ประเพณีล้านนา - ป๋าเวณีปู๋จาเสาอินทขิล (เสาหลักเมือง ของเมืองเจียงใหม่)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ป๋าเวณีปู๋จาเสาอินทขิล (เสาหลักเมือง ของเมืองเจียงใหม่)


ศูนย์กลางปกครอง หรือราชการธานีของลัวะโบราณ อยู่ที่ เวียงเชฐบุรี หรือเวียงเจ็ดริน ซึ่งตั้งอยู้เชิงดอยสุเทพด้านทิศตะวันออก ( สถานที่เลี้ยงโคนมของกรมปศุสัตว์ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปัจจุบัน ) อาณาจักรลัวะโบราณภายใต้การนำของ ขุนหลวงวิลังคะล่มสลายเพราะแพ้สงคราม ถูกพระนางจามเทวีแห่งอาณาจักรหริภูญชัยยึดครองเมื่องปีพุทธศักราช , 1211 ( พ . ศ . 1240) วาสุเทพฤาษีสร้างเมื่องหริภูญชัยหรือลำพูน 1206 พระนางจามเทวีครองราชย์เมืองหริภูญชัย , 1211 เกิดสงครามกับลัวะ , 1213 สละสมบัติให้มหายศ ( หรือมหันตยศ ) พระโอรสครองราชย์ย์แทน

อาณาจักรลัวะโบราณมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วย ทรัพยากร ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ตำนานจึงกล่าวไว้ว่า บ้านเมืองลัวะมีขุมทรัพย์ คือ บ่อเงินบ่อทอง บ่อแก้ว อยู่ตามทิศต่าง ๆ ผู้คนตั้งสัจธิษฐานเอาได้ตามปรารถนาและมีผู้คนพลเมืองมาก มีเมืองสำคัญ ๆ อยู่หลายแห่ง เช่น เวียงสวนดอก ทางทิศใต้ เวียงเชษฐบุรี และเวียงนพบุรี ( มืองทั้ง 9 ตามชี่อเศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล ) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ยาว 1,000 วา กว้าง 900 วา อยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชษฐบุรี เป็นศูนย์การปกครองอาณาจักรลัวะแห่งสุดท้าย ก่อนล่มสลายในสมัยขุนหลวงวิลังคะดังกล่าว

เศรษฐรลัวะ 9 ตระกูลดังกล่าว ที่ปกครองอาณาจักรลัวะโบราณก็มี โซติกเศรษฐีเมฑกะเศรษฐีภัททิยะเศรษฐี ชติละเสรษฐี เศรษฐีพ่อเรือน เศรษฐีปอเลิงหรือพ่อเลือง เศรษฐีหมื่นล้าน เศรษฐีพันเตา พญาวีวอ เศรษฐี 9 ตระกูลนี้ แบ่งหน้าที่กันปกครองอาณาจักรตามเขตหรือภูมิภาคต่าง ๆ ที่ลึกลับน่าสะพรึงกลัวที่ให้คุณให้โทษ ที่พวกเขาเกรงกลัว ต้องเซ่นไหว้พีลกรรม

การสร้างเวียงนพบุรีของลัวะ ที่มีพระฤาษีเป็นที่ปรึกษา กำหนดขอบเขตและแบบแปลนแผนผังของเมืองให้ รวมทั้งเป็นสื่อติดต่อขอเสาหลักเมืองที่ทำด้วยศิลาแท่งทึบจากพระอินทร์มาให้ นั้น เสาหลักเมืองจึงได้ชื่อว่า เสาอินทขิล ตั้งนั้นมา แม่เสาหลักเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ที่ชนชาติไทยสร้างขึ้นภายหลังในถิ่นแผ่นดินเก่าของลัวะหรือละว้า ก็ให้ชื่อว่าเสาอินทขิลถือเป็นมงคลนามตามนั้นด้วย เสาอินทขิลมีอยู่ 3 ต้น ด้วยกัน

ต้นที่ 1 นั้น เมื่อตั้งอยู่เมืองใด ถ้าพระยาอามาตย์พร้อมใจกันกราบไหว้บูชาจะอยู่เจริญผาสุก แม้ข้าศึกศัตรูมารุกรานก็จะแตก่ายหนีไปและล้มตายหมดสิ้น ..... ต้นที่ 2 ต้นท่ามกลาง เมื่อตั้งอยู่เมืองใด ถ้าพร้อมใจกันกราบไหว้บูชา ก็จะเจริญผาสุก มั่งมี ด้วยทรัพยสินสมบัติมีเดชานุภาพ แม้มีข้าศึกศัตรูมารุกรานก็จะแตกพ่ายไปโดยไม่ต้องออกรบ ..... ต้นที่ 3 ตั้งอยู่บ้านเมืองใด เมื่อพร้อมใจกันทำการกราบไหว้บูชาแล้วข้าศึกศัตรูไม่อาจเข้ามารุกรานได้ผ่าน เขตแดนได้

พระอินทร์เอาเสาอินทขิลต้นที่ 2 ให้เวียงนพบุรี โดยให้กุมภันฑ์ 2 ตน เอาเสาอินทขิลใส่สาแหรกหามมาประดิษฐานไว้เหนือแท่นกลางเมืองนพบุรี ที่ข้างแท่นเป็นหลุมกว้าง 7 วา 1 ศอก ลึก 2 วา ตกแต่งผนังเลื่อมมันมั่นคงแข็งแรงดีแล้ว เอารูปสัตว์ต่าง ๆ บรรดามีในตลก ทั้งสัตว์น้ำสัตว์บก อย่างละคู่ ( ผู้ตัวเมียตัว ) ที่หล่อด้วยทองบรรจุไว้

ในวัดเจดีย์หลวงปัจจุบัน มีรูปปั้นกุมภันฑ์อยู่ 2 ศาล ละ 1 ตน รูปฤาษีตนหนึ่ง ถือเป้นของคู่กันกับเสาอินทขิล เมื่อจุลศักราช 1162 ปีวอกโทศก ( พ . ศ . 2343) พระเจ้ากาวิละได้ก่อรูปกุมภันฑ์ 1 คู่ รูปฤาษี 1 คู่ตน ไว้ ณ วัดเจดีย์หลวง กลางเมือง