ประเพณีล้านนา - ประเพณีล่องสะเพา ( อ่าน “ ล่องสะเปา” )

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ล่องสะเพา ( อ่าน “ ล่องสะเปา” )
 

ล่องสะเพา นอกเหนือจากจะหมายความว่านำสำเภาล่องไปตามลำน้ำแล้ว ยังหมายถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่คล้ายกับประเพณีลอยกระทง พบว่ามีอยู่ที่จังหวัดลำปางเพียงแต่ไม่ทราบว่าประเพณีนี้มีประวัติความเป็น มาอย่างไรเพราะโดยปกติแล้ว ในเทศกาลยี่เพงหรือเพ็ญเดือนยี่ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองนั้น ทางล้านนาจะมีประเพณีตั้งธัมม์หลวงและการจุดประทีปโคมไฟอยู่แล้ว

พิธีล่องสะเพาหรือลอย กระทงแบบลำปางนี้ เป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนาอย่างหนึ่ง วัดบางแห่งจะถือโอกาสจัดงานเทศมหาชาติ ( ตั้งธรรมหลวง ) พร้อมกันไปด้วย จะมีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม มีต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ธงทิวต่าง ๆ ประดับ ส่วนของในพิธีล่องสะเพานั้น จะมีการทำสะเพาขนาดใหญ่บรรจุผลไม้ ขนม มาใส่ไว้ พร้อมทั้งประทีปธูปเทียนจุดกันสว่างไสว เมื่อได้เวลาอาจารย์วัดจะนำไหว้พระรับศีลฟังเทศน์แบบล้านนาชื่ออานิสงส์ ประทีปตีนกาแล่วจะมีโอกาสกล่าวถวายเครื่องสักการบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมนา สัมพุทธเจ้า พร้อมกับการขอขมาลาโทษต่อพระแม่คงคาอันมีพระคุณต่อบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ต่อจากนั้นก็จะนำสะเพานั้นแห่ไปลอยที่แม่น้ำ บางคนก็มีกระทงเล็กไปลอยด้วยกันส่วนหนึ่งถือเป็นการลอยทุกข์โศก โรคภัย เสนียดจัญไรต่าง ๆ เพื่อความสุขความเจริญแก่ตัวเองและครอบครัวสืบต่อไป

มีคำกล่าวบูชาลอยกระทงเป็นภาษาบาลี ดังนี้

อหํ อิมินา ปทีเปนอสุกาย นมทาย นทิยา ปุริเนฐิตํ มุนิโน ปาทวลญช อภิปูเชมิ

อหํ ปทีเปน ปาทวลญชํ ปูชา มยหํ ทีฆรตตํ หิตาย สุขาย สํวตตตุ

ข้าพเจ้าขอบูชารอยพระ พุทธบาท ซึ่งประดิษฐ์ฐานอยู่เหนือหาดทราย ณ ฝั่งแม่น้ำนัมมานทีด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประทีปนี้จงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์สุขชั่วกาลนานเทอญ ( โดย ประดิษฐ์ สรรพช่าง )

ส่วนการล่องสะเพา ที่พบในเชียงใหม่นั้น เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่คล้ายกับ “ ลอยกระทง ” แบบกรุงเทพฯ กล่าวคือ มีการจัดเครื่องสักการะและเครื่องอุปโภคบริโภคใส่ในสะเพาหรือเรือ แล้วปล่อยให้ล่องไปตามกระแสน้ำในวันยี่เพงคือเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้บางท่านเรียก ลอยโขมด

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเพณีนี้มิได้มีการกระทำโดยทั่วไปเพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีการจุดประทีปโคมไฟ กันมากกว่า ดังที่ได้มีคัมภีร์ชื่ออานิสงส์ผางประทีปกำกับอยู่ ( ดูเพิ่มที่ ลอยกระทง และลอยโขมด )