ประเพณีล้านนา - ระเบียบประเพณีการเวนทาน

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ระเบียบประเพณีการเวนทาน
 
ฉบับนี้จะขอเล่าถึงการเวทนาซึ่งเป็นประเพณีอันหนึ่งของล้านนาไทย อาจารย์สิงฆะ

วรรณสัยเป็นผู้เรียบ เรียงไว้และพิมพ์แจกเนื่องในงานครบรอบศตมวารของท่านเองเมื่อปี พ . ศ 2523 เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในเรื่องระเบียบประเพณีของล้านนาจึงขอนำเอามา เพื่อเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง

ประเพณีนี้ปฏิบัติสืบต่อ กันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่ผู้รู้ทั่วไปให้ความยกย่องว่าดียิ่ง ประเพณีแบบนี้ไม่มีในภาคอื่นของประเทศไทย นับว่าเป็นความดีพิเศษของนักปราชญ์โบราณล้านนาไทย ที่ได้คิดว่างระเบียบแบบแผนเวนทานไว้ ส่งให้ทราบถึงความละเอียดอ่อนแห่งดวงใจที่มีต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง จึงเป็นหน้าที่แห่งเราต้องรักษาส่งเสริมให้มั่นคงยืนยาว สืบลูกหลานต่อไปในอนาคต

การจะส่งเสริมรักษา ประเพณีการเวนทานนี้ เราต้องเข้าใจความหมายและประโยชน์ของการเวนทานพอสมควร เมื่อเราเห็นความสำคัญของการเวนทานแล้ว เราจึงจะเกิดความรักความหวงแหนและรักษาไว้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่จะกล่าวถึงการเวนทานเรื่องอื่น ๆ จะพูดถึงประโยชน์ของการเวนทานก่อน
ประโยชน์ของการเวนทาน

1. เป็นโอกาสให้ อาจารย์ชาวบ้านได้อบรมสั่งสอนศรัทธาแทนพระ

2. เป็นการประโลมโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้เกิดศรัทธาปสาทะมีปิติอิ่มเอมในกุศลทานที่ได้ประกอบและเป็นการตัดกังวลมลทินออกจากใจเจ้าภาพ

3. เป็นการฝึกหัดให้คนฟังเกิดความอดทน คือทนอดที่จะฟังเวนทานให้จบ เป็นการให้เกิดสมาธิ

4. ทำให้ผู้มาร่วมอนุโมทนาทราบชัดถึงการถวายทานและวัตถุประสงค์ เกิดอารมณ์ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเจ้าภาพ

5. ผู้ฟังย่อมได้ทราบสาระคำสอนที่แฝงอยู่ในวันทานนั้น ๆ นำไปเป็นข้อเตือนใจได้
บุคคลผู้สมควรจะเป็นอาจารย์เวนทาน

1. ควรเป็นหนาน คือผู้ที่เคยอุปสมบทมาแล้ว เพราะผู้ที่เคยอุปสมบทมาแล้วย่อมจะทราบระเบียบวินัยและจิตใจของพระสงฆ์ ย่อมปฏิบัติสอดคล้องต้องกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระสงฆ์ ผู้ที่ยังไม่เคยบวชเป็นพระมาก่อนถ้าประสงค์จะเป็นอาจารย์เวนทาน คนโบราณย่อมให้เขาบวชเป็นพระเสียก่อน อย่างน้อยก็ 1 พรรษาในบางโอกาสเมื่อมีงานใหญ่ ไม่อาจจะหาอาจารย์เวนทานให้เหมาะสมแก่งานได้ เขาก็จะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้ฉลาดสามารถในการเวนทาน ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ก็มี

2. เป็นการเหมาะสมโดยแท้ที่อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เวนทาน ควรเป็นผู้มีศีล 5 อยู่กับตัวเป็นนิจ แม้ที่สุดไม่อาจจะรักษาศีลให้ครบทั้ง 5 ข้อได้ การรักษาศีลข้อที่ 5 ให้ได้ คือ ไม่เป็นคนดื่มสุราเมรัย เพราะผู้นำทานควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ตาม อีกประการหนึ่งก็เป็นบุญเป็นอานิสงฆ์แก่ผู้เป็นอาจารย์ด้วย

3. เป็นผู้มีระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ทั้งในแบบโบราณลานนาไทยและแบบสมัยปัจจุบันพอเป็นหลักเป็นแนวในการประกอบ พิธีกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักสังเกตเมื่อไปในงานพิธีทั้งหลายถ้าเกิดสงสัยให้ถามท่านผู้รู้เพื่อ จะนำมาประยุกต์ในการนำทำพิธีภายในหมู่บ้านของเรา อนึ่งอาจารย์ย่อมเป็นที่ปรึกษาของชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆแม้กระทั่งการหามื้อหาวันเป็นต้น

4. อาจารย์พึงเป็นผู้มีมารยาทอ่อนน้อม เคารพยำเกรงในพระภิกษุสามเณร รู้จักวางตัวให้ถูกฐานะ รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควร ไม่พึงตั้งตัวเป็นผู้มีอำนาจเข้าควบคุมกิจการภายในของวัด

5. เป็นผู้อยู่ท่ามกลางระหว่างพระกับศรัทธาชาวบ้าน เรื่องใดที่พระพูดกับศรัทธาโดยตรงไม่ได้ ย่อมเป็นหน้าที่ของอาจารย์จะพูดแทนเรื่องใดที่ศรัทธาชาวบ้านเกิดแคลงใจไม่ อาจจะพูดจะถามโดยตรงกับพระได้ ก็เป็นหน้าที่ของอาจารย์จะพูดแทนศรัทธา ทั้งนี้ให้ยึดความสามัคคีเป็นหลัก

6. เป็นผู้รู้จักกาลเทศะในการเวนทานคือรู้จักเวลาและสถานที่ ว่าเวลานี้ สถานที่นี้ควรจะเวนสั้นหรือแววยาว ควรใช้สติปัญญาพิจารณาดู หรือควรถามความต้องการของพระสงฆ์ที่เป็นประธานในพิธี

7. เป็นผู้ไม่มีมานะกระด้างถือตัวไม่รู้จักยอมคน เพราะอาจารย์เป็นตัวแทนของธรรมะพึงเป็นผู้บันเทา โลภะ โทสะ โมหะ ให้ลดน้อยถอยลง ถือเหตุถือผลความถูกต้องเป็นหลัก ถ้ามีงานเกิดขึ้นในหมู่บ้านเช่น งานศพ แม้เจ้าภาพเขาไม่บอกกล่าวด้วยเหตุใดก็ตาม อาจารย์ก็ควรไปตามหน้าที่โดยเป็นศรัทธาก็ได้
8. เป็นผู้แสวงหาความรู้เสมอ ชอบฟังชอบถามในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาปฏิบัติปรับปรุงตัวเองให้เจริญขึ้น ตามที่กล่าวมาทั้ง 8 ข้อนี้ ความจริงอาจจะยังไม่หมด เท่าที่คิดได้พอเป็นหลักดูดเหมือนจะมีเท่านี้ หากอาจารย์ใดมีคุณสมบัติดังกล่าวมาสัก 2-3 ข้อ ก็นับว่าเป็นอาจารย์ที่ดียิ่งแล้ว แต่ถ้าได้ครบหมดยิ่งเป็นการดี
ระเบียบปฏิบัติก่อนจะทำบุญถวายทาน

เบื้องแรกของการเป็น อาจารย์ อาจารย์ฟังรู้จักระเบียบศาสนาพิธีดี พอที่จะนำไปปฏิบัติได้ และต้องรู้ระเบียบพิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าเดา ๆทำด้วยคิดว่า ท่าจะดีในที่นี้จะกล่าวถึงศาสนพิธีที่เราปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป เรียกว่าเป็นหลักใหญ่ของพิธีทางศาสนาทั้งหลายพอสังเขป

เมื่อมีงานทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นงานศพหรืองานมงคลก็ตาม อาจารย์วัดย่อมมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าภาพ ในด้านพิธีการทั้งหลาย เพราะส่วนมากชาวบ้านไม่ค่อยรู้ หรือถ้ารู้ก็รู้ผิด ๆเพราะว่าไม่ใช่หน้าที่เขาโดยตรง อาจารย์ต้องไปแนะนำหรือดำเนินการแทนเจ้าภาพ เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างถูกต้อง เป็นหน้าที่ของอาจารย์จะต้องเอาใจใส่

•  การจัดสถานที่

•  การตั้งโต๊ะหมู่บูชา

•  การล้วงด้ายสายสิญจน์

•  การจัดอาสนะสงฆ์

•  การจัดสถานที่

ถ้าจัดงานที่บ้าน ให้จัดห้องโถงที่กว้างขวางของเรือนเป็นที่ทำพิธี เมื่อจะใช้ม่านกั้นด้านหลังพระพุทธรูป ไม่ควรให้ปิดหน้าต่างในเมื่อเป็นฤดูร้อน เพราะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี ผู้เข้าอยู่ในพิธีหรือพระที่มาทำพิธีจะหงุดหงิดเพราะความร้อน ถ้าห้องโถงไม่มี หรือมีแต่แคบไม่พอทำพิธีได้ ควรจัดทำพิธีข้างล่างทางด้านหน้าเรือนโดยทำปรำผามเพียงหรือกางเต็นท์ให้สูง ใช้แท่นสังฆ์หรือเตียงเป็นอาสน์สงฆ์ ควรนิมนต์พระให้พอดีกับสถานที่

•  การตั้งโต๊ะหมู่บูชา

ถ้าห้องโถงกว้างขวาง ให้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ ถ้าห้องโถงไม่กว้างยาวพอจะจัดแบบที่กล่าวได้ ให้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลางชิดฝาผนัง เหมือนพระพุทธรูปที่ตั้งไว้ในวิหาร ให้พระสงฆ์นั่งออกมาทั้ง 2 ด้าน

ส่วนการจัดโต๊ะหมู่บูชา นั้น ก็พึงทำให้ละเอียดประณีต ตามธรรมดาโต๊ะหมู่บูชานั้นมีหมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 ส่วนมากที่เรานำมาตั้งที่บ้านนั้นจะเป็นหมู่ 5 หรือบางที่ก็เพียง 3 ตัวก็มี จะเป็นโต๊ะหมู่ชนิดใดก็ตาม เราย่อมตั้งพระพุทธรูปไว้โต๊ะที่สูงที่สุดตรงกลางโต๊ะ 2 ข้างพระพุทธรูปซึ่งต่ำลงมาให้วางแจกันดอกไม้ ดอกไม้ที่จะปักแจกันควรเป็นดอกไม้สด เพื่อจะนำจิตใจให้แช่มชื่น ไม่ควรใช้ดอกไม้แห้ง และควรระวังอย่าให้ดอกไม้คลุมพระพุทธรูป โต๊ะที่ต่ำลงมาด้านหน้าพระพุทธรูป ให้วางกระถางธูปและเชิงเทียนตามลำดับ ควรขัดชำระให้สะอาดอย่าปล่อยให้สกปรกเทียนควรใช้เทียนสีผึ้ง 2 เล่ม ธูป 3 ดอกไม่ควรเอาอะไรนอกจากที่กล่าวมา วางบนโต๊ะหมู่บูชาหรือวางภายใต้โต๊ะหมู่บูชาเป็นอันขาด เพราะเป็นการไม่เหมาะขาดคารวะ ผู้รู้ท่านถือว่าโต๊ะหมู่บูชาเป็นหัวใจของงานไม่ใช้ของเล่น ๆ เราเห็นโต๊ะหมู่บูชาก็ย่อมรู้ว่า เจ้าภาพมีความลึกซึ้งในพระรัตนตรัยแค่ไหน พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เราควรทำอย่างประณีตเต็มด้วยความคารวะที่สุด

•  การล้วงด้ายสายสิญจน์

ควรล้วงจากฐานพระพุทธรูป เวียนออกไปทางขวาตามคตินิยม ไม่ควรเอาด้ายสายสิญจน์คล้องคอพระพุทธรูปหรือผูกที่ใดก็ตาม ที่เรามองดูแล้วเป็นการขาดความเคารพ เมื่อเอาด้ายสายสิญจน์ล้วงที่ฐานะพระพุทธรูปดแล้ว ให้ล้วงเวียนขวาอ้อมเรือนหรือมณฑลพิธี จนวกกลับมาบรรจบกับเงื่อนเดิมที่ฐานพระพุทธรูป อีกเงื่อนหนึ่งที่เหลือม้วนเป็นกลุ่มให้เหลือยาวพอที่พระสงฆ์จะถือได้ครบทุก องค์ แล้วเอาล้วงรอบบาตรน้ำมนต์ 3 รอบ วางกลุ่มด้ายสายสิญจน์นั้นไว้บนพานอีกใบหนึ่ง ไม่ใช่ขันศีล ส่วนบาตรน้ำมนต์นั้นให้ปักเทียนน้ำมนต์ไว้ และหญ้าคนหนึ่งกำมือมัดให้เรียบร้อย เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ชัดประพรมน้ำมนต์

•  การจัดอาสนะสงฆ์

เราจัดวางโต๊ะหมู่บูชา ไว้แล้ว จากนั้นก็ปูลาดอาสน์สงฆ์ ถ้าปูเสื่อและคนทั่วไปก็นั่งเสื่อให้ปูพรมหรือผ้าก็ได้ทับบนเสื่ออีกชั้น หนึ่ง ถ้าปูพรมและคนทั่วไปก็นั่งบนพรมนั้นให้มีผ้าอื่นปูทับอีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรให้พระสงฆ์นั่งบนเสื่อหรือพรมร่วมกับทายกทาริกา จัดระยะที่นั่งให้ห่างกันพอที่จะขยับเขยื้อนได้สะดวก ไม่ควรจัดที่นั่งชิดกันเกินไป เป็นการทรมานพระสงฆ์ซึ่งต้องนั่งทำพิธีอยู่นาน และให้มีหมอพิงหลังองค์ละใบ
ส่วนคนโท ( น้ำต้น ) กระโถนนั้น ไม่ควรเอาวางจนครอบพระทุกองค์ เพราะรู้สึกเกะกะทำให้ที่คับแคบควรจะตั้งคนโท 1 ใบต่อพระ 2 รูป กระโถนก็เหมือนกัน ส่วนหมากพลูเหมี้ยงบุหรี่ควรถวายให้ครบทุกรูป


ก่อนทำพิธีเวนทาน

เมื่อพระมาถึงแล้ว ท่านจะนั่งตามอายุพรรษาของท่าน เจ้าภาพก็ประเคนหมากพลู บุหรี่ หรือน้ำในตอนนี้สำหรับพระเมื่อรับประเคนหมากพลูบุหรี่แล้ว จะวางไว้ตรงหน้าหรือจะเอาใส่ย่ามเลยก็ได้

เมื่อถึงเวลาทำพิธี ให้เชิญเจ้าภาพรวมทั้งลูกเมียมานั่งตรงหน้าพระสงฆ์ เว้นแต่บางคนอาจมีธุระเจ้าภาพเขาจะบอกให้ทราบ เมื่อเจ้าภาพมาครบแล้ว อาจารย์พึงประกาศบอก

ศรัทธาทั้งหลายให้ทราบว่า

‘' บัดนี้ถึงเวลาที่จะทำพิธีถวายทานแล้ว เบื้องแรกนี้จะได้เชิญ ……. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ในระหว่างที่เจ้าภาพกำลังจุดธูปเทียนอยู่นี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายประนมมือ '' แล้วเชิญเจ้าภาพจุดธูปเทียน การจุดธูปเทียนนั้น ตามที่นิยมกัน ท่านให้จุดเทียนเล่มซ้ายมือของเราก่อน แล้วจึงจุดเล่มขวามือของเราแล้วจึงมาจุดธูปทีหลัง

เมื่อเจ้าภาพจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว อาจารย์พึงกล่าวนำไหว้พระและสมาทานเบญจศีล การไหว้พระนั้นจะให้อาจารย์ว่านำแล้วศรัทธาว่าตามก็ได้ หรือจะว่าพร้อมกันทุกคนก็ได้ ทั้งนี้ขอให้เป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและคารวะยิ่ง เมื่อไหว้พระเสร็จแล้ว ใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่ใกล้พึงประเคนขันศีล แล้วกล่าวคำสมาทานเบญจศีลโดยว่าพร้อมกัน

เมื่อพระให้ศีลจบแล้ว ถ้าในพิธีนั้นมีการเจริญพระพุทธมนต์แบบพื้นเมือง ให้อาจารย์ขึ้น สัคเค ฯลฯ แล้วพระสงฆ์ก็เริ่มสวดตามแบบลานนาไทย ถ้าจะเจริญพระพุทธมนต์ตามแบบภาคกลาง ให้อาจารย์กล่าวคำอาราธนาพระปริตร คือ วิปตติ ปฏิพาหาย ฯลฯ พระสงฆ์

จื้นสัคเค ฯลฯ ตามแบบของภาคกลาง

ถ้าพระสงฆ์เจริญพระพุทธ มนต์ไปถึง ราชโต วา โจรโต วา ฯลฯ ให้เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ ถ้าพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตามแบบภาคกลางไปถึง อเสวนา จ พาลานํ ฯลฯให้เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ เมื่อจุดเทียนน้ำมนต์เสร็จแล้วให้ยกประเคนพระผู้เป็นประธานในพิธีนั้น แล้วกลับมานั่งประนมมือฟังสวดมนต์ต่อไปจ
ถ้าเป็นงานศพ

ให้เพิ่มการตั้งศพไว้ใน ที่เหมาะสม ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกันข้ามกับหัวศพ ห่างประมาณ 1 วา หรือดูให้พอเหมาะ จุดไฟยามไว้ที่ใกล้กระถางธูป เพื่อให้คนที่มาเคารพศพจุดธูปจากไฟยามอันนั้น

ผู้ที่ไปบ้านศพ เมื่อขึ้นห้องที่ไหว้ศพแล้วพึงกราบพระก่อน แล้วจึงมาจุดธูป 1 ดอกไหว้เคารพศพ แล้วให้ปักธูปลงในกระถางธูปโดยให้ปลายธูปโน้มไปข้างหน้า เราไหว้สิ่งใดพึงปักปลายธูปโน้มเข้าหาสิ่งนั้น ไม่ควรปักธูประเกะระกะหาระเบียบมิได้ เพราะระเบียบพิธีในพระพุทธศาสนานั้น ต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยสายโยงศพ

อนึ่งด้ายที่ผูกกับตาปู ด้านหัวศพนั้นไม่ใช่ด้ายสายสิญจน์เป็นด้ายโยงใช้แทนร่างของศพ เมื่อเวลาพระบังสกุล ไม่อาจจะบังสุกุลที่ศพได้ด้วยเหตุใดก็ตาม ท่านให้โยงด้ายเส้นนั้นโรยผ่านหน้าพระสงฆ์ แล้วเอาผ้าบังสุกุลวางพาดบนด้ายเส้นนั้น พระก็ชักบังสุกุลที่ด้านเส้นนั้น เมื่อเสร็จแล้วให้ม้วนใส่พานเก็บไว้ในพานวางไว้ที่ใกล้ศพ ไม่พึงเอาให้พระใส่มือประนมสวดเหมือนด้ายสายสิญจน์ และไม่ควรข้ามเหยียบด้วย
เวนทาน

เมื่อพระสวดหรือเทศน์จบ แล้ว ก็ถึงวาระของอาจารย์จะทำหน้าที่เวนทาน การเวนทานไม่ว่าจะเวนในงานศพหรืองานมงคลก็ตาม มีวิธีดำเนินการเหมือนกัน คือ

•  สมาหรือสูมาครัวทาน

•  อัญเชิญเทวดา

•  ยอคุณพระรัตนตรัย

•  เนื้อเรื่องดเวนทาน

•  กล่าวคำถวายทาน

•  แผ่บุญ

•  สมาพระรัตนตรัย

ในการสม ครัวทานนั้น ให้มีพานดอกไม้และมีขันใส่น้ำส้มป่อยวางบนพานนั้นขณะที่อาจารย์กล่าวคำสมา ครัวทานนั้น ให้ใครคนใดคนหนึ่งยกพานนั้นขึ้นเสมอหน้าผาก เมื่ออาจารย์ว่าคำสมาครัวทานจบแล้ว ให้เอาน้ำส้มป่อยนั้นประพรมไปตามไทยธรรมทั้งหมดเพื่อให้ของทานบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินโทษ สมกับคำที่ท่านกล่าวว่า ทายบริสุทธิ์คือมีศีลของทานบริสุทธิ์ปราศจากมนทินทั้งปวง และ
ปฏิคาหกบริสุทธิ์ด้วยศีล ความบริสุทธิ์ทั้ง 3 ประการพร้อมแล้วทานนั้นย่อมเกิดผลเกิดอานิสงฆ์มาก


ข้อมูล : ปารเมศ วรรณสัย