วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ประเพณีการสืบชาตา ทำได้ทุกเดือน

การสืบชาตานี้หมายถึง การต่ออายุ ให้ยืดยาวยืนนานออกไป และเพื่อเป็นสิ่งสิริมงคลมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ปราศจากโรคาพยาธิเภทภัยทั้งหลายให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป การสืบชะตานี้จะไม่ใช่แก่นแท้ในทางพระพุทธศาสนาก็ตาม ว่ากันว่าเป็นลัทธิพราหมณ์อยู่บ้างแต่ก็ได้สาระประโยชน์ในด้านจิตใจอย่างไม่ น่าเชื่อ ดังปรากกอยู่ตำนานคัมภีร์สืบชะตาได้กล่าวว่าสมัยพุทธกาลมีสามเณรน้อยองค์ หนึ่งซึ่งชื่อติสสะ อายุ 7 ปี บวชและปฏิบัติธรรมอยู่ในสำนักพระสารีบุตรเถระ อยู่มาวันหนึ่งพระสารีบุตรเถระได้สังเกตเห็นสามเณรน้อยติสสะมีผิวพรรณวรรณ และสีหน้าหม่นหมองหงอยเหงาโศกเศร้า ดังนั้นพระสาลีบุตรเถระจึงได้เข้าญาณสมาบัติเลยก็รู้ว่าสามเณรน้อยติสสะผู้ นี้จะมีอายุได้เพียง 7 วันเท่านั้นก็จะถึงแก่มรณภาพ

ดังนั้นพระสารีบุตรเถระ จึงได้บอกให้สามเณรติสสะได้รับทราบเมื่อสามเณรติสสะได้รับทราบว่าตนเองจะถึง แก่มรณภาพใน 7 วัน สามเณรก็มีความทุกข์ใจมีใบหน้าหม่นหมอง และเต็มไปด้วยน้ำตา สามเณรจึงกราบลาพระสารีบุตรเถระเพื่อจะไปบอกกล่าวและลาพ่อแม่ของตนก่อนที่จะ มรณภาพ เมื่อสามเณรน้อยติสสะได้ลาพระสาลีบุตรแล้วก็ออกเดินทางมุ่งหน้ากลับบ้าน ทันที ในขณะที่เดินทางไปนั้นมองเห็นด้วย หนอง คลอง บึง น้ำ กำลังแห้งขอด ตื้นเขิน ปลาน้อยใหญ่ที่อยู่อาศัยในน้ำนั้นก็ต่างพากันกระเสือกกระสนหาน้ำเพื่อหนีจาก ความตาย

ในขณะนั้นสามเณรน้อยติ สสะได้เห็นดังนั่นก็ได้รำพึงในใจว่า อันตัวเรานี้ก็จะมรณภาพภายใน 7 วัน เช่นเดียวกับปลาทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าไม่มีน้ำฉะนั้นก่อนที่เราจะมรณภาพเราขอได้โปรดสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ รอดพ้นจากความตายดีกว่า เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วก็ได้เอาปลาน้อยใหญ่ทั้งหลายใส่ในบาตรของตนแล้วนำไป ปล่อยที่แม่น้ำใหญ่ให้พ้นจากความตายให้มีอายุยืนยาวนานต่อไป

เมื่อสามเณรน้อยติสสะ เดินทางมาถึงบ้านแล้วก็ได้เล่าเรื่องที่ตนจะถึงแก่มรณภาพอีก 7 วันให้พ่อแม่และญาติพี่น้อง ในเมื่อเขาเหล่านั้นได้ทราบเรื่องราวแล้ว ต่างคนก็มีความเศร้าโศกเสียใจ ต่างก็สงสารสามเณรน้อยผู้นั้นเป็นยิ่งนัก แล้วเขาทุกคนก็รอคอยวันที่สามเณรน้อยติสสะจะมรณภาพโดยความโศกเศร้าเสียใจ และเมื่อถึงวันเวลากำหนดมาถึงสามเณรน้อยติสสะก็ยังไม่เป็นอะไรคือยังไม่มรณะ ภาพเลย

แล้วสามเณรน้อยติสสะกลับ มีผิวพรรณผุดผ่องใสงามยิ่งกว่าเก่า และสามเณรติสสะก็ได้เดินทางกลับไปหาพระสารีบุตรแล้วได้เล่าเรื่องต่าง ๆ กราบนมัสการที่ตนได้ไปปล่อยปลาทั้งหลายนั้นให้พระสารีบุตรฟังจนทุกประการ พระสารีบุตรจึงกล่าวว่าการกระทำของสามเณรน้อยติสสะนี้ หากเป็นกุศลกรรมที่ยังให้เห็นเป็นพลังให้พ้นจากหายนะ คือความเสื่อมความตายและยังมีชีวิตยิ่งยืนนานอีกต่อไป ดังนี้จากตำนานเรื่องนี้เองจึงทำให้ศรัทธาสาธุชนเมืองเหนือเราเกิดความเชื่อ ถือได้ มีการกระทำพิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

การสืบชะตานี้นั้นทำให้คนเรามีขวัญและดำลังใจดีขึ้นและการสืบชะตานี้เราจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ

1. การสืบชะตาบ้านจะทำได้ก็ปีละครั้งหรือว่า ถ้ามีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นก็ทำได้

2. การสืบชะตาเมืองจะทำก็ต่อเมื่อได้ครบรอบสร้างเมืองหรือในเมื่อที่กำหนดให้วันมงคลของบ้านเมือง

3. สืบชะตาคนทำได้ตลอดทุกโอกาส

การสืบชะตาคนนั้นเป็น ประเพณีอันเป็นมงคลที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่นิยมกันสืบต่อกันมาเท่าทุก วันนี้ เช่นเนื่องในวันครบรอบอายุ หรือวันคล้ายวันเกิดขึ้นบ้านใหม่ ได้เลื่อนยศบรรดาศักดิ์ ได้รับโชคลาภหรือย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่บางครั้งก็ถูกทำนายทายทัก ชะตาขาดทำอะไรไม่ค่อยเจริญมีอันเป็นไปต่าง ๆ นา ๆ สืบชะตาแล้วจะดีขึ้นบางทีเจ็บออด ๆ แอด ๆ 3 วันดี 4 วันไข้ กินยาอะไรก็ไม่หายก็นิยมสืบชะตาต่ออายุจะทำให้อยู่สุขสบายขึ้น ตามแห่งโบราณลานนาเราเคยทำเป็นตัวอย่างกันมานานแล้ว (เป็นแล้ว)