วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
20/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  2  สิงหาคม  2548 - กลองแอว (3)

 

กลองแอว (3)

การประสมวง วงตึ่งนง

การประสมวงกลองที่มีกลองแอวเป็น หลักเรียกว่า “วงตึ่งนง” โดยปกติการตีกลองแอวจะบรรเลงร่วมกับเครื่องตีด้วยกัน คือ กลองตะหลดปด สว่า และฆ้อง โดยตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะซึ่งกันและกันไปตลอด ในบางโอกาสที่ต้องการความอลังการ มักนิยมใช้เครื่องเป่าที่มีเสียงดังประกอบด้วย ได้แก่แน ซึ่งมีสองเลา ได้แก่ แนหน้อย และแนหลวง กระนั้นก็ตาม การประสมวงอาจมีการเพิ่มเครื่องประกอบจังหวะไปตามความนิยมของท้องถิ่น ดังนี้

วงตึ่งนง  ประกอบด้วย
กลองแอว                        1              ลูก
กลองตะหลดปด                1              ลูก
ฆ้องโหย้ง (ฆ้องใหญ่)          1              ใบ
ฆ้องอุ้ย (ฆ้องหุ่ย)               1              ใบ
สว่า (ฉาบใหญ่)                1              คู่
แนหน้อย                        1              เลา
แนหลวง                         1              เลา     

วงเปิ้งมง ประกอบด้วย                  
กลองแอว                                  1              ลูก
กลองตะหลดปด                           1              ลูก
ฆ้องโหม้งและฆ้องหม้อง ประมาณ         3 - 5        ใบ
ฆ้องโหย้ง                                  1              ใบ
ฆ้องอุ้ย                                     1              ใบ
สว่า                                         1              คู่
แนหน้อย                                   1              เลา
แนหลวง                                   1              เลา 

 

วงตกเส้ง  ประกอบด้วย          
กลองแอว                   1              ลูก
กลองตะหลดปด            1              ลูก
ฆ้องโหย้ง (อาจมีเพิ่ม)     1              ลูก
ฆ้องอุ้ย                      1              ใบ
สว่า                          1              คู่
แนหน้อย                    1              เลา
ฉิ่ง                           1              คู่

วงกลองอืด  ประกอบด้วย     
กลองแอว                                     1             ลูก
กลองตะหลดปด                              1             ลูก
ฆ้องโหย้ง  และ ฆ้องโหม้ง ประมาณ        3-5          ลูก
ฆ้องอุ้ย                                        1              ใบ
แนหน้อย                                      1              เลา
แนหลวง                                      1              เลา
พานหรือผ่าง (ฆ้องไม่มีปุ่ม)                  1             ใบ
ฉิ่ง                                             1              คู่

 

โอกาสที่ใช้แห่ (บรรเลง)

เดิมกลองแอวอยู่กับวัด โอกาสที่ใช้แห่จึงมักเป็นเรื่องของงานบุญ เช่น แห่นำขบวนครัวทาน แห่ต้อนรับหัววัด เมื่อมีงานฉลองศาสนสถานของวัดที่เรียกว่า “ปอยหลวง” แห่ประกอบการฟ้อนเล็บ และแห่เป็นมหรสพฉลองงานที่เรียกว่า “อุ่นงัน” เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมีการรณรงค์เรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรมมากขึ้น จึงนิยมนำมาแห่ในขบวนต่าง ๆ รวมถึงการแสดงบนเวทีให้นักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้ชม ตลอดจนมีการนำมาประกวดแข่งขันประชันเสียงกันอีกด้วย

 สนั่น   ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยจรัสพันธ์  ตันตระกูล และเสาวณีย์  คำวงค์)

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต้นฉบับ : http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/08/02/