่น ๆ ผิดแต่ภาษาพูดบางคำบางประโยคผิดเพี้ยนกันไป เช่น คำว่า ล่อ แปลว่ามา โม - ไป กาตื่อ - ไหน น้ำมอล่อเด้ - ดื่มน้ำ มู่เต้ - ไปไร่ เด้ - น้ำ มูเต้เปล่ - ไปไร่ข้าว มั้ว - มี เมะยวั่ว - เด็ก มีตู้ - ผู้ชาย มิไซ่ - หญิง เจ่อตู่ - กี่คน มั้วเจ่อตู่เมะยวั่ว - มีบุตรกี่คน น้ำอล่อต้อ - รับประทานอาหารแล้วหรือยัง ฯลฯ

แม้วดำ อาศัยอยู่บนเขาในจังหวัดเชียงรายหลายแห่งคือดอยช้าง ซึ่งเป็นรูปหัวช้างจมดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ดอยทุ่งกอ ตำบลทุ่งกอ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ดอยผาหม่น อำเภอเทิง ดอยผาแดง อำเภอเชียงคำ สมัย พ . ศ . ๒๔๙๐ การเดินทางสะดวกในฤดูแล้ง ฤดูฝนลำบากต้องเดินผ่านทุ่งนาบุกป่าที่เต็มไปด้วยโคลน ชาวแม้วดำลงมาเที่ยวในเมืองเป็นครั้งคราว ไม่ค้างแรมอยู่ตามพื้นที่ราบ

 


แม้วลาย

แม้วลาย อาศัยอยู่ตามภูเขาในเขตอินโดจีนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ทางฝั่งขวาแถบล้านช้างตอนติดต่อเขตไทยก็มีอาชีพทำไร่ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด พริก ฝ้าย ฯลฯ ขนบธรรมเนียมอย่างเดียวกับแม้วดำและแม้วขาว ผิดกันบ้างเพียงภาษาพูดที่แปร่งไปเล็กน้อย เครื่องแต่งกายคล้าย ๆกัน ผู้หญิงแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวผ่าอกทับกันพื้นสีดา ตรงแขนสลับสีขาว โพกศรีษะด้วยผ้าดำใหญ่ สวมกางเกงแบบจีนขายาว

ชาวแม้วลายไม่ชอบลงมา ชื้อสินค้าในเขตเมืองไทยเรานาน ๆ จึงจะพบครั้งหนึ่ง นับถือขนบธรรมเนียมแม้วเคร่งครัดกว่าบรรดาแม้วขาว ชอบเลี้ยงม้าทุกหลังคาเรือน การเดินทางไปมาติดต่อกันบนเขาใช้ลาโดยตลอด

สำหรับแม้วลายนี้ ต่อมามีผู้จัดเป็นสาขาย่อยในกลุ่มแม้วดำ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ สาขา คือแม้วดำ แม้วลาย และแม้วดอกและแบ่งแม้วในประเทศไทยเป็น ๓ เผ่า คือแม้วดำ แม้วขาว แม้วกัวมะบา