วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

สิ่งของล้านนา : กาแล


กาแล คือชื่อส่วนประดับอยู่บนหลังคาเรือน มีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของ ปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่โดยติดในาลักษณะไขว้กันมีขนาดยาวประมาณ ๗๐ – ๑๐๐เซนติเมตร ความหนาประมาณ๒ – ๓เซนติเมตรและกว้างประมาณ๑๕ – ๒๐เซนติเมตร เนื่องจากที่กาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขี้น ดังนั้นจึ่งมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา ความงานของกาแลอยู่ที่ลวดลายการและสลักรูปทรงฝีมือการแกะสลักไม้ของทางเหนือ ประกอบกับการที่มีลวดลายบางชนิดเป็นลวดลายเฉพาะท้องถิ่น ทำให้เกิดความงามที่ไม่เหมือนกับที่อื่นลักษณ์ของกาแลอาจจำแนกได้ดังนี้

1. รูปทรง

พบว่ารูปทรงของกาแลแยกได้ 3 ประเภทตามลักษณะการอ่อนโค้งของตัวกาแลเอง คือ

1.1 ทรงตรง มีลักษณะตรงต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกับส่วนอื่น ของปั้นลมไม่มีลักษณะอ่อนดโค้งที่เห็น

ที่เห็นชัด เป็นการช่วยนำสายตามองทรงหลังคาสูงแหลมขึ้นรูปทรงนี้พบมากที่สุด

1.2 ทรงอ่อนโค้งคล้ายเขาควายมีลักษณะสำคัญคือ ส่วนโคนของกาแลจะโค้งออกเล็กน้อยทั้งสองข้าง และวกเข้าด้านในเล็กน้อย โดยปลายบนกลับดค้งออกด้านนอกอีกกาแลในลักษณะนี้พบได้น้อยกว่าแบบแรก

อนึ่ง ไม่ว่ารูปทรงของกาแลจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ พบว่ากาแลเป็นไม้แผ่นเดียวกับไม้ปั้นลมหรือหากมีการต่อก็จะต่อให้ดูเป็นไม้ แผ่นเดียวกันทั้ว 2 ชนิดนี้ มีขนาดยาวกว่าชนิดที่ 3

1.3 ทรงคล้ายกากบาทมีความยาวน้อยกว่าสองชนิดข้างต้นปลายบนมีลักษณะของเศียรนาค ผงาดหน้าเข้าหากันส่วนปลายล่างกลม และมักมีการฉลุโปร่งกาแลชนิดนี้เป็นชนิดที่นำมาทาบติดปั้นลมเสมอกาแลชนิดนี้ ไม่พบตามเรือนที่สำรวจอาจเป็นเพราะมีจำนวนน้อยกว่า หรือมีตามเรือนนอกเขตที่สำรวจ

2. ลวดลายแกะสลัก

กาแลทุกชนิดที่พบที่การแกะสลักเป็นลวดลายมีความงดงามต่างๆกันไป ลักษณะลวดลายอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ

2.1 ลายกนกสามตัวซึ่งเป็นต้นแบบของลายไทยสามารถผูกเป็นลวดลายแยบยลต่างๆ ให้ละเอียดมากน้อยได้ลวดลาย เริ่มที่โคนของกาแลประกอบด้วยโคนช่อกนก ซึ่งมีกาบหุ้มก้านซ้อนกันหลายๆชั้น คล้ายก้านของไม้เถาที่ผุดออกมาตามธรรมชาติ จากนั้นก้านกนกก็แตกออกเป็นช่อตามระบบกนกสามตัว ซึ่งสลับหัวกันคนละข้างจนถึงยอดกนก หรือยอดกาแลกาบก้านก็สะบัดโค้งและเรียวแหลมที่สุดยอด ลายกนกนั้นมีข้อปลีกย่อยต่างจากลายของภาคกลางบ้าง เช่น การขมวดหัวมีมาก ขมวดกลมเป็นก้นห้อยแต่ไม่นูนแหลมนัก ใช้หัวใหญ่กว่า การสะบัดหางกนกสั้นกว่าแต่โค้งงอมาก และลักษณะทั่วๆไปกนกตัวใหญ่กว่าของภาคกลาง ก้านกนกดูซ้อนกันหลายชั้นส่วนเป็นเพราะมีกาบหุ้มก้านมาก หัวกนกของกาบที่ขมวดจับก้านมีขนาดใหญ่ม้วนกลมมากนับก้านลึกและหัวกนกงอมาก เนื่องจากกาแลถูกแดดฝนทำให้ลวดลายลบเลือนตามเวลาที่ผ่านไป จนบางอันลบเลือนมาก จนบอกลายละเอียดได้ยาก

2.2 ลายเถาไม้หรือลายเครือเถา เป็นลวดลายซึ่งมีรูปแบบของลายกนกอยู่บ้าง แต่มีลักษณะคล้ายเถาไม้ หรือช่อกิ่งและใบไม้ที่เกาะกันช่อปลายขมวด ลายเริ่มที่โคนกาแลเหมือนกัน ประกอบด้วยก้านและกาบหุ้มก้าน ลายส่วนใหญ่ประกอบด้วยก้านซึ่งมีกาบหุ้มหลายชั้น ส่วนนอกของกาบเมื่อใก้ลยอดจะกลายเป็นใบ ซึ่งปลายของใบขมวดเหมือนลายผักกูด การโค้งงอของช่อใบสลับกันคนละข้าง จนถึงยอดช่อซึ่งสะบัดโค้งงออย่างสวยงาม สำหรับกาแลที่ใช้ลวดลายชนิดนี้พบมีทั้งที่แกะสลัก และฉลุโดยทั่วไปลาประเภทนี้ว่าเป็นลายเรียบง่ายเข้าลักษณะศิลปะพื้นบ้าน

2.3 ลายเมฆไหล ลายเมฆไหลเป็นลักษณะลายชนิดหนึ่งของล้านนา เป็นลวดลายซึ่งคงเป็นจินตนาการของศิลปินที่มีต่อเมฆ ลายเมฆไหลที่นำมาใช้สำหรับกาแลไม่ค่อยเหมือนลายเมฆไหลที่ใช้สำหรับส่วนอื่น คือมีองค์ประกอบของลายกนกหรือลายเครือเถาอยู่ ประกอบด้วยก้านกนกเป็นกาบหลายชั้นและแตกเป็นก้านและช่อตามระบบกนกสามตัวเช่น กัน แต่ตัวกนกแต่ละตัวมีลักษณะเหมือนลายเมฆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ รูปแบบลายผูกเป็นเถาแต่ตัวกนกเป็นลักษณะลายเมฆ ลักษณะเมฆไหลนี้กล่าวโดยย่อคือ ลายประกอบตัวก้านลายที่ขดหยักเหมือนไหลไปมาและตวัดวกกลับอย่างเฉียบพลันตรง บริเวณที่ตวัดกลับจะเป็นหัวขมวดม้วนกลม ได้ลักษณะหัวขมวด แต่แตกก้านออกเป็นสองก้านซึ่งวิ่งแยกจากกันคนละทิศ ( ดูเพิ่มที่ ตอนกล่าวถึงลวดลายการแกะสลักของ หัมยนต์ ) ที่จริงแล้วลายเมฆไหลของกาแลดูคล้ายลายกนกสามตัวหรือลายเครือเถา

3. ที่มาของกาแล

เนื่องจากกาแลเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของเรือนชนิดนี้ จึงมีผู้กล่าวถึงกันมากถึงความเป็นมาของกาแลไว้หลายนัย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

3.1 ทำไว้เพื่อป้องกันแร้งและกามาเกาะ หลังคาทางภาคกลางถือว่าถ้าแร้งเกาะหลังคาไม่ดี แต่ทางเหนือถือมากกว่านั้น คือถ้าแร้งหรือกาเกาะหลังคาถือว่าจะเป็นอัปมงคล เมื่อกาแลเห็นไม้

กาแล ก็จะไม่กล้าเกาะที่หลังคา

3.2 มีกาแลเพราะพม่าบังคับให้ทำ โดยเล่ากันว่าพม่าต้องการกดคนล้านนามิให้คิดทรยศ โดยถือเอากาแลเป็นเครื่องรางกดไว้ ซึ่งเอาคติมาจากคติการฝังศพในสมัยก่อนที่จะใช้หลักกระทู้ปักไขว้กันไว้บน หลุมฝังศพ เป็นการข่มศพมิให้หนีหาย

3.3 เป็นไม้ซึ่งมีลักษณะของเขากระบือดังที่ อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ กล่าวไว้ว่าคงสืบเนื่องมาจากประเพณีฆ่ากระบือเพื่อบวงสรวงผีบรรพบุรุษนี้เอง จึงได้มีการนำเอาเขากระบือขึ้นไปประดับไว้บนยอดหลังคาเป็นการโฆษณาความร่ำ รวยของเจ้าของเรือนนั้นด้วย ในที่สุดจึงได้กลายเป็นประเพณีการทำกาแลขึ้นแทนเขากระบือ

3.4 ศ . นพ . เฉลียว ปิยชนเสนอว่ากาแลเป็นวิวัฒนาการที่สืบต่อมาจากเรือน ซึ่งสร้างมาแต่สมัยโบราณที่มีปั้นลมไขว้กันถึงแม้กระท่อม ( ตูบ ) ซึ่งปลูกสร้างในปัจจุบันก็ยังมีไม้ปั้นลมเป็นไม้ไผ่ไขว้กันปรากฏอยู่บ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะทำให้การก่อสร้างสะดวกเป็นไปตามธรรมชาติและยึดไม้ให้อยู่ ดัวยกันอย่างมั่นคงแข็งแรงด้วย ต่อมามีวิวัฒนาการคือแกะสลักลวดลายจนดูสวยงามทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นการรักสวย รักงามของชาวล้านนา การมีปั้นลมไขว้กันแบบนี้หาได้มีแต่เรือนแบบล้านนาไม่ยังพบที่เรือนของคนใน อินเดีย ( ในรัฐอัสสัมและนาคา ) พม่า ( ในรัฐไทใหญ่กะฉิ่น ) ลาวและญี่ปุ่นเรือนลาวครั่งบ้านทุ่งนาตาปิ่นตำบลด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ปรากฏหลักฐานว่ามีกาแล ยังพบที่บ้านของชาวไทยยวนที่อำเภอเมืองราชบุรี และบ้านของชาวเขาหลาย ๆเผ่าก็มีกาแล ซึ่งอสรุปได้ว่าไม้ไขว้กันนี้หาใช่เป็นลักษณะของชนชาติใดชาติหนึ่งไม่ แต่เป็นลักษณะร่วมกันของโครงสร้างมากกว่า

3.5 ได้มีผู้เสนอความเห็นว่ากาแลเป็นลักษณะสืบทอดมาจากหลังคาบ้านของชนเผ่าลวะ ซึ่งอยู่ในดินแดนเชียงใหม่นี้มาก่อนพร้อมกันนี้ท่านผู้นี้ได้เสนอว่าควรจะ เรียกกะแล มากกว่ากาแล โดยสันนิษฐานว่าแผลงมาจากคำกะแหล้ของลวะ ทั้งนี้อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ กล่าวว่าไทยวนในภาคเหนือเรียกว่า กาแล ( นกกาชำเลืองดู ) ส่วนชาวไทยยวนในจังหวัดราชบุรีแกแล ) นกแกชำเลืองดู ) ซึ่งศ . นพ . เฉลียว ผู้วิจัยมีความเห็นว่าถ้าเรียกให้ตรงตามสำเนียงคนเมืองน่าจะเป็นกะแหลหรือกา แหล หรือก๋าแลแล้วแต่จะลากเสียงให้สั้นหรือยาวมากกว่าที่จะเรียกกะแล

3.6 มีกาแลไว้เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นสิริมงคลตามเหตุผลข้อที่๓ . ๔ เพราะปรากฏหลักฐานว่าเรือนแบบง่ายๆ ยังมีปั้มลมไขว้แบบกาแลปรากฏอยู่แล้ววิวัฒนาการเป็นกาแลที่สวยงาม การอ้างพม่าบังคับให้ทำก็มีเหตุผลลบล้างได้เฉกว่าที่เสนอไว้แล้วในตอนรูปของ บ้านฝาตากอีก ทั้งยังไม่มีหลักฐานว่าเรือนของพม่ามีกาแลหรือไม่ ส่วนการอ้างว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขากระบือและกันนกเกาะหลังคานั้นน่าจะเป็น การประจวบเหมาะมากกว่า นอกจากกาแลมีติดที่เรือนอยู่อาศัยแล้วยังพบว่ามีติดที่หลองเข้า ( ยุ้งข้าว ) อีกด้วย แต่ที่หลงเหลือจนถึงปัจจุบันมีน้อยมาก ส่วนใหญ่หลองเข้าที่เหลืออยู่จะมีปั้นลมธรรมดา