ชาติพันธุ์ล้านนา - ปะด่อง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"


ปะด่อง

ปะด่อง เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเผ่าหนึ่งเรียกตัวเองว่า ปะด่อง แต่โดยที่มีคอยาวผิดปกติ คนทั่วไปจึงเรียกว่า “ กะเหรี่ยงคอยาว ”

เดิมปะด่องมีถิ่นอาศัย อยู่บริเวณตอนกลางของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ในสหภาพพม่า

จากหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์พบว่าเมื่อปี พ . ศ . ๒๔๙๘ มีประชากรปะด่องในสหภาพพม่าประมาณ ๒๕ , ๐๐๐ คน ซึ่งประกอบอาชีพด้านการเกษตรและล่าสัตว์เพื่อการยังชีพแบบดั้งเดิม
ภายหลังความ วุ่นวายทางการเมืองในสหภาพพม่าจนกระทั่งเกิดปัญหาชนกลุ่มน้อย ทางรัฐบาลกลางสหภาพพม่าจึงได้ดำเนินการทางทหาร เป็นผลให้ชาวปะด่องที่เหลืออยู่ แตกกระจัดกระจายอพยพหลบหนีไปที่ปลอดภัยต่างๆ จนขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าชุมชนปะด่องส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ที่ใด ทราบเพียงว่าชาวปะด่องแยกออกเป็นหลายกลุ่ม บางกลุ่มเข้าไปอาศัยรวมอยู่กับชนกลุ่มอื่นๆ ที่มีกำลังทางทหารซึ่งสามารถดูแลความปลอดภัยให้ได้
ความเป็นมาของปะด่องหรือกะเหรี่ยงคอยาวในประเทศไทย

กะเหรี่ยงคอยาวเข้าสู่ประเทศไทยด้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อราวปลายปี พ . ศ . ๒๕๒๗ ในช่วงที่กองกำลังทหารพม่าทำการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยเผ่าคะยา บริเวณพรมแดนไทย - พม่า ตรงข้ามกับพื้นที่ตำบลผาบ่องและตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การสู้รบทำให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ รวมทั้งชาวปะด่องจำนวนหนึ่ง อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่หมู่บ้านใหม่ในสอย ซึ่งทางประเทศไทยได้ให้การช่วยเหลือและควบคุมให้อยู่ในฐานะผู้อพยพ จนกระทั่งในปี พ . ศ . ๒๕๒๘ นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ( ในขณะนั้น ) ได้มีนโยบายให้แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดท่องเที่ยวและมีความเห็นว่ากะเหรี่ยงคอ ยาวน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาแม่ฮ่องสอน จึงได้มีการเจรจากับผู้นำชนกลุ่มน้อยเผ่าคะยาเพื่อเปิดหมู่บ้านตามชายแดนและ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ในแรกเริ่มมีกะเหรี่ยงคอยาวเพียง ๘ คน ต่อมามีการอพยพเข้ามาเพิ่มเติม จึงได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านวัฒนธรรมกะเหรี่ยงคอยาวขึ้นที่บ้านใหม่ในสอย ปัจจุบันมีกะเหรี่ยงคอยาวเฉพาะกลุ่มที่ยังใส่ห่วงคอประมาณ ๔๐ คน

สาเหตุการใส่ห่วง

การแต่งกายของกะเหรี่ยง คอยาวคล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงเผ่าอื่น กล่าวคือ หญิงสวมเสื้อกะเหรี่ยงสีขาว ผ้านุ่งสีดำยาวแค่เข่า มีปลอกผ้าสวมที่น่อง ผมมวยสูงคลุมด้วยผ้าสีแดง เขียว เหลือง เป็นต้น สวมกำไลเงินที่ข้อมือ และสวมห่วงทองเหลืองที่มใต้ข้อเข่าสองข้างและที่คอ
สาเหตุการใส่ห่วงคอ จากคำบอกเล่าของผู้นำชาวปะด่องได้ความว่า ในอดีตชาวปะด่องไม่มีการใส่ห่วงคอแต่อย่างใด จนกระทั่งสมัยหนึ่ง มีฝูงเสือเข้ามาในชุมชนปะด่องและได้กัดชาวบ้านล้มตายไปมากมาย คนที่ตายส่วนใหญ่จะโดนเสือกัดที่คอ ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว ผู้นำของหมู่บ้านซึ่งเป็นหมอผีในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้ผีป่าและกำหนดให้เด็กหญิงรวมทั้งหญิงสาวที่ยังไม่ได้ แต่งงาน โดยเฉพาะหญิงที่เกิดในวันเพ็ญ ทำพิธีใส่ห่วงคอเพื่อเป็นการแก้เคล็ด ป้องกันภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยใช้ทองคำมาทำเป็นห่วง แต่ต่อมาทองคำหายากและมีราคาสูงจึงใช้ทองเหลืองแทน ดังที่เห็นในปัจจุบัน อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า เดิมชาวปะด่องมีแม่เป็นมังกรและหงส์ จึงใส่ห่วงที่คอเพื่อให้คอระหง ส่ายไปมาอย่างสง่างาม
ส่วนตำนานประวัติ เผ่าก็เล่ากันว่า แต่เดิม “ ปะด่อง ” หรือ “ แลเคอ ” เป็นนักรบที่กล้าและรักษาสัญญายิ่งชีวิต เมื่อแพ้สงครามกับพม่าก็แตกหนีจากถิ่นเดิม ครั้งนั้นพระธิดาผู้นำเผ่าอายุ ๙ ปีหนีออกไปด้วย พวกแลเคอมีต้นไม้ศักดิ์สิทธ์ชื่อ “ ปะด่อง ” สีเหลืองเหมือนทอง เมื่อพระธิดาแลเคอหนีมาก็นำต้นปะด่องมาด้วย และได้เอาต้นปะด่องมาพันคอแล้วประกาศว่า หากพวกแลเคอกลับไปมีอำนาจได้อีกจึงจะเอาต้นประด่องนั้นออกจากคอ จากนั้นพวกแลเคอซึ่งถือสัญญายิ่งชีวิตก็เอาทองมาพันคอผู้หญิงทุกคนในเผ่า เพื่อเตือนความจำว่าจะต้องอดทนเพื่อรอวันแห่งชัยชนะและวันแห่งความยิ่งใหญ่
กรรมพิธีการใส่ห่วงคอ

จากข้อมูลใน แม่ฮ่องสอน หนังสือ ชุดของวารสารสารคดี เป็นข้อมูลอีกแนวหนึ่ง โดยมีใจความว่าแต่เดิมมาชาวปะด่องเริ่มใส่หวงคอให้แก่เด็กหญิงอายุ ๕ ขวบขึ้นไป โดยหมอผีจะทำการเสี่ยงทายกระดูกไก่เป็นการกำหนดฤกษ์ยามก่อนพ่อแม่เด็กจะ เตรียมห่วงทองคำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร ขดเป็นวงติดกันประมาณ ๖ วง พอได้ฤกษ์หมอผีจะนำห่วงสวมเข้าทางหัวแล้วใช้เครื่องมือรัดห่วงให้กระชับห่วง ชุดแรกที่ใส่จะมีน้ำหนักประมาณ ๑ กิโลกรัม ต่อไปทุกๆ ๓ ปี ก็จะเปลี่ยนห่วงชุดใหม่ที่มีน้ำหนักและความยาวเพิ่มขึ้นครั้งละ ๓ ห่วงเรื่อยไป จนกว่าเด็กหญิงจะโตเป็นสาวอายุ ๒๕ ปี หรือเมื่อแต่งงานก็จะหยุดใส่ห่วงเพิ่ม และครั้งสุดท้าย หากใส่ห่วงคออยู่เท่าใดก็จะใส่อยู่เช่นนั้นจนเสียชีวิต ไม่มีการถอดออก

ในอดีตเมื่อมีการใส่ห่วง คอให้แก่เด็กหญิง จะมีการให้รางวัลเป็นกำไลและห่วงข้อมือข้อเท้า และอื่นๆ จนต่อมากลายมาเป็นการใส่ห่วงตามแขนขาดังที่เห็นในปัจจุบัน สำหรับสถิติความยาวของห่วงคอของหญิงชาวปะด่องที่สูงสุดคือ ๒๕ ห่วง มีน้ำหนักประมาณ ๖ กิโลกรัม ลักษณะของห่วงคอจะเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นห่วงวงกว้างรองรับน้ำหนักของห่วงทั้งหมดที่บ่าทั้งสองข้าง ชั้นที่สองจะเป็นห่วงวนรอบๆ คอ ห่วงทั้งสองชุดจะมีสลักล็อค เพื่อให้ยึดติดและปลดออกจากกันได้ เมื่อต้องการทำความสะอาด
ตามหลัก วิชาการแล้ว การใส่ห่วงคอไม่ได้ทำให้หญิงชาวปะด่องมีคอยาวมากกว่าปกติ แต่การที่ห่วงคอมีน้ำหนักมากกดทับช่วงบ่า และบังคับคอด้วยห่วง ทำให้เกิดการดันกระดูกซี่โครงให้ต่ำลง จึงดูเหมือนคอยาวกว่ายาวกว่าคนธรรมดา เมื่อเอาห่วงคอออก ไหล่และซี่โครงที่ถูกกดก็กลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม ทว่าความหางของหมอนรองกระดูกคอของชาวปะด่องมีมากกว่าคนปกติ กล้ามเนื้อจะยืดตัวและไม่แข็งแรงเหมือนคนปกติ หากถอดห่วงคอออกจะเป็นอันตรายมาก

ปัจจุบันปะด่องหรือกะเหรี่ยงคอยาวส่วนหนึ่งในภาคเหนือได้กลายเป็น “ จุดขาย ” อีกอย่างหนึ่งของธุรกิจท่องเที่ยว