นาฏดุริยการล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - วงสะล้อ-ซึง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
16/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

บทความ นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  22  กุมภาพันธ์  2548 - วงสะล้อ - ซึง

วงสะล้อ – ซึง

จากการสอบหลักฐานโบราณพบว่ามีเครื่องดนตรีต่าง ๆ ปรากฏอยู่ตามที่ได้นำเสนอช่วงต้น ๆ การแสดงหรือบรรเลงก็ดูเหมือนจะต่างคนต่างบรรเลงไป ภายหลังเริ่มเห็นปรากฏชัดขึ้นว่ามีการบรรเลงร่วมกันเป็นวง และเท่าที่จำติดปากติดหูกันมา วงดนตรีที่มีสะล้อและซึงเป็นหลัก แถมมีการขับซอประกอบด้วย ก็มักเรียกกันว่า “วงสะล้อซอซึง” ต่อมานักวิชาการรุ่นใหม่เห็นว่า การขับซอมิได้มีทุกครั้งที่มีการบรรเลงจึงเรียกขานกันใหม่ว่า “วงสะล้อ – ซึง” ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาเป็นวงที่เล่นกันเป็นมาตรฐานที่พบเห็นกันในปัจจุบันก็คงต้อง เริ่มดูพัฒนาการจากสมัยที่พออนุมานได้คือ สมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีเครื่องดนตรีทั้งของไทยภาคกลาง และเครื่องดนตรีพื้นบ้าน บรรเลงปะปนกันอยู่  จากการศึกษาไม่ปรากฏการประสมวงที่ชัดเจน  มาภายหลังสังเกตจากการบันทึกเสียง ซึ่งเริ่มมีการบันทึกเสียงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 24  พบว่ามีความหลากหลายในการประสมวง เช่น

  • สะล้อ  ซึง  ปี่ชุม
  • สะล้อ   ซึง  ขลุ่ย  ปี่ชุม
  • สะล้อ  ซึง  ขลุ่ย  ระนาด
  • สะล้อ  ซึง  ขลุ่ย  ปี่ชุม  ระนาด เป็นต้น

การประสมวงดังกล่าวบางครั้งมีเครื่องประกอบจังหวะ อาทิ กลองป่งโป้ง  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  โหม่ง เข้าไปมากบ้าง  น้อยบ้าง หรือบางทีก็ไม่ใช้เลย เมื่อวงดนตรีประเภทสะล้อ - ซึง   เริ่มได้รับความนิยม   จึงมีผู้รู้ช่วยกันกำหนดมาตรฐานขึ้น  จนเกิดได้ข้อสรุปร่วมกันว่า  วงสะล้อ - ซึง  ที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วย

1. ซึงใหญ่
2. ซึงกลาง
3. ซึงเล็ก
4. สะล้อกลาง
5. สะล้อเล็ก
6. ขลุ่ย
7. กลอง
8. ฉิ่ง
9. ฉาบโดยวางตำแหน่งเครื่องดนตรี ดังนี้ (ฉาก)

(ผู้ชม) อย่างไรก็ตาม การผสมวงมาตรฐานนี้ อาจมีการเพิ่มเติมเครื่องดนตรีบางอย่าง เช่นเพิ่มซึงตัด ซึ่งเป็นเป็นซึงขนาดเล็กสุด หรือเพิ่มสะล้อขนาดใหญ่ สะล้อสามสายเข้าไป จะทำให้ได้เสียงแน่นและละเอียดยิ่งขึ้น

สนั่น   ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดย จรัสพันธ์ ตันตระกูล ไกรวุฒิ  วังชัย และเสาวณีย์  คำวงค์)

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต้นฉบับ : http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/02/22/