เครื่องมือของใช้ล้านนา - ครัวรักครัวหาง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
22/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ครัวรักครัวหาง

ครัวรักครัวหาง โดยความหมายแบบดั้งเดิมแล้วหมายถึงของใช้ที่เป็นเครื่องสานซึ่งทาด้วยน้ำรัก คือยางรักหรือวัสดุฉาบผิวที่มีส่วนผสมของยางรัก ส่วนหางซึ่งหมายถึงสีชาดนั้น เป็นสีที่นิยมใช้แต่งแต้มบนเครื่องใช้ประเภทนี้พบว่ามีการใช้เครื่องเขินใน ฐานะของใช้ประจำบ้านและของใช้ในพิธีกรรมในหมู่ผู้มีฐานะพอสมควรที่ต้องการ ความหรูหรามากกว่าเครื่องเงิน หรือเป็นของใช้ที่ไม่นิยมทำด้วยโลหะ

ในปัจจุบันมักเรียกตามในภาษาไทยกลางปัจจุบันว่า ‘' เครื่องเขิน ‘' ซึ่งเข้าใจกันว่าหมายถึงเครื่องใช้ที่ชนเผ่า ‘' ไทเขิน ‘' แห่งแคว้นเชียงตุงในเขตสหภาพพม่าเป็นผู้ผลิตหรือมีความชำนาญ

ครัวรักครัวหางนี้มีกำหนดในประเทศจีนกว่า ๓ , ๐๐๐ ) ปีมาแล้ว และได้แพร่หลายไปในที่ต่าง ๆ เช่น พม่า ไทย เกาหลีและญี่ปุ่น จากที่นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ไปดูงานที่พม่าเมื่อประมาณ พ . ศ . ๒๕๐๖ ทราบชาวพม่าเรียกเครื่องใช้ดังกล่าวนี้ว่า ‘' โยเถ่ ‘' หรือเครื่องใช้ของชนเผ่ายวน ส่วนในประเทศญี่ปุ่นก็มีเครื่องใช้แบบนี้และมีชื่อเรียกว่า ‘' กิงม่า ‘' หรือ ‘' กิมมาเด '' การที่เรียกครัวรักครัวหางหรือเครื่องใช้ที่ทาด้วยรักและชาดว่า ‘' เครื่องเขิน ‘' โดยเข้าใจว่าเป็นเครื่องใช้ของชาวไทเขินแห่งแคว้นเชียงตุงนั้น จึงน่าจะไม่ถูกทั้งหมด แต่เนื่องจากเครื่องใช้ดังกล่าวเป็นที่รู้จักในนามว่า ‘' เครื่องเขิน ‘' จึงใคร่จะกล่าวถึงไทยเขินหรือไทขึน ซึ่ง ( มักเรียกตามแบบภาคกลางว่า '' ไทยเขิน '') การที่เรียกกันว่า ‘' ชาวขึน ‘' ก็เนื่องมาจากตั้งชื่อตามลำน้ำขึนคือแม่น้ำที่ไหลย้อนไปขึ้นทางเหนือก่อนที่ จะไหลลงทางใต้ แทนที่จะไหลลงไปทางใต้ทันทีอย่างแม่น้ำสายอื่นตามตำนานของแคว้นเชียง ตุงกล่าวว่า ‘' เชียงตุง ‘' เป็นชื่อที่ได้จากชื่อหนองใหญ่ที่อยู่ใจกลางเมืองคือ ‘' หนองตุง ‘' ซึ่งฤาษีตนหนึ่งชื่อว่าตุงคฤาษีได้ใช้ไม้เท้าของตนขีดบนพื้นดิน ด้วยอิทธิฤทธิ์ของฤาษี รอยไม้เท้านั้นได้กลายเป็นลำแม่น้ำระบายน้ำจากหนองตุงให้ไหลย้อนไปทางเหนือ ก่อนแล้วจึงไหลลงทางใต้แม่น้ำที่ไหลย้อนจากปกตินี้จึงชื่อ ‘' น้ำขึน ‘' กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำนี้จึงได้ชื่อ ‘' ชาวขึน - ชาวขืน ‘' และชื่อนี้ได้เพี้ยนมาเลยกลายเป็นชาวเขิน และเรียกเครื่องหัตถกรรมที่พวกเขินทำขึ้นจึงเรียกว่า ‘' เครื่องเขิน ''

ดินแดนล้านนาซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างแคว้น เชียงตุงกับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่อดีตกาลนับแต่สมัยพระญามังรายเป็นต้นมา โดยเฉพาะเห็นได้ชัดเจนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดให้พระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพไปตีเอาเมืองเชียงตุงและเมือง อื่น ๆ แล้วได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามาอยู่ในอาณาจักรล้านนา ตามนโยบาย '' เก็บผักใส่ช้า เก็บข้าใส่เมือง ‘' ของสมัยนั้น เพราะมีเมืองแต่ไม่มีคนอยู่ จึงต้องยกทัพไปรบเมืองอื่นแล้วนำประชาชนของเมืองที่แพ้เข้ามาเป็นประชากรใน ล้านนา ดังนั้นบรรดาชาวเขินจากแคว้นเชียงตุงซึ่งเข้าใจว่ามีเป็นจำนวนมากพอสมควรที่ ถูกกวาดต้อนเข้ามา จึงกลายมาเป็นบรรพบุรุษของชาวไทเขินในดินแดนภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะในเชียงใหม่เองมีหมู่บ้านชาวเขินหลายแหล่ง เช่น บ้านทรายมูล บ้านมอญ บ้านน้อย บ้านสันกลางในเขตอำเภอสันกำแพง บ้านสันต้นแหน บ้านไร่ในเขตอำเภอสันป่าตอง บ้านป่าสัก บ้านช่อแล เขตอำเภอแม่แตงบ้านลวงเหนือ บ้านลวงใต้เขตอำเภอดอยสะเก็ดและในอำเภอเมืองเชียงใหม่ คือบ้านนันทาราม หรือ ‘' บ้านเขิน ‘' ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


อุตสาหกรรม เครื่องเขินได้เจริญรุ่งเรืองในเชียงใหม่มานานใช้ทำภาชนะต่าง ๆ เช่น ถ้วย ชาม สิ่งของเครื่องใช้ประจำวันและเครื่องใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ จนกระทั่งเมื่อเครื่องเคลือบดินและเผาเครื่องอะลูมิเนียมและเครื่องพลาสติก เจริญขึ้น ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจึงค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง และไม่มีอยู่ในฐานะเป็นเครื่องใช้ประจำครอบครัวดังแต่ก่อน ผู้ชื้อเครื่องเขินในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ได้ชื้อไปใช้ส้อยแต่ชื้อเพราะเห็น ว่าเป็นของสวยงามและชื้อไปเป็นของที่ระลึก ของขวัญ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ การทำเครื่องเขินที่เชียงใหม่จึงลดน้อยลงตามลำดับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงเกิดความห่วงใยในศิลปะวัฒนธรรมและได้เริ่มทำการส่ง เสริมอุตสาหกรรมเครื่องเขิน ด้วยการส่งครูและผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นและชาวไทยมาฝึกอบรมรวามทั้งการตั้งโรง งานเครื่องเขินเชียงใหม่ขึ้นในปี พ . ศ ๒๔๙๖ เพื่อเปิดอบรมให้แก่ผู้สนใจในงานด้านนี้อย่างมีมาตรฐานถูกต้อง ตั้งแต่กรรมวิธีการผลิต การปรับปรุงลวดลาย และรูปทรงของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินให้มีคุณภาพดีขึ้น ตลอดจนได้นำวิธีลงรักปิดทองแบบภาคกลางมาใช้ร่วมกับครัวรักครัวหางอีกด้วย

ครัวรักครัวหางหรือของใช้ประเภทเครื่องเขินนี้ พบว่าทำเป็นเครื่องใช้ดังนี้

๑ . ก๊อก หมายถึงขันที่เป็นภาชนะใช้ในการดื่มน้ำ

๒ . พุง ( อ่าน ‘' บุ่ง '') หมายถึงภาชนะสานที่ใช้สำหรับเก็บเมล็ดพันธ์พืชทำคล้ายกล่องบรรจุข้าวเหนียว มีก้นสี่เหลี่ยมคอคอด ทรงกระบอก มีฝาปิดคล้าย ๆ ขวดโหลแก้ว ขนาดกว้างและสูงประมาณ ๑๒ X ๑๘ นิ้ว ฐานของพุงทำด้วยไม้จริงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูงประมาณ ๒ นิ้ว มักมีหวายคาดยึดจากฐานกับส่วนคอ ตัวของพุงมักอ้วนป่อง ทาด้วยรักหนาเพื่อความแข็งแรงและเพื่อกันความชื้นได้ดี หางหรือสีชาดที่แต่งนั้นไม่มีการกำหนดลวดลายบังคับเป็นการเฉพาะ

๓ . ขันหมาก คือภาชนะสานที่ใช้บรรจุหมากพลูและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ขันหมากเป็นโครงไม้ไผ่สานและขดไม้ไผ่ขดเป็นทรงกระบอกกลม เป็นกล่องขนาดใหญ่สำหรับบรรจุใบพูลไว้ด้านล่าง มีถาดเป็นฝาปิดข้างบนเพื่อรองรับเต้าปูน ตลับหมาก ตลับยาเส้น ตลับสีเสียดและเครื่องเคี้ยวต่าง ๆรวมทั้งมีดผ่าหมาก ส่วนใหญ่ขันหมากจะตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายสีชาดและรักพิมพ์ บางครั้งอาจเติมด้วยทองคำเปลว

๔ . ขันดอก
หมายถึงพานดอกไม้ที่ใช้บูชาพระและพิธีกรรมต่าง ๆมีลักษณะอย่างจานที่ยกฐานสูง ขันดอกแบบโบราณจะทำจากไม้สักกลึงขึ้นรูปสองหรือสามตอนสวมต่อกันเป็นรูปพาน ทาด้วยยางรักและตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายสีดำสีแดง ขันดอกที่ใช้ไม้เกลาขึ้นรูปจำนวนมาก เชื่อมระหว่างฐานและจานที่เรียกว่าขันสี้หรือขันตีนถี่นั้นก็นิยมทาด้วยสี ชาด ภายหลังนิยมใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงขึ้นรูป ส่วนที่สานเป็นลายขัดก็คือส่วนก้นของตัวถาดและทาด้วยสีแดงชาด

๕ . ขันโตก
คือตะลุ่มที่ใช้เป็นสำรับอาหารนั้น จะกลึงฐานและจานแยกเป็นสองส่วนแล้วกลึงไม้ทำเป็นเสาต่อฐานกับจานอีกทีหนึ่ง มักทำให้มีขนาดต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานขันโตกนี้นิยมทาด้วยหางหรือสีชาด

๖ . ไตร ( อ่าน ‘' ถะไหล '') คือถาดสำหรับวางของที่ทำเป็นขนาดต่าง ๆ

๗ . หีดผ้า หมายถึงหีบที่ใช้บรรจุผ้าโดยเฉพาะผ้าที่มีค่าหรือผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม นิยมทำเป็นหีบทรงแปดเหลี่ยมยาวเป็นภาชนะไม้ไผ่สานคาดด้วยตอกทาด้วยรักและชาด อาจมีลายเขียนด้วยชาดเป็นพรรณพฤกษาหรืออาจแต่งด้วยทองคำแปลวตามแต่จะเห็นงาม ส่วนฝาจะทำเป็นทรงนูนและส่วนฐานจะบานผายออก หีดผ้านี้พบว่ามีมีการใช้บรรจุเสื้อผ้าของเจ้าบ่าวซึ่งจะเก็บไว้ในห้อง นอนอย่างมิดชิด พบว่า หากเจ้าบ่าวไม่อาจจัดหาหีดผ้าที่เป็นเครื่องเขินได้ ก็จะใช้หีดผ้าที่ต่อด้วยไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบธรรมดาแทน

๘ . แอ็บ หรือตลับที่ใช้บรรจุสิ่งของต่าง ๆ อย่างเช่นอุปกรณ์ในพานหมาก นิยมกลึงไม้สักให้ขึ้นรูปลักษณะเป็นถ้วยมีฝาปิด แต่งด้วยสีรักและสีชาด

๙ . โอ คือขันที่มีรูปทรงแบบขันน้ำขนาดใหญ่ พบว่าที่มีขนาดใหญ่มากนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางในช่วงปากถึงประมาณ ๑ เมตรก็มี

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องใช้ที่ทำขึ้นในแบบครัวรักครัวหางอีกหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปซึ่งพม่าเรียกว่า ‘' พระชาโล '' กระบุงขนาดเล็กทาด้วยรักด้านนอกและทาชาดด้านใน เครื่องสูงที่ใช้ในการอบรมสมโภชพระพุทธรูป เขนงบรรจุดินเป็น อูบหรือขะอูบ หรือภาชนะคล้ายบาตรมีเชิงและมียอดใช้บรรจุอาหารถวายพระและตลับขนาดต่าง ๆ ในตอนหลังเมื่อใช้เทคนิควิทยาจากภาคกลางและจากญี่ปุ่นมาประกอบแล้ว เครื่องเขินก็ได้พัฒนารูปแบบได้มากขึ้น เช่น ขันน้ำ พานรอง คนโท กระโถน ตะกร้าหมาก กระเป๋าหมาก ถ้วย ฝา ปิ่นโต กล่องบุหรี่ กล่องสบู่ ที่ใส่ซองจดหมาย ฯลฯ เพื่อเป็นของที่ระลึกและส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

ครัวรักครัวหาง มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ก็คือ

๑ . โครง ๒ . รักและวัสดุที่ใช้ทาซึ่งมีรักเป็นส่วนผสม

๓ . ชาด ๔ . รูปแบบและลวดลาย

๑ . โครง

สิ่งที่ใช้เป็นหลักของเครื่องใช้ประเภทนี้คือโครง ก่อนที่จะฉาบทาด้วยรักหรือชาด พบว่าโครงของเครื่องเขิน สามารถแยกได้ตามวัสดุดิบ คือ โครงไม้ โครงโลหะ โครงเครื่องปั้นดินเผา โครงที่อัดขึ้นรูปจากกระดาษหรือไม้และโครงพลาสติก

โครงที่เป็นหลักของครัวรักครัวหางก็คือโครงที่ได้จากไม้ไผ่ โดยเฉพาะจากไม้เรื้ย / ไม้เฮี้ย ซึ่งตรงกับไม้ซางในภาคกลางอันเป็นไม้ที่มีปล้องยาวและเนื้อเหนียว ทั้งนี้เพราะนอกจากจะหาได้ง่ายแล้ว ไม้ไผ่ยังมีลักษณะเบาบาง ทำรูปแบบได้ง่ายและมีความยึดหยุ่นในตัว โครงที่จักสานแล้วจะผ่านการต้มในน้ำร้อน ๖๐ – ๗๐ องศาเซลเซียส เพื่อทำให้ผิวของไม้สะอาดมากขึ้น

ส่วนโครงไม้เนื้อแข็งนั้น ไม้ที่ดีเหมาะสำหรับจะนำมาใช้ทำโครงเครื่องเขินนั้นต้องเป็นไม้ที่หดตัวและ ขยายตัวได้ยากและน้ำหนักไม่มาก และอาจเลือกใช้ไม้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยเช่น

สำหรับวัตถุที่ต้องการความคงทน โชว์ฝีมือ และมีราคา เช่น พวกถาด แจกัน ควรใช้ไม้จำพวกที่มีคุณภาพดี และราคาสูง ไดแก่ ไม้สัก ไม้ตะเคียนทอง ไม้ยาง

วัสดุที่ต้องการอวดลวดลาย ควรใช้ไม้จำพวกกลายงาม ๆ ได้แก่ ไม้ไทร ไม้มะม่วงป่า

วัสดุที่ทำเป็นเครื่องประดับบ้าน ขนาดเล็กและราคาถูกควรใช้ไม้ที่มีคุณภาพดี และราคาถูก เช่น ไม้ทองกวาว

ไม้ จำพวกที่จะกลึงให้เป็นรูปเหลี่ยมหรือทรงกลมก็จะต้องทอนให้เป็นท่อน ๆ ตามขนาดของไม้ที่จะนำไปกลึงจากนั้นจึงนำไปกลึงให้เป็นโครงคร่าว ๆ เสียก่อนแล้วจึงอบและตกแต่งต่อไป โครงโลหะจะต้องนำมาขัดสนิมบนโลหะออกเสียก่อนนำไปย่างไฟแล้วจึงนำมาทารัก อย่างน้อย ๒ ครั้ง ส่วนโครงเครื่องปั้นดินเผานั้น ให้นำโครงดินเผามาทารัก จากนั้นนำไปอบในอุณหภูมิของเตาอบสูงตั้งแต่ ๑๐๐ – ๑๖๐ – ๑๘๐ องศาเซลเซียส ทำเช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง เรียกว่า ทารองพื้น ต่อจากนั้นจึงใช้วิธีการทาแบบเครื่องเขินที่ทำด้วยโครงไม้
โครง ผ้าหรือกระดาษ นำโครงผ้าหรือกระดาษมาอัดปะด้วยแป้งเปียกให้เข้ารูปแล้วจึงนำมาทารักด้วยแบบ วิธีทำเช่นเดียวกับเครื่องเขินที่ทำด้วยโครงไม้

๒ . รัก

ยาง รัก หรือน้ำรัก ซึ่งในคัมภีร์ล้านนาบางฉบับเรียกว่านางเกียง ( อ่าน ‘' นางเกี๋ยง '') คือน้ำยางที่ได้จากต้นรักใหญ่หรือรักหลวง (Melanorrher usitata ตระกูล Anacadiaceae) และรักหมูหรือรักน้ำ (Buchanania Iatifolia) ซึ่งคุณภาพของยางด้อยกว่ายางรักแระเภทแรก น้ำยางที่กรีดจากต้นนั้นจะออกสีเหลือง เมื่อทิ้งไว้จะเป็นสีดำ หากแบ่งยางรักตามการใช้งานแล้วพบว่าแยกเป็นรักรองพื้นคือยางรักที่ผ่านการ กรองแล้วใช้แปรงทาบนพื้นวัสดุที่ขัดแต่งแล้ว รักสมุก คือยางรักที่ผสมกับถ่านใบตอง ถ่านหญ้าคาหรือผงดินที่บดละเอียด คลุกเคล้าให้เหนียวพอปั้นได้ รักน้ำเหลี้ยงคือรักแห้งเร็วเพราะมีส่วนผสมของน้ำมันสนอยู่บ้าง ใช้ทาบนรักสมุกที่จัดแต่งให้เข้าที่แล้ว เพื่อเคลือบให้มีเงางาม ( ดูประกอบที่รัก )

๓ . หาง

หาง หรือชาด เป็นสารให้สีแดง ได้จากดินสีแดงเนื้อแกร่งซึ่งมาจากอินเดีย จีน และพม่า แต่ในล้านนาใช้ดินดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ตามดอยในพม่า นำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมัน

มะเยาและน้ำมันยาง ซึ่งวัสดุที่ทาด้วยหางแล้วจะต้องผึ่งลมไว้ถึงสิบวันกว่าจะแห้ง

หางแม้จะมีสีแดง แต่ก็พบว่ามีความแดงเข้มต่างกัน เช่น สีน้ำหมาก สีส้ม สีส้มอมเหลือง และสีน้ำตาล แต่ที่นิยมใช้คือหางเสน คือสีแดงหม่น

หางเชื่อกันว่าเป็นสารที่มีอันตรายทำให้คนที่ขุดถึงกับเล็บหลุด ดังนั้นจึงมักใช้ตนที่เป็นโรคเรื้อนไปขุดหาดินดังกล่าวเมื่อได้มาแล้วจะต้อง ‘' ฆ่า ‘' สารปรอทที่มีอยู่ในดินนั้นโดยการห่อดินด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟเสียก่อนที่จะ บดให้ละเอียด

๔ . รูปแบบและลวดลาย

เครื่องเขินแบบดั้งเดิมของเชียงใหม่นั้น ส่วนใหญ่ทำจากโครงไม้ไผ่สานหรือไม้สักกลึงขึ้นรูปทาด้วยยางรักเพียงไม่กี่ ครั้งและตกแต่งอย่างง่าย ๆ เพื่อเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมและในชีวิตประจำวัน เมื่อชาวไทขึนหรือไทเขินจากเชียงตุงเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ในสมัยของพระเจ้า กาวิละเป็นต้นมาแล้ว จึงมีการทำเครื่องใช้ประเภทนี้ให้ซับซ้อนมากกว่าเดิม ทำให้สามารถจัดกลุ่มเครื่องเขินตามรูปทรงได้ ๓ แบบคือ แบบเมือง ( เชียงใหม่ ) แบบเชียงตุง และแบบพม่า นอกจากนี้ จากฝีมือที่ผลิตยังสามารถแยกกลุ่มตามแหล่งผลิตได้ เช่น เครื่องเขินแบบเมือง ( เชียงใหม่ ) และแบบงัวลาย เป็นต้น

เครื่องเขินแบบเชียงตุง นิยมทำเป็นทรงป้าน มีส่วนกว้างมากกว่าส่วนสูง

เครื่องเขินแบบพม่าส่วนใหญ่นิยมทำเป็นทรงสูงและแคบ

ครัวรักครัวหางแบบเมืองคือแบบท้องถิ่นล้านนาหรือเชียงใหม่ มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบเชียงตุงและแบบพม่า

ลวดลายที่นิยมทำเครื่องเขินนั้นใช้การเขียนขีดสลักบนภาชนะและลายทองรดน้ำ มีลวดลายหลายอย่าง เช่น ลายเชียงใหม่ ลายดอกบานใบ ( บานบุรี ) เช่น ลายดอกเมืองเข้าเทิก

  • ลายหัวนาค ลายธรรมดา และลายแบบใหม่หรือลายเพนท์
  • ลายเชียงใหม่หรือลายเมืองที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการใช้พู่กันทำจากเส้นผมคนจุ่ม ยางรักหรือยางรักผสมชาดแล้วหยดลงบนพื้นภาชนะเป็นจุด ต่อด้วยการลากหางยาวออกไปทำเป็นลายคล้ายลูกอ๊อด เมื่อทำต่อกันเป็นชุดจะได้รูปกลีบดอกไม้หรือลายเครือเถาต่าง ๆ อย่างไม่สิ้นสุด

  • ลายแบบงัวลาย ซึ่งเป็นชื่อละแวกชุมชนด้านใต้ของกำแพงเมืองเชียงใหม่ นิยมการขูดลาย ที่เรียกว่ารายดอก / ฮายดอก คือการทำลวดลายบนภาชนะที่ทายางรักให้เรียบและแห้งสนิทแล้ว ช่างจะใช้เหล็กเข็มกรีดหรือขูดทำเป็นลายตามรูปแบบและจินตนาการด้วยความชำนาญ เฉพาะตน จากนั้นก็นำยางรักผสมชาดสีแดงถมลงไปในร่องที่กรีดไว้และผึ่งไว้ให้แห้งแล้ง จึงขัดส่วนนอกสุดออกจนมองเห็นลวดลายสีแดงฝังอยู่ในพื้นของยางรักสีดำ จากนั้นจึงเคลือบด้วยรักใสหรือรักเงาเพื่อเคลือบลวดลายทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ลวดลายแบบนี้จัดเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ที่พม่าเรียก ‘' โยนเถ่ ‘' ส่วนมากจะปรากฏเชี่ยนหมาก กระโถน โอ ขันน้ำ พานรอง เหยือกน้ำ ถาด และของใช้อื่น ๆ เช่น ฝาบาตร และไม้ประกับใบลาน เป็นต้น

งานบางชิ้นมีการประดับด้วย แก้วอั่งวะหรือแก้วชืน ( อ่าน ‘' แก้วจืน '') คือกระจกเกรียบฉาบบนตะกั่ว โดยใช้ยางรักเป็นกาวและใช้รักปั้นปิดขอบกระจกให้แน่น นอกจากนั้นยังพัฒนาไปเป็นการเขียนลายรดน้ำแบบภาคกลาง ติดลายจากเปลือกหอยมุก ติดเปลือกไข่ ตลอดจนเขียนสีน้ำมัน สีอะครีลิค พ่นสี ทาน้ำมันวานิช จนกระทั่งทำให้เครื่องเขินดูคล้ายของโบราณด้วยวิธีการสมัยใหม่อีกด้วย
( เรียบเรียงจาก สรรพช่าง ; ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่ , ๒๕๓๙ , คัวฮักคัวหาง เอกสารข้อมูลประกอบนิทรรศการเครื่องเขิน ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย , ๒๕๓๙ , รายงานเรื่องเครื่องเขิน ของ น . ส . อุมาพร โชติเขียว และ น . ส . พิมลพร ไชยยะเรือน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ , ๒๕๓๙ และ เครื่องเขิน ของกองส่งเสริมอุตสาหรรม , ๒๕๒๑ )
 
ข้อมูลจาก: อุดม รุ่งเรืองศรี