ประเพณีล้านนา - ประเพณีตานต๊อดผ้าป่า

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ประเพณีตานต๊อดผ้าป่า
 
คำว่า “ ตานต๊อด ” ก็คือการให้ทานทอดการทำบุญประเภทนี้ไท่ค่อยแพร่หลายเป็นการทำบุญประเภทนี้จะ ต้องพร้อมหรือรวมกันทำก็ได้ เพราะต้องมีของครบเครื่องบริโภค อุปโภค เช่น มีด พร้า ขวาน จอบ เสียม หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยชาม หม้อน้ำ หม้อนึ่งข้าว เสื่อสาด หมอน มุ้ง เอามาแต่งดาด้วยที่ไม่บอกใครรู้ จัดทำกันแบบเรียบ ๆ เวลาเอาไปท่านไม่ให้มีเสียงดัง ไม่มีฆ้อง กลอง ไม่บอกป่าวร้องใคร คนไหนรู้ ก็มาช่วยกัน การทำบุญเช่นี้ มักทำกันในฤดูหนาว (หน้าหนาว) ทำเวลา 5-6 ทุ่ม ไปแล้วพระจำวัดอย่างสนิท (ตุ๊เจ้าสบาย) ช่วยกันจัดดาอย่างเงียบ ๆ จะถวายท่านตนไหนก็ได้แล้วแต่เจ้าของส่วนมากจะถวายแด่พระผู้เฒ่า หรือว่ามีข่าวว่าพระองค์นี้จะสิกขา ลาเพศ ก็เป็นที่เสียดายของบรรดาศรัทธา การตานต๊อดผ้าเป็นการป้องกันการลาศึกของพระสงฆ์ องค์นั้น ๆ หรือทำกับพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเคร่งครัด คนโบยราณมักจะไปทำกับพระที่มีลักษณะเช่นนี้

วิธีทำ คือจะนำเอาของที่ตานต๊อดทั้งหมดนั้นไปวางไว้หน้ากุฏิ (คนแต่ก่อนฮ้องว่า โฮง) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จุดเทียน ธูปบูชาตั้งจิตตั้งใจภาวนา เอาบุญเสร็จแล้ว จะจุดประทัดชนิดต่าง ๆ ที่มีเสียงดัง ๆ เพื่อให้พระผู้นั้นสะดุ้งตื่น ส่วนศรัทธาเจ้าภาพที่มีมาทุกคน ก็พากันหลบซ่อนหมดไม่ให้เห็นตัว คอยว่าพระผู้รับจะออกมารับด้วยวิธีใด หรือเทวดาองค์ใดหากเป็นของมีเจ้าของก็ขอมารับเอาของทั้งมวลไปเสียแต่บัดนี้ ว่าแล้วก็กลับเข้าห้องไปไหว้พระไม่มีเจ้าของ ท่านก็จะอธิษฐานเอาผ้าบังสุกุลแล้วมานั่งพิจารณาแผ่เมตตาให้ศีลให้พร พวกเราเจ้าข้าทั้งหลายทำบุญเสร็จแล้วก็พากันกลับบ้าน โดยพระไม่รู้ว่าใครมาทำบุญนี้ก็เรียกว่าทานทอด