วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ลอยโขมด

การลอยโขมด เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่กล่าวไว้ในประเพณีไทยภาคเหนือ ของ สงวน โชติสุขรัตน์ และในประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย ของ มณี พยอมยงค์ โดบมีความว่าคล้ายกับ “ ลอยกระทง ” แบบกรุงเทพฯ กล่าวคือมีการจัดเครื่องสักการะและเครื่องอุปโภคบริโภคใส่ในสะเพา ( อ่าน “ สะเปา ” ) หรือเรือ แล้วปล่อยให้ล่องไปตามกระแสน้ำในวันยี่เพงคือ เพ็ญเดือนสิบสอง

คติดังกล่าวนี้ สงวน โชติสุขรัตน์ กล่าวว่าเกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณ โดยกล่าวว่าเมื่อ จ . ศ .309 หรือ 1490 เกิดอหิวาตกโรคที่อาณาจักรหริภุญชัยซึ่งผู้คนล้มตายลงเป็นอันมาก พวกที่ไม่ตายก็ชวนกันอพยพไปอยู่ที่เมืองสะเทิม หรือสุธัมมวดีและต่อไปยังเมืองหงสาวดีเป็นเวลาถึง 6 ปี ซึ่งในเวลาดังกล่าวบางคนก็ได้มีครอบครัวในเมืองหงสาวดีด้วย เมื่อทราบว่าอหิวาต์ในหริภญชัยได้สงบลงแล้วจึงได้อพยพกลับคืน เมื่อถึงครบรอบวันที่ได้อพยพไปนั้นจึงได้จัดธูปเทียนสักการะพร้อมทั้ง เครื่องอุปโภคบริโภคใส่สะเพาคือสำเภาหรือกระทงล่องตามน้ำเพื่อระลึกถึงญาติ ที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี

การกระทำดังกล่าวกล่าวนี้บางท่านเรียก ล่องสะเพา

น่าสังเกตว่าการกระทำ เช่นนี้มิได้ดำเนินโดยทั่วไปในล้านนา คือในเทศกาลยี่เพงตรงกับเพ็ญเดือนสิบสอง จะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง คือเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติและมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้าง ขวาง ดังที่ได้มีคัมภีร์อานิสงส์ผางประทีปกำกับไว้อยู่แล้ว ( ดูเพิ่ม ลอยกระทงและล่อง สะเพา )