วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
21/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ขัน

ขัน
คือ พานในภาษากลาง เป็นภาชนะบรรจุของเพื่อใช้ในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์ หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ที่มีชื่อ ขัน มากมายนั้นส่วนมากเรียกตามวิธีใช้งานและวัตถุที่ใช้ทำ ขัน เช่น ใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับผีก็เรียกว่า ขันผี ถ้านำไปใช้ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ในอุโบสถก็เรียก ขันอุโบสถ ใส่ดอกไม้ประเคนเพื่อรับศีลก็เรียก ขันขอศีล เป็นต้นที่เรียกชื่อตามวัตถุที่ใช้ทำ เช่น ทำด้วยเงินเรียกว่า ขันเงิน ทำดัวยทองแดงเรียกว่า ขันทอง (อ่าน “ ขันตอง ” ) ทำด้วยด้วยไม้เรียกว่า ขันไม้ เรื่อง ของขนาดความใหญ่หรือเล็กก็เป็น แต่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเท่านั้น รวมแล้วก็คืนขันเป็นภาชนะที่บรรจุของเพื่อใช้ในแง่ของความศักดิ์หรือ พิธีกรรม

การทำขัน นอกจากทำด้วยทองคำ เงินและทองแดงแล้วก็ยังมีด้วย ไม้จิง และสานด้วยไม้ไผ่ ทั้งนี้ ขัน ไม้ จิงนั้นจะทำให้ขึ้นรูปได้เรียบร้อยด้วยการเฆี่ยนหรือการกลึง ซึ่งการกลึงจากไม้จิงก็ไม่มีขึ้นตอนทำอะไรมาก แต่การสานมีขั้นตอนมากกว่า การสานส่วนมากจะสานด้วย ไม้ไผ่เรี้ย (อ่าน ” ไม้เฮี้ย ” ) เพราะเนื้อเหนียวกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น จะจักตอกให้บางกย่างไรก็ได้ ใบขันใช้วิธีสาน ส่วนตีนขันจะมีแบบครึ่งสานและแบบคาด ช่างบ้างคนจะใช้วิธีสาน โดยจะสานเป็นตัวในก่อนแล้วจึงคาดด้วยตอกทำลวดลายอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นขันดอกที่ใช้ตามวัดจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม ส่วนขันที่สานด้วยตอกไม้ไผ่เรี้ยจะมี 2 ขนาด คือ ตอกตัวยืนมีขนาดใหญ่ ตอกตัวสานมีขนาดเล็ก เมื่อได้ใบขันแล้วก็จะคาดเคียน แอวขัน คือแอวของพานและตีนขัน คือใช้ตอกขนาด ๐.๕-๑.๐ เซนติเมตร พันทับกันเป็นวงกลมเหลื่อมให้ขึ้นรูปแล้วทาด้วยยางไม้ หรือน้ำรัก

เมื่อทั้งตัวขันและแอวขันเสร็จแล้วจึงนำส่วนตีนมาติดเข้ากับใบขันโดยใช้น้ำรัก เมื่อรักแห้งดแล้วทาด้วยน้ำรัก เมื่อรักแห้งดีแล้วทาด้วยน้ำรักผสมหาง (ชาด) ให้เรียบ แล้วจึงตกแต่งลายประดับด้วยชาดอีกทีหนึ่งให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ

ขันหรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องคำนับต่างๆนี้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ปริมาณของเครื่องคำนับที่บรรจุนั้น ขัน อาจเป็น ขันแดง หรือพานที่ทำด้วยไม้ไผ่ทาชาดซึ้งมีขาดต่างๆ อาจเป็น ขันสี้ หรือ ขันตีนถื่ คือ พานที่ส่วนลำตัวเป็นซี่ไม้กลึงเรียงรอบเพื่อรับน้ำหนักทั้งหมด และหากไม่มีขันแบบกว่า ก็อาจใช้พานแบบใหม่ที่ทำด้วยทองเหลืองหรืออลูมิเนียม แม้กระทั่งกะละมังก็อาจนำมาใช้ได้เช่นกัน

นอกจากที่ขันจะหมายถึงภาชนะที่ใช้งานอย่างพานของภาคกลางแล้ว คำว่า ขัน ของ ล้านนายังรวมเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมหรือการทอผ้าในส่วนที่มีรูปคล้ายกับ พานว่าขันได้อีกด้วย เช่น ส่วนของเจดีย์ที่ฐานผายเอวคอด และมีส่วนบานขึ้นมาต่อรับนั้น ก็เรียกส่วนนั้นว่าขัน และรวดลายในผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งทอให้มีลักษณะละม้ายพานก็เรียกส่วนนั้นว่าขันอีกด้วยเช่นกัน

ขัน อันหมายถึงชุดเครื่องคารวะสำหรับพิธีต่างๆนั้นพบว่ามีระดับต่างๆ ตามจำนวนชุดของเครื่องคารวะ คือ ขันเครื่อง ๔ , ๘ , ๑๒ , ๑๖ , ๒๔ , ๓๖ และ ขันเครื่อง ๑๐๘ ซึ่งเมื่อศึกษาจากรายละเอียดแล้วเห็นว่า

คำว่า ขัน ในกรณีดังกล่าว มีความหมายเหมือนกับสะทวง (อ่านว่า “ สะตวง ” ) หรือกระบะบัตรลีที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั่วไปนั้นเอง

ขันแก้ว ๕ โกฐาก

ขันแก้ว ๕ โกฐาก เป็น พานใส่ข้าวตอกดอกไม้ ขันหรือพานนั้นจะเป็นพานทำด้วยไม้หรือเงินก็ดีที่เป็นทรงกลมและมีขาดใหญ่พอ สมควร ขันชนิดนี้ชาวบ้านอาจเรียกอีกอย่างง่ายๆว่าขัน ๕ เพราะจะจัดว่างดอกไม้ธูปเทียนเป็น๕ โกฐาก หรือ๕กอง เพื่อบูชาองค์คุณแห่งความดีงาม ๕ ส่วนนี้

•  พุทธรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระพุทธเจ้า

•  ธรรมรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระธรรม ได้แก่ พระนวโลกุตตธรรม ๙ ประการ และปริยัติธรรม ๑ รวมเป็น ๑๐ ประการ

•  สังฆรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระอัญญาโกฑัญญเถร เป็นประธาน

•  ครุฎฐานิยรัตรโกฐาก ส่วนที่จัดไว้บูชาบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์

•  กัมมัฎฐานรัตนโกฐาก ส่วนที่จัดไว้เพื่อบูชาพระกัมมัฎฐานอันเป็นที่ตังแห่งการบำเพ็ญจิตใจ ขัน ๕ นี้จะจัดไว้ระหว่าง ขันแก้วทั้ง ๓ และขันศีล ในวันศีลหรือวันธรรมสวนะที่ชาวบ้านไปประชุมกันในวิหารเพื่อบำเพ็ญกุศลนั้น เมื่อใส่ข้าวตอกดอกได้ที่ ขันแก้วทั้ง ๓ แล้วก็จะใส่

ขัน ๕ โกฐาก ในโอกาสดังต่อไปนี้

๑. งาน ฉลองสมโภชถาวรวัตถุในพุทธศาสนา เช่น ฉลองพระเจดีย์ พระวิหาร พระอุโบสถ ซึ่งพระสงฆ์ผู้เป็นประธานจะโยงงคือถือพานนี้แล้วกล่าวคำนมัสการก่อนจะเริ่ม พีธีเจริญพระพุทธมนต์

๒. ใช้โยงหรือกล่าวนมัสการ เวลาจะเริ่มบำเพ็ญภาวนาอุบาสก อุบาสิกา ในวันอุโบสถ

๓. ในพิธีอบรมหรือพุทธาภิเษกพระพุทธรูปใหม่หรือวัตถุมงคลต่างๆ

๔. ในการสวดมนต์ทุกวันของพระสงฆ์ บางวัดหลังจากสวดมนต์แล้วจะบำเพ็ญภาวนาต่ออีก พระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์จะโยงขันแก้ว ๕ โกฐากเสมอ

๕. เมื่อชาวบ้านประกอบกิจกรรมในวัดซึ่งอาจมีการกระทำที่ไม่สมรวม และอาจเห็นว่าเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดแล้ว เมื่อเสร็จกิจกรรมนั้นๆ แล้วก็จะห้าง ขันแก้ว ๕ โกฐาก ไปขอขมาเพื่อขออโหสิในการกระทำที่ดูไม่งามดังกล่าว

ขันแก้วทัง ๓ ( “ ขันแก้วตัง สาม ” )

ขันแก้วทัง ๓ หมาย ถึงพานดอกไม้ที่จัดเพื่อบูชา ” แก้วทั้งสามดวง ” อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ เป็นขันที่สูงและใหญ่กว่าขันทุกชนิด ตัวขันทำเป็นรูป

กระบะ ๓ เหลี่ยม มี ๓ ขา บางแห่งทำเป็นรูปกลมก็มี ขันแก้วทัง ๓ ทำด้วยไม้จิงก็ได้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ ขันแก้วทัง ๓ ที่ทำด้วยไม้จิง โดยมากจะทำด้วยไม้สัก


ลักษณะใหญ่ของ ขันแก้วทั้ง๓ นี้ แบ่งได้ ๓ ส่วนคือ ส่วนใบขัน ส่วนเอว และส่วนขา ถ้าทำเป็น

รูป ๓ เหลื่ยมนั้นส่วนใบขันใช้ไม้แผ่นกว้างประมาณ ๑๕ เนติเมตร หนา ประมาณ ๒ เซนติเมตร จำนวน ๓ แผ่น ประกบกันเป็นรุปกระบะ ๓เหลี่ยมปากผ่ายและก้นแคบ ส่วนเอวตรงกลางคอดข้างบนผายรับกับใบขันข้างล่างผายรับกับขา ส่วนเอวนี้จะทำให้มีลักษณะอย่างกระดูกงูเพื่อความสวยงาม ส่วนขาทำเป็น ๓ ขา ด้วยไม้จิงกล่อมให้มีรูปโค้ง หรือทำเป็นตัวพญานาค ล่างสุดเป็นหัวของพญานาค ทอดส่วนบนกับเอวขันเป็นหางพญานาคเมื่อทำเสร็จแล้วลงรักปิดทองประดับด้วย แก้วชืน (อ่าน ว่า “ แก้วจืน ” ) หรือแก้วพุก่ำคือกระจกเกรียบ ถ้าเป็นขันทรงกลมใช้ไม้ท่อนสลักเจาะเป็นใบขันกลม ส่วนเอวก็ทรงกลมขามี ๓ขา หรือ ๔ ขา ทำลักษณะเหมือนกับขาขันแก้วทัง ๓ ชนิดที่ทรงสามเหลี่ยมนั้น

ขันแก้วทัง ๓ ใช้ ใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะงานที่จัดขึ้นในวัด สิ่งที่ศรัทธาชาวบ้านที่จะไปร่วมงานบุญในวัดจะขาดไม้ได้คือดกไม้ธูปเทียนที่ จะนำไปใส่ขันแก้วทัง ๓ ทุกคน เมื่อไปถึงในวิหารแล้วหลังจากการกราบจะต้องใส่ขันแก้วทัง ๓ ก่อน ผู้ใส่ขันแก้วทัง ๓ เป็นคนแรกต้องเป็นชาย หญิงจะใส่ก่อนไม่ได้ ถ้าหญิงไปถึงในวิหารก่อนโดยผู้ชายยังไปไม่ถึงหญิงต้องรอผู้ชายไปและใส่ก่อน อย่างน้อย ๑ คน จากนั้นผู้หญิงจึงจะใส่ได้ การใส่ดอกไม้ในขันแก้วทัง ๓ นั้น ถ้าขันเป็นสามเหลี่ยมก็ใส่ตามมุมของกัน ถ้าเป็นขันทรงกลมคนใส่คนแรกก็จะว่างดอกไม้เป็นสามกอง คนต่อไปก็จะวางดอกไม้ตามนั้น การวางดอกไม้ธูปเทียนและมุมจะมีคำกล่าวหรือท่องในใจ มุมแรกว่า อรหํ มุมที่ ๒ ว่า ปจฺจตฺตํ มุมที่ ๓ ว่า ยทิทํ



  • ขันขอศีล


ขันขอ ศีล คือพานที่ใช้ประเคนพระสงฆ์ในวันพระก่อนการอาราธนาศีล เพื่อน้อมรับเอาศีลที่พระจะปันให้นั้นไปรักษา ปกติที่พบมักจะตั้งอยู่หน้า ขันแก้วทัง ๓ เสมอ ศรัทธาชาวบ้านที่ไปวัดเพื่อรับศีลหรือรักษาศีลที่วัดก็ดี จะนำดอกไม้ธูปเทียนใส่ลงไปในขันขอศีล และ ขันแก้วทัง ๓ นั้ น ถ้าหากจัด

ขันแก้ว ๕ โกฐาก คือพานที่จัดเป็น ๕ ส่วน เพื่อบูชาองค์คุณ ๕ ประการด้วยแล้ว ก็ใส่ดอกไม้ธูปเทียนใน ขันแก้ว ๕ โกฐาก นั้นด้วย

บางท่านว่าใน ขันขอศีล นี้ จะจัดดอกไม้ธูปเทียนเป็น ๒ ส่วน มีคนเข้าใจแตกต่างกันไปบ้างก็ส่วนที่หนึ่งใช้บุชาไตรสรณคมน์คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนที่สองใช้บูชาศีลซึ่งเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติให้ถูกต้องและมีความเคร่ง ครัด อีกความคิดหนึ่งว่า ๒ ส่วนนั้นเพื่อบูชา จุลศีล หมายถึงศีลที่ปฏิบัติได้พอประมาณ และ มหาศีล หรือ อธิศีล ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดเยี่ยมยอด

เมื่อศรัทธาชาวบ้านไหว้พระเสร็จแล้ว พระสงฆ์ผู้เป็นประธานและพระอันดับมานั่งที่อาสนะแล้ว ผู้แทนของทายกทายิกาคนใดคนหนึ่งจะนำขันขอศีลเข้าไปประเคนพระเป็นประธานสงฆ์ ต่อจากนั้นปู่อาจารย์จะเริ่มอาอาราธนาศีลต่อไป ศรัทธาบางท่านที่ไปวัดอาจจัดพานดอกไม้ขนาดย่อมไปด้วย เมื่อพระให้ศีลก็จะยกพานดังกล่าวขึ้นจรดหน้าผากเพื่อนน้อมรับเอาศีล เรียกพานดอกไม้ว่า ขันขอ ศีล หรือ ขันศีล เช่นกัน ขันขอศีล นี้ บางทีเรียกว่า ขันศีล

  • ขันข้าว


ขันเข้า เป็นคำที่ชาวบ้านล้านนาใช้เรียกอาหาร อาจใช้ถาดแบน กระด้ง เป็นภานะที่วางถ้วยอาหาร แต่หากใช้ ขันโตกหรือสะโตก ซึ่งโดยมากทำมาจากไม้ ต้องมีถ้วยอาหารวางอยู่จึงเรียกว่าขันข้าว มิเช่นนั้นก็เรียกว่าขันโตก สะโตกเฉยๆ

ชาว ล้านนามีประเพณีอย่างหนึ่งที่ต้องทานขันข้าว (อ่าน “ ตาน ” ) ไปให้พ่อให้แม่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยหลังจากศพไปเผาได้ ๓-๗ วัน ลูกหลานหรือญาติผู้ตายจะแต่งดาสำรับกับข้าวซึ่งประกอบไปด้วยอาหารที่ผู้ตาย เคยชอบกินเมื่อมีชีวิตอยู่และหยาดน้ำ ( น้ำทักขิโณทก ) นำไปถวายพระสงฆ์ให้ท่านเป็นผู้รับฝากไป ทั้งนี้ยังมีการทานขันข้าวเพื่อตัวเอง ทานขันเข้าเพื่อบูชาเทพยดาทั้งหลาย (ดูเพิ่มที่ ทานขันเข้า)

  • ขันครู


ขันครู เป็น ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องเคารพ ครูบาอาจารย์ที่เคยได้สอนวิชาความรู้ให้ หรือเป็นขันขึ้นครูในเวลาที่ไปสมัครเป็นลูกศิษย์หมอคาถาอาคม เช่น ขึ้นครูในการสักหรือขึ้นครูในการถ่ายทอดรับคาถาอาคมต่างๆ เป็นต้น ขันในประเภทนี้มีรูปทรงกลม ปากผาย มีเอวคอดเป็นขยัก ส่วนตีน ผายออก ใบขันสานด้วยไม้ไผ่ ส่านขาและตีนพันม้วนด้วยตอกทารักลงหางเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดง

สิ่งที่ใส่ในขันครู ประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียนอย่างละ ๖ มีข้าวตอกพองาม นอกจากนั้นจะมีเงินบูชาครูตามกำหนด เช่น ๖ บาท ๑๒ บาท ๑๐๘ บาท ๑ , ๓๐๐ บาท โดยมากขันครูนี้จะจัดให้พ่อหมอหรือ

ปู่อาจารย์ก่อนทำพิธีสมัย ปัจจุบันนิยมใส่ขันครูที่ว่างไว้ และเพิ่มอีกส่วนหนึ่งเป็นการสัมมนาคุณอีก กรณีหนึ่ง

  • ขันค่าฆอ (อ่าน “ ขันก้าคอ ” )


ขันค่าฆอ หมาย ถึงค่าไถ่ชีวิต กล่าวคือในกรณีที่บุคคลถูกพิพากษาให้รับโทษประหาร ชีวิตแล้ว หากเป็นผู้มีฐานะและพอจะมีทางเจรจาต่อลองได้ ก็จะหาทางใช้ทรัพย์แลกชีวิต ซึ่งอาจรวบรวมทรัพย์สินไปขอแลกกับชีวิตบุคลผู้นั้น และในการดังกล่าวจะต้องจัดพานดอกไม้ธูปเทียนไปขออภัยชีวิตไว้เมื่อผู้มี อำนาจยอมรับ ขันค่าฆอ นั้นแล้วก็หมายความว่าผู้มีโทษได้รับการทุเลาโทษลง ส่วนทรัพย์สินนั้นก็ให้มีการส่งมอบโดยมิให้เป็นไปอย่างประเจิดประเจ้อนัก

  • ขันเงิน

ขันเงิน เป็น พานที่ทำขึ้นใช้อย่างแพร่หลาย มีขนาดกว้างเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ ๑๒ เซนติเมตรขึ้นไปรูปทรงเหมือนกันกับขันครูที่กล่าวไว้แล้ว ตีขึ้นด้วยแผ่นเงินเท่านั้น

 

  • ขันจา (อ่าน “ ขันจ๋า ” )

ขันจา หมายถึงขันหมากที่นำไปประกอบการเจรจาสู่ขอผู้หญิง ขันจาหรือขันหมากที่นำไปเป็นเครื่องเจรจาสู่ขอหญิง เป็นขันหมากทรงกลม ข้างในทำเป็นชั้นแยกออกได้ส่วนบนมีฝาปิดรูปทรงกรวยสานด้วยไม้ไผ่ ทารักลงชาด บางอันมีลวดลายเขียนประดับ บางแห่งเรียกขันหมากชนิดนี้ว่า อูบหมาก เทื่อใดที่มีการจะไปเจรจาสู่ขอหญิง ฝ่ายชายจะตกแต่งขันหมาก โดยจัดพลูจัดหมากเป็นจำนวนที่นิยมทำกันใช่ผ้าแดงแล้วสะพายหรือหิ้วไป

ขันจา ในกรณีที่สองนี้หมายถึงภาชนะใส่หมากพลูซึ่งบ่าวและสาวใช้เป็นเครื่องเจรจาผ่าน

ไปหา ซึ่งกันและกัน ขันจา ชนิดนี้จะเป็นขันหมากกลึงจากไม้สักแบบตีนต่ำหรือจะเป็นชนิด อูบหมากก็ได้ หญิงสาวที่อยู่นอกคือทำงานเล็กๆ น้อยๆ หลังอาหารมื้อเย็นรอรับบ่าวมาแอ่วนั้น จะมีขันหมากส่วนตัวเรียกว่า ขันจา ในการแอ่วครั้งแรกๆ จะไม่คุยกันต่อปากโดยตรง แต่จะคุยกันผ่านขันหมากนี้ เช่นบทคุยกับสาวบทหนึ่งที่ชายพูดกับขันจาว่า “ เทขันจา ถ้าพี่อ้ายเพิ่นมา ค่อยดาแถมใหม่ หื้อคนบ่ได้เคี้ยวเสียก่อน ” ถ้าหญิงที่ยังไม่มีตัวพ่อหรือหนุ่มที่เป็นคู่หมายก็จะพูดเชิญว่า “ เคี้ยวเทอะเค้ยวเทอะพลูข้าบ่หอม บ่มีไผ่หอม เค้ามันบ่อ้วน ” และยังมีนิทานที่ออกในธรรมเรื่องนกกระจาบ กล่าวถึงนกสองตัวผัวเมีย นกตัวเมียเฝ้าลูกน้อยอยู่ในรัง นกตัวผู้ออกไปหาอาหารให้ลูกแต่ไปหลงใหลเกสรดอกบัวจนลืมเวลากลับ เมื่อถึงเวลาค่ำดอกบัวหุบนกตัวผู้ถูกขังไว้ข้างใน ช่วงนั้นไฟไหม้ป่าลามมาจวนจะถึงรังนกที่ตัวเมียกกลูกน้อยอยู่ นกตัวเมียเข้าใจว่านกตัวผู้ไปติดนางนกตัวใหม่ จึงนึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง จึงตั้งจิตอธิฐานว่าเกิดชาติใดจะไม่ขอพูดกับผู้ชาย เมื่อไฟไหม้มาถึงรังก็ตายพร้อมกับลูกน้อยเกิดมาอีกชาติหนึ่งได้เป็นมนุษย์ เป็นลูกสาวคนเดียวของพญาเจ้าเมืองเมืองหนึ่ง ตั้งแต่เกิดมาจะไม่พูดกับชาย แม้แต่พ่อของตัวเองก็ไม่ยอมพูดด้วย ผู้เป็นพ่อจึงหมดปัญญาที่จะให้ลูกสาวพูดด้วย จึงจะประกาศหาผู้ชายที่จะมีวิธีให้ลูกสาวพูดกับผู้ชาย ส่วนนกตัวผู้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เช่นกัน ได้อาสาเข้าไปหาวิธีพูดกับนาง ซึ่งก็พูดกับขันหมากของนางจนที่สุดนางก็ยอมพูดกับตน

  • ขันดอก

ขัน ส่วนใหญ่ก็เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียน เมื่อใช้ในงานใดก็มักจะเรียกชื่องานนั้นๆ

ต่อจากคำว่าขันออกไป ขันที่ตั้งไว้ให้คนจำนวนนำดอกไม้มาใส่ก็ต้องใช้ขันที่มีขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่มีทั้งกลึงด้วยไม้สักเรียกว่าขันไม้ ขันที่สานด้วยไม้ไผ่เรียกว่าขันสาน บางแห่งไม่มีขันขนาดใหญ่ใช้ ขันโตก แทนก็มี เช่น การใส่ ขันดอก บูชาเสาหลักเมืองหรือบูชาเสาอินทขีล และบูชาศาลเจ้าพ่อที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไปเรียกการนำดอกไม้ไปบูชาเหล่านี้ว่า ใส่ขันดอก

  • ขันดาน

ขันดาน เป็นภาชนะขนาดเล็กทรงกลม ปากฝาย ส่วนเอวคอดเป็นขยักมีตีนกลมกว้างออกพอให้ตั้งได้ ชนิดที่กลึงด้วยไม้สักเรียกว่า ขันไม้ ที่สานด้วยไม้ไผ่เรียก ขันสาน ซึ่งต่างก็ทาชาดลงรัก ขันดาน ใช้ใส่ดอกไม้ธูปเทียนไปเชิญหรือไปรับผู้มีเกียรติ เช่น งานฉลองสิ่งก่อสร้างต่างๆ คือคืองานปอยหลวงจะมีผู้เฒ่าผู้แก่อุ้ม ขันดาน ออกไปรับขบวนหัววัดที่นำเครื่องไทยทานเข้าร่วมทำบุญในวัดนั้น ในกรณีนี้ ขันดานมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขันรับหัววัด

  • ขันแดง

ขัน แดง คือพานรูปทรงกลม มี ๒ ชนิด คือกลึงด้วยไม้จิงชนิด อีกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ แล้วจึงทารักลงหาง (ชาด) ให้เป็นสีแดง จึงเรียกกันตามสีที่เห็นว่าขันแดง ส่วนรูปทรงเหมือนกันกับขันดานที่กล่าวไว้แล้ว

  • ขันตั้ง

ขันตั้ง คือ พานชนิดหนึ่งกลึงด้วยไม้จิง ทรงกลม ปากผายออก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ไม่มีขาแต่มีขอบตีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขันตีนต่ำ อีกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่สานสองลาย รูปทรงและขนาดความกว้างประมาณเท่ากันกับชนิดกลึงด้วยไม้จิง เรื่องขนาดของความกว้าง ความสูง ไม่เป็นมาตรฐานที่แน่นอน

ขันตั้ง เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องคำนับ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู และเข้าของ

อย่าง อื่นเพื่อให้เป็นของสมนาคุณแก่ผู้ที่มาทำประโยชน์ให้ เช่น หมอ อาจารย์ ผู้ประกอบวิธี หรือช่างซอ หรือนักขับเพลง ปฏิพากย์ เป็นต้น เครื่องบูชาครูและจำนวนอาจจะไม่เหมือนกันทุกพิธี บางพิธีใช้เครื่อง ๔ คือกรวยหมากพลู ๔ กรวยดอกไม้ ๔ หมาก ๔ ขด ๔ ท่อน ใส่เบี้ยใส่เงิน ผ้าขาว ผ้าแดง และสุรา ถ้าเป็นขั้นตั้งที่ใช้ในการบูชาครูจะมีไก่หรือไข่ปิ้งเพิ่มอีกด้วย

ขันตั้ง โดย ทั่วไป เช่น ขันที่ตั้งให้แก่ช่างผู้ที่จะสร้างวิหาร อุโบสถ กุฏิ สร้างบ้านเรือน มีครัวหรือเครื่องประกอบ ดังนี้ กรวยหมากพลู ๑๒ กรวยดอก ๑๒ หอยเบี้ยอย่างที่ใช้แทนเงินตรา ๑ , ๓๐๐ เบี้ย หมากไหม ๑ , ๓๐๐ ผ้าขาวรำ (พับ) ผ้าแดงรำ (พับ ) เหล้า ๑ , ๐๐๐ ข้าวเปลือกหนัก ๑๐ , ๐๐๐ น้ำ ข้าวสารหนัก ๑ , ๐๐๐ น้ำ เงิน ๑๒ บาท เมื่อตั้งขันให้แก่ หัวหน้าช่าง คือเป็นการมอบภาระให้รับผิดชอบแล้ว หัวหน้าช่างก็จะกล่าวอาราธนาอัญเชิญครูบาอาจารย์ให้มาช่วยคุมครองให้ ปลอดภัยในขณะที่ทำก่อสร้าง แล้วนำเอาสาแหรกใส่ขันตั้งแขวนไว้ที่ขื่อของอาคารนั้น เมื่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุนั้นๆ เสร็จ ทางฝ่ายทางเจ้าภาพจะเปลี่ยนเครื่องคำนับที่เก่าออกใส่ใหม่แล้วหัวหน้าช่างก็ จะทำพิธีกล่าวคำปลดขันตั้ง จานั้นคว่ำขันลงกับพื้นเก็บข้าวของใส่ไว้เหมือนเดิม นำเหล้าขันตั้งมาเปิดเลี้ยงกันกับลูกน้องเป็นการฉลองความสำเร็จ ต่อมาสมัยหลังจนถึงปัจจุบันคงจะหาขันสำหลับเป็นภาชนะใส่เครื่องครัวแบบสมัย ก่อนไม้ได้ จึงใช้ โอ ใช้สุลง ใช้กะละมังแทน เงินค่าครูก็เขยิบราคาขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจหรือเงินค่าครูยังคงเดิมแต่มีส่วน เพิ่มเป็นค่าจ้างตามลักษณะงานและตามยุคสมัย จากการศึกษาของอนุกูล ศิริพันธุ์ พบว่ามีขันตั้งที่จำแนกเป็นระดับต่างๆ ตามจำนวนของเครื่องหรือชุดของเครื่องคารวะ ดังนี้

ขัยตั้งเครื่อง ๓

ใช้ กับงานสร้างเจดีย์และปราสาท จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก ๓ ขด จำนวน ๓ท่อน กรวยดอกไม้ ๓กรวย กรวยหมากพลู ๓ กรวย เงิน ๑ เฟื้อง (สลึง ) ขันตั้งเครื่อง ๓ นี้ใช้คู่กับ ขันตั้งเรื่อง ๕ เสมอ โดยตั้ง ขัน๓ ไว้ทางด้านซ้ายของ ขัน ๕

ขันตั้งเครื่อง ๔

ใช้ เป็นเครื่องอัญเชิญเทพ ในการสร้างสิ่งต่างๆ ทั่วไปถ้าสร้างบ้านจะมีสุราใส่ด้วย ขันตั้งนี้จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือหมาก ๔ ขด จำนวน ๔ ท่อน กรวยดอกไม้ ๔ กรวย กรวยหมากพลู ๔ กรวย ข้าวสาร ๑ กระทง น้ำส้มป่อย ๑ ที่ เงินตามฐานะ(ไม่ใส่ก็ได้) เทียนเหลืองหรือเทียนขาว ๔ คู่

ถ้า ใช้ในการขึ้นท้าวทั้งสี่ จะทำให้เป็นสะทวง ๖ อัน แต่ละอันบรรจุข้าว ๔ คำ อาหาร ๔ ชิ้น (เนื้อหรือเนื้อปลา) แกงส้ม และแกงเขียวหวานอย่างละ ๔ ชุด ผลไม้หวาน ๔ คำ หมากพลูเมี่ยง ๔ ชุด น้ำ ๔ กระทง ดอกไม้ธูปเทียน ๔ ชุด ช่อสีดำเหลืองแดงขาวเขียว ๔ ชุด ใส่ตามกำหนด

ขันตั้งเครื่อง ๕

ใช้ ประกอบกับ ขันตั้งเครื่อง ๓ ในการสร้างถาวรวัตถุในวัด ขันตั้งนี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ ดอกไม้ ๕ ก้าน เทียน ๕ แท่ง และข้าวตอก ๑ ขัน

ขันตั้งเครื่อง ๘

  เป็นขันอธิฐานหรือสมาทาน เป็นขันเทวดา ใช้เป็นของของครูอาจารย์ ใช้รักษาปัดแก้หรือถอนต่างๆ ในการเทศน์การสวด สืบชาตา สังฆทาน การศพ ถ้าเป็นงานทางด้านศาสนาจะไม่มีเหล้า แต่หากเป็นพิธีแก้เสนียด หรือการกระทำที่รุนแรง เช่น ตัดงาช้างจะต้องใช้เนื้อและเหล้าด้วย นอกเหนือจากของที่กำหนดคือหมาก ๘ ขด จำนวน ๔ ท่อน กรวยดอกไม้ ๘ กรวย กรวยหมากพลู ๘ กรวย หมาก ๑ , ๓๐๐ เบี้ย๑ , ๓๐๐ ข้าวเปลือก ๑๐ , ๐๐๐ (๑ ถัง ) ข้าวสาน ๑ , ๐๐๐ (๑ ลิตร ) เทียนใหญ่และเทียนเฟื้องอย่างละคู่ ผ้าขาว ๑ พับ ผ้าแดง ๑ พับ เงิน ๓๒ บาท ทั้งนี้ ถ้าเป็นงานตัด แก้ หรือสร้าง จะต้องมีมะพร้าว ๑ทะลาย กล้วย๑ เครือ


ขันตั้งเครื่อง ๑๒

ใช้กับงานด้านความเป็นครูอาจารย์หรืองานของบ้านของเมือง เป็นขันของ พ่อครูชั้นปฐม ขันตั้งนี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก ๑๒ กรวย (ไว้ด้านขวา) ดอกไม้ ๑๒ กรวย (ไว้ด้านซ้าย) กล้วย ๑ เครือ มะพร้าว ๑ ทะลาย ผ้าขาว ๑ พับ ผ้าแดง ๑ พับ เทียนแท่งละบาทกับแท่งละเฟื้องอย่างละ ๑๒ ข้าวเปลือก ๑๐ , ๐๐๐ (๑ถัง ) ข้าวสาร ๑ , ๐๐๐ (๑ลิตร ) หมาก ๑ , ๓๐๐ เบี้ย๑ , ๓๐๐ หมาก ๑๒ ชด จำนวน ๓๒ ท่อน

ขันตั้งเครื่อง 24

(บางท่านถือเป็นขันครูลำดับที่สองสูงกว่า ขันเครื่อง 12 )

ขันตั้งเครื่อง 32

ใช้ไหว้ครูงานใหญ่ ไหว้เทวดารวมในโลกทั้งสาม เป็นขันของ พ่อครู ลำดับสอง

ขันตั้ง นี้ จะประกอบไปด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก 32 ขด จำนวน 32 ท่อน เบี้ย 1 หมื่น หมาก 1 หมื่น ผ้าขาวผ้าแดงอย่าละพับหรือวา เทียน 32 คู่ กรวยดอกไม้ 32 กรวย กรวยหมากพลู 32 กรวย เทียนแท่งละบาทและแท่งละเฟื้อง เหล้า 1 ไห (ขวด) เงิน 36 บาท

ขันตั้งเครื่อง 108

เป็น เครื่องใหญ่สำหรับอาจารย์ที่มีวิชามาก (ไสยศาสตร์) หรือระดับบรมครู ขั้นพระสงฆ์ที่มีวิชาแก่กล้า ขั้นเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์

ขันตั้ง ระดับ นี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมากสาย 130 สาย หมากขด 108 ขด กรวยหมากพลู 108 กรวย กรวยดอกไม้ธูปเทียน 108 กรวย ผ้าขาวผ้าแดงอย่าละ 1 วา 1 ศอก 1 คืบ เบี้ย 108 เงิน 108 บาท เหล้า 1 หมื่น (1 ขวด) มะพร้าว 1 ทะลาย กล้วย 1 เครือ ข้าวสาร 1 ถัง ข้าวเปลือก 1 ถัง น้ำตาล 1 ถัง น้ำอ้อย 1 ถัง น้ำผึ้ง 1 ถัง อ้อย 1 ลำ หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อเผือกมัน อย่างละ 1 หน่อ ถั่วดำ ถั่วแดง งาดำ อย่างละ 1 กลัก

ขันตั้งเครื่อง 1000

จะใช้สำหรับงานต่อเศียรพระ ต่อยอดพระเจดีย์ ต่อยอดปราสาทหรือคุ้มวัง ขันตั้ง นี้ จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ กรวยดอกไม้ 1,000 กรวยหมากพลู 1,000 เบี้ย 1,000 ข้าวสาร 1 หมื่น ข้าวเปลือก 1 แสน หมากแห้งที่ร้อยเป็นสาย 32 สาย เทียนแท่งละบาทและแท่ละเฟื้อง ผ้าขาวผ้าแดงอย่างละพับ มะพร้าว 1 ผล กล้วย 1 หวี เงิน 108 บาท บางท่านให้ความเห็นว่า ขันตั้งเครื่อง 24, 36 และ 108 ไม่ปรากฏในอดีต


ขันตีนถี่

ที่เรียกกันว่า ขันตีนถี่ คงเรียกตามลักษณะของตีน ขัน ที่มีซี่ไม้กลึง ขัน เรียงติดกันโดยรอบ ทำหน้าที่เป็นส่วนเอวรับจากตัวพานลงมาต่อกับตีน ขัน

วิธีทำใบขันนั้น ให้ตัดเลื่อยท่อนไม้ออกเป็นแว่น หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ให้กว้างแล้วแต่ขนาดที่ต้องการ กลึงไม้นั้นให้กลมแล้วกลึงเจาะจากปากลงถึงก้นเป็นลักษณะเหมือนกับจาน ลึกประมาณ 8 เซนติเมตร ด้านหลังเจาะเป็นรูกลม กว้าง 1 เซนติเมตร เรียงต่อกันไปเป็นวงกลม โดยให้แต่ละรูห่างกัน 2 เซนติเมตร สำหรับ ขัน นั้น ให้ตัดไม้ท่อนมาอีกแว่นหนึ่งเพื่อทำเป็นขอบตีน หนาประมาณ 2 เซนติเมตร มีความกว้างย่อมกว่าใบ ขัน กลึง ให้กลมแล้งกลึงเจาะเอาส่วนในออกให้เหลือริมนอกใหญ่ประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อเป็นขอบตีนเจาะรูกลมกว้าง 1 เซนติเมตร ให้รูห่างกัน 2 เซนติเมตร จำนวนรูให้เท่ากันกับรูของใบ ขัน ใช้ไม้แท่งขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มากลึงให้กลมเป็นลูกมะหวด เมื่อกลึงแล้วให้มีความใหญ่ 2 เซนติเมตร ส่วนหัวส่วนท้ายทำเดือยด้านละ 2 เซนติเมตร เดือยใหญ่ 1 เซนติเมตร แล้วนำไม้ทำตีนนี้ด้านหนึ่งเสียบรูใบ ขัน ด้านหนึ่งเสียบรูขอบตีน ขัน เรียงกันโดยรอบเป็นวงกลม ใช้เศษถ้วยหรือชามเคลือบที่แตกขูดให้เนื้อไม้เรียบ แล้วจึงทารักลงชาด ให้สวยงาม

ขันตีนถี่ ใช้เป็นขันใส่ดอกไม้เป็น ขัน นำทางในวัดก็ได้ เพราะถ้าเป็นเทศกาลงานบุญที่ใหญ่มีคนมาทำบุญมาก ดอกไม้ธูปเทียนก็มาก ใส่ ขัน ขนาดเล็กไม่พอต้องใช้ ขัน ตีนถี่ที่มีขนาดใหญ่ ที่ใช้ ขัน ตีนถี่ประจำคือในอุโบสถที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้เป็น ขัน สวดปาติโมกข์ บางแห่งจึงเรียก ขันตีนถี่ นี้ตามการใช้ว่า ขันปาติโมกข์


  • ขันโตก

ขันโตก หรือ โตก เป็นภาษาดั้งเดิม เป็นภาชนะสำหรับวางสำรับอาหาร บ้างเรียก สะโตก มีรูปทรงกลม ความกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป มีเชิงสูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้ง ขันโตกไม้ และ ขันโตกหวาย

ขันโตกไม้ มักทำด้วยไม้สักหรือไม้จิงชนิดอื่น ขันโตกไม้แยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนใบข้างบน และส่วนขาที่เรียกกันว่าตีน

วิธีทำขันโตก
โดยทั่วไป จะตัดเลื่อยท่อนไม้สักออกเป็นแว่น ความหนาประมาณ 6 เซนติเมตร นำมา เคี่ยน คือ กลึงปากให้กลม แล้วกลึงเจาะลงด้านในให้ลึก 3 – 4 เซนติเมตร ขอบปากหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ด้านล่างของใบโตกเจารูกลมขนาด 1 เซนติเมตรโดยรอบ เป็นวงกลมอย่างน้อย 6 รู แล้วใช้ไม้ขนาด 2 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร กลึงให้กลมและเป็นทรงลูกมะหวดทำเดือยหัวท้าย เดือนมีขนาดใหญ่ 1 เซนติเมตร ในส่วนที่เป็นตีน ขันโตก นั้นให้เอาแว่นไม้ ที่มีขนาดเล็กกว่าใบโตกเล็กน้อยมากลึงให้กลม เจาะข้างในออกให้เหลือเป็นวงกลมส่วนนอก ความกว้างของขอบตีนประมาณ 3 เซนติเมตร เจาะรู 6 รู ระยะห่างถี่ของรูเท่ากันกับรูของใบโตก ในการประกอบนั้นให้เอาไม้ตีนที่มีเดือนด้านหนึ่งเสียบเข้ารูของใบโตก เดือยอีกด้านหนึ่งเสียบเข้ากับรูของขอบตีน แล้วจึงใช้เศษถ้วยชามเคลือบที่แตกขูดถูให้เรียบร้อย มารักลงชาดให้เป็นสีแดง

ขันโตกหวาย คือ ขันโตก ที่ ถักสานด้วยหวาย พื้นของใบโตกสานด้วยไม้ไผ่เป็นลายสองปูเป็นพื้น ทำขอบล่างขอบบนด้วยเส้นหวาย ขาหรือตีนใช้เส้นหวายดัดงอขึ้นลง แล้วยึดด้วยหวายให้มั่นคง

ในการใช้งานนั้น ทั้งขันโตกไม้และขันโตกหวายต่างก็ใช้เป็นภาชนะที่วางถ้วยอาหารกับข้าว มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ เมื่อใส่กับข้าวแล้วยกมาตั้งสมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้านจะนั่งล้อมวง กันกินข้าว นอกจากจะใช้วางถ้วยกับข้าวแล้ว ยังใช้โตกเป็นภาชนะใส่เข้าของอย่างอื่นด้วย เช่น ใส่ดอกไม้ธูปเทียนแทนขันดอกก็ได้ ใส่เครื่องคำนับเป็นขันตั้งก็ได้ ใส่ผลหมากรากไม้ก็ดี ทั้งนี้ภาชนะที่วางถ้วยกับข้าว นอกจากจะใช้ขันโตกแล้วยังใช้กระด้งหรือถาดแบนแทนและเรียกว่าข้นเข้า ขันโตกถ้ายังไม่ได้วางถ้วยอาหารเรียกว่า ขันโตก เมื่อวางถ้วยอาหารแล้วก็มักจะเรียกว่า ขันเข้า หรือสำรับอาหาร ในปัจจุบันขันโตกอาจมีหลายขนาดแล้วแต่การใช้งาน ทั้งนี้ มณี พยอมยงค์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้


ขันโตกหลวง
หรือ สะโตกหลวง ทำ ด้วยไม้ขนาดใหญ่ ตัดท่อนมากลึงหรือเคี่ยนเป็นขันโตก มีความกว้างประมาณ 25 – 50 นิ้ว ตามขนาดของไม้ที่หามาได้ และนิยมใช้การในราชสำนัก ในคุ้ม ในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการ ที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองด้วย ส่วนวัดนั้นพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การเคารพนบนอบ มีประชาชนนำอาหารไปถวายมาก ดังนั้นประชาชนจึงนิยมทำขันโตกหลวงไปถวายวัด

ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็น ขันโตกขนาดกลางประมาณ 17 – 24 นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้หมายถึง ขนาดกลาง) ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ลงรักทาหางอย่างเดียวกัน ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุในระดับรองสมภาร

ขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 – 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายที่เพิ่งแต่งงานใหม่ หรือผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีไม่มาก


ขันโตกพระเจ้า

ขันโตกพระเจ้า คือสำรับอาหารที่จัดไปถวายแก่ “ พระพุทธ ” ทั้งนี้ในวัด คุ้ม หรือบ้าน บางแห่งจะจัดอาหารคาวหวาน ใส่บนขันโตกนำไปถวาย ขันโตกพระเจ้า ดังกล่าวมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ผู้เป็นศรัทธาจะเห็นสมควร และในกรณีที่ถวายอาหารแก่พระพุทธในบ้าน หากเห็นว่าไม่สามารถจัดเป็น ขันโตกพระเจ้า ได้ ชาวบ้านก็จะหาจานหรือถ้วยขนาดเล็ก มีข้าวสามก้อนและมีอาหารวางบนก้อนข้าวนั้น ซึ่งหากไม่มีอาหารวางบนก้อนข้าว ก็จะใช้สิ่งดีที่หาได้ เช่น โรยน้ำตาลลงบนข้าว นั้นก็ถือว่าเป็น เข้าพระเจ้า หรืออาหารถวายพระพุทธได้แล้ว และเรียกกิจกรรมการถวายข้าวพระแบบชาวบ้านดังกล่าวว่าใส่ เข้าพระเจ้า

  • ขันแท่นแก้ว

แท่นแก้ว หรือฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พระประธานอย่างในวิหารนั้น ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะคล้าย ขัน มีเอวคอด ส่วนบนผายออกคล้ายกับใบขัน ส่วนล่างผายออกคล้ายกับตีน ขันแก่นแก้ว ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ บางแห่งก็ติด สะทายจีน (อ่าน “ สะตายจี๋น ” ) หรือลายปูนปั้นเป็นลวดลายต่าง ๆ

  • ขันนำทาน

ขันนำทาน ใช้ เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนประเคนแด่พระสงฆ์ ก่อนที่จะประเคนวัตถุไทยทานหรือใช้ประเคนเป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องไทยทาน ซึ่งมีขนาดใหญ่หรือไม่สามารถนำไปสู่บริเวณที่พระสงฆ์รับมอบได้ ส่วนมากจะเป็นขันที่สานด้วยไม้ไผ่ทารักลงหางหรือทาชาดซึ่งมีสีแดง และมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงเรียกว่า ขันนำทาง

การตั้งเครื่องไทยทานหรือการถวายสิ่งใดต้องเตรียม ขันนำทาน ไว้เสมอ เมื่อแห่ ครัวทาน หรือเครื่องไทยทานไปถวายผู้เฒ่าผู้แก่จะอุ้ม ขันนำทาน ไปก่อนหน้า เมื่อไปถึงและหลังจากที่ไหว้พระรับศีลแล้ว ก่อนที่จะถวายวัตถุอย่างอื่นต้องประเคน ขันนำทาน เสียก่อน

ขันนำทาน อย่างง่ายที่สุดนั้น พบว่าทำด้วยท่อนหยวกกล้วยขนาดประมาณสองกำมือ ใช้กาบกล้วยพันทั้งส่วนลนและส่วนล่างให้เป็นส่วนพาน และส่วนเชิงในส่วนพานนั้นก็นำดอกไม้พื้นบ้านมาปักให้เป็นพุ่ม เมื่อประเคน ขันนำทาน ดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่นำกลับคืนอีก

  • ขันนิมนต์

ขันนิมนต์ หมาย ถึงพานบรรจุดอกไม้ธูปเทียนที่ศรัทธาประชาชนจัดขึ้น เพื่อนำไปขอนิมนต์พระภิกษุให้กรุณากระทำกิจการบางอย่าง เช่น ในโบราณกาล เมื่อศรัทธาชาวบ้านไปรวมกันอยู่ในวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลในวิหารนั้น ผู้รู้จะจัดขันนิมนต์อันเป็นพานดอกไม้ธูปเทียนชองชาวบ้านมาใส่รวมกันบนพาน ขนาดไม่ใหญ่นัก มอบให้อุบาสกนำจากวิหารไปนิมนต์เจ้าอาวาส แล้วนำขันนิมนต์เข้าประเคนแล้วกล่าวคำขอนิมนต์ท่านและพระอันดับไปประกอบพิธี ที่เตรียมไว้

  • ขันปูชาผีเสื้อวัด

ขันปูชาผีเสื้อวัด เป็น เครื่องบูชาแก่อารักษ์ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองดูแลวัด และเสนาสนะทั้งหลาย อันประกอบด้วยพานดอกไม้ธูปเทียนและอาหารอีกหนึ่งสำรับ (หรืออาจจัดอาหารรวมไปในภาชนะเดียวก็ได้) เมื่อศรัทธาชาวบ้านไปวัดในวันธรรมสวนะนั้น ก็มักจะนำเอาดอกไม้ธูปเทียนไปใส่พานหน้า หอผีเสื้อวัดหรือศาลของอารักษ์ในวัดเสมอ ขันดังกล่าวอาจเป็นพานที่จัดไปวางไว้หรืออาจเป็นแท่นที่วางเครื่องเคารพก็ ได้

 

  • ขันไปล่ขันแปลง

ขัน ที่สานด้วยไม้ไผ่ลงรักลงชาดเป็นสีแดง เรียกกันว่า ขันแดง ต่อมาใช้ โอ ซึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ทางรักลงชาดรูปทรงคล้ายกับขันน้ำในปัจจุบัน เพื่อเป็นภาชนะใส่ข้าวดอกดอกไม้และข้าวของเงินทองตามควร นำไปเป็นเครื่องสมนาคุณแก่คนกลางที่ช่วยไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีออมชอมกันได้ เป็นการสมนาคุณในการที่ได้ช่วยเจรจาจนได้ประโยชน์ที่พึงใจ

อีกประการหนึ่งขันชนิดนี้ใช้เป็นภาชนะใส่ข้าวตอก ดอกไม้เงินทองไปชดใช้แก่ผู้อื่นในกรณีที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งก็เรียกว่า ขันไปล่ขันแปลง ด้วยกันทั้งคู่

ขันผี เป็น ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนทรงกลมเตี้ย ปากผาย ปากกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร สูงประมาณ 10 เซนติเมตร ตีนเป็นกรอบวงกลม ส่วนมากจะสานด้วยไม้ไผ่ทารักลงหางบางใบมีลาดลายเขียนประดับ ใช้เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียน ข้าวของเพื่อเป็นเครื่องคำนับผีบรรพบุรุษ และใช้ใส่ดอกไม้ธูปเทียนตั้งไว้ในหอผีหรือศาลทั่วไป

  • ขันผูกมือ

รูปร่างทรงกรมปากผายเหมือนกันกับ ขันครู แต่ มีทั้งกลึงด้วยไม้สักและสานด้วยไม้ไผ่ เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียน อาจจะวางเหมือนกับขันดอกทั่วไป หรือผู้ที่มีความพิถีพิถันหน่อย ก็จัดดอกไม้ให้เป็นพุ่ม มีฝ้ายผูกข้อมือตัดเป็นท่อน ๆ ขดเป็นวงติดไว้รอบ ๆ พุ่มดอก ใช้ผูกมือแก่เจ้าบ่าวเจ้าสาวที่แต่งงาน หรือใช้ผูกมือให้แก่ลูกแก้วหรือนาคที่จะบรรพชาเป็นสามเณร

  • ขันสมมา

ขันสมมา หรือ ขันสูมา เป็นพานเครื่องคำนับเพื่อขอขมา ในการนี้ใช้ ขันไม้ หรือ ขันสาน มี เอวก็ได้ไม่มีเอวก็ได้ ทารักลงชาดให้มีสีแดง ใส่ดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาลาโทษ แก่บุคคลที่ตนได้ล่วงเกิน ถ้วยกายด้วยวาจาเมื่อยอมรับว่าผิดก็ยอมไปขอสมมา โดยประเคนขันให้แก่ผู้เสียหาย

  • ขันสรี, ขันบายศรี (อ่าน “ ขันสะหลี, ขันบายสี ” )

ขันสรี นี้ เป็นขันไม้คือกลึงด้วยไม้สักรูปทรงกลม ปากผาย มีเอวคอด ตีนผายออก ชันชนิดที่เป็นเงินรูปทรงเดียวกัน ก็ใช้วางขาบายศรีที่พับด้วยใบตอง 4 – 6 ขาในขัน ถ้าเป็นขันไม้ก็ให้วางทับด้วยโอที่มีรูปร่างคล้าย สลุง ถ้า เป็นขันเงินใช้สลุงเงินวางทับข้างบน เอาฝ้ายผูกยอดแหลมของขาทั้งหมดรวบไขว้ไปมา มีช่องหนึ่งทิ้งไว้ไม่ขึงฝ้าย บางแห่งเอาเปลือกไข่ที่ยังไม่แตกออกจากกันเสียบปลายของขาบายศรีทุกอันอีก ด้วย ข้างในโอหรือสลุงใส่ข้าวปลาอาหาร โดยเฉพาะไข่ต้มต้องใสด้วยถือว่าเป็นไข่ขวัญ

ขันสรีหรือขันบายศรีนี้เป็นขันสู่เข้าเอาขวัญหรือเรียกขวัญผูกข้อมือ ซึ่งในพิธีการดังกล่าวจะมีอาจารย์เป็นผู้กล่าวคำปัดเคราะห์เรียกขวัญและผูก ข้อมือ

  • ขันศีล ดูที่ ขันขอ ศีล
  • ขันสี้

ขันสี้เป็นพานรูปทรงกลม ปากผาย ใบขันกลึงด้วยไม้สัก ปากกว้างประมาณ 20 เซนติเมตรขึ้นไป จากขอบปากถึงก้นลึกประมาณ 8 เซนติเมตร ตีนเป็นไม้สักกลึงเป็นวงกลม มีไม้เสียบยึดระหว่างใบขันกับตีนขัน เป็นซี่ ๆ จึงเรียกว่า ขันสี้

วิธีทำ ตัดเลื่อยท่อนไม้ให้เป็นแว่น ๆ กว้างตามต้องการ หนาประมาณ 10 เซนติเมตร นำมากลึงให้กลมและกลึงเจาะด้านในให้ลึกลงประมาณ 8 เซนติเมตร ด้านหลังของใบขันเจาะรูขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร เรียงติดกันรอบเป็นวงกลม ส่วนวงขอบของตีนนั้นก็ตัดไม้ท่อนทำให้เป็นแว่นกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ย่อมกว่าใบของขันเล็กน้อย หนาประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วกลึงให้กลมเจาะส่วนในออกให้เหลือเป็นขอบวงกลมของตีนกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร เจาะรูโดยรอบให้ได้ส่วนกับใบขัน ใช้ไม้จิงหรือไม้ไผ่เหลาให้เป็นซี่ ๆ แต่งให้เป็นปล้อง หรือจะใช้วิธีกลึงก็ได้ แล้วจึงเสียบซี่ลงในรูเพื่อยึดใบขันกับขอบตีนของขันให้แน่น แล้วจึงทารักลงหางให้เป็นมันสวยงาม

ขั้นสี้ ใช้ใส่ดอกไม้ หรือใส่เครื่องคำนับครูเป็นขันตั้งก็ได้ โดยมากจะเห็นมีใช้กันอยู่ในวัด เป็น ขันศีล ก็ได้ เป็น ขันนำทาน ก็ได้ ถ้าในวัดไม่มี ขันแก้วทัง 3 ก็อาจใช้ขันสี้ขนาดใหญ่แทนขันแก้วทัง 3 ก็ได้

  • ขันสูมาดูที่ขันสมมา

ขันหงาย

ขันหงาย เป็นลวดลายการประดับในสถาปัตยกรรมและงานศิลปะมีปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่น ที่องค์เจดีย์ เลย ถ้วยขว้ำ หรือระฆังครอบขึ้นไป เป็นรูปทรงขัน 4 เหลี่ยม มีปากขันเอวขันคอดเข้าไป และมีตีนขันให้เห็นได้ชัดเจน ขันหงาย นี้ อาจพบที่บนธรรมาสน์ทรงปราสาท คือบริเวณใกล้ถึงยอดก็มีขันรูปทรงขัน 4 เหลี่ยมอย่างเดียวกันกับที่องค์เจดีย์ คำว่าขันหงายคงหมายถึงใบขันข้างบน

ขันหมาก

ขันหมาก มีหลายชนิด คือ ขันหมากไม้ ขันหมากเงิน และ ขันหมากสาน ที่เรียกกันว่า อูบหมาก

ขันหมากไม้ มีด้วยกัน 2 รูปทรง คือ ขันหมากแอว ทรงกลม รูปร่างคล้ายกับ ขันแอว ที่ ใส่ดอกไม้ ปากใบขันกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร มีเอวคอด ตีนผายออกแต่มีความกว้างของตีนน้อยกว่าใบขัน ขันอีกทรงหนึ่งมีส่วนใบขันเหมือนกันกับขันหมากแอว เพียงแต่ไม่มีแอวเท่านั้น มีตีนเป็นขอบเล็ก ๆ ติดกับตัวขัน

วิธี ทำ ใช้ไม้ท่อนยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร กลึงใบขั้นโดยกลึงเจาะจากปากขันลง 5 เซนติเมตร กลึงเอวให้คอดกลมอาจจะทำเป็นเล็บ เป็นกระดูกงูตามแต่เห็นควร ตีนด้านนอกกลึงให้ผายออก ด้านในกลึงเจาะเข้าให้กลวงเหลือขอบไว้หนาประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนขันอีกรูปทรงหนึ่งมีวิธีทำอย่างเดียวกันกับขันแอว เพียงแต่ใช้ไม้ท่อนสั้นกว่า คือ 6 เซนติเมตรเท่านั้น เมื่อกลึงใบขันแล้วก็กลึงขอบตีนให้กลมรอบตัวขัน ภาชนะที่จะวางบนขันหมากทั้ง 2 รูปทรงนี้ก็กลึงจากไม้จิงเป็นรูปออมหรือกระปุกกลม ข้างในกลึงเจาะให้กลวงสำหรับใส่เครื่องหมากได้ และกลึงฝาสำหรับปิดครอบให้พอดีกัน

ขันหมากเงิน มีรูปร่างและขนาดอย่างเดียวกับขันไม้ทรงเตี้ย เพียงแต่ประดิษฐ์ด้วยเงิน และมีค่ามาก จึงมีใช้เฉพาะคนที่มีฐานะดีเท่านั้น

ขันหมากสาน รูป ทรงกลม ตัวขันกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ถ้ารวมทั้งฝาปิดที่เป็นกรวยสูงประมาณ 30 เซนติเมตร วิธีทำ สานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นสายสอง เมื่อสานขึ้นสูง 13 เซนติเมตร ใช้ดอกขนาดเล็กที่เรียกว่าตอบไพ สานม้วนให้เป็นขอบ แล้วจึงสานด้วยตอกธรรมดาขึ้นไปจนถึงปาก ที่ทำให้มีขอบก็เพื่อให้เป็นที่กั้นปากฝาไม่ให้หลุดไป จากนั้นก็สานขั้นรูปกลมอย่างตัวขันแต่ให้มีความกว้างน้อยกว่าตัวขันเพื่อวาง ลงในตัวขันได้ ความสูงของชั้นประมาณ 5 เซนติเมตร มีขอบปากด้วยเมื่อเวลาจะใส่ลงไปจะได้ไม่หลุดลงไปในตัวขัน ฝาของขันหมากสานเป็นรูปผลส้มผ่าครึ่ง ต่อจากนั้นสานให้เป็นขยักเล็กขึ้นไปจนถึงยอด เมื่อสานแล้วทารักลงชาดให้สวยงาม

การใช้งาน ขันหมากเป็นภาชนะใส่เครื่องหมากสำหรับเคี้ยว ในขันหมากจะวางกระปุกหรือภาชนะ เล็ก ๆ มีรูปดั่งกระออมอย่างน้อย 4 ใบ ใส่หมาก สีเสียด เปลือกของไม้ก่อที่ทุบให้เป็นฝอยยาฉุน นอกจากนั้นมีภาชนะรูปกรวยสำหรับใส่พลูเรียกว่า ซองพลู มีขวดหรือกระปุกใส่ปูนอีกด้วย คนในสมัยก่อนนิยมการเคี้ยวหมากจึงต้องมี ขันหมาก ทุก บ้าน ขันหมากยังเป็นเครื่องต้นรับแขก เป็นเครื่องแสดงออกถึงไมตรีจิตที่มีแก่แขกที่มาเยี่ยมเยือน เมื่อมีใครมาถึงบ้านเจ้าของบ้านจะยกขันหมากมาต้อนรับ และขันหมากยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประกอบพิธีอีกด้วย

ขันหมากที่เคี้ยวกันทุกวัน และขันหมากที่ต้อนรับแขกเป็นชุดเดียวกัน โดยมากเป็นขันหมากเรียกว่า ขันหมากรวม ส่วน ขันหมากสาน ที่ทารักลงชาดจะใช้ในเมื่อมีงานที่บ้าน เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชเณร งานแต่งงาน เป็นต้น และ ขันหมากสาร ใช้เป็นขันหมากประจำตัวของหญิงสาว หญิงเมื่อมีอายุราว 15 ปีขึ้นไปก็จะแสวงหา ขันหมากสาน ไว้ เป็นขันหมากส่วนตัว นอกจากใส่เครื่องหมากแล้ว ได้ชั้นของขันหมากยังเป็นที่เก็บของส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เครื่องประดับ หรือผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก เป็นต้น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นสาวแล้วหญิงจะระวังในการเคี้ยวหมาก ถ้าไม่จำเป็นจะไม่เคี้ยวหมากกับขันหมากรวม เพราะกลัวว่าจะถูกใส่ของด้วยคาถาอาคมจากชาย เมื่ออยู่นอกคือการอยู่คอยเลือกคู่อู้บ่าว เมื่อมีชายมาแอ่วก็จะเคี้ยวขันหมากรวม สาวจะไม่ยอมให้เคี้ยวจากขันหมากส่วนตัว นอกจากชายที่เป็นคู่หมายเยกว่า ตัวพ่อ เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เคี้ยวหมากจากขันหมากส่วนตัวของนางได้

ขันหมากยังเป็นสิ่งที่ใช้ประกอบพิธีในงาน กินแขกแต่งงาน อีกด้วย กล่าวคือเมื่อชายหญิงที่เป็นคู่หมายกัน ตกลงที่จะอยู่ร่วมกัน มีการ เสียผีไหว้ผี แล้ว ก็จะกำหนดวันกินแขกแต่งงาน เมื่อถึงกำหนดฝ่ายชายก็จะ แต่งดา ขันหมากเพื่อเข้าพิธีกินแขก ขันหมากที่ใช้ในพิธีนี้ส่วนมากจะเป็นขันหมากสาน และทารักลงชาดเป็น ขันหมากแต่ง การ จัดขันหมากนั้นก็จะคัดเอาหมากดิบที่ลูกสวย ๆ จำนวนมาก – น้อย ตามสมควร ใบพลูก็คัดเอาใบที่สวยงาม ขนาดก็พอดีพองาม มีบางแห่งที่จัดหมากพลูใส่ขันหมากเป็นจำนวน มีหมากดิบ 8 ลูก และต้องติดกันเป็นแง่เดียว ไม่แยกออกจากกันหรือถ้าแยกก็ให้แยกออกเป็นคู ใบพลู 4 แหลบหรือปีก ๆ ละ 8 ใบ เมื่อเตรียมแล้วใช้ผ้าแดงห่อขันหมากโดยทำเป็นถุงมีที่หิ้วข้างบน มีผู้ใหญ่ถือหรือสะพายนำสมบัติข้าวของอย่างอื่นไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาว และในพิธีขึ้นบ้านใหม่ก็จะนำขันหมากแบบนี้นำหน้าขบวนขึ้นสู่บ้านหลังใหม่ ด้วย

  • ขันไหม

ขันไหม เป็น ขันที่ใส่ดอกไม้ธูปเทียนและเงินเสียค่าปรับ ใช้ขันรูปทรงกลมไม่มีเอวมีขอบตีนปากบานผายกว้าง ส่วนมากจะใช้ชนิดที่สานด้วยไม้ไผ่ ทารักลงหาง เมื่อเกิดกรณีพิพาทกัน เช่น เกิดมีการหมิ่นประมาทกัน เป็นต้น ผู้เสียหายเบื้องต้นจะไปแจ้งความที่แก่บ้าน แก่บ้านจะเรียกทั้งคู่มาไกล่เกลี่ยออมชอมกัน เมื่อผู้เสียหายยินยอมจะปรับไหมผู้ที่ถูกล่าวหาเป็นเงินเท่านั้น เท่านี้ พร้อมกับให้สูมาหรือขอขมาเขาด้วย ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ก็อาจะไปถึงเจ้าที่ที่มีหน้าที่ตัดสินความ เช่น จ่าบ้าน จ่าเมือง สิงเมือง เป็นต้น เมื่อสอบสวนดูผู้ที่ถูกล่าวหามีความผิดจริงก็ตัดสินให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาเสียงค่าปรับแก่ผู้เสียหายพร้อมกันให้นำ ขันเข้าตอกดอกไม้ ไปขมาผู้เสียหาย ดังนั้นผู้ที่มีความผิดจะแตงดา ขันเข้าตอกดอกไม้ และเงินค่าปรับไปขอขมาและเสียค่าปรับ เรียกขันนี้ว่า ขันไหม

  • ขันโตกดินเนอร์

ขันโตกดินเนอร์ เป็น รูปแบบงานเลี้ยงรับรองแขกเหรื่อในสังคม โดยประยุกต์ขึ้นจากวิถีการกินอาหารแบบล้านนา ซึ่งตอบสนองต่อวัฒนธรรมการเลี้ยงต้อนรับแบบวัฒนธรรมสากล โดยใช้ขันโตกในการวางสำรับอาหารแทนโต๊ะ นั่งล้อมวงกับพื้นรับขันโตก รับประทานข้าวเหนียวและอาหารพื้นบ้านล้านนา ในระหว่างรับประทานอาหารอาจมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาไปด้วย ช่วงเวลาสำหรับงานเลี้ยงแบบนี้มักจะจัดในตอนเย็นโดยเฉพาะในช่วงฟ้าปลอดฝน อย่างต้นฤดูหนาวเป็นอาทิ

การเลี้ยงรับรองแบบ ขันโตกดินเนอร์ นี้ ผู้ริเริ่มคิดขึ้นคือ ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2496 เพื่อจัดเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ หัวหน้าผู้พิพากษาภาค 5 ในสมัยนั้น โดยจัดที่บ้านพักของอาจารย์ไกรศรี ที่ถนนฟ้าฮ่าม จังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาขันโตกดินเนอร์จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยการจัดขึ้นตามร้านอาหารและโรงแรม หรืองานจัดเลี้ยงต่าง ๆ

การแต่งกายในงานขันโตกดินเนอร์ มี กำหนดไว้ในครั้งนั้นว่า ให้ผู้ชายใส่เสื้อหม้อฮ่อมหรือที่ทำด้วยผ้าพื้นเมืองสวมมาลัยดอกมะลิ กางเกงจะใส่กางเกงแบบสากลนิยมทั่วไปก็ได้ หรือจะใส่กางเกงแบบล้านนาที่เรียกว่า เตี่ยวสะดอ ก็ได้ และมีผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนผู้หญิงจะใส่ผ้าถุงเสื้อแขนกระบอกหรือเสื้อที่ตัดด้วยผ้าพื้นเมือง อาจมีการเกล้าผมแต่งด้วยดอกเอื้อง ทั้งนี้การแต่งกายดังกล่าวก็กลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นแบบฉบับทั่วไป ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีแนวที่ระบุความชัดเจนด้านนี้มาก่อน

รูปแบบการจัดเลี้ยงแบบขันโตกดินเนอร์ สถาน ที่จะจัดในห้องโถง สนามหญ้า โดยการปูเสื่อ จัดวางขันโตกเป็นระยะ ผู้ร่วมรับประทานอาหารจำนวน 8 – 10 คนต่อหนึ่งขันโตก โดยนั่งกับพื้นล้อมเป็นวงรอบขันโตก ในชุดขันโตกจะประกอบด้วย ขันโตกวางอาหาร กล่องเข้า หรือกระติบบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง น้ำต้น หรือ คนโท ขันน้ำล้างมือ ผ้าเช็ดมือ พานเมี่ยงและบุหรี่ซีโย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เช่น บุหรี่ซีโย ก็เปลี่ยนมาเป็นบุหรี่ทั่วไปที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด น้ำต้น ก็อาจเปลี่ยนมาเป็นขวดน้ำ

อาหารขันโตกดินเนอร์ เป็นอาหารที่นิยมนำมาจัดในงานขันโตกดินเนอร์ มักได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แคบหมู ไส้อั่ว แกงฮังเล ลาบชิ้น แกงอ่อม ยำชิ้นไก่ และอาจมีอาหารกินเล่น เช่น เข้าแตน (อ่าน “ ข้าวแต๋น ” ) คือขนมนางเล็ด เข้าแคบ คือข้าวเกรียบ ถั่วดินทอด หรือถั่วสงทอด เป็นต้น
บรรยากาศโดยรอบบริเวณงาน ในเขตบริเวณงานจะทำรั้วราชวัติล้อมรอบ จะมีการตกแต่งด้วยประทีปโคมไฟ ที่ประตูเข้างานอาจทำเป็น ซุ้มประตูป่า คือตกแต่งด้วยต้นอ้อย ต้นกล้วย ทางมะพร้าว มีการแสดงต่าง ๆ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนดาบ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเชิง และมีดนตรีวง สะล้อ-ซึง บรรเลงตลอดงาน