ชาติพันธุ์ล้านนา - ยางขาว หรือกะเหรี่ยงขาว

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
02/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ยางขาว

ชาวยางขาวเป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้าง สมัยโบราณบรรพบุรุษนิยมล่าช้างมาเป็นอาหาร ปัจจุบันได้เลิกการล่าช้างและรับประทานเนื้อช้างแล้ว แต่มักจับเอาช้างมาใช้งาน ชาวยางผู้มั่งคั่งบางคนมีช้างหลายเชือก ชาวเหนือและชาวพม่าที่ทำป่าไม้มักว่าจ้างชาวยางไปเป็นควาญช้างเพราะพวกนี้มี ความชำนาญในการขี่ช้าง เคยร่วมกันตั้งพะเนียดจับช้างอยู่เสมอ

ชาวยางขาวรับประทานข้าว เจ้า ใช้ถาดสานด้วยไม้ไผ่โดยเอาข้าวทั้งหมดใส่ลงไปในถาดแล้วแหวกตรงกลางสำหรับ ว่างถ้วยน้ำพริกหรือแกง ใช้มือขยุ้มรับประทาน อาหารจำพวกเนื้อรับประทานได้ทุกอย่าง เว้นแต่เนื้องูอย่างเดียว พวกเขาเกลียดงูเป็นที่สุด ถ้าผู้ใดรับประทานเนื้องู เขาจะไม่ยอมให้ขึ้นบนบันไดบ้าน เพราะถือว่าผิดผีอย่างร้ายแรง เวลาเดินทางไปล่าสัตว์หรือไปหาอาหาร หากไปพบปะงูในวันนั้นก็ต้องหันหลังกลับบ้านทันที เพราะถือว่าโชคร้ายมาก ขืนเดินทางต่อไปก็จะไม่ได้อะไรเลย ชาวยางขาวไม่ชอบเก็บอาหารแห้งไว้รับประทานนาน ๆ มีอะไรเท่าไรก็รับประทานหมดแล้วไปหาเอาใหม่ เมื่อไม่มีอะไรก็รับประทานข้าวสุกกับพริกสดและเกลือเท่านั้น สิ่งเสพย์ติดมีเพียงการสูบยาเส้นจากกล้องซึ่งทำด้วยตาไม้ไผ่ ไม่นิยมสูบบุหรี่หรือฝิ่นกัญชา การตำข้าวของพวกเขาแปลกกว่าชาวเหนือ และชาวเขาเผ่าอื่น ๆ เพราะตัวครกใช้ไม้เจาะด้านข้างแล้วตำด้วยมือ ผู้หญิงเป็นคนตำ เวลาก่อนย่ำรุ่งราวตีสี่หรือตีห้าจะเริ่มตำ พอฟ้าสว่างก็เสร็จ

ชาวยางขาวเป็นผู้ที่มี อุปนิสัยใจคอโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนบ้าน ถ้ามีแขกต่างถิ่นไปถึงหมู่บ้านของเขา หัวหน้าหมู่บ้านจะออกมาต้อนรับ เมื่อขึ้นไปนั่งบนบ้าน เจ้าของบ้านจะต้อนรับขับสู้ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ยกหมากยาสูบมาวางไว้ตรงหน้า ถ้าแขกพักอยู่หมู่บ้านนั้นหลายวัน ชาวบ้านคนอื่นต่างก็เชื้อเชิญให้ไปรับประทานอาหารเพื่อเป็นเกียรติแก่พวกเขา แทบทุกหลังคาเรือน ประเพณีการต้อนรับแขกอย่างหนึ่งคือขณะนั่งสนทนากันอยู่กับแขก เมื่อมีธุระหรือการงานอะไรก็ลุกขึ้นไปทำเฉย ๆ โดยไม่บอกกล่าวขอตัวกับแขกเลยเมื่อเสร็จงานแล้วจึงกลับมานั่งสนทนากันใหม่

นิสัยของชาวยางขาวชอบ ความสงบ รักธรรมชาติ นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนภายใต้ระเบียบแบบแผนอันเดียวกันไม่ปะปนกับชาว เหนือหรือชนชาติอื่น ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโส ตลอดจนผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน สิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านไม่ปรากฏว่ามีการลักขโมย การประทุษร้ายระหว่างพวกเดียวกันเองก็ไม่เคยปรากฏ ชาวยางขาวเป็นชนชาติที่ไม่กระตือรือร้นในการทำงานเพื่อให้มีฐานะมั่งคั่ง การอาชีพตามปกติของเขานั้นก็คิดทำกันพอเลี้ยงชีพของตนและครอบครัวให้ยืนยาว ไปชั่ววันหนึ่ง ทุกคนอยู่ด้วยความรักสงบ และมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

ชาวยางขาวเป็นผู้ที่รัก สนุกด้วยการดีด สี ตี เป่า และชอบกล่าวสุภาษิตโบราณอันไพเราะ เครื่องดนตรีประจำชาติมีเพียงชนิดเดียว รูปร่างลักษณะคล้ายเขาควาย ทำด้วยเขาสัตว์หรืองาช้าง เขากวางเจาะรูใช้เป่าทางโคนใช้มือปิดทางรูอีกข้างหนึ่ง เสียงเป่าดังคล้ายเสียงผิวปาก เครื่องดนตรีชนิดนี้เรียกว่า “ แกว ” หรือ “ กาย ” มีบทเพลงที่ไพเราะ ซึ่งใช้ร้องเล่นในยามว่างหรือในคืนเดือนหงาย และเวลาที่มีพิธีแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

ชาวยางขาวมีภาษาคล้าย คลึงกับภาษาของชาวยางหรือกะเหรี่ยงพวกอื่น ๆ ตัวอักษรของชาวยางขาวเขียนเป็นตัวขอมหรือตัวอักษรอย่างพม่า มักเขียนเป็นตำรับตำราเกี่ยวกับพิธีลัทธิทางไสยศาสตร์ คาถาอาคม บทเพลง สุภาษิต ฯลฯ ดังจะขอยกนำมาไว้ ดังนี้

ต้าดึโล่ะยาโล่ะ เดาะตะเอโล่ะ โซ่เกโล่ะเน่ โอ้ท่อเลอ ซือกลาเลอ แล่คอแล่เลอซือ ซ่ากุยต่าตะพ่าเลอ อดึต่า ยาต้าเลอซึแก้ ซือวออักลาตะเม่บาฮาซือสะกุยต๊ะเดาะ ซือเตนนีบ้า ตาบ้า ซือม่า ซี - ป้าขยอเดาะซือเกต้าเดาะซเน่บาต้าตะเซบ้า อะเงดีอี ซือตะเคบ้า ตาบ้า ซือเคต้า เดาะเตนเน่ บ้าตาบ้า อะเวดีอี้ ซืเควเก้อม่าต้า ดีโซ่ะซือ ซือเกาะอ้อเลอะงอต้าเลอซือ ต้ามึต้าลาอะป่ะ ลอ แปลว่า “ การทะเลาะวิวาทกันในระหว่างพวกท่านนั้นมาแต่ไหน สิ่งนี้ใช่ไหม คือมาแต่ใจอันปรารถนาชั่วที่ก่อรบกวนในร่างกายของท่าน ท่านทั้งหลายปรารถนาได้ แต่ ก็ไม่ปรารถนาอยาก ท่านมัวหลงแก่งแย่งฆ่าฟันประทุษร้ายอิจฉาริษยาต่อกัน ซึ่งในที่สุดท่านก็ไม่สมปรารถนาสักอย่างเดียวท่านทั้งหลายทะเลาะแก่งแย่งกัน นั้นท่านหาอาจจะบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาได้ไม่ เพราะว่าท่านขาดจิตที่ตะนอบน้อมกล่าวคำขอ หรือท่านได้ขอแล้วแต่ท่านมิได้รับผลจากการขอร้องนั้นก็เพราะท่านขอในสิ่งที่ ผิด โดยท่านหวังนำเอาไปใช้ตามจิตปรารถนาชั่วของท่าน

การปรนนิบัติระหว่างสามี ภรรยา สะใภ้ต่อพ่อผัวแม่ผัวหรือลูกเขยพ่อตาแม่ยายคงเป็นไปอย่างคนไทยทั่วไป แต่หญิงผู้เป็นสะใภ้ต้องเคารพนับถือพ่อผัวเสมอเป็นบิดามารดาบังเกิดเกล้าของ ตน เมื่อมีการทะเลาะวิวาทระหว่างครอบครัวถึงขั้นแตกหักอันควรหย่าร้าหรือไม่ก็ ตาม จะทำการตกลงกันระหว่างญาติหรือผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย อย่างมากก็พาไปถึงกำนันไม่ปรากฏว่ามีเรื่องมาถึงอำเภอหรือโรงศาลเลย

ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ก็คง ทำงานตามปกติ เมื่อถึงกำหนดคลอดก็เรียกหมดตำแยประจำหมู่บ้านมาทำคลอด ตัดสายสะดือโดยใช้คมไม้รวก ส่วนรกบางคนใช้ฝังไว้ใต้ฐานบันได บางคนเอาใส่กระบอกไม้ซางไปแขวนไว้อย่างหมิ่นเหม่ที่ต้นไม้ บางคนใช้ไม่ปักเป็นสามเส้าเอารถใส่กระบอกไม้ซางหรือไม้ไผ่ไปตั้งบนนั้น เหตุที่เอารกไปแขวนกิ่งไม้ไว้นั้น เพราะเชื่อว่าเวลาเด็กเติบโตขึ้นจะปีต้นไม่เก่ง

การอยู่ไฟ เขาอยู่กันโดยสุมฟืนตลอด เมื่อเด็กคลอดแล้วมีแม่มดหรือแม่ช่างมาแกว่งข้าวเสี่ยงทายดูว่าผู้ใดมาเกิด เป็นเด็กนั้น สมมติว่าลุงที่ตายไปแล้วนั้นมาเกิดใหม่ เขาจะให้ป้าที่ยังมีชีวิตอยู่มาผูกข้อมือให้ หรือญาติข้างฝ่ายลุงที่ชอบพอรักใคร่กันมาในขณะยังมีชีวิตอยู่นั้นมาผูกข้อ มือ การผูกข้อมือรับขวัญเด็กเมื่อแรกเกิดมีข้าวสุก 3 ก้อน กับก้อนกรวด 1 ก้อน เป็นเครื่องรับขวัญ และกล่าวคำให้พรตามสมควร คลอดมาได้ประมาณ 2-3 วัน ก็ป้อนข้าวให้กินนมเรื่อยไป จะหย่านมเมื่อเห็นเวลาสมควร เช่น เวลาเมื่อมารดาตั้งครรภ์ใหม่

ชาวยางกะเลอนับถือศาสนา พุทธ นิยมไปจัดเฉพาะวันธรรมสวนะในเทศกาลเข้าพรรษา พ้นช่วงนั้นแล้วไม่ค่อยไปเว้นแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีศรัทธาทางพระพุทธศาสนา เพราะชาวยางกะเลอส่วนมาไม่ใฝ่ใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงเพียง เริ่มนับถือเท่านั้น เพราะเขาเคยนับถือผีสางเทพารักษ์มาแต่โบราณกาล

ถ้าปรากฏว่ามีผู้ตายใน หมู่บ้านจะมีการ อยู่กำบ้าน หนึ่งวันคือเมื่อศพยังอยู่ในบ้านนั้น ชาวบ้านไปทำการงานนอกหมู่บ้านไม่ได้ ต้องอยู่ช่วยงานศพจนกว่าจะเสร็จ และศพเก็บไว้ภายในบ้านเพียง 1 คือ หรือบางที 3 คือเป็นอย่างมาก เวลามีงานชุก เช่น ฤดูทำนา ก็เอาศพไว้เพียงคืนเดียว ทั้งนี้เหมือนกันทั้งศพเด็กและผู้ใหญ่ พิธีทำศพไม่ยุ่งยาก ใช้ผ้าห่มของผู้ตายคลุมศพแล้วห่อด้วยเสื่อและตราสัง แล้วนำศพนั้นไปวางไว้ใกล้หัวบันไดถ้าเป็นศพผู่ใหญ่จะมีขบวนแห่นักร้องเพลงมา นั่งล้อมวงร้องเพลงไว้อาลัยแก่ศพ คล้ายพระสวดมนต์อภิธรรมหน้าศพครั้งแรกเขาให้ผู้เฒ่าร้องเพลง ถัดมาเอาชายหนุ่มร้อง ครั้งที่ 3 เอาหญิงสาวร้อง และครั้งต่อ ๆ ไปก็เอาหนุ่มสาวเปลี่ยนเวรกันร้องเพลงทีละครั้งรอบ ๆ ศพ เนื้อเพลงจะกล่าวคำระลึกถึงดวงวิญญาณ และบอกทางไปสวรรค์ให้แก่ผู้ตาย

ถ้าศพนั้นเป็นศพเด็กทารก หรือเด็กเล็ก ๆ ก็ไม่มีพิธีอะไรมากมาย ไม่มีคนร้องเพลงไว้อาลัย การร้องไห้รำพันก็มีเป็นธรรมดาสำหรับญาติผู้ตาย การปลงศพใช้วิธีฝัง เวลาฝังนั้น ญาติพี่น้องของผู้ตายจะจัดหม้อข้าวหม้อแกง จอบเสียบ มีด พร้า และของใช้สอยที่จำเป็นในการครองชีพกับเงินอีกเล็กน้อย แต่เงินนี้นำเอาใส่ปากใส่มือ ไม่ใส่ไว้ในโลง ใช่เสื่อห่อศพและฝังลงไปกับศพ มีคติเชื่อถือกันว่า สิ่งของทุกชิ้นที่ฝังลงไปกับศพนี้ ผู้ตายจะเอาไปใช้ในเมืองสวรรค์

การนำศพจากเรือนไปสู่ ป่าช้า จะนำไปเวลาก่อนเที่ยงเสมอ ไม่มีขบวนแห่ ไม่มีพระสงฆ์คอยนำหรือทำพิธีอื่นใดอีกมีเพียงญาติพี่น้องผู้ตาย และผู้มาช่วยไปส่งเท่านั้น เมื่อฝังศพแล้วก็พากันกลับบ้าน บางคนมีฐานะดี เวลาญาตินำเงินไปฝังให้ถึง 200-300 บาท หรือมากกว่านั้น เพื่อเอาไปใช้จ่ายในระหว่างเดินทางไปสวรรค์ และไม่เคยปรากฏว่าศพเหล่านี้ถูกผู้ร้ายขุดค้นหาทรัพย์

เมื่อฝังศพเสร็จเรียบ ร้อยแล้วจะมีการไว้ทุกข์ คือ อยู่กำบ้าน ให้แก่ผู้ตายอีก 3 วัน แต่การอยู่กำบ้านครั้งนี้ คงทำเฉพาะที่บ้านผู้ตายเท่านั้น การทำบุญอุทิศส่วนกุศลถึงผู้ตายจะทำเมื่อถึงโอกาสอันสมควร

การเดินทางไปเที่ยวบ้าน ยางกะเลอที่ตำบลปงน้อย ในสมัย พ . ศ . 2490 นั้น เริ่มจากอำเภอแม่จัน ผ่านตำบลสันทราย ตำบลท่าข้าวเปลือก ตำบลปงน้อย ไปสู่บ้านยาง หมู่ที่ 5 บ้านดอย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านปงน้อย ประมาณระยะทาง 37 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางในฤดูแล้ง 12 ชั่วโมง ถ้าฤดูฝนประมาณ 18 ชั่วโมง การคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า อีกทางหนึ่งคือเดินทางด้วยเรือถ่อล่องไปตามลำน้ำกก ออกจากตัวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปตำบลท่าข้าวเปลือก แล้วไปตำบลปงน้อย จังหวัดเชียงราย

ยางขาว


ยางขาว หรือกะเหรี่ยงขาว เดิมอาศัยอยู่เขตพม่าแถบเมืองตองอู ซึ่งบริเวณนั้นมีชาวยางแดงอาศัยอยู่ด้วยทั้งสองชาตินี้แต่งกายและมีภาษา คล้ายคลึงกัน เช่น คำว่า “ ไป ” ยางขาวว่า “ แหล่ ” ยางแดงว่า “ แร่ ” คำว่า “ มา ” ยางขาวว่า “ แฮ ” ยางแดงว่า “ แร้ ” ชาวยางขาวชอบอยู่พื้นที่ราบหรือเชิงเขาที่มีป่าทึบห่างไกลจากถิ่นเจริญ หมู่บ้านหนึ่งมีจำนวน 30 หลังคาเรือนขึ้นไป ไม่มีรั้ว หมู่บ้านเป็นขอบเขต รูปบ้านแบบบ้านชาวเหนือ แต่มีห้องกั้นหลายห้อง

ชาวยางขาวในจังหวัด เชียงราย มีอยู่ที่บ้านห้วยมะขม ตำบลแม่ยาม ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร เหตุที่อพยพเข้ามาอยู่เขตไทย เนื่องจากความไม่สงบสุขของบ้านเมืองพม่า และเกี่ยวกับลัทธิศาสนาที่ขัดกันระหว่างพวกยาง เพราะดั้งเดิมชาวยางขาวนับถือผีควบคู่กันไปกับนับถือศาสนาพุทธ ต่อมาเมื่ออังกฤษเข้าปกครองพม่าได้นำลัทธิศาสนาคริสเตียนมาเผยแพร่ จึงแตกแยกออกเป็น 2 พวก เกิดเหตุทะเลาะวิวาทพวกเข้าต่อสู่กันเป็นนิตย์ พวกที่รักความสงบจึงอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

ชาวยางขาวชอบตั้งบ้าน เรือนอยู่ในทำเลที่มีลำธารไหลผ่านตามริมเชิงเขา พื้นที่ดินเหมาะสำหรับการเพาะปลูก ก่อนที่จะลงมือปลูกสร้างบ้านเรือนต้องปักกระดูกไก้สี่ยงทายดูถ้าเห็นว่า กระดูกไก่มีรูตรงไม่คดงอก็ปลูกบ้านได้ โดยนำกระดูกไก่เอาไม้เล็ก ๆ สอดรูกระดูก การปักกระดูกไก่นี้มีเสมอไม่ว่าพิธีอะไร เช่น ฟันไร่ ไปทำมาหากิน ค้าขาย การเดินทางไกล ฯลฯ การปลูกบ้านเรือนอาศัยแรงชาวบ้านช่วยกันทำวันเดียวก็เสร็จ โดยเจ้าของบ้านเลี้ยงสุราอาหาร เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วก็มีพิธีขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงสุราอาหาร ชาวบ้านก็จะมาร้องว่าทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน

บ้านของชาวยางขาว ปลูกอย่างแน่นหนาถาวรกว่าบ้านของชาวยางแดง คือยกพื้นสูงมุงด้วยหญ้าคา มีชานระเบียงห้องโถง และห้องนอน บ้านบางหลังใช้ไม้พื้นฝากระดาน หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้สัก ( แป้นเกล็ด ) บางบ้านที่ทำนาได้ข้าวมากก็ทำยุ้งข้าวไว้ต่างหาก สำหรับผู้ที่ทำนาน้อยได้ข้าวไม่มากก็เอาข้าวเก็บไว้ต่างหาก สำหรับผู้ที่ทำนาน้อยได้ข้าวไม่มากก็เอาข้าวเก็บไว้ใต้ถุงบ้านบ้าง บนบ้านบ้าง คอกสัตว์เลี้ยงไม่ได้ทำไว้ มักผูกสัตว์ไว้ตามต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน เครื่องใช้ภายในบ้านสำหรับหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงเขตเจริญจะใช้อย่างชาว หนือ เช่น หม้อน้ำ หรือกระป๋องน้ำ แต่หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลก็ยังใช้กระบอกไม้ซางใส่น้ำอยู่

เครื่องแต่งกายของชาวยาง คล้ายคลึงชาวยางพวกอื่น ๆ คือ ผู้ชายสวมกางเกงดำขาวกว้าง เสื้อแดงไม่มีแขน หญิงสาวพรมจารีสวมชุดขาวตลอด คอเป็นรูปข้าวหลามตัด หญิงแม่เรือนสวมเสื้อสีแดงหรือดำสั้น ๆ มีพู่แดงประดับลูกเดือยที่คอเสื้อ โดยปรกติชอบสะพายย่ามแดง สวมกำไรมือทำด้วยโลหะเงิน ที่คอมีกำไลคอหรือห่วงคอมีลูกพรวนเล็ก ๆ ผูกอยู่

ชาวยางขาวมีรูปร่างสูง ใหญ่บึกบึน ผิวเนื้อค่อนข้างขาวหน้ากว้าง จมูกใหญ่ อาชีพทำนาทำไร่เป็นพื้น ปลูกพืชล้มลุก ที่จำเป็นในการครองชีพทุกชนิด เช่น ข้าว พริก ถั่ว งา ยาสูบ ผักกาด ฟัก แตง กะหล่ำปลี ข้าวโพด ฯลฯ พวกที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาไม่ทำนาแต่ทำไร่แทน พวกที่อยู่ในที่ราบซึ่งได้รับความเจริญบ้างมีการทำไร่ ทำนา เลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่เป็นประจำแทบทุกบ้าน ชาวยางขาวชอบการล่าสัตว์ โดยล่าทุกอย่างทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก เครื่องมือเครื่องใช้ในการล่าสัตว์ มีปืน หน้าไม้ หอก แร้ว การหาปลาไม่มีเครื่องมือ ได้แต่เที่ยวมองหาปลากันตามห้วยลำธารอย่างเดียว

ชาวยางขาวเป็นพวกที่มีความชำนาญในการ คล้องช้างสมัยโบราณบรรพบุรุษนิยมล่าางมาเป็นอาหาร ปัจจุบันได้เลิกการล่าช้างและรับประทานเนื้อช้างแล้ว แต่มักจับเอาช้างมาใช้งาน ชาวยางผู้มั่งคั่งบางคนมีช้างหลายเชือก ชาวเหนือและชาวพม่าที่ทำป่าม้มักว่าจ้างชาวยางไปเป็นควาญช้างเพราะพวกนี้มี ความชำนาญในการขี่ช้าง เคยร่วมกันตั้งพะเนียดจับช้างอยู่เสมอ

ชาวยางขาวรับประทานข้าวเจ้า ใช้ถาดสานด้วยไม้ไผ่โดยเอาข้าวทั้งหมดใส่ลงไปในถาดแล้วแหวกตรงกลางสำหรับวาง ถ้วยน้ำพริกหรือแกง ใช้มือขยุ้มรับประทานอาหาร อาหารจำพวกเนื้อรับประทานได้ทุกอย่าง เว้นแต่เนื้องูอย่างเดียว พวกเขาเกลียดงูเป็นที่สุด ถ้าผู้ใดรับประทานเนื้องู เขาจะไม่ยอมให้ขึ้นบนบันไดบ้าน เพราะถือว่าผิดผีอย่างร้ายแรง เวลาเดินทางไปล่าสัตว์หรือไปหาอาหาร หากไปพบปะงูในวันนั้นก็ต้องหันหลังกลับบ้านทันที เพราะถือว่าโชคร้ายมาก ขืนเดินทางต่อไปก็จะไม่ได้อะไรเลย ชาวยางขาวไม่ชอบเก็บอาหารแห้งไว้ รับประทานนานๆ มีอะไรเท่าไรก็รับประทานหมดแล้วไปหาเอาใหม่ เมื่อไม่มีอะไรก็รับประทานข้าวสุกกับพริกสดแล้วเกลือเท่านั้น สิ่งเสพย์ติดมีเพียงการสูบยาเส้นจากกล้องซึ่งทำด้วยตาไม้ไผ่ ไม่นิยมสูบบุหรี่หรือฝิ่นกัญชา การตำข้าวของพวกเขาแปลกกว่าชาวเหนือ และชาวเขาเผ่าอื่นๆ เพราะตัวครกใช้ไม้เจาะด้านข้างแล้วตำด้วยมือ ผู้หญิงเป็นคนตำ เวลาก่อนย่ำรุ่งราวตีสี่หรือตีห้าจะเริ่มตำ พอฟ้าสว่างก็เสร็จ

ชาวยางขาวเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยใจคอโอบ อ้อมอารีต่อเพื่อนบ้าน ถ้ามีแขกต่างถิ่นไปถึงหมู่บ้านของเขา หัวหน้าหมู่บ้านจะออกมาต้อนรับ เมื่อขึ้นไปนั่งบนบ้าน เจ้าของบ้านจะต้อนรับขับสู้ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ยกหมากยาสูบมาวางไว้ตรงหน้าถ้าแขกพักอยู่หมู่บ้านนั้นหลายวัน ชาวบ้านคนอื่นต่างก็เชื้อเชิญให้ไปรับประทานอาหรเพื่อเป็นเกียรติแก่พวกเขา แทบทุกหลังคาเรือน ประเพณีการต้อนรับแขกอย่างหนึ่งคือขณะนั่งสนนากันอยู่กับแขกเมื่อมีธุระหรือ การงานอะไรก็ลุกขึ้นไปทำเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าวขอตัวกับแขกเลย เมื่อเสร็จงานแล้วจึงกลับมานั่งสนทนากันใหม่
นิสัยของชาวยางขาวชอบความสงบ รักธรรมชาติ นิยมอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน

ภายใต้ระเบียบแบบเผนอันเดียวกันไม่ปะปนกับชาวเหนือหรือชน ชาติอื่น ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโส ตลอดจนผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน สิ่งของต่างๆ ภายในบ้านไม่ปรากฏว่ามีการลักขโมย การประทุษร้ายระหว่างพวกเดียวกันเองก็ไม่เคยปรากฏ ชาวยางขาวเป็นชนชาติที่ไม่กระตือรือร้นในการทำงานเพื่อให้มีฐานะมั่งคั่ง การอาชีพตามปกติของเขานั้นก็คิดทำกันพอเลี้ยงชีพของตนและครอบครัวให้ยืนยาว ไปชั่ววันหนึ่ง ทุกคนอยู่ด้วยความรักสงบ และมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

ชาวยางขาวเป็นผุ้ที่รักสนุกด้วยการดีด สี ตี เป่า และชอบกล่าวคำสุภาษิตโบราณอันไพเราะ เครื่องดนตรีประจำชาติมีเพียงชนิดเดียว รูปร่างลักษณะคล้ายเขาควาย ทำด้วยเขาหรือสัตว์หรืองาช้าง เขากวางเจาะรูใช้เป่าทางโคนใช้มือปิดทางรูอีกข้างหนึ่ง เสียงเป่าดังคล้ายเสียงผิวปาก เครื่องดนตรีชนิดนี้เรียกว่า “ แกว ” หรือ “ กาย ” มีบทเพลงที่ไพเราะ ซึ่งใช้ร้องเล่นในยามว่างหรือในคืนเดือนหงายและเวลาที่มีพิธีแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

ชาวยางขาวมีภาษาคล้ายคลึงกับภาษาของชาวยาง หรือกะเหรี่ยงพวกอื่นๆ ตัวอักษรของชาวยางขาวเขียนเป็นตัวขอมหรือตัวอักษรอย่างพม่า มักเขียนเป็นตำรับตำราเกี่ยวกับพิธีลัทธิทางไสยศาสตร์ คาถาอาคม บทเพลง สุภาษิต ฯลฯ ดังจะขอยกนำมาไว้ ดังนี้

ต้าดึโล่ะยาโล่ะ เดาะตะเอโล่ะ โซ่เกโล่ะเน่ โอ้ท่อเลอ ซือกลาเลอ แล่คอแล่เลอซือ ซ่ากุยต่าตะพ่าเลอ อดึต่า ยาต้าเลอซึแก้ ซือวออักลาตะเม่บาฮาซือสะกุยต๊ะเดาะ ซือเตนนีบ้าตาบ้าซือม่า ซือม่า ซีป้าขยอเดาะซือซ่าเกต้าเดาะซือเน่บาต้าตะเซบ้า ซือดึกต้ะยา ต้าเดาะเอ้โล่ะโซ่ะซือซะเดาะซือเต้นเน่บ้าตาบ้า อะเงดีอี ซือตะเคบ้า ตาบ้า ซือเคต้า เดาะเตนเน่ บ้าตาบ้า อะเวดีอี้ ซืเควเก้อม่าต้า ดีโซ่ะซือ ซือเกาะอ้อเลอะงอต้าเลอซือต้ามึต้าลาอะปู่ ลอ แปลว่า “ การทะเลาะวิวาทกันในระหว่างพวกท่านนั้นมาแต่ไหน สิ่งนี้ใช่ไหม คือมาแต่ใจอันปรารถนาชั่วที่ก่อรบกวนในร่างกายของท่าน ท่านทั้งหลายปรารถนาได้ แต่ก็ไม่ปรารถนาอยาก ท่านมัวหลงแก่งแย่งฆ่าฟันประทุษร้ายอิจฉาริษยาต่อกันซึ่งในที่สุดท่านก็ไม่ สมปรารถนาสักอย่างเดียว ท่านทั้งหลายทะเลาะแก่งแย่งฆ่าฟันประทุษร้ายอิจฉาริษยาต่อกัน ซึ่งในที่สุดท่านก็ไม่สมปรารถนาสักอย่างเดียว ท่านทั้งหลายทะเลาแก่แย่งกันนนั้นท่านหาอาจจะบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาได้ไม่ เพราะว่าท่านขาดจิตที่จะนอบน้อมกล่าวคำขอ หรือท่านได้ขอแล้วแต่ท่านมิได้รับผลจากการขอร้องนั้นก็เพราะท่านขอในสิ่งที่ ผิด โดยท่านหวังนำเอาไปใช้ตามจิตปรารถนาชั่วของท่าน ”

นามสกุลของชาวยางขาวมัก ต่อท้ายด้วยชื่อ โดยใช้ชื่อปู่ทวดของตนเป็นนามสกุล ถ้าเป็นผู้ชายก็มีคำนำหน้าว่า “ ซอ ” แปลว่า “ นาย ” ถ้าเป็นผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นหญิงสาวหรือแม่เรือนก็จะนำหน้าด้วยคำว่า “ น่อ ” แปลว่า “ นาง ” หรือ “ นางสาว ” ชื่อคนเหล่านี้มาจากชื่อสิ่งของและธรรมชาติอันสวยงาม เช่น ดอกไม้ต่างๆ สีของใบไม้ และเกี่ยวกับความสวยงาม ชื่อผู้ชาย เช่น “ ซอแฮซ่อมแหละ ” แปลว่า “ นายมาซ่อมแหละ ” คำว่า “ ซ่อมแหละ ” เป็นนามสกุลอันเป็นชื่อของปู่ดังจะขอยกชื่อและนามสกุลของชาวยางขาวมาไว้เป็น ตัวอย่าง คือ ซอดะวิดะริ ซอเรวี ซอแยมู ซอทุโด่ ซอโพชเซ่ ซอทะเย ซอวะลา ซอตู๊นุ ซอซันเด่ ฯลฯ ชื่อของผู้หญิง เช่น น่อพิดเด่ยา น่อทูซี น่อเร่โพ น่อทูพอ น่อนะเรโพ น่อน่อโบะ น่อน่อ คือ น่อพอทู น่อพอเจ ฯลฯ

ชื่อสิ่งต่างๆ เช่น แย แปลว่า หอม ทุ แปลว่า ใหญ่ เซ่ แปลว่า หมาก เย แปลว่า เย็น ตุ๊ แปลว่า พบ เด่ แปลว่า พระอาทิตย์ เด่ยา แปลว่า ดอกพลับพลึง เร่โพ่ แปลว่า ปั่นฝ้าย ลา แปลว่า เขียว วะ แปลว่า ขาว โบะ แปลว่า ข่อ คือ แปลว่า ขยัน หมั่น ฯลฯ

การนับถือศาสนาของชาวยาง ขาว แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือพวกหนี่งนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับนับถือผี อีกพวกหนึ่งนับถือศาสนาคริสเตียน การนับถือผีเป็นลัทธิดั้งเดิมของเขา ครั้นต่อมานับถือศาสนาพุทธ แต่ยังไม่เข้าใจถึงแก่นของศาสนาพุทธ ภายหลังเมื่ออังกฤษได้เข้ายึดครองสหภาพพม่า ได้นำเอาศาสนาคริสเตียนเข้ามาอบรมสั่งสอน ชาวยางขาวบางพวกได้หันเข้าไปนับถือศาสนาใหม่ บางพวกยังนับถือผีควบคู่ไปกับศาสนาพุทธต่อไป พวกยางขาวจึงแตกแยกเป็น ๒ พวก ซึ่งมีความเชื่อไม่ตรงกัน ในที่สุดก็เกิดทะเลาะวิวาทจึงแตกแยกไปตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นพวกๆ

ส่วนพวกที่ยังคงนับถือ ศาสนาเดิมจะมีการทำพิธีเลี้ยงผีป่า ผีหมู่บ้าน และผีเรือน สำหรับพิธีผูกมือเรียกขวัญนั้นจะทำในเวลาเดียวกับพิธีเลี้ยงผีบ้าน ซึ่งทำกันในเวลาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาจะอัญเชิญดวงวิญญาณปู่ย่าตาทวดต้นตระกูลมาร่วมพิธี มีการผูกมือด้วยเส้นด้ายเรียกขวัญ แต่ก่อนที่จะลงมือประกอบพิธีต้องให้หมอผีประจำหมู่บ้านเสี่ยงทายดูเสียก่อน ว่า ผีหรือดวงวิญญาณบรรพบุรุษมีประสงค์จะให้สังเวยเครื่องเซ่นด้วยเนื้อสัตว์ เลี้ยงชนิดใด จะเป็นเนื้อวัว ควาย เป็ด ไก่ หมู เมื่อทราบแล้วก็จัดการฆ่าสัตว์นั้นและนำมาเป็นเครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่าพิธีไหว้บ้าน เสร็จพิธีก็นำเอาเครื่องเซ่นนั้นแบ่งเป็นกองๆ ไว้หลายๆ แห่งตามโคนเสาภายในบ้านเรือนของตน แล้วขอร้องต่อผีหรือดวงวิญญาณบรรพบุรุษแบ่งอาหารเครื่องเซ่นให้แก่เด็ก ซึ่งเป็นบุตรของตนรับประทานก่อน เมื่อเด็กรับประทานแล้ว ผู้ใหญ่จึงรับประทานภายหลัง

ชาวยางขาวมีขนบธรรมเนียม การนับถือผีต่างกันกับชาวยางกะเลอตรงที่ ชาวยางกะเลอปลูกศาลเจ้าหรือหอผีไว้นอกหมู่บ้าน แต่ชาวยางขาวไม่ได้ทำศาลเจ้าหรือหอผีไว้ ณ ที่แห่งใดเลย เขาถือว่าดวงวิญญาณผีป่าหรือผีบรรพบุรุษของตนเวียนวายไปมาทั่วไปมิได้อยู่ แห่งใดเป็นประจำ และอาจล่องลอยมายังพวกเขาได้ในชั่วพริบตาเดียวถ้าจัดเครื่องเซ่นสังเวย อัญเชิญ การเลี้ยงผีป่ากระทำต่อเมื่อมีชาวยางขาวผู้ใดไปทำสิ่งที่ไม่ถูดกต้องจารีต ประเพณีหรือถูกผีสิงทำให้เจ็บป่วยได้ย่างเท้าก้าวออกไปวันแรกเจ็บป่วยนั้น โดยนำเอาเครื่องเซ่นมี ไก่ สุรา ไปเซ่นที่ริมทางเดิน

การเที่ยวสาวของชาวยาง ขาว จะไปเที่ยวหาหญิงสาวบนบ้าน เมื่อพูดจาเกี้ยวพาราสีเป็นที่ชอบพอรักใคร่กันก็จัดเถ้าแก่ไปสู่ขอกับบิดา หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เมื่อตกลงกันแล้วก็ยังไม่รีบแต่งงานกันทีเดียว คือ เพียงหมั้นไว้ก่อน ชายหนุ่มหญิงสาวต้องเตรียมตัวแต่งงานร่วม ๒ ปี คือ ฝ่ายหญิงต้องเลี้ยงหมูไว้ให้โตพอที่จะฆ่าเลี้ยงแขกเพื่อนบ้านในวันแต่งงานทอ ผ้าเตรียมไว้คนละ ๒ ชุด มี กางเกง เสื้อ ผ้าโพกหัว ผ้านุ่ง ฝ่ายชายเตรียมหาเงินสะสมเอาไว้สำหรับเป็นทุนทำมาหากินเลี้ยงภรรยา และลูกที่จะคลอดออกมาภายหลัง

พอถึงกำหนดเวลาแต่งงาน ฝ่ายหญิงเตรียมต้มสุราไว้รับแขก การแต่งงานทำกันที่บ้านฝ่ายหญิง จัดงาน ๓ วัน ระหว่างนี้จะเลี้ยงแขกทุกวันโดยถือกันว่าวันแต่งงานเป็นวันสำคัญที่สุดของ ชีวิต เหมือนการอำลาจากความเป็นสาวพรหมจารีและความเป็นหนุ่ม จากชีวิตอันรื่นเริงเข้าสู่ความรับผิดชอบร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน วันกำหนดแต่งงานนี้ไม่แน่นอน เพราะถ้าฐานะชายหญิงทั้งสองฝ่ายค่อนข้างอัตคัด ก็จัดพิธีแต่งงานกันเพียงวันเดียว หมูของหญิงสาวจะถูกฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขก ถ้าไม่พอก็หามาฆ่ากันอีก จนชาวบ้านที่มาในงานแต่งงานอิ่มหนำสำราญด้วยสุราอาหาร เมื่อเสร็จพิธีแล้วคู่บ่าวสาวต้องไปกราบไหว้บิดามารดาของทั้งสองฝ่าย ขนบธรรมเนียมของชาวยางขาวนั้น ชายต้องไปอยู่บ้านหญิงก่อนแล้วจึงแยกไปปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นของตนเองในภายหลัง