ประเพณีล้านนา - วิสาขปูชา (อ่าน“ วิสาขะปู๋จา ”)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

วิสาขปูชา ( อ่าน “ วิสาขะปู๋จา ” )

คำว่า วิสาปูชา หรือ วิสาขบูชา คืองานบูชาในเดือนหก ซึ่งชาวล้านนานิยม เรียก “ ปาเวณีเดือนเพง ” คือ งานประเพณีเพ็ญเดือนแปด ( เหนือ ) เป็นรูปบาลี ย่อมาจากคำว่า วิสาขาปุณณมีบูชา หรือวิสาขาปูรณมีบูชา ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแต่เรียกย่อ ๆ ว่า วิสาขปูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนหก ( วันเพ็ญเดือนแปดเหนือ )

คำว่า “ วิสาขะ หรือ ไวสาขะ ” เป็นชื่อของดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระจันทร์ผ่านกลุ่มดาววิสาขะนี้ เรียกว่าพระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ คำว่า วิสาขะ เป็นชื่อเดือนที่ 6 หรือเดือนหกตามจันทรคติ

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพานสามสมัยกาลร่วมกัน มีเรื่องย่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งสามดังต่อไปนี้

ประสูติ

เมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งอยู่พรมแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันคือ ตำบลลุมมินเต แขวงเปชาวร์ ประเทศเนปาล เจ้าชายสิทธิธัตถะประสูติใต้ต้นสาละในสวนนี้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง

ตรัสรู้

จากวันประสูตินั้นมา 35 ปีบริบูรณ์ คือ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จังหวัดคยา แคว้นพิหาร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ปีระกา เวลารุ่งอรุณ

ปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ศีลธรรมอยู่ 45 ปี เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมอายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ณ ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง เวลาใกล้รุ่ง

พิธีวิสาขบูชานี้ เป็นพิธีที่นิยมทำกันแต่โบราณปรากฎหลักฐานจากคัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาว่า ราวพุทธศักราช 420 พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอยู่ในเกาะลังกาพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกา ล้วนแต่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก และได้ให้ทำพิธีวิสาบูชาเป็นการใหญ่ประจำปี

พิธีการวันวิสาขบูชาของล้านนาไทย

พิธีการวันวิสาขบูชา สำหรับล้านนาไทยนั้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับวันมาฆบชาทุกอย่าง ยกเว้นไม่มีการทานขันเข้าเท่านั้น ตอนเช้ามีการทำบุญ ตักบาตร รับศีล และตอนบ่ายผู้เฒ่าผู้แก่จะไปวัดฟังเทศน์ บางคนจะไปนอนวัด ถึงตอนค่ำนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียเทียน จะมีทั้งพระสงฆ์และประชาชนพระสงฆ์เดินนำหน้าเวียนขวารอบเจดีย์ พระอุโบสถหรือวิหาร 3 รอบ เสร็จแล้วก็เขาโบสถ์ สวดมนต์ ฟังเทศน์เป็นเสร็จพิธี

คำบูชาในวันวิสาขบูชา

ยมมหโข มยํ ภควนตํ สรณํ คตวา , โย โน ภควา สตถา ยสส จ มยํ ภควโต , ธมมํ โรเจม , อโหสิ โข โส ภควา , มชฌิเม สุ ชนปรเทสุ มนุสเสส อุปปนโน , ขนติโย โคตเมน โคตเตน , สกยปุตโต สกยกุลา ปพพชิโต , สเทวเก โลเก สมารเก สพรหมเก , สสสมณ พราหมณียา ปชา สเทวมนุสสาย อนุตตรํ สมมาสมพุทโธ อภิสมพุทโธ , นิสสํยํ โย โส ภควา , อรหํ สมมาสมพุทโธ , วิชชา จรณสมปนโนสุคโต , โลกวิทู , อนุตตโร ปุริสทมมสารถิ สตถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควา

สวากขาโต โข ปน เตน ภควตา ธมโม , สนทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสสิโก โอปนยิโก ปจจตตํ เวทิคพโพ วิญญูหิ

สุปฏิปนโน โข ปนสส ภควโต สาวกสงโฆ , อุชุปฎิปนโน ภควโต สาวกสงโฆ , ญายปฏิปนโน ภควโต สาวกสงโฆ , สามีจิ ปฏิปนโน ภควโต สาวกสงโฆ , ยทิทํ จตตาริ ปุริสยุคลานิ อฎฐปุริสปุคคลา เอส ภควโต สาวกสงโฆ , อาหุเนยโย ปาหุ เนยโย ทกขิเณยโย อญชลีกรณีโย อนุตตรํ ปุญญกเขตตํ โลกสส

อยํ โข ปน ( ปฏิมา ) ตํ ภคกนตํ อุททิสสกโต ยาว เทวทรสสเนนตํ ถควนตํ อนุสสริตถา ปสาทสํเวคปฏิลาภาย , มยํ โข เอตรหิ อิมํ วิสาขปุณณมีกาลํ อสส ภควโต ชาติสมโพธิ นิพพานกาเล สมมหํ ( ถ้าวันอัฎฐมีเปลี่ยนเป็น วิสขปุณณมีตปรํ อฎฐมีกาลํ ) ตสส ภควโต สรีชญา ปนกาล สมมตํปตวา อิมํ สมปตตา , อิเม ทณฑทีปธูปาทิส สกกาเร คเหตวา อตตโน กายํ สกการูปธานํ ภริตวา , ตสส ภควโต ยถา กิจเจ คุเณ อนุสสรนตา , อินํ ถูปํ ( ใช้ ปฏิมารํ ถ้าสวดหน้าพระพุทธรูป ) ติกขตตํ ปทกขิณํ กริสสาม , ยถา คหิเตหิ สกกาเรทิ ปูชํ กุรุมานา , สาธุ โน ภนเต ภควา สุจิรปรินิพพุโตปิ ญาตพเพหิ คุเณหิ ออีตา รมมณตาย ปุญญายมาโน , อิเม อมเหหิ คหิเต สกกาเร ปฏิคคณหาตุ , อมหากํ ทีฆรตตํ หิตาย สุขาย