วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

สิ่งของล้านนา : กลอง ( อ่าน ‘' ก๋อง '')

กลอง เป็นเครื่องดนตรีปะเภทตีซึ่งขึงด้วยหนังสัตว์เชื่อกันว่ากลองเป็นเครื่อง ดนตรีที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกในโลก พัฒนามาจากท่อนไม้ที่ใช้ไม้กระทุ้งเพื่อให้เกิดเป็นจังหวะต่อมามีการาขุด ท่อนไม้ให้เป็นโพรง เอาหนังสัตว์มาหุ้มแล้วกระทุ้งเพื่อให้เกิดเสียง แล้วประดิษฐ์ขึ้นมาให้มีขนาดตามต้องการหรือตามโอกาสที่จะใช้ แต่เดิมมานั้นเชื่อกันว่ามีเทพประจำอยู่ที่กลองแต่ละใบ ดังนั้นขั้นตอนในการทำกลองจะต้องมีพิธีกรรมประกอบเกือบทุกขั้นตอน และการตีกลองก็ตีเฉพาะกาลเท่านั้นดังจะเห็นได้จากสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้สร้างกลองและกลองแต่ละใบจะต้องดีเฉพาะเหตุ เช่น ตีบอกเวลา หรือตีแจ้งเหตุ อย่างกลองไพรีพินาศจะดีเมื่อมีศัตรูข้าศึกมาประชิดเมือง หรือในภาคเหนือทางเขตล้านนาจะมีธรรมเนียมที่เจ้าผู้ครองเมืองมักจะสร้างกลอง ประจำเมืองขึ้น เรียกว่า กลองอุ่นเมือง ใช้ตีเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่เมือง เป็นต้น

สำหรับกลองที่ปรากฏในภาคเหนือของประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑ . กลองที่ใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น กลองประจำเมือง กลองประจำวัด กลองหลวง เป็นต้น

๒ . กลองที่ใช้ประกอบการละเล่นและการแสดง เช่นกลองแอว กลองปูเจ่ กลองตะหลดปด กลองสะบัดชัย กลองเต่งถิ้ง กลองป่งโป้ง กลองมองเซิง กลองสิ้งหม้อง กลองแอว
ในที่นี้จะกล่าวถึงกลองแต่ละชนิดในรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  • กลองก้นยาว ดูที่ กลองปู่เจ่
  • กลอง กบ คือมโหระทึก เป็นที่ทำด้วยทองสำริดหรือทองเหลือง แต่ส่วนมากทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงหรือดีบุก เป็นกลองหน้าเดียว รูปทรงกระบอก ตรงกลางคอดเล็กน้อย มีขนาดต่าง ๆ ส่วนฐานกลวง มีหูหล่อติดข้างตัวกลอง ๒ คู่ สำหรับร้อยเชือกหามหรือแขวนกับหลัก ที่หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ มักมีรูปกบหรือเขียดอยู่ที่ขอบด้านบนโดยรอบทางล้านนาจึงเรียก

ค้องกบ ( อ่าน ‘' ก๊องกบ '') หรือค้องเขียด ตีด้วยไม้ ๒ อัน เสียงดังกังวาน อาจตีในลักษณะตั้งลอยเหนือพื้นหรือตะแคงอย่างฆ้อง

ในล้านนาแม้จะพบว่ามีกลองชนิดอยู่บ้าง อย่างในวิหารวัดพระธาติหริภุญชัย เป็นต้น แต่ไม่พบข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนว่าใช้ในงานพิธีใดบ้าง ปัจจุบันได้มีการนำออกใช้งานเป็นครั้งคราว เช่นเมื่อราว พ . ศ . ๒๕๓๗ ในขบวนแห่พระหยกเชียงรายมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ในขบวนแห่พบว่ามีการตีกลองกบหรือกลองมโหระทึกด้วย

สำหรับ ประเทศไทยทางภาคกลาง มีหลักฐานการใช้กลองมโหระทึกนี้ในงานราชพิธีต่าง ๆ อย่างปรากฏในไตรภูมิพระร่วงและในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา ซึ่งราชพิธีเสด็จไปทรงเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไปก็มี การเป่าแตรและกระทั่งมโหระทึกด้วยเช่นกัน

จากการศึกษาด้านโบราณคดี มีการขุดค้นพบกลองมโหระทึกหลายแห่ง ตั้งแต่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนลงมาถึงประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นประเทศฟิลิปปินส์ และเกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบทุกภาคนักโบราณคดีส่วนมากลงความเห็นว่า กลอง มโหระทึกนี้น่าจะทำเป็นครั้งแรกในสมัยโลหะตอนปลาย หรือประมาณ ๒ , ๕๐๐ - ๑ , ๙๐๐ ปีต่อมา ตรงกับสมัยสำริดช่วงสุดท้ายของเวียดนามซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สมัยวัฒนธรรมดองซอนหรือดงเชิน (Dong Sonian Culture) มีระยะเวลาอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือตรงกับช่วงเวลาเหลี่ยมกันระหว่าง สมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนกับวัฒนธรรมเทียน การทำกลองประเภทนี้ยังมีสืบเนื่องกันต่อมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งพบว่าชนบางเผ่าในสหภาพพม่ายังทำกลองมโหระทึกอยู่


ลักษณะของกลองมโหระทึก หากจำแนกตามยุคสมัยมีความแตกต่างกัน ดังนี้
 

  • กลองมโหระทึกสมัยวัฒนธรรมดองซอน


มีความสูงประมาณ ๔๒ – ๖๓ เซนติเมตร รูปร่างกลองส่วนบทเป็นตัวกล่องคล้ายโทนมโนรี
ส่วน ร่างเป็นฐานรองรับตัวกลอง มี ๔ หู เชิงฐานผายออกคล้ายเชิงบาตร บนหน้ากลองมีลายรูปนกปากยาวบินวนจากซ้ายไปขาว กับมีลายรูปวงกลมมีจุดอยู่กลาง ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นทแยง มีรูปหอยหรือกบอยู่ริมหน้ากลองประจำอยู่ ๔ ทิศ ๆ ละ ๑ ตัว ด้านข้างกลองมีลวดลายอยู่โดยรอบ เป็นรูปเรือยาวมีคนนั่ง มีขนนกปักอยู่บนศรีษะ มีเครื่องดนตรีว่างใกล้ ๆ คน มีรูปสัตว์ เช่น กวาง เสือ และลายเรขาคณิตด้วย ในประเทศไทยพบกลองมโหระทึกลักษณะนี้ที่เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ตราด ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ในประเทศจีนพบทางตะวันตกมณฑลยูนนาน ประเทศเวียดนามพบที่ลุ่มแม่น้ำแดง และที่ตุงลัม (Tung Lam) จังหวัดฮาเตย (Ha Tay) ประเทศลาวพบที่หลวงพระบาง ปะเทศมาเลเซียพบที่รัฐสลังงอและรัฐปาหัง ปรเทศอินโดนีเซียพบที่สะมารังและเกาะบาหลี และประเทศกัมพูชาที่เมืองพระตะบอง เป็นต้น
กลองมโหระทึกสมัยประวัติศาสตร์

รูปร่างกลอง ส่วนบทที่เป็นตัวกลองค่อนข้างแบน ส่วนล่างที่เป็นฐานรูปทรงกระบอก บนหน้ากลองมีลายวงกลมซ้อนกันเป็นแถวรอบหน้ากลอง ระหว่างลายวงกลมมีลายปลา นกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นทแยงที่ขนานกัน หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นทแยงที่ขนานกัน หรือลายเชือกถัก บนริมหน้ากลองมีรูปกบเกาะซ้อนกัน ๒ - ๖ ตัวประจำทั้ง ๔ ทิศ บางใบก็เป็นรูปนกยูงแทน ด้านข้างกลองเรียบไม่มีลวดลาย แต่มีรูปสัตว์ เช่น ช้าง หอยทาก จักจั่น ซึ่งขนาดเล็กมาก เดินตามกันเป็นแถวอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่ง

นอกจากนี้แล้ว นักโบราณคดีบางท่านยังได้จำแนกกลองมโหระทึกออกเป็นแบบต่าง ๆ หลายแบบ ตามลักษณะรูปทรง ขนาดลวดลายบนตัวกลองและบนหน้ากลอง เป็นต้น

สำหรับความมุ่งหมายในการทำกลองมโหระทึก ทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัย

ประวัติศาสตร์มีการสรุปไว้ดังนี้

๑ ) ใช้ตีในงานพิธีต่าง ๆ เช่นพิธีขอฝน รักษาคนไข้ ขับไล่ภูตผี และในพิธีเกี่ยวกับคนตาย

๒ ) ใช้ประโคมเป็นดนตรี

๓ ) ใช้ตีเป็นสัญญาณเมื่อมีข้าศึกหรือเมื่อออกศึก

๔ ) ใช้เป็นของรางวัล หรือเครื่องบรรณาการ
๕ ) ใช้เป็นที่แสดงถึงความมีฐานะหรือสถานภาพที่สูงของผู้ครอบครอง

วิธีทำกลองกบหรือกลองมโหระทึก

มีหลักฐานเป็นเอกสารเป็นภาษาพม่ากล่าวถึงวิธีการทำกลองมโหระทึก ซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทย โดยกล่าวถึงขั้นตอนการทำกลองมโหระทึกดังนี้

มีหลักฐานเป็นเอกสารเป็นภาษาพม่ากล่าวถึงวิธีการทำกลองมโหระทึก ซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทย โดยกล่าวถึงขั้นตอนการทำกลองมโหระทึกดังนี้

ขั้นแรกจะใช้ไม้ทำรูปกลองตามต้องการแล้วเอาดินเหนียวชนิดเหลือง ๒ ส่วน แกลบ ๑ ส่วนผสมกัน แล้วพอกที่ไม้ซึ่งทำเป็นรูปกลองนั้น จากนั้นใช้ดินเหนียวกับมูลวัวในปริมาณเท่ากัน ผสมให้เข้ากันแล้วพอกรูปกลองให้เรียบเสมอ ทิ้งไว้ให้แห้งพอควร ใช้ไม้แบน ๆ ตีให้เรียบเสมอกัน ใช้ขี้ผึ้งพอกอีกชั้นหนึ่ง ขุดแต่งขี้ผึ้งให้บางเสมอกัน คือนิ้วหนึ่งแบ่งเป็น ๘ ส่วน ขูดออกให้เหลือเพียงส่วนเดียว แล้วใช้ไม้ซึ่งแกะสลักเป็นรูปสัตว์หรือลวดลายต่าง ๆ ประทับบนขี้ผึ้งที่พอกไว้ นำขึ้ผึ้งมาปั้นรูปกบเกาะซ้อนกันสามตัวติดไว้บนหน้ากลองเมื่อเสร็จเรียบร้อย แล้ว นำดินเหนียวแห้งตำละเอียด กรองด้วยผ้า แล้วพอกบนขี้ผึ้ง ๓ ชั้น แล้วนำดินเหนียวและมูลวัวผสมกันพอกอีกชั้นหนึ่งโดยให้หนาประมาณ ๑ นิ้ว แล้วใช้ดินเหนียว ๑ ส่วน แกลบ ๑ ส่วน ผสมกันพอกลงให้หนา ๓ นิ้วหรือมากกว่านี้ ทิ้งไว้ให้แห้งดีแล้วนำหุ่นกลองไบ่เผาไฟให้ร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออกมา ซึ่งก่อนที่จะเอาหุ่นกลองเผาไฟนั้นต้องทำรูที่ฐานกลองไว้เพื่อขี้ผึ้งไหลออก มาได้หมด
เมื่อ ขี้ผึ้งไหลออกมาหมดแล้ว นำหุ่นกลองนั้นไปเผาไฟจนสุกเหมือนการเผาหม้อดินแล้วนำออกมาในขณะที่ยังร้อน อยู่การเทโลหะหล่อหุ่นกลองจะต้องเทขณะที่พิมพ์กลองยังร้อนอยู่ โดยต้องใช้ปริมาณโลหะให้พอดีกับขนาดของกลองตามมาตราส่วนทองแดงหนัก ๒๔ จ๊อย ตะกั่ว ๔ จ๊อย ดีบุก ๑๕ จ๊าบ ใส่เบ้าหลอมละลายดีแล้วก็เทลงที่ตีนพิมพ์กลองนั้นเวลาเทอย่าให้โลหะเย็นเป็น อันขาด ( ๑จ๊อยเท่ากับ ๒ ชั่ง ๑๒ ตำลึง . ๑จ๊าบเท่ากับ ๔ สลึง ๔ หุน ) เมื่อหล่อเสร็จทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงทุบดินพอกนั้นออก ก็จะไกลองโลหะรูปทรงตามพิมพ์ ซึ่งหากตรงไหนไม่เรียบก็ใช้ตะไบถู และที่ไหนบางหรือหนาไม่เท่ากัน ก็ใช้เหล็กดีชนิดแข็งขูดออกให้เสมอกัน ก็จะได้กลองกบ หรือค้องกบ คือกลองมโหระทึกตามต้องการ

  • กลองงูงา

เป็นกลองชนิดหนึ่ง มีกล่าวไว้ใน มังรายธรรมศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏรายละเอียด

กลองชุม ( อ่าน ‘' ก๋องจุม '')

กลอง ชุม คือกลองชุด ซึ่งเป็นกลองหลายใบที่ใช้บรรเลงร่วมกัน อาจมี ๓ , ๕ , ๗ , ๙ , ใบ มีกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพบว่ามีใช้ในการแห่พระธาตุของวัดพระธาตุ ศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อีกด้วย

กลองดิน ( อ่าน '' ก๋องดิน '')

กลอง ดิน เป็นกลองที่ทำขึ้นเพื่อใช้ตีในระหว่างเข้าพรรษาหากฝนฟ้าไม่ติดตามฤดูกาล เป็นการตีเพื่อเรียกฝน เมื่อเห็นว่าฝนทิ้งช่วงไปนาน ๆ

การทำ กลองดินนี้ ทำโดยการขุดดินให้มีขนาดประมาณกว้าง ๑ เมตร ทรงกลมลึกประมาณ ๑ . ๕ เมตร หรืออาจจะเล็กกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ หนังหุ้มนั้นก็ใช้หนังวัวหรือหนังควายและไม่มีการพิถีพิถันในการนี้ให้ห่าง ปากหลุมตามสมควร คือประมาณไม่เกิน ๑ ศอก เอาหนังมาตัดให้ใกล้เคียงกับปากหลุมพอประมาณ เสร็จแล้วก็เจาะรูตามริมของผืนหนังทั่วทั้งผืน ใช้เชือกหรือหวายร้อยรูเหล่านี้แล้วมัดกับหลักให้แน่น ๆ โดยอาจจะนำหนังกลองนั้นไปชุบน้ำเพื่อให้อ่อนตัวก็ได้ เสียงกลองดินนี้ว่ากันว่า หากทำได้เหมาะเจาะ สามารถได้ยินเสียงไกลนับเป็นกิโลเมตร ปัจจุบันหาฟังได้ยาก เพราะคตินิยมในเรื่องนี้เปลี่ยนไปแล้ว

  • กลองตะหลดปด

กลอง ตะหลดปด เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังสองหน้าลักษณะการหุ้มหน้ากลองใช้สายเร่งเสียงดึงโดย โยงสายเร่งเสีายงสอดสลับกันไปมาระหว่างคร่าวหูหิ่งทั้งสองหน้า ตัวกลองมีลักษณะยาวคล้ายกลองแขก ทำได้ไม้เนื้อแข็ง ขุดเจาะโพรงภายในทั้งสองหน้าอยู่ในลักษณะบัวค่ำและบัวหงาย มีท่อนำเสียงตรงกลาง

วิธีทำกลองตะหลดปด

กลอง ตะหลดปดเป็นกลองสองหน้า ด้านที่หน้ากว้างกว่าอีกด้านหนึ่งเรียกว่า ‘' หน้าใหญ่ '' ส่วนอีกด้านหนึ่งจะแคบกว่าเรียกว่า ‘' หน้าหน้อย ''( หน้าเล็ก )

การทำ กลองตะหลดปดสมัยโบราณ ใช้ความกว้างของกลองหน้าใหญ่เป็นตัวกำหนดความยาวของตัวกลองคือความยาว ของกลองประมาณ ๓ เท่าของหน้าใหญ่ เช่นหน้ากลองใหญ่กว้าง ๗ นิ้ว ตัวกลองจะยาวประมาณ ๒๑ นิ้ว

ขุดเจาะภายในให้มีลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย โดยเจาะโพรงให้ลึกเท่ากับความกว้างของหน้ากลองแต่ละหน้ากล่าวคือ ด้านหน้าใหญ่ให้ลึกเท่าหน้าใหญ่ ด้านหน้าหน้อยลึกเท่าด้านหน้าหน้อยสัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดขนาด หน้าจะกว้าง ๖ นิ้ว และ ๗ นิ้ว

ปัจจุบัน ช่างกลองบางคนได้ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อคุณภาพของเสียงกลองตามประสบการณ์ของ ช่างกลอง กล่าวคือตัวกลองยาวประมาณ ๔ เท่าของหน้ากลองใหญ่

โพรงภายในยังอยู่ในลักษณะบัวคว่ำหงาย แต่โครงสร้างเปลี่ยนไปโดยแบ่งความลึก ตามความยาวของตัวกลองเป็น ๓ ส่วน สองส่วนแรกเป็นขนาดที่วัดจากจุดศูนย์กลางของท่อนำเสียงไปจากหน้ากลองด้าน เล็ก สัดส่วนที่นิยมปัจจุบันคือด้านหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๘ – ๑๐ นิ้ว ด้านหน้าเล็กประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว สัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดขนาดหน้ากว้าง ๘ และ ๑๐ นิ้ว

หนังที่ใช้หุ้มหน้ากลองนิยมใช้หนังวัว การหุ้มใช้วิธีขึงให้ตึงโดยใช้สายเร่งเสียงยึดโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งของทั้ง สองหน้า และเนื่องจากการตีจะตีหน้ากลองด้านเล็กหน้าเดียวด้านหน้าเล็กจึงใช้หนังที่ หนากว่าหน้าใหญ่

การติดขี้จ่ากลอง

กลอง ตะหลดปดโดยทั่วไป ไม่นิยมขี้จ่ากลอง ( ถ่วงหน้า ) แต่บางครั้งหากหน้ากลองตึงหรือหย่อนเกินไปทำให้เสียงไม่เข้ากับฆ้อง จึงต้องติดจ่าหรือขี้จ่าเพื่อปรับเสียงให้เข้ากับเสียงฆ้อง โดยจะติดหน้าหลองด้านใหญ่ โดยเริ่มติดแต่น้อยและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกว่าจะได้เสีายงตามที่ต้องการ

โอกาสที่ใช้ตี

กลอง ตะหลดปด ใช้ตีประกอบจังหวะร่วมกับกลองแอวซึ่งอาจเป็นวง กลองตึ่งนง เปิ้งมง ตกเส้ง หรือกลองอืดก็ได้ วงกลองเหล่านี้มักบรรเลงเป็นมหรสพในงานขบวนแห่โดยทั่วไป

  • กลองตึ่งโนง


โดยทั่วไปมักหมายถึง กลองแอว ซึ่งบรรเลงพร้อมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก ได้แก่ สว่า ( ฉาบ ) กลองตะหลดปด ค้องอุ้ย ค้องโหย้ง แนหลวง ( แตรขนาดใหญ่ ) แนหน้อย ( แตรขนาดเล็ก )( ดูเพิ่มที่กลองแอว )

กลองตุบ ดูที่ กลองต็อบ

กลองต็อบ

เป็นกลองขนาดย่อม ๓ ใบ มีหน้าเดียวหรือสองหน้าแขวนหรือผูกไว้ข้าง ๆ กลองบูชา และใช้ตีร่วมกัน บ้างเรียกว่า กลองตุบ

กลองเต่งถิ้ง

  • กลอง เต่งถิ้ง เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า มีสายโยงเร่งเสียงและมีขาตั้ง รูปร่างลักษณะคล้ายตะโพนมอญชื่อกลองเรียกได้ตามเสียงกลองขณะที่ตีเสียงดัง ‘' เต่ง - ถิ้ง ''

โครงสร้างของกลองเต่งถิ้ง มีลักษณะคล้ายตะโพนมอญมาก ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะม่วงหรือไม้ขนุน หน้ากลองด้านหนึ่งหว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง โดยหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๖ – ๑๘ นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ ๑๑ – ๑๓ นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ ๒๖ – ๒๘ นิ้ว

หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งทั้งสองหน้า ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว ก่อนตีจะติดขี้จ่าหรือถ่วงหน้ากลองทั้งสองด้านให้ดังกังวาน

กลองเต่งกิ้ง ปกติคู่กับกลอง ป่งโป้ง ในวง เต่งถึ้ ซึ่งใช้แห่ในงานบุญของวัด แห่ขบวนงานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา และในการฟ้อนผีอีกด้วย

กลองถิ้งหม้อง ดูที่ กลองสิ้งหม้อง
กลองเถ่งถิ้ง ดูที่ กลองเต่งถิ้ง
กลองเถิ้งบ้อง ดูที่ กลองสิ้งหม้อง
กลองเถิดเถิ้ง ดูที่ กลองหลวง
กลองป่าโป้ง

  • กลองป่าโป้ง เป็นกลองสองหน้าขึงด้วยหนัง มีสายโยงเร่งเสียงและขาตั้ง รูปร่างลีกษณะคล้ายตะโพน ชื่อกลองได้ตามเสียงที่เวลาตีดัง ‘' ป่ง - โป้ง ''

วิธีสร้าง

กลอง ป่งโป้งสร้างจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้มะม่วง เป็นต้น ไม้ที่ใช้ต้องเป็นไม้ที่แห้งสนิท ขุดเจาะเป็นโพรงภายใน โดยหน้าหนึ่งกว้างอีกหน้าหนึ่งประมาณ ๒ นิ้ว ความยาวของตัวกลองยาวประมาณเท่ากับความกว้างของทั้งสองหน้ารวมกัน กล่าวคือ ขนาดหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว หน้าเล็กกว้าง ๘ นิ้ว ความยาวของตัวกลองยาวประมาณ ๑๘ นิ้ว

หน้า กลองทั้งสองหน้าขึงด้วยหนัง ซึ่งมักนิยมใช้หนังวัววิธีการขึงนั้นใช้สายโยงเร่งเสียงระหว่างคร่าวหูหิ่ง ทั้งสองหน้าให้ดึงจนหนังอยู่ตัว

การติดขี้จ่า

  • กลองป่งโป้งถ้าจะให้มีเสียงดีและดังกังวานต้องติดขี้จ่า คือนำข้าวเหนียวบดผสมขี้เถ้าแล้วติดตรงกลางของหน้าหลองทั้งสองหน้า ให้หน้าใหญ่มีเสียงดัง ‘' ป่ง '' หน้าเล็กเสียงดัง '' โป้ง '' โดยเทียบเสียงคู่ ๔ คือ ซอล - โด หรือ คู่ ๕ คือโด - ซอลก็ได้


โอกาสที่ใช้กลองป่งโป้ง

ใช้ตีประกอบจังหวะใช้วงกลองเต่งถิ้ง และวงสะล้อ - ซึง ซึ่งนิยมบรรเลงกันโดยทั่วไปเขตภาคเหนือตอนบน

กลองปุ่งปุ้ง เป็นตะโพนขนาดเล็กกว่า กลองปุ่มผิ้ง บ้างเรียก กลองเต่งถิ้ง

กลองปุ่มผิ้ง เป็นตะโพนขนาดใหญ่คล้ายตะโพนมอญบ้างเรียก กลองเต่งถิ้ง

  • กลองปูชา

กลอง ปูชา หรือ กลองบูชา เป็นกลองที่สร้างขึ้นสำหรับถวายวัด เพื่อเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อที่ว่าเสียงกลองจะดังไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้า เพื่อให้บรรดาเหล่าเทพยดาทั้งหลายเป็นสักขีพยานในการทำบุญทุก ๆ ครั้ง ดังนั้นกลองปูชา จึงมีประจำอยู่ตามวัดต่าง ๆ โดยจะมีการติดตั้งไว้ในหอกลอง และจะไม่มีกรเคลื่อนย้ายใด ๆ


ลักษณะกลองปูชา

กลอง ปูชาเป็นกลองชุด ประกอบด้วยกลองใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างต่ำประมาณ ๑ เมตร สูงประมาณ ๒ . ๕๐ เมตร บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กลองตั้ง ทำด้วยไม้หนังวัว หนังกวาง ปัจจุบันนิยมใช้หนังควาย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีความทนทาน ด้านข้างจะเจาะรูกลมขนาดประมาณ ๓ - ๔ เดือย กลองตุบ หรือกลอง กลองลูกตุบ แต่ละใบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๕๐ เซนติเมตร สำหรับไว้ตีเพื่อให้เกิดเสียงที่ขัดกัน ทำให้เกิดท่วงทำนองที่ไพเราะ

ในการ ตีทำนองทั่วไปจังหวะช้าและทำนองสะบัดชัยจะมีฉาบใหญ่และฆ้องชุดตีประกอบ กลองปูชานี้จะตีในวันโกน วันพระ เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเตือนให้ชาวบ้านสำรวมอยู่ในศีลในธรรม
อุปกรณ์ในการตีกลองปูชา



ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงแตกต่าง
ได้แก่

๑ . ไม้ตีใหญ่หรือกลองตั้ง เป็นไม้ยาวขนาด ๑ ฟุต ปลายหุ้มด้วยผ้าให้หนา ใช้ตีให้เกิดเสียงทุ้มกังวาน

๒ . ไม้ตีกลองเล็ก หรือกลองตุบ เป็นไม้กีบเสียงตีเป็นแบบฟาดแส้ เรียกว่า '' ไม้แสะ '' นิยมตีเมื่อกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา ประกาศให้เทพยดารับรู้การทำบุญทำกุศลครั้งนี้ เช่น เมื่อมีการสวมยอดเจดีย์ เบิกเนตรพระ ฯลฯ

การตีกลองปูชาไม่มีการเทียบเสียง แต่จะเป็นการถ่วงหนังกลองหรือติดขี้จ่ากลองให้เสียงกังวาน ด้วยข้าวเหนียวบดกับขี้เถ้า

โฉลกกลองปูชา

บุคคล ผู้ใดจะสร้างกลองปูชา ให้ได้ลักษณะที่เป็นมงคลให้วัดเอาหน้ากลองได้ขนาดเท่าใดแล้ว ให้แงเป็น ๘ ส่วนได้เท่าใดแล้ว เอา ๓ คูณ แล้วเอา ๘ หาร ถ้าได้เศษทายดังนี้

เศษ ๑ ชื่อว่า นันทเภรี ตีเมื่อใดเกิดปีติยินดีแก่ผู้ที่ได้ยินเสียงกลองนั้น

เศษ ๒ ชื่อว่า วิโยคเภรี ตีเมื่อใดผู้ที่ได้ยินก็ไม่เกิดความยินดี

เศษ ๓ ชื่อว่า เดชเภรี ตีเมื่อใดก็เกิดความชื่นชมยินดี

เศษ ๔ ชื่อว่า มรณเภรี ตีเมื่อใดจิตใจไม่ชมชื่นยินดี

เศษ ๕ ชื่อว่า ชัยยเภรี ตีเมื่อใดใจกล้า ยอตั้งหน้าสาธุการ

เศษ ๖ ชื่อว่า ตีเมื่อใดย่อมให้หวาดวิตกกังวล

เศษ ๗ ชื่อว่า มังคลเภรี ตีเมื่อใดย่อมทำให้หายเสียยังทุกข์โทษ เกิดปราโมทย์ยินดี

เศษ ๐ ชื่อว่า โกธเสรี ตีเมื่อใดย่อมให้โทษโกรธเคืองกัน

กลองปูชาที่ดีเชื่อกันว่า ต้องมีการเขียนคาถาใส่ใบตาล ใบลาน แผ่นเงิน หรือแผ่นทองบรรจุลงในผลมะตูมแห้ง แล้วปิดทองแขวนไว้ในกลองปูชาเพื่อเป็นหัวใจของกลองปูชา ซึ่งบ้างก็ว่า ทำให้กลองมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ทางด้านเมตตามหานิยม
ในการถวายกลองปูชา แก่วัด จะมีการเชิญผู้มียศศักดิ์มาเป็นประธาน แล้วให้คนถือเครื่องมือเป็นต้นว่า หอก ดาบ มีด ขวาน และคีมปากนกแก้ว ตั้งด่านอยู่ที่ประตูวัด เมื่อกลองมาถึง ก็จะถามผู้นำเอากลองมาว่า เมื่อเอากลองมาไว้วัดแล้วจะมีประโยชน์อันใด ฝ่ายที่นำกลองมาก็จะชี้แจงถึงความสำคัญของกลองนี้ว่าเป็นกลองศักดิ์สิทธิ์ ที่จะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง และกลองนี้ยังจะช่วยรักษาเมือง ป้องกันข้าศึกศัตรู ทั้งยังจะช่วยรักษาค้ำชูพุทธศาสนาให้มั่นคงอยู่ในบ้านเมืองอีกด้วย เมื่อมีการชี้แจงกันแล้ว จะมีผู้นำเครื่องบูชาประกอบด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ออกไปรับ และนำคีมปากติดตั้งในวัด และจะมีพิธีกรรมต่าง ๆ ในการประดิษฐานกลอง
กองบรรเลงกลองปูชา

ในการแห่กลองปูชา แต่เดิมจะตีเวลากลางคืน ประมาณ ๒๐ . ๐๐ นาฬิกา โดยใช้เพลงแห่ประกอบด้วย สำหรับเพลงที่ใช้นั้นโดยทั่วไปที่ใช้กันมี ๔ เพลง คือ

๑ . เพลงเสือขบตุ๊

๒ . เพลงสาวหลับเต๊อะ

๓ . เพลงล่องน่าน

๔ . เมื่อมีงานถวายสลากภัตต์จะมีการตีฟาดแส้ด้วย
การตีกลองปูชานี้ ถ้าไม่มีเรื่องจำเป็นแล้ว จะห้ามตีพร่ำเพรื่อ เพราะถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ผู้ตี กลองปูชาแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้เดี่ยวกลอง และผู้เล่นประกอบ การตีกลองจะตีเกริ่นด้วยบทนำที่เรียกว่า บทกระสวน ก่อน ๓ ครั้ง จากนั้นจึงตีตามความถนัดของผู้ตีแต่ละบุคล โดยมีฆ้อง ฉาบ กลองตะหลดปด คอยเป็นตัวยืน ให้จังหวะ การตีกลองปูชาจะมีความไพเราะอยู่ที่ผู้เดี่ยวกลองซึ่งจะต้องใช้ลูกเล่นในการ ตีกลองทั้ง ๔ ใบ ( ใบใหญ่ ๑ ใบ ใบเล็ก ๓ ใบ ) ให้ประสมประสานกันให้เกิดท่วงทำนองอันไพเราะ เมื่อตีกลองไปพอสมควรแล้ว จึงจะลงทำนองด้วยบทกระสวนอีก ๓ ครั้ง ผู้ตีไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกัน

กลองปูชา ใช้ตีในโอกาสต่าง ๆดังนี้

๑ . ตีบอกกล่าวการประชุมชาวบ้าน

๒ . หลังจากพระเทศน์ของวัด เช่น งานปอยหลวง ถวายสลากภัตต์

๔ . ตีในคืนก่อนวันพระ เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้ชาวบ้านทราบว่านรุ่งขึ้นจะเป็นวันพระ จะได้เตรียมตัวมาทำบุญที่วัด

ประเพณีการตีกลองปูชา

การตีกลองปูชา พบมากในเขตจังหวัดภาคเหนือและในรัฐฉานของพม่า แต่ปัจจุบันปรากฏว่าผู้มีความชำนาญในการตีกลองปูชาตามแบบประเพณีดั้งเดิม เสียชีวิตไปเป้นจำนวนมากจึงทำให้ความนิยมในการตีกลองปูชาลดจำนวนลงไปด้วย ดังจะพบว่าในบางวัดมีกลองปูชาเก็บรักษาไว้ แต่ไม่มีผู้สามารถตีได้ จึงทำให้กลองปูชาถูกปล่อยปละละเลยทอดทิ้งไว้อย่างน่าเสียดาย

สำหรับ ปัจจุบันนี้ เท่าที่พบว่ามีการตีกลองปูชากันอยู่มาก คือในแถบอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดลำพูน โดยจะเป็นการตีกลองปูชาแบบประสมวง เช่น ในเขตอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอเมืองลำพูนบางหมู่บ้าน เช่น บ้านเหมืองจี้ บ้านแป้น เป็นต้น ในแถบจังหวัดเชียงใหม่

พบมาก ที่อำเภอจอมทองและวัดบางแห่งของอำเภอสันทราย อำเภอสันกำเพลง ในเขตจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และบางแห่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งในการตีกลองปูชาในแต่ละจังหวัดจะมีท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีการตีเป็นปกติในคืนวันโกนที่จังหวัดน่าน

จากการศึกษารวบรวมของพระครูสังวรญาณ เจ้าคณะอำเภอบ้านโฮ่ง เรื่องเกร็ดความรู้เรื่องกลอง และจากงานเขียนของอาจารย์สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์ เรื่องกลองปูชากับพิธีกรรม ทำให้ทราบว่ามีการทำพิธีกรรมในเกือบทุกขั้นตอนของการทำกลอง

  • กลองปู่เจ่

กลอง ปู่เจ่ เป็นกลองหน้าเดียวรูปร่างคล้ายกลองยาวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น อุเจ่ อู่เจ่ ปุ๊ดเจ่ ปั๊ดเจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า

กลองก้นยาว ส่วนชาวไทลื้อเรียกกลองชนิดนี้ว่า กลองตีนช้าง ( อ่าน ‘' ก๋องตี๋นจ๊าง '')

วิธีสร้างกลองปู้เจ่

อันดับ แรกต้องคัดเลือกไม้ที่จะนำมาสร้างเป็นตัวกลองก่อน ไม่นิยมกันมาก ได้แก่ ไม้ซ้อ ไม้ขนุน เมื่อได้ไม้แล้วนำมาถากพอเป็นรูปร่าง จากนั้นจึงกลึงและเจาะตามลำดับ

ขนาด และสัดส่วนของตัวกลอง เดิมนั้นวัดขนาดโดยใช้ขนาดของหน้ากลองเป็นหลักสำหรับกำหนดส่วนสัดอื่น ๆ คือความยาวของไหกลองไปถึงส่วนคอด ( แอวกลอง ) ยาวเป็น ๑ ๑ / ๒ เท่าของหน้ากลอง ความยาวส่วนคอดยาว ๑ เท่าของหน้ากลองและความยาวส่วนท้ายกลองยาวเป็น ๒ เท่าของหน้ากลองตามสูตร

แต่ ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขบางส่วน จากประสบการณ์ของ สล่ากลอง ( ช่างทำกลอง ) เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงตามที่นิยมกันอยู่ โดยกำหนดสัดส่วนหน้ากลองกว้างประมาณ ๒๕ – ๒๘ เซนติเมตร ความยาวของไหกลองประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ความยาวจากไหถึงคอดประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ความยาวส่วนคอดประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และความยาวส่วนท้ายประมาณ ๔๗ – ๕๐ เซนติเมตร

สำหรับ หนังที่ใช้ขึงเป็นหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวตัวเมียอายุ ๓ - ๔ ปี ไม่มีรอยแส้ และต้องเป้นหนังจากลำตัวด้านซ้ายเพราะมีลักษณะบางไม่ด้านหรือหนาเหมือนหนัง จากลำตัวด้านขาวที่ถูกนอนทับ การขึงหรือหุ้มหน้ากลอง ขึงให้ตึงโดยสายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บช้าง ( ดูทีเพิ่มที่ กลองแอว )

การติดถ่วงหรือขี้จ่ากลอง

เสียงกลอง จะดังกังวานไพเราะ ต้องมีการติดถ่วงหน้าหรือติดขี้จ่ากลองซึ่งหมายถึง การติดขี้จ่าที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก บดผสมขี้เถ้าละเอียด ในการติดนั้นเริ่มจากศูนย์กลางของหน้ากลองแผ่ออก ในขณะที่ติดจะทดลองตีฟังเสียงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้เสียงตามต้องการ
การประสมวง

การประสมวงใช้กลองปู่เจ่ใบเดียว ฉาบขนาดกลาง ๑ คู่ และฆ้องโหม่ง ประมาณ ๓ - ๕ ใบ

จังหวะและลีลาการตี

จังหวะ ของวงกลองปู่เจ่นั้นค่อนข้างจะเร่งเร็ว โดยมีฆ้องโหม่งตียืนจังหวะด้วยความพร้อมเพรียง สำหรับกรตีกลองนั้น ผู้ตีจะต้องมีลีลาประกอบ คือสะพายกลองย่อตัวขึ้นลงตามจังหวะ ขาข้างหนึ่งมักเหยียดไปข้างหลังขนานคู่กับตัวกลองส่วนท้าย ทำอาการยักไหล่ เอียงศรีษะให้ดูน่าชม ลูกเล่นการตีที่เรียกว่า ‘' ลีลาหน้ากลอง ‘' , มักละเอียดซับซ้อน คือใช้ทั้งฝ่ามือ นิ้วมือ กำปั้น ตีเต็มเสียง ครึ่งเสียง ลักจังหวะ มีการกดหน้ากลองให้เกิดเสียงต่าง ๆ หลากเสียง ส่วนฉาบนั้น นอกจากจะได้ตีขัดจังหวะระหว่างฆ้องโหม่งและกลองแล้วยังมีลีลาหลอกล่อกับคนตี กลองอีกหลายลักษณะ เช่น ตีหน้า ตีหลัง ลอดใต้ขาตบกับพื้น เข้าหาและออกจากคนตีกลองด้วยเชิงรุกเชิงรับและหนีอย่างมีชั้นเชิง เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมเกิดความประทับใจ

โอกาสในการตี

การตี กลองปู่เจ่มักพบเห็นในงานบุญของวัด ขบวนแห่ต่าง ๆรวมถึงการแห่หรือประโคมประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบเต้นโต ฟ้อนนางนก กระทั่งการปล่อยว่าควัน โคมไฟ จุดบอกไฟ เป็นต้น

กลอง ปู่เจ่ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยม จึงมักพบการตีกลองนี้ในงานบุญหรืองานประเพณีสำคัญต่าง ๆ ในเชียงใหม่ ลำพูน เป็นต้น และมักมีการจัดประกวดการตีกลองชนิดนี้อยู่เสมอ

  • กลองมองเซิง

กลอง มองเซิง คือกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้ามีสายโยงเร่งเสียง รูปร่างคล้ายตะโพนมอญ ไม่มีขาตั้ง แต่มีสายสร้อยสำหรับคล้องคอเวลาตี ชื่อกลองมองเซิง เป็นภาษาไทใหญ่ คำว่า

‘' มอง ‘' แปลว่า ‘' ฆ้อง '' เซิง '' แปลว่า ‘' ชุด '' กลองมองเซิงจึงหมายถึงกลองที่ใช้ฆ้องเป็นชุด เพราะวงกลองมองเซิงจะเน้นเสียงฆ้องเป็นหลักใหญ่

วิธีสร้าง

ตัว กลองมองเซิงสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะม่วง ไม้ขนุน ไม้ประดู่ หน้ากลองด้านหนึ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งเล็กหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๖ – ๑๘ นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ ๑๑ – ๑๓ นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ ๒๖ – ๒๘ นิ้ว ภายในขุดเจาะเป็นโพรง ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย

หนังหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวขึงทั้งสองหน้า โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่ง ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว

การประสมวง

ใช้ กลองมองเซิง ๑ ลูก ฉาบขนาดใหญ่ ๑ คู่ ฆ้องขนาดใหญ่และเล็กลดหลั่นลงไปประมาณ ๕ - ๙ ใบ ขณะบรรเลงกลองเซิงจะตีรับกับฉาบโดยลักษณะอาการล้อทางเสียงหลอกล่อกันไป ในขณะที่มีเสียงฆ้องเป็นตัวกำกับจังหวะซึ่งมีบางแห่งเพิ่มฉิ่งตีกับจังหวะไป พร้อมๆ กับฆ้องด้วย

โอกาสที่ใช้บรรเลง

วง กลองมองเซิงใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก ‘' ลูกแก้ว '' ไทใหญ่เรียก ‘' ล่างลอง '' ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนพื้นเมือง

กลองมองลาว

กลองมองลาว เป็นกลองสองหน้าคล้ายกลองมองเซิงแต่มีขนาดเล็กกว่า นิยมใช้แห่ในขบวนแห่ที่ต้องเดินระยะไกลมีฆ้องชุดตีประกอบ ๓ - ๕ ใบ

  • กลองยาม

กลองยามเรียกกลองที่ใช้สำหรับตีบอกเวลาซึ่งอาจเป็นกลองสะบัดชัย หรือ กลองปูชา หรือกลอง อื่น ๆก็ได้ โดยเวลาที่ตีมีดังนี้

กลองค่ำ ตีกลองบอกเวลาบ่ายถึงเย็น กำหนดยามเท่ากับเวลา ๑๓ . ๐๐ – ๑๕ . ๐๐

นาฬิกา

กลองงาย ตีกลองเวลาเช้าถึงสาย กำหนดยามเท่ากับเวลา ๐๗ . ๓๐ – ๐๙ . ๓๐ นาฬิกา

กลองเด็ก ตีกลองบอกเวลาค่ำถึงดึก กำหนดยามเท่ากับเวลา ๑๙ . ๒๐ – ๒๑ . ๓๐ นาฬิกา

กลองรุ่ง ตีกลองเวลารุ่งเช้า กำหนดยามเท่ากับเวลา ๐๑ . ๓๐ – ๐๓ . ๐๐ นาฬิกา

กลกองแลง ตีกลองบอกเวลาเย็นถึงค่ำ ประมาณ ๑๖ . ๐๐ – ๑๗ . ๐๐ นาฬิกา

กลองวง
กลอง วง คือ เปิงมาง เป็นกลองชุดแบบมอญที่เรียงเป็นวงรอบผู้ตี และมักพบคำนี้ว่า พาทย์ค้องกลองวง ( อ่าน '' ป๊าดก๊องก๋อวง '') ซึ่งหมายถึงวงเครื่องประโคม มีระนาดและฆ้องวง เป็นต้น
จังหวะการตี

จังหวะในการตีแบบเดิมที่ตีอยู่กับที่ในหอกลองของวัดมีลักษณะต่าง ๆ กันตามโอกาสดังนี้

- ตีเรียกคน เช่น มีงานประชุมหรืองานของส่วนรวมที่ต้องช่วยกันทำ ลักษณะนี้จะตีเฉพาะกลองใหญ่โดยเริ่มจังหวะช้าและเร่งเร็วขึ้น

- ตีบอกเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่และมีจังหวะเร่งเร็วติด ๆ กัน

- ตีบอกวันพระ วันโกน ลักษณะนี้จะตีทั้งกลองใหญ่ลูกตุบ มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะด้วย จังหวะหรือทำนองในการตีที่เรียกว่า ‘' ระบำ '' มี ๓ ทำนอง คือ

๑ ) ปูชา ( อ่าน '' ปู๋จา '') มีจังหวะช้า ใช้ฆ้องโหม่งและฆ้องหุ่ยประกอบ

๒ ) สะบัดชัย มีจังหวะปานกลางใช้ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ยและฆ้องเล็กประกอบ

๓ ) ล่องน่าน มีจังหวะเร็ว ใช้ชุดฆ้องเล็กประกอบ

•  ตีในงานบุญ เช่น งานสลากภัตต์ ลักษณะนี้จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ จังหวะเร่งเร็วเสมอต้น เสมอปลายโดยมีคนใช้แส้ไผ่ที่เรียกว่า ‘ ฟาดหน้ากลองให้จังหวะ แต่ไม่มีฉาบและฆ้องประกอบ

ลักษณะ การตีดังกล่าวทั้งหมดเป็นการตีอยู่กับที่ภายหลังเมื่อเข้าขบวนก็ได้ใช้ จังหวะหรือทำนอง ‘' ล่องน่าน '' โดยมีไม้แสะตีประกอบด้วย ต่อมานิยมใช้จังหวะหรือทำนอง '' สะบัดชัย '' ไม่ใช้ไม้แสะ ''

ลีลาการตี

ลีลาการตีแต่เดิมมีลีลาออกชั้นเชิงชายเพราะการตีกลองเป็นเรื่องของผุ้ชายเท่า นั้น การออกลวดลายหน้ากลองของผู้ตีก็เพื่อแสดงให้เห็นความสามารถ ในชั้นเชิงการต่อสู้ของตนในขณะที่มีจังหวะการตีควบคุมอยู่ การออกอาวุธขณะตีอยู่กับที่ในหอกลองนอกจากไม้ตีที่เรียกว่า ‘' ค้อน '' แล้วยังใช้อวัยวะส่วนบนที่เป็นอาวุธได้ เช่น หัว ศอก กำปั้น ประกอบด้วยแต่อวัยวะดังกล่าวจะไม่ให้สัมผัสหน้ากลองเลย เพียงทำท่าทางเท่านั้น เพราะถือกันว่า กลองเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ เมื่อกลองสะบัดชัยเริ่มเข้าขบวนแห่ อวัยวะเบื้องล่างที่เป็นอาวุธได้ เช่นเท้า เข่า ก็เริ่มมีบทบาทแต่ยังอยู่ในลักษณะเดิม คือเพียงทำท่า ไม่ได้สัมผัสหน้ากลองนอกจากไม้ตี

เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมา มีคนเห็นว่าการทำท่าเงื้อง่าจะใช้ ศอก เท้า เข่า กำปั้น ไม่สัมผัสหน้ากลอง มีค่าเท่ากับให้สัมผัสเหมือนกัน จึงใช้อวัยวะดังกล่าวสัมผัสเต็มที่ลีลาโลดโผนเข้มข้นยิ่งขึ้นจนหลายคนที่ไม่ เห็นด้วย และเรียกการตีลักษณะนี้ว่า กลองรุงรัง กลองลูกตุบก็ตัดออก ด้วยเห็นว่าไม่จำเป็นและเกะกะ ไม่สะดวกต่อการตีแบบโลดโผน

อย่างไรก็ตาม ๒๐ ปีให้หลังนี้ การตีกลองสะบัดชัยแบบหลังนี้ก็ได้รับความนิยมเรื่อย ๆ เมื่อมีฝ่าอนุรักษ์และพื้นฟูของหลายหน่วยงานให้การสนับสนุน เพราะเห็นว่าเป็น

ศิลปะการแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจและออกลีลาได้ชัดเจน ศิลปะในการตีเริ่มมีมาตรฐานเมื่อวิทยาลัยนาฎศิลป์เชียงใหม่บรรจุวิชาการตี กลองสะบัดชัยเข้าในหลักสูตร โดยมี ครูคำ

กาไวย์เป็นผู้ฝึกสอน โดยเริ่มจากการทำความเคารพผู้ชม ขอขมากลองไหว้ครู ฟ้อนเชิงจับไม้ตีขึ้นฟ้อนในลีลาการฟ้อนดาบ ตีจังหวะช้าและเร็วขึ้น ในที่สุดจนจบแล้วทำความเคารพผู้ชมอีกครั้ง

ปัจจุบันการแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่นิยมแพร่หลาย มีการประกวดหรือแข่งขันกันทุกปี การคิดประดิษฐ์ท่าทางใหม่ ๆ เพื่อเอาชนะในการแข่งขันเป็นไปอย่างไร้ขอบเขตมีการแปรขบวน ต่อตัว พ่นไฟ ใช้กลองตะหลดปด ซึ่งเป็นกลองประกอบจังหวะเฉพาะ

ของวงกลองตึ่งนงมาประกอบด้วย

กล่าวโดยสรุปกลองสะบัดชัยในปัจจุบันนี้มี ๓ ประเภท คือ

๑ . กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบที่มักเรียกว่า ‘' กลองปูชา '' แขวนอยู่ในหอ

กลอง ของวัดต่าง ๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทำนองที่เรียก ‘' ระบำ '' ทั้งช้าและเร็ว บางระบำมีฉาบและฆ้อง บางระบำมีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว

๒ . กลองสองหน้า มีลูกตุบและคานหามซึ่งเป็นกลองที่จำลองแบบมาจากประเภทแรก เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่งมืออีกข้างหนึ่งถือไม้ตีกลอง ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่ ( ๒๕๓๗ ) เท่าที่ทราบ คือ ครูมาณพ ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๓ . กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ มีฉาบฆ้องประกอบจังหวะและมักมีนาคไม้แกะสลักประดับซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายปัจจุบัน

  • กลองสางใหญ่

คือกลองชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงใน คนาคตวงส์ เมตเตยย สูตต์และเมตเตยวงส์ แต่ไม่มีรายละเอียด

  • กลองสิ้งหม้อง

กลองสิ้งหม้อง เป็นกลองหน้าเดียว ลักษณะคล้ายกลองยาว ชื่อกลองเป็นชื่อเรียกตามเสียงกลองที่ตีรับกับเสียงฆ้องโหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะเวลาบรรเลงเสียงดัง '' สิ้งหม้อง ''

วิธีสร้างกลองสิ้งหม้อง

กลองสิ้งหม้อง เป็นกลองที่มีโครงสร้างที่ค่อนข้างธรรมดาไม่ซับซ้อน ไม้ที่ใช้สร้างอาจใช้ไม้ที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ขนุน ไม้มะม่วง ไม้ฉำฉา เป็นต้น

ขนาดและสัดส่วนของตัวกลอง แต่เดิมใช้ขนาดของหน้ากลองกำหนดสัดส่วนอื่น กล่าวคือความยาวของไหกลองยาว ๑ เท่าของหน้ากลอง ความยาวจากไหกลองถึงก้นกลองยาว ๒ เท่าของหน้ากลอง

ปัจจุบัน ‘' สล่ากลอง '' ( ช่างทำกลอง ) ได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนไปบ้าง ทั้งนี้อาจเป็นการปรับปรุงคุณภาพเสียงตามประสบการณ์เพื่อให้ได้เสียงตามต้อง การ สัดส่วนที่นิยมปัจจุบัน คือหน้ากลองกว้างประมาณ ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร ความยาวไหประมาณ ๒๕ – ๓๐ เซนติเมตร และความยาวส่วนท้ายประมาณ ๔๓ – ๔๕ เซนติเมตร

หนัง สำหรับหุ้มหน้ากลองนั้น ใช้หนังวัวตัวเมีย วิธีการหุ่มขึงให้ตรึงโดยใช้สายเร่งเสียงยึดโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บ ช้าง ดึงให้หนังอยู่ตัวจนใช้การได้

การติดขี้จ่า

การติดถ่วงหน้าหรือขี้จ่าตรงหน้ากลองเพื่อให้ได้เสียงดังกังวานตามต้องการนั้น มีวิธีการเหมือนกับกลองอื่น ๆ โดยทั่วไป กล่าวคือติดตรงกลางของหน้ากลองโดยอาจเพิ่มหรือลดขี้จ่าตามความพอใจของผู้ตี

การประสมวง
การ ประสมวงของวงกลองสิ้งหม้องไม่มีอะไรซับซ้อนเพียงแต่มีกลอง ๑ ลูก ฉาบ ๑ คู่ และฆ้องโหม่ง ๑ ใบ ก็ประสมวงได้หรืออาจมีการเพิ่มจำนวนฉาบหรือฆ้องมากขึ้นก็เป็นเพียงเพิ่มความ ดังกระหึ่มมากขึ้นเท่านั้น

จังหวะและลีลาการตี

จังหวะของวงกลองสิ้งหม้องใช้เสียงฆ้องโหม่งตีเป็นจังหวะยืนพื้น ส่วนกลางและฉาบตีสลับล้อเสียงกันบ้าง

โอกาสที่ใช้ตี

วงกลองสิ้งหม้องใช้ตีประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและใช้ตีในขบวนแห่โดยทั่วไป

  • กลองแสะ

กลอง แสะ คือกลองที่มีรูปร่างคล้ายรำมะนาแต่ขึงหนังทั้งสองหน้า มักใช้ไม้กีบอย่างไม้ไผ่ตีประกอบร่วมกับ กลองหลวง หรือ กลองปูชา จึงมีดังแสะ ๆ ด้วย แต่ถ้าใช้ประกอบการ ฟ้อนดาบ หรือ ฟ้อนเชิง จะใช้ไม้ค้อนตีแทนไม้กีบ (ดู กลองหลวง และกลองปูชา)

  • กลองหลวง

กลอง หลวง เป็นกลองหน้าเดียว มีขนาดใหญ่ และยาวมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลองที่ขนาดใหญ่และยาวที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ กลองหลวงเดิมนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ชาว ‘' ไทยอง '' แถบบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูขึ้นจนเป็นที่นิยมในเขตล้านนาปัจจุบัน

กลอง หลวง บ้างเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองห้ามมารอาจเนื่องจากเป็นกลองที่ใช้ตีสำหรับเวลามีงานบุญที่ยิ่งใหญ่ เช่น งามสมโภชพรดะธาตุ งามปอยหลวง เป็นต้น งานเหล่านี้จะมีการนิมนต์พระอุปคุตซึ่งเชื่อว่าเป็นพระที่ในมหาสมุทรมี อิทธิฤทธิ์ในการปราบมาร ซึ่งนิมนต์แล้วชาวบ้านจะแห่พระอุปคุตซึ่งใช้หินจากแม่น้ำเป็นตัวแทนมาไว้ที่ หออุปคุตในบริเวณจัดงาน เพื่อห้ามมิให้เหล่ามารเข้ามาทำลายพิธีงานบุญได้ และในการแห่ก็จะใช้ กลองหลวง ด้วย

กลอง หลวงนี้ตามคำบอกเล่าของพระครูเวฬุวันพิทักษ์ว่ามีมาเมื่อราว ๘๐ ปี เศษมานี้เองโดยช่างชื่อหนานหลวง บ้านทุ่มตุม ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ทำขึ้นมาก่อน มีขนาดหน้ากลองใหญ่ ๒๐ นิ้ว ยาวประมาณ ( ๗ศอก ) ๑๔๐ นิ้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากลองทั่วไปในขณะนั้นแล้วนำมาถวายพระครูพุทธิวงศ์ธารา วัดฉางข้าวน้อยเหนือเจ้าคณะแขวงปากบ่อง ( คืออำเภอป่าซางปัจจุบัน ) เพื่อใช้สำหรับแห่ครัวทานหรือไทยทานและแข่งตี ซึ่งได้รับความนิยม จึงมีผู้ทำขึ้นเลียนแบบในเวลาต่อมา และมีการทำขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นขนาดหน้ากลอง ๒๒ นิ้ว ๒๔ นิ้ว ๒๖ นิ้ว จนปัจจุบันใหญ่ที่สุดขนาด ๒๘ นิ้ว ยาว ๖ ศอก ๑๐ นิ้ว หรือ ๑๓๐ นิ้วสำหรับกลองหลวงใบแรกนั้น กล่าวกันว่ามีเสียงดังมาก นำไปตีแข่งที่ไหนก็ชนะ ต่อมาทีผู้มาบอกว่า ถ้าตัดหน้าให้สั้นลงอีกแล้วเสียงจะดังขึ้นกว่าเดิม จึงตัดตามคำแนะนำซึ่งพอตัดแล้วเสียงกลับดังลดลงกว่าเดิม ปัจจุบันกลองใบนี้ได้สูญหายไปแต่ส่วนของหน้ากลองที่ตัดออกยังมีอยู่ที่วัด ฉางข้าวน้อยเหนือ

ขนาด หน้ากลอง ๒๒ นิ้ว และ๒๔ นิ้ว เคยเป็นขนาดที่นิยมมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่เมื่อสงครามยุติลงสภาพแวดล้อมไม่อำนวย การแข่งขันตีกลองหลวงก็หยุดชะงักไปด้วย จนพระครูเวฬุวันพิทักษ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้าได้ฟื้นฟุและชักเชิญเข้ามาแข่งขันกันอีกจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน กลองดั้งเดิมในเขตจังหวัดลำพูนหาได้ยากเพราะเกิดความผุพัง และไม่มีช่างทำขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีคนจากที่อื่นมาขอชื้อกลองขนาดใหญ่ไปอีกด้วย
เกี่ยวกับพัฒนาการ ของกลองหลวง อาจสรุปได้ว่ากลองหลวงสมันดั้งเดิม ตัวกลองจะสั้น ก้นยาว รูกลองตอนต้นแคบและขยายออกตอนปลาย ต่อมาก้นกลองหดสั้นลง รูกลองแคบขึ้น สมัยหลังสุดมีการพัฒนาให้ก้นกลองสั้นลงอีก ส่วนรูยังเล็กแคบโดยตลอด

การทำกลองหลวง

๑ . วัสดุในการทำกลองหลวง

๑ . ๑ ไม้สำหรับทำกลองหลวง เดิมนิยมทำจากไม้มะค่าซึ่งเป็นไม้เนื้อค่อนข้างอ่อน เวลาตีเสียงจะทุ้ม เสียงไม่แข็งและไม่ดังเท่าที่ควร ซึ่งไม่เป็นที่ถูกใจของกรรมการตัดสินการแข่งตีกลองหลวง ในเวลาต่อมาจึงหันมาใช้ไม้ประดู่ ที่นิยมมากที่สุดเหมาะสมได้ยากและราคาแพง ไม้ประดู่ชนิดรองลงมาก็เป็นประดู่แดงและท้ายสุดก็เป็นประดู่ดำ อย่างไรก็ตามไม้ที่ใช้ทำกลองหลวงต้องเป็นไม้มีขนาดใหญ่พอสมควร และลำตรง

โดย ทั่วไปมีความเชื่อว่าต้นไม้ขนาดใหญ่มักจะมีนางไม้หรือเทวดารักษาอยู่ การตัดไม้จึงต้องบอกกล่าวเพื่อขออนุญาตและขอความคุ้มครอง รวมถึงขอพรให้กลองที่จะสร้างให้มีเสียงดีฟังไพเราะ ผู้ที่จะประกอบพิธีกรรมนั้นมักเป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมาแล้ว โดยใช้เครื่องพอพิธีกรรม เช่น กรวยดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร ขนม ผลไม้ ไก่ต้ม หัวหมู เป็นต้น เมื่อทำการตัดแล้วจึงชักลากไปไว้ที่วัดเพื่อทำการสร้างต่อไป

๑ . ๒ หนังหุ้มกลอง หนังที่ใช้ทำหน้ากลองใช้หนังวัวทั้งตัวเมียและตัวผู้ แต่ปัจจุบัยยี้ใช้หนังวัวตัวผู้เพราะผืนใหญ่กว่าและนิยมใช้หนังด้านที่วัว ไม่ได้นอนเอนทับ คือ โดยธรรมชาติวัวจะนอนเอนทับด้านข้างลำตัวที่เป็นกระเพาะหญ้าที่เรียกว่า เพื้ยมหย้า ( อ่าน '' เปี๊ยมหญ้า '') ส่วนลำตัวที่เป็นกระเพาะน้ำหรือ เพี้ยบน้ำ จะไม่ถูกทับ ดังนั้นหนังด้านที่เป็นกระเพาะหญ้าจึงเป็นหนังที่แข็งกระด้าง ไม่นิยมเอามาทำหน้ากลองและนิยมใช้หนังด้านกระเพาะ ซึ่งควรเป็นของวัวที่มีอายุปานกลาง ไม่หนุ่มจนเกินไปและไม่แก่เกินไป ขนก็ต้องไม่หยาบกกระด้าง คือขนต้องอ่อนนุ่ม จึงจะให้เสียงดี

๒ . สูตรในการสร้างกลองหลวง

การ สร้างกลองหลวงมีสูตรคร่าว ๆ เป็นหลักไว้ ส่วนใครจะลดหรือเพิ่มขนาดตรงไหนนั้นแล้วแต่ช่างจะเห็นสมควรสูตรดังกล่าวเอา ขนาดความกว้างของหน้ากลองเป็นหลักในการวัดขนาดส่วนอื่นของกลอง กล่าวคือ

๑ ) ไหกลองมีความยาวเท่ากับ ๒ เท่าของหน้ากลอง

๒ ) ความยาวจากก้นไหถึงเอวเท่ากับ ๑ / ๒ เท่าของหน้ากลอง

๓ ) ความยาวจากเอวถึงท้ายเท่ากับ ๒ เท่าของหน้ากลอง

๔ ) ความยาวจากท้ายถึงรูเอวที่เรียก ‘' ขุกก้น ‘' เท่ากับ ๑ เท่าของหน้ากลอง

๓ . ขั้นตอนการทำกลองหลวง

๓ . ๑ กลึงกลาง

เมื่อตัดไม้มาได้ตามความต้องการแล้ว ช่างจะทำการถากไม้หยาบ ๆ พอเป็นรูปร่าง จากนั้นนำขึ้นแท่นกลึงเป็นรูปกลองต่อไป

๓ . ๒ ทำไหกลอง

หลัง จากกลึงเป็นรูปร่างเสร็จแล้ว จะเริ่มขุดเจาะโดยขุดส่วนที่เป็นส่วนของไหที่เรียกว่า ‘' ในโล่งไห '' ซึ่งจะมีลักษณะต่าง ๆ แล้วแต่ต้องการจะทำ ดังนี้

ไหแบบก้นบาตร มีลักษณะคล้ายกับแบบก้นบาตร แต่ก้นไหแบนราบ

ไหแบบ ก้นน้ำถุ้ง มีลักษณะก้นไหสอบลงคล้ายก้นน้ำถุ้งคือภาชนะที่ทำจากไม้ไผ่สานพอกด้วยชัน ใช้ตักน้ำขึ้นจากบ่อเป็นทรงกลมด้านบน แล้วเป็นกรวยแหลมด้านล่าง

ไหแบบรังนก มีลักษณะคล้ายแบบก้นบาตร เพียงแต่ส่วนก้นสุด ขุดเจาะเป็นหลุมเล็กเพื่อต้องการให้มีเสียงลูกปลายสองครั้ง

ไหแบบหัวปลี คือมีรูปกลมมน เรียวแหลมอย่างหัวปลี

๓ . ๓ ทำเหงือกกลอง

เหงือกกลอง คือปากไหกลองที่รองรับหนังหุ้มหน้ากลองโดยทั่วไปมี ๒ ลักษณะ คือ

เหงือก ตั่งหม้อ มีลักษณะเฉียงลงโดยรอบคล้ายที่รองรับก้นหม้อ เหงือกกกลองแบบนี้มีผลต่อเสียงกลอง กล่าวคือเสียงออกมารวดเร็ว ดังกังวานและมีเสียงลูกปลายน้อย เหมาะสำหรับกลองกลวงที่ใช้แข่งขัน

เหงือก กออง มีลักษณะเฉียงลงโดยรอบและมีการขุดให้มีร่องลึกรอบ ๆ ที่เรียก ‘' ร่องลม '' เหงือกกลองแบบนี้มีผลทำให้เสียงกลองออกมาช้า แต่นุ่มนวลและมีเสียงลูกปลายมากเหมาะสำหรับกลองหลวงที่ใช้แห่โดยทั่วไป

๓ . ๔ ทำรังนก

รังนก ในที่นี้คือบริเวณที่อยู่สุดของก้นไห มีลักษณะเป็นโพรงคล้ายรูปถ้วยเป็นเปลาะอีก ๓ นิ้ว ปากโพรงเป็นรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว ตรงปากโพรงบริเวณก้นไหไล้ด้วยส่วนผสมของน้ำมันละหุ่ง ๑ ส่วน ผสมกับทราย ๑ ส่วน และปูนขาว ๙ ส่วน เพื่อช่วยให้เสียงดีขึ้น รังนกนี้ผลต่อเสียง กลอง กล่าวคือ มีส่วนทำให้เสียงของกลองมีลูกปลายสองครั้งคล้ายเสียงสะท้อนหรือเงาเสียง

๓ . ๕ ทำรูแอว

รูแอว คือรูที่เจาะของกลองทะลุไปถึงขุกก้นเพื่อให้เสียงผ่านจากไหไปออกก้น กลองจะเจาะเป็นรูยาวราว ๔๔ – ๔๕ นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้วสอดได้พอดี รูเสียงนี้จะลอดผ่านเอวกลองมาอยู่ห่างจากก้นกลองตรงส่วนปากกรวยจะอยู่ตรงก้น กลองพอดี และกว้างราว ๑๒ นิ้ว ซึ่งส่วนที่เรียก ง่าซุก นี้จะเป็นส่วนที่เสียงออก ซึ่งจะทาไล้ด้วยส่วนผสมเช่นเดียวกับตรงก้นไหเหมือนกัน กลองหลวงที่มีรูแอวยาวจะมีระดับเสียงต่ำกว่ากลองหลวงที่มีรูแอวสั้น ในขณะเดียวกันกลองหลวงที่มีรูแอวกว้างจะมีระดับเสียงต่ำกว่ากลองหลวงที่มีรู แอวแคบ

รูแอว นี้นอกจากเจาะเป็นช่องทะลุจากก้นไหไปถึงขุกก้นแล้ว ยังใช้วัสดุอื่นมาใส่เป็นท่อนำเสียงอีก โดยที่โบราณนิยมใช้ท่อไม้ไผ่ ต่อมาใช้ท่อประปาทั้งที่ทำด้วยเหล็กและพลาสติกรวมถึงท่อไอเสียรถยนต์ด้วย ปัจจุบันนิยมใช้ท่อไอเสียรถยนต์มากที่สุด ด้วยเห็นว่าผิวเรียบสะดวกแก่การทำความสะอาด

๓ . ๖ ทำขุกก้น

ขุกก้น เป็นส่วนโพรงก้นกลองหลวงด้านใน มี ๓ ลักษณะ คือ

ขุกก้นแบบโบราณ มีลักษณะเป็นรูปกรวย ขุกก้นลักษณะนี้มีผลทำให้เสียงลูกปลายมาก

ขุก ก้นรังนก มีลักษณะคล้ายรูปรังนกหรือรูปถ้วยขุกก้นลักษณะนี้มีผลทำให้เสียงกลองออกมา รวดเร็ว และมีเสียงลูกปลายน้อย ช่างกลองนิยมใช้กับกลองหลวงขนาดเล็ก

ขุกก้นแบบผสม มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบโบราณ และรังนก ซึ่งมีผลทำให้เสียงกลองดังกังวานไปไกลแต่มีเสียงลูกปลายน้อย

๓ . ๗ ทำหนังหน้ากลอง

หนังที่จะใช้ทำเป็นหนังกลองหลวงนั้นนิยมใช้หนังวัวซึ่งก่อนนำมาขึงต้องเตรียมหนังตามขั้นตอน คือ

๑ ) หมักหนัง โดยใช้หัว พูเลิย ( อ่าน ‘' ปูเลิย '') คือไพลทุบผสมน้ำขยำกับหนังให้เข้ากันดีแล้วหมักไว้ประมาณ ๑ คืน

๒ ) นำหนังที่หมักแล้วไปขึงตากแดดให้แห้ง

๓ ) นำหนังที่แห้งแล้วมาทุบหรือตำในครกกระเดื่องโดยตำผสมน้ำมะพร้าวและหัวข่า เพื่อให้หนังนิ่มและอยู่ตัว

๔ ) เจาะรูหูหิ่งโดยรอบ โดยเจาะให้ได้จำนวนเท่ากับรูไท่เข้าสาน ( อ่าน ‘' ฮูไต้เข้าสาน '')

นอกจากนี้ยังต้องทำ หูหิ่ง คร่าวหูหิ่ง หนังขิน และไท่เข้าสาน ( ไถ้ใส่ข้าวสาร ) ดังนี้

หูหิ่ง คือเส้นหนังใช้ร้อยถักไปตามรูโดยรอบของขอบหนังหน้ากลอง นิยมใช้หนังควาย

คร่าวหูหิ่ง คือเส้นหนังที่ร้อยเข้าในรูห่วงของหูหิ่งเพื่อเป็นเส้นยึดระหว่างหนังขินกับหู

หนังขิง คือเส้นหนังที่ร้อยโยงระหว่าง คร่าวหูหิ่งกับรูไท่เข้าสาน เพื่อขึงหรือเร่งเสียงกลอง

ไท่ เข้าสาน คือส่วนอยู่บริเวณส่วนล่างของไหกลอง มีรูโดยรอบซึ่งเจาะเป็นระยะโดยมีจำนวนรูจำนวนหูหิ่ง ใช้สำหรับร้อย หนังขิน โยงกับ คร่าวหูหิ่ง

เล็บช้าง ( อ่าน ‘' เล็บจ๊าง '') คือส่วนที่อยู่สลับกับไท่เข้าสาน

กล่าว โดยรวมก็คือ แผ่นหนังวัวที่จะหู้มหน้ากลองจะมีขอบซึ่งเจาะโดยรอบสำหรับเป็นที่ร้อย หูหิ่ง ซึ่งจำนวนห่วงที่นิยม คือ ๒๙ , ๓๐ , ๓๒ ห่วง หูห่วงหูหิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้หนังขินมาร้อยขึงตึงไปสอดที่รูที่ ไท่เข้าสาน เพื่อตึงหน้ากลองให้ตึงตามที่ต้องการ
การ เจาะรูเพื่อร้อยหูหิ่งนั้น แต่โบราณเอาหน้ากลองมาแผ่กับพื้นเจาะรู ในปัจจุบันท่านพระครูเวฬุวันพิทักษ์ ใช้วิธีขีดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ เส้น ก็จะได้ตำแหน่งจุดที่ขอบ ๓๒ ณูพอดี โดยครั้งแรกเริ่มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เส้น ทำมุมฉากกันก่อน จากนั้นก็แบ่งครึ่งมุมฉากออกไปอีก และแบ่งครึ่งมุมไปเรื่อย ๆ จนครบ ๑๖ เส้น

การตีกลองกลวง

เนื่อง จากกลองหลวงเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่มาก การตีให้เกิดเสียงดังเต็มที่ตามคุณภาพนั้น ต้องเรียนรู้ตำแหน่งที่ควรตี และความหนักหน่วงในการตีด้วย

ก่อน ตี ผู้ตีจะใช้ผ้าซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เศษจีวรพระมาพันม้วนเป็นก้อนให้มีลักษณะ คล้ายลูกข่าง กำไว้ในอุ้งมือและใช้ปลายผ้าพันยึดติดมือไว้ให้แน่นอีกครั้งเวลาตีจะใช้ปลาย แหลมของผ้าตีกระหน่ำลงหน้ากลอง จุดหรือตำแหน่งที่ตีคือบริเวณใกล้ ๆที่ติดขี้จ่าหรือถ่วงหน้า ตรงใจกลางกลอง

การติดขี้จ่ากลองหลวง

ตามปกติเสียงกลองหลวงจะไม่ดังกังวานเต็มที่หากไม่ไดัรับการปรับแต่งระดับเสียงด้วยการติดถ่วงหน้ากลอง หรือที่เรียกว่าติดขี้จ่า

ขี้จ่า ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุกบดหรือเส้นขนมจีนผสมกับขี้เถ้า โดยนำข้าวเหนียวสุกไปล้างน้ำ แล้วนำไปบดให้ละเอียดจากนั้นผสมผงขี้เถ้าที่ร่อนละเอียดแล้ว ในอัตราส่วน ๒ ; ๑ โดยประมาณ ขี้เถ้าที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมักเป็นขี้เถ้าของไม้บางชนิดซึ่งละเอียดและมี น้ำหนักเบา เช่น ไม้มะพร้าว รากมะพร้าว ใบตองแห้ง ต้นโพธิ์ เป็นต้น

การติดขี้จ่ากลอง อันดับแรกสุดต้องคำนวณหาจุดศูนย์กลางของหน้ากลองก่อน การคำนวณอาจมีหลายวิธี ที่ง่ายที่สุดคือใช้เชือกวัดเส้นศูนย์กลางของหน้ากลองแล้วแบ่งครึ่ง แล้ววัดจากขอบหน้ากลองเข้ามา ก็จะได้จุดศูนย์กลางของหน้ากลองจากนั้นจึงเริ่มติดรอบ ๆ จุดศูนย์กลางโดยเพิ่มปริมาณไปเรื่อย ๆพร้อมๆ กับทดสอบตีแล้วฟังเสียงดูว่าดังตามความต้องการหรือไม่ เมื่อได้เสียงตามความต้องการแล้วเป็นอันว่าใช้ได้ การติดขี้จ่านี้บางแห่งมีไม้แบบวัดขนาดมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมและแม่นยำในการติด

การบำรุงรักษากลองหลวง

กลอง หลวงจะชำรุดเสียหายง่ายเมื่อถูกความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือถูกฝน กลองหลวงจึงต้องเก็บไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก หน้ากลองหลังจากใช้งานแล้วต้องขุดขี้จ่าออก และเช็ดให้สะอาดทุกครั้ง ตัวกลองควรทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ ( บ้างก็แช่น้ำมะขามเปียก ) และควรดูแลอย่างสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นอาจถูกปลวกหรือมอดทำลายได้

การประสมวงกลองหลวง

โดย ปกติวงกลองหลวงมีการประสมวงลักษณะเดียวกันกับวงกลองตึ่งนง กล่าวคือ มีเครื่องตี ได้แก่ กลองกลวง กลองตะหลดปด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหย้ง และฆ้องอุ้ย มีเครื่องเป่าได้แก่ แนหน้อย และแนหลวง ต่อมาเห็นว่าเสียงกลองดังมากจนกลบเสียงฆ้องซึ่งมีเพียง ๒ ใบ จึงได้เพิ่มจำนวนฆ้องโหม่งเข้าไปอีก ๕ - ๗ ใบ

โอกาสที่บรรเลงกลองหลวง

กลองหลวงจะนำออกมาใช้งานในแต่ละปีเมื่อหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวไปจนถึงสงกรานต์ คือเริ่มตั้งแต่มกราคม - มิถุนายน การใช้งานก็จะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

๑ ) การใช้กลองหลวงในขบวนแห่ เมื่อวัดใดจัดให้มีงาน เช่น งานสรงน้ำพระธาตุ ฉลองพัดเปรียญ ปอยหลวง ( งานฉลองสมโภชเสนานะ ) แห่พระพุทธรูปสำคัญ เป็นต้น ซึ่งมักจะมีการจัดขบวนแห่ที่มีกลองหลวงร่วมด้วย และในงานบุญหนึ่ง ๆ จะมีขบวนแห่ของวัดอื่น ๆ ส่งมาร่วมขบวนทำบุญด้วย

๒ ) การใช้กลองหลวงในการตีแข่งขัน ในงานบุญต่าง ๆดังกล่าว เมื่อขบวนแห่เสร็จสิ้นแล้วในช่วงบ่าย ทางวัดมักจะจัดให้มีการตีกลองหลวงแข่งขันกัน ระหว่างกลองที่มาจากวัดต่าง ๆ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท้องถิ่นที่นิยมแข่งเล่นมากที่สุดจะอยู่ในท้องที่อำเภอป่าซาง

การแข่งขันกลองหลวง

จากการสอนถามผู้รู้ถึงความเป็นมาของการแข่งขันกลองหลวง ท่านพระครูสังวรญาณประยุตกล่าวว่า แต่เดิมนั้นพระภิกษุสงฆ์จะเป็นผู้นำกลุ่มชาวบ้านบริเวณหมู่บ้าน นำเอากลองที่มีอยู่ในวัดมาใส่ล้อเกวียน ลากไปแข่งขันประชันกับต่างหมู่บ้านในยามค่ำคืน ถือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นการาละเล่นประเภทหนึ่ง โดยมากจะเป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ไถนา คือประมาณเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม ชาวบ้านส่วนมากจะเป็นพวกหนุ่ม ๆ ก็ถือโอกาสไปเกี้ยวพาราสีหญิงสาวใหญ่บ้านอื่นไปด้วย ไม่ได้มีการแข่งขันกันอย่างจริงจังเท่าไรนักหรืออาจถือโอกาสนัดท้าประลอง ต่างบ้านอื่น ๆ ให้นำกลองมาร่วมประลองด้วย ซึ่งผู้ชนะก็จะมีการฉลองชัยกันอย่างครื้นเครง ถือเป็นเกมกีฬาประเภทหนึ่ง

กติกาการแข่งขันกลองหลวงแต่เดิมไม่มีกฎเกณฑ์มากมาย เพียงแต่ตีกลองให้มีเสียงดังที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้กลบคู่ต่อสู่ของตนก็ถือเป็นผู้ชนะ การแข่งขันกลองหลวงนัดสำคัญประจำปีที่นักเลงกลองต่างเฝ้ารอคอย คือการแข่งขันกลองหลวงจากเกือบทุกหมู่บ้านในจังหวัดลำพูนส่งมาร่วมแข่งขัน จัดเป็นมหกรรมกลองหลวงที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจากกลองหลวงเป็นกลองแต่เดิมที จัดทำขึ้นสำหรับตีประกอบการฟ้อน โดยเฉพาะการฟ้อนบูชาถวายพระธาตุ เมื่อเสร็จภารกิจในการฟ้อน กลองที่มาจากแต่ละหมู่บ้านจะถูกนำไปเรียงไว้นอกวัด และมีการนำมาตีแข่งขันว่ากลองของใครจะดังกว่ากัน จึงเกิดเป็นความนิยมมีการแข่งขันกลองเป็นประจำทุกปีในงานสรงน้ำพระธาตุหริ ภุญชัย ซึ่งต่อมานำแข่งขันกันใน งานปอยหลวง อีกด้วย
การ แข่งขันกลองหลวงเพิ่งจะเริ่มกันเมื่อประมาณ ๘๐ / ๙๐ ปีมานี้เอง แต่ก็ซาลงไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ต่อมาพระครูเวฬุวันพิทักษ์ได้รื้อฟื้นการแข่งขันกลองหลวงขึ้นมาใหม่โดยชัก ชวนให้นำกลองหลวงที่มีอยู่แต่ละวัดมาตีแข่งขันกันเมื่อประมาณปี พ . ศ . ๒๔๙๕ ในงานประจำปีวัดพรกะพุทธบาทตากผ้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ้ง จังหวัดลำพูน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกลองต่างได้รับการออกแบบเพื่อให้มีเสียงดังที่สุด ดังกว่าของผู้อื่น เช่น อาจทำให้มีความยาวเพิ่มขึ้น แต่พระครูเวฬุวันพิทักษ์ได้ค้นหาและทำรูปแบบกลองจะมีหน้ากลองกว้างขึ้นและมี ความยาวขนาดของหลองสั้นลง และคิดประดิษฐ์รูกลองที่เสียงจะผ่านก้นกลองให้มีขนาดเล็กเท่าไข่เป็ดเท่า นั้น ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูปกลองหลวงให้เป็นรูปแบบใหม่ ปัจจุบันกลองชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย
ไปทั่วเขตภาคเหนือตอนบน เช่น แพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่
กติกาการแข่งขันกลองหลวง

การแข่งขันกลองหลวงได้มีการปรับใหม่เพื่อให้มีความยุติธรรมและมีความารัดกุมมาก ยิ่งขึ้นโดยท่านพระครูเวฬุวันพิทักษ์ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงในกติกา การแข่งขัน ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีขั้นตอนดังนี้

๑ . กรรมการสั่งให้นำกลองแต่ละใบมารายงานตัวและจับฉลากแบ่งสายโดยจะจัดคู่ประกอบแข่งขันครั้งละ ๓ - ๔ ลูก

๒ . การตั้งกลอง ให้นำกลองเข้าที่แข่งขันโดยหันกันกลองมาทางคณะกรรมการ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ ๑๕ เมตร

๓ . กรรมกราจะให้ผู้เข้าแข่งขันตีกลองให้เสียงทีละใบจากนั้นให้ทุกใบตีพร้อมกัน เพื่อจะหาว่ากลองใบใดเสียงดังที่สุด ในตอนนี้อาจจะมีการสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งกลองของผู้แข่งขัน เพราะบางตำแหน่งกรรมการบางท่านอาจได้ยินเสียงกลองแต่ละใบแตกต่างกัน และตำแหน่งที่โล่งมาก หรือการมีคนมุงดูอยู่มาก ก็จะทำให้เสียงดังกว่าปกติได้

๔ . กรรมการจะคัดเลือกกลองที่เสียงดังที่สุดในแต่ละสายมาเพียง ๑ ใบ ให้เข้ารอบมาประชันกันอีก เช่น มีกลองเข้าแข่งขัน ๓๐ ใบ แบ่งสายแข่งสายละ ๓ ใบ ก็จะได้กลองเข้ารอบ ๑๐ ใบ จากกลอง ๑๐ ใบ ก็จะนำมาแข่งกันทีละ ๓ ใบ โดยใช้วิธี ๓ - ๓ - ๔ โดยวิธีจับฉลาก

๕ . หลังจากนั้นก็จะได้กลองที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน ๓ ใบ ซึ่งก็จะเป็นการตัดสินหากลองที่ดังที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ

คณะกรรมการตัดสินจะประกอบด้วยกรรมการผู้ให้คะแนน ๓ - ๔ คน ผู้ประกาศและให้สัญญาณ ๑ คน และกรรมการจับเวลา ๑ คน รวมทั้งหมดประมาณ ๗ คน

การแข่งขันกลองหลวงนี้ มีทั้งความสนุกสนานและความตื่นเต้น ถือว่ากลองแต่ละใบนั้นเป็นตัวแทนของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมแรงร่วมใจจัดทำหรือมีส่วนร่วมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าหากชนะก็หมายถึงชื่อเสียงของหมู่บ้านด้วย ดังนนั้นจึงมักจะเห็นภาพของชาวบ้านที่ช่วยกันแห่ลาหกลองหลวงไปแข่งขันในที่ ต่าง ๆ และมีคนในหมู่บ้านเดียวกันไปให้กำลังใจมากมาย เพื่อประกาศเป็นศักดิ์ศรีของหมู่บ้าน เพื่อประกาศศักดิ์ศรีของหมู่บ้าน

ชาวบ้านที่เป็นศรัทธาของแต่ละวัดนิยมช่วยกันฝึกซ้อมสำหรับแข่ง เพียงชัยชนะนำชื่อเสียงกับวัด โดยไม่ให้ความสำคัญต่อจำนวนเงินรางวัลเท่าใดนัก วัดใดมีถ้วยรางวัลมากก็จะมีชื่อเสียง วัดใดแพ้ก็จะนำกลองไปแก้ไขกันอย่างจริงจังเพื่อจะได้แก้มือกันอีกครั้งต่อไป บางวัดถึงกับสั่งทำใหม่

ปัจจุบัน จุดประสงค์ในการทำกลองหลวงดูเหมือนอยู่ที่การใช้แข่งขันเพื่อนำชื่อเสียงให้ กับหมู่บ้าน มากกว่าใช้แห่เพื่องานบุญต่าง ๆ อย่างแต่เดิมที่กระทำมา ทั้งนี้สังเกตได้จากทุกครั้งที่สิ้นขบวนแห่แล้ว คนส่วนใหญ่จะตั้งตาคอยชมการแข่งขันตีกลองหลวงด้วยความตื่นเต้นและเอาจริงเอา จัง

  • กลองอุ่นเมือง

 

กลองอุ่นเมือง คือ กลองสมโภชเมือง เป็นกลองที่ตีแจ้งสัญญาณให้ชาวเมืองทราบทั่วกันสงครามยุติแล้ว หรือตีเพื่อฉลองหลังจากชนะสงคราม เป็นต้น ทั้งให้ชาวเมืองมีขวัญกำลังใจกลับคนมาหรือมีความอบอุ่นเป็นปกติ

กลองอืด

  • กลองอืด เป็นกลองชนิดหนึ่งคล้าย กลองหลวง แต่มีขนาดยาวกว่า พบในจังหวัดแพร่ และน่าน ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บหรือแห่ต่าง ๆ เครื่องประกอบจังหวะมี ฆ้องใหญ่ ฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก ฉาบใหญ่ ๑ คู่ และผ่าง หรือพาน ( ฆ้องไม่มีปุ่ม ) บ้างว่าเป็นชนิดเดียวกับ กลองเอว ที่ทางเชียงใหม่เรียกกัน ( ดูเพิ่มที่ กลองหลวงและกลองแอว

กลองแอว

  • กลองแอว เป็นกลองที่ลักษณะคล้ายกับ กลองหลวงแต่ขนาดเล็กกว่า คือประมาณ ๑ ใน ๔ ของ กลองหลวง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ตัวลกองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้แดง เป็นต้น

กลองแอว มีชื่อเรียกขานต่างกันไปบ้าง ซึ่งบางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณะที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่หูได้ยินหรือเรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา ซึ่งพอสรุปโดยสังเขปดังนี้

  • กลองแอว เป็นชื่อที่เรียกตามรูปตามลักษณะที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่วตรงกลางคล้ายสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียก แอว จึงได้ชื่อว่า กลองแอว ชื่อนี้นิยมเรียกกันในเขตจังหวัดเชียงใหม่
  • กลองตึ่งนง หรือ กลองตึ่งโนง เป็นชื่อที่เรียกตามเสียงเมื่อประโคมร่วมกับฆ้องโหม่งสลับกับฆ้องหุ่ยและ เครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้แก่ ฉาบใหญ่ กลองตะหลดปด แนหลวง และแนหน้อย การประสมวงเครื่องตีและเครื่องเป่าดังกล่าวเรียกวงตึ่งนง / ตึ่งโนง โดยฟังเสียงกลองแอวเป็นเสียง '' ตึ่ง ‘' และเสียงฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย เป็นเสียง ‘' นง / โนง '' ซึ่งนิยมเรียกกันในเขตจังหวัดเชียงใหมี
  • กลองเปิ้ง หรือ กลองเปิ้งมง ชื่อนี้เรียกตามเสียงที่ได้ยินในลักษณะเดียวกันกับเสียง ‘' ตึ่งนง '' เพียงแต่ได้ยินเป็นเสียง ‘' เปิ้ง '' เสียงฆ้องเป็นเสียง ‘' มง '' ชื่อนี้นิยมเรียกในเขตจังหวัดลำพูน
  • กลองตกเส้ง หรือ ตบเส้ง เป็นชื่อที่เรียกตามเสียงที่ได้ยินในลักษณะเดียวกันกับกลอง ตึ่งนง หรือ เปิ้ง เช่นกันแต่การได้ยินนั้น ฟังเสียงเครื่องดนตรีคนละชิ้น กล่าวคือได้ยินเสียง กลองตะหลดปด ดัง ‘' ตก '' หรือ ‘' ตบ '' สลับกับเสียงฉาบใหญ่ดัง ‘' เส้ง '' จึงได้ชื่อ กลองตกเส้ง ซึ่งนิยมเรียกกันในจังหวัดลำปาง
  • กลองอืด เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่และน่านบางส่วน ที่เรียกอย่างนี้เพราะฟังเสียงกลองที่ดังกังวานยาวนาน หรือที่เรียกเสียงนี้โดยทั่วไปว่า เสียงอืด หรือ เสียงลูกปลาย

กลอง ห้ามมาร หรือ กลองพญามาร ชื่อนี้เรียกตามความเชื่อที่มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในท้องมหาสมุทรมีพระมหาเถระรูปหนึ่งบำเพ็ญเพียรบารมีอยู่ชื่อ อุปคุตพระมหาเถระรูปนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบมารทั้งหลายได้ ฉะนั้นหากมีงานบุญฉลองศาสนาสถานของวัดที่เรียกว่า พอยหลวง ( อ่าน ‘' ปอยหลวง '') ชาวบ้านจะพากันไปนิมนต์ลำธาร ใส่พานแห่ขบวนไปไว้ที่หออุปคุตที่จัดเตรียมไว้ในวัดโดยมีความเชื่อว่าจะ สามารถห้ามมารหรืออุปวรรคอันอาจเกิดขึ้นในขณะจัดงานได้ และในการแห่พระอุปคุตนั้น มักจะนำกลองแอว นี้ไปแห่นำขบวนด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า กลองห้ามมาร หรือ กลองพญามาร อีกชื่อหนึ่งด้วย

ส่วนต่าง ๆ ของกลองแอว ยังมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้

๑ . หน้ากลอง คือหนังที่หุ้มส่วนหน้าของกลอง

๒ . หูหิ่ง คือเส้นหนังสำหรับร้อยถักไปตามรูของหนังหน้ากลองที่บริเวณขอบโดยรอบ

๓ . คร่าวหูหิ่ง คือเส้นหนังร้อยกับรูหูหิ่ง

๔ . หนังชัก คือเส้นหนังสำหรับดึงหนังหน้ากลองให้ตึงหนังซักนี้ร้อยและรั้งระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บช้าง

๕ . เล็บช้าง คือช่วงท้ายสุดของไหกลองด้านนอกเจาะเป็นช่วง ๆ จำนวนช่องเท่ากับจำนวนของรูหูหิ่งช่องดังกล่าวมีไว้สำหรับร้อยหนังชักซึ่งจะ รั้งกับคร่าวหูหิ่ง ดึงหน้ากลองให้ตึง

๖ . ไหกลอง คือส่วนที่เจาะเป็นโพรงช่วงต้นของตัวกลองมักเจาะเป็นรูฟัก

๗ . เหงือกกลอง คือส่วนของปากไหกลองด้านในมี ๒ ประเภท ได้แก่ เหงือกตั่งหม้อ และเหงือกออง

เหงือกตั่งหม้อ คือเหงือกตรงไม่มีร่องลม

เหงือกออง คือเหงือกที่มีรองลม

ประเภทของกลองแอว

ปัจจุบันกลองแอว หากแบ่งตามขนาดและคุณภาพเสียงมีประมาณ ๓ ประเภท คือ

๑ . กลองแอวเสียงใหญ่ หน้ากว้างประมาณ ๑๓ – ๑๕ นิ้วความยาวไหประมาณ ๓๐ – ๓๒

นิ้ว และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๓๘ – ๔๐ นิ้ว

๒ . กลองแอวเสียงกลาง หน้ากว้างประมาณ ๑๒ – ๑๓ นิ้วความยาวไหประมาณ ๒๘ – ๓ นิ้ว ความยาวไหประมาณ ๒๘ – ๓๐ นิ้ว และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๒๗ – ๒๘ นิ้ว
และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๓๔ – ๓๖ นิ้ว
กติกาการแข่งขันกลองหลวง

การ แข่งขันกลองหลวงได้มีการปรับใหม่เพื่อให้มีความยุติธรรมและมีความารัดกุมมาก ยิ่งขึ้นโดยท่านพระครูเวฬุวันพิทักษ์ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงในกติกา การแข่งขัน ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีขั้นตอนดังนี้

๑ . กรรมการสั่งให้นำกลองแต่ละใบมารายงานตัวและจับฉลากแบ่งสายโดยจะจัดคู่ประกอบแข่งขันครั้งละ ๓ - ๔ ลูก

๒ . การตั้งกลอง ให้นำกลองเข้าที่แข่งขันโดยหันกันกลองมาทางคณะกรรมการ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ ๑๕ เมตร

๓ . กรรมกราจะให้ผู้เข้าแข่งขันตีกลองให้เสียงทีละใบจากนั้นให้ทุกใบตีพร้อมกัน เพื่อจะหาว่ากลองใบใดเสียงดังที่สุด ในตอนนี้อาจจะมีการสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งกลองของผู้แข่งขัน เพราะบางตำแหน่งกรรมการบางท่านอาจได้ยินเสียงกลองแต่ละใบแตกต่างกัน และตำแหน่งที่โล่งมาก หรือการมีคนมุงดูอยู่มาก ก็จะทำให้เสียงดังกว่าปกติได้

๔ . กรรมการจะคัดเลือกกลองที่เสียงดังที่สุดในแต่ละสายมาเพียง ๑ ใบ ให้เข้ารอบมาประชันกันอีก เช่น มีกลองเข้าแข่งขัน ๓๐ ใบ แบ่งสายแข่งสายละ ๓ ใบ ก็จะได้กลองเข้ารอบ ๑๐ ใบ จากกลอง ๑๐ ใบ ก็จะนำมาแข่งกันทีละ ๓ ใบ โดยใช้วิธี ๓ - ๓ - ๔ โดยวิธีจับฉลาก

๕ . หลังจากนั้นก็จะได้กลองที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน ๓ ใบ ซึ่งก็จะเป็นการตัดสินหากลองที่ดังที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ

คณะกรรมการตัดสินจะประกอบด้วยกรรมการผู้ให้คะแนน ๓ - ๔ คน ผู้ประกาศและให้สัญญาณ ๑ คน และกรรมการจับเวลา ๑ คน รวมทั้งหมดประมาณ ๗ คน

การแข่งขันกลองหลวงนี้ มีทั้งความสนุกสนานและความตื่นเต้น ถือว่ากลองแต่ละใบนั้นเป็นตัวแทนของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมแรงร่วมใจจัดทำหรือมีส่วนร่วมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าหากชนะก็หมายถึงชื่อเสียงของหมู่บ้านด้วย ดังนนั้นจึงมักจะเห็นภาพของชาวบ้านที่ช่วยกันแห่ลาหกลองหลวงไปแข่งขันในที่ ต่าง ๆ และมีคนในหมู่บ้านเดียวกันไปให้กำลังใจมากมาย เพื่อประกาศเป็นศักดิ์ศรีของหมู่บ้าน เพื่อประกาศศักดิ์ศรีของหมู่บ้าน

ชาวบ้านที่เป็นศรัทธาของแต่ละวัดนิยมช่วยกันฝึกซ้อมสำหรับแข่ง เพียงชัยชนะนำชื่อเสียงกับวัด โดยไม่ให้ความสำคัญต่อจำนวนเงินรางวัลเท่าใดนัก วัดใดมีถ้วยรางวัลมากก็จะมีชื่อเสียง วัดใดแพ้ก็จะนำกลองไปแก้ไขกันอย่างจริงจังเพื่อจะได้แก้มือกันอีกครั้งต่อไป บางวัดถึงกับสั่งทำใหม่

ปัจจุบันจุดประสงค์ในการทำกลองหลวงดูเหมือนอยู่ที่การใช้แข่งขันเพื่อนำชื่อเสียงให้ กับหมู่บ้าน มากกว่าใช้แห่เพื่องานบุญต่าง ๆ อย่างแต่เดิมที่กระทำมา ทั้งนี้สังเกตได้จากทุกครั้งที่สิ้นขบวนแห่แล้ว คนส่วนใหญ่จะตั้งตาคอยชมการแข่งขันตีกลองหลวงด้วยความตื่นเต้นและเอาจริงเอา จัง
กลองอุ่นเมือง

  • กลองอุ่นเมือง คือ กลองสมโภชเมือง เป็นกลองที่ตีแจ้งสัญญาณให้ชาวเมืองทราบทั่วกันสงครามยุติแล้ว หรือตีเพื่อฉลองหลังจากชนะสงคราม เป็นต้น ทั้งให้ชาวเมืองมีขวัญกำลังใจกลับคนมาหรือมีความอบอุ่นเป็นปกติ
  • กลองอืด กลองอืด เป็นกลองชนิดหนึ่งคล้าย กลองหลวง แต่มีขนาดยาวกว่า พบในจังหวัดแพร่ และน่าน ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บหรือแห่ต่าง ๆ เครื่องประกอบจังหวะมี ฆ้องใหญ่ ฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก ฉาบใหญ่ ๑ คู่ และผ่าง หรือพาน ( ฆ้องไม่มีปุ่ม ) บ้างว่าเป็นชนิดเดียวกับ กลองเอว ที่ทางเชียงใหม่เรียกกัน ( ดูเพิ่มที่ กลองหลวงและกลองแอวกลองแอว

กลองแอว เป็นกลองที่ลักษณะคล้ายกับ กลองหลวงแต่ขนาดเล็กกว่า คือประมาณ ๑ ใน ๔ ของ กลองหลวง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ตัวลกองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้แดง เป็นต้น

กลองแอว มีชื่อเรียกขานต่างกันไปบ้าง ซึ่งบางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณะที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่หูได้ยินหรือเรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา ซึ่งพอสรุปโดยสังเขปดังนี้

  • กลองแอว เป็นชื่อที่เรียกตามรูปตามลักษณะที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่วตรงกลางคล้ายสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียก แอว จึงได้ชื่อว่า กลองแอว ชื่อนี้นิยมเรียกกันในเขตจังหวัดเชียงใหม่
  • กลองตึ่งนง หรือ กลองตึ่งโนง เป็นชื่อที่เรียกตามเสียงเมื่อประโคมร่วมกับฆ้องโหม่งสลับกับฆ้องหุ่ยและ เครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้แก่ ฉาบใหญ่ กลองตะหลดปด แนหลวง และแนหน้อย การประสมวงเครื่องตีและเครื่องเป่าดังกล่าวเรียกวงตึ่งนง / ตึ่งโนง โดยฟังเสียงกลองแอวเป็นเสียง '' ตึ่ง ‘' และเสียงฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย เป็นเสียง ‘' นง / โนง '' ซึ่งนิยมเรียกกันในเขตจังหวัดเชียงใหมี
  • กลองเปิ้ง หรือ กลองเปิ้งมง ชื่อนี้เรียกตามเสียงที่ได้ยินในลักษณะเดียวกันกับเสียง ‘' ตึ่งนง '' เพียงแต่ได้ยินเป็นเสียง ‘' เปิ้ง '' เสียงฆ้องเป็นเสียง ‘' มง '' ชื่อนี้นิยมเรียกในเขตจังหวัดลำพูน
  • กลอง ตกเส้ง หรือ ตบเส้ง เป็นชื่อที่เรียกตามเสียงที่ได้ยินในลักษณะเดียวกันกับกลอง ตึ่งนง หรือ เปิ้ง เช่นกันแต่การได้ยินนั้น ฟังเสียงเครื่องดนตรีคนละชิ้น กล่าวคือได้ยินเสียง กลองตะหลดปด ดัง ‘' ตก '' หรือ ‘' ตบ '' สลับกับเสียงฉาบใหญ่ดัง ‘' เส้ง '' จึงได้ชื่อ กลองตกเส้ง ซึ่งนิยมเรียกกันในจังหวัดลำปาง
  • กลองอืด เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่และน่านบางส่วน ที่เรียกอย่างนี้เพราะฟังเสียงกลองที่ดังกังวานยาวนาน หรือที่เรียกเสียงนี้โดยทั่วไปว่า เสียงอืด หรือ เสียงลูกปลาย
  • กลองห้ามมาร หรือ กลองพญามาร ชื่อนี้เรียกตามความเชื่อที่มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในท้องมหาสมุทรมีพระมหาเถระรูปหนึ่งบำเพ็ญเพียรบารมีอยู่ชื่อ อุปคุตพระมหาเถระรูปนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบมารทั้งหลายได้ ฉะนั้นหากมีงานบุญฉลองศาสนาสถานของวัดที่เรียกว่า พอยหลวง ( อ่าน ‘' ปอยหลวง '') ชาวบ้านจะพากันไปนิมนต์ลำธาร ใส่พานแห่ขบวนไปไว้ที่หออุปคุตที่จัดเตรียมไว้ในวัดโดยมีความเชื่อว่าจะ สามารถห้ามมารหรืออุปวรรคอันอาจเกิดขึ้นในขณะจัดงานได้ และในการแห่พระอุปคุตนั้น มักจะนำกลองแอว นี้ไปแห่นำขบวนด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า กลองห้ามมาร หรือ กลองพญามาร อีกชื่อหนึ่งด้วย

ส่วนต่าง ๆ ของกลองแอว ยังมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้

๑ . หน้ากลอง คือหนังที่หุ้มส่วนหน้าของกลอง

๒ . หูหิ่ง คือเส้นหนังสำหรับร้อยถักไปตามรูของหนังหน้ากลองที่บริเวณขอบโดยรอบ

๓ . คร่าวหูหิ่ง คือเส้นหนังร้อยกับรูหูหิ่ง

๔ . หนังชัก คือเส้นหนังสำหรับดึงหนังหน้ากลองให้ตึงหนังซักนี้ร้อยและรั้งระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บช้าง

๕ . เล็บช้าง คือช่วงท้ายสุดของไหกลองด้านนอกเจาะเป็นช่วง ๆ จำนวนช่องเท่ากับจำนวนของรูหูหิ่งช่องดังกล่าวมีไว้สำหรับร้อยหนังชักซึ่งจะ รั้งกับคร่าวหูหิ่ง ดึงหน้ากลองให้ตึง

๖ . ไหกลอง คือส่วนที่เจาะเป็นโพรงช่วงต้นของตัวกลองมักเจาะเป็นรูฟัก

๗ . เหงือกกลอง คือส่วนของปากไหกลองด้านในมี ๒ ประเภท ได้แก่ เหงือกตั่งหม้อ และเหงือกออง

เหงือกตั่งหม้อ คือเหงือกตรงไม่มีร่องลม

เหงือกออง คือเหงือกที่มีรองลม

ประเภทของกลองแอว

ปัจจุบันกลองแอว หากแบ่งตามขนาดและคุณภาพเสียงมีประมาณ ๓ ประเภท คือ

๑ . กลองแอวเสียงใหญ่ หน้ากว้างประมาณ ๑๓ – ๑๕ นิ้วความยาวไหประมาณ ๓๐ – ๓๒

นิ้ว และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๓๘ – ๔๐ นิ้ว

๒ . กลองแอวเสียงกลาง หน้ากว้างประมาณ ๑๒ – ๑๓ นิ้วความยาวไหประมาณ ๒๘ – ๓ นิ้ว ความยาวไหประมาณ ๒๘ – ๓๐ นิ้ว และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๒๗ – ๒๘ นิ้ว
และความยาวช่วงท้ายประมาณ ๓๔ – ๓๖ นิ้ว