วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
22/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ทุง (อ่าน “ ตุง ”)

 
 

 

ทุงหมาย ถึง เครื่องใช้ในการประดับ และเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมชนิดหนึ่ง มีลักษณะตรงกับภาษาบาลีว่า “ ปฎากะ ” หรือธงปฏาก ที่ทางภาคกลางเรียกว่า “ ธงตะขาบ ” คือเป็นธงที่ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม มีความยาวอย่างตัวตะขาบ เวลาแขวนประดับนั้น ให้แขวนที่หัวธงแล้ว ปล่อยชายยาวลงมาเบื้องล่าง ทุงมีบทบาท และความเป็นมาที่ยาวนานดังที่พบในศิลาจารึกวัดพระยืน ซึ่งพบที่วัดพระยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ทุงมีความตอนหนึ่งว่า “… วันนั้นตนท่านพระญาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาชน ลูกเจ้า ลูกขุน มนตรีทังหลายยายกัน ให้ถือ ช่อทง เข้าตอกดอกไม้ไต้เทียนตีพาดดังพิญค้องกลอง ปี่ สรไนพิสเนญชัยทะเทียด กาหล แตรสังข์มานกังสดาล ”

ซึ่งหมายความว่า ในปี พ . ศ . ๑๙๑๓ นั้น “ เจ้าท้าวสองแสนนา ” หรือพระญาเจ้ากือนาแห่งเมืองเชียงใหม่ และข้าราชบริพารไปต้อนรับพระสุมนเถระ ซึ่งมาจากสุโขทัย ในกลุ่มผู้ที่ไปรอต้อนรับพระสุมนเถระนั้น ก็ได้ยืนเรียงรายกันถือเครื่องสักการะต่าง ๆ เช่น ถือ ช่อ คือธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก และถือ ทง คือธง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทุง อยู่ด้วย และในขบวน ต้อนรับนั้น ยังมีการบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ อีกด้วย

ทุงอาจแยกได้หลายชนิด ทั้งการแยกตามวัสดุ แยกตามขนาดและแยกตามหน้าที่ในการใช้งาน

ทุงในภาษาไทใหญ่เรียก “ ตำข่อน ” ภาษาพม่าเรียก “ ตะขุ่น ”

 

วัสดุที่ใช้ทำทุง

๑ . ผ้าหรือฝ้าย เช่น ทุงชัย ทุงใย เป็นต้น

๒ . ไม้ เช่น ทุงกระด้าง ทุงไม้ เป็นต้น

๓ . กระดาษหรือพลาสติก เช่น ทุงพระญายอ ทุงสิบสองราศี เป็นต้น

๔ . โลหะ เช่น ทุงเหล็ก ทุงทอง ทุงเงิน เป็นต้น

จำแนกทุงตามการใช้งาน

๑ . ทุงประดับ คือทุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ซึ่งมี พอย ( อ่าน “ ปอย ”) คืองานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม และยังใช้เป็นเครื่องหมายนำทางไปสู่บริเวณงานด้วย ทุง ที่ใช้ตกแต่งสถานที่ เช่น ทุงชัย ทุงกระด้าง ทุงบอก ทุงพระบด ทุงช้าง

๒ . ทุงที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ทุง ที่ใช้พิธีกรรมทั้งพิธีกรรมที่เป็นงานมงคลและอวดมงคล อาจพบว่ามีลักษณะและการใช้ดังนี้

๒ . ๑ ทุง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมงานมงคล ได้แก่ ทุงค่าฅิง ทุงสิบสองราศี ทุงไส้หมู ทุงเจดีย์ซาย ทุงค้าง เป็นต้น

๒ . ๒ ทุง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมงานอวมงคล ได้แก่ ทุงสามหาง ทุงแดง หรือ ทุงผีตายโหง ทุงเหล็ก หรือ ทุงทุงทอง

๓ . ทุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ ได้แก่ ทุงดิน ทุงซาย ทุงไม้ ทุงชืน ทุงเหียง ทุงเงิน ทุงฅำ ทุงเข้าเปลือก ทุงเข้าสาน ทั้งนี้จะใช้ประกอบในพิธี ตั้งธัมม์หลวง หรือเทศน์มหาชาติ ในเดือน ยี่เพง ( วันเพ็ญเดือนสิบสอง ) หรืองาน ตั้งธัมม์หลวง เดือน สี่เพง ( วันเพ็ญเดือนยี่ ) โดยการปัก ทุง ดัง กล่าวนี้ในกัณฑ์เทศน์หรือประดับตามอาคารที่มีการเทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร หรือศาลาบาตร เป็นต้น ทั้งนี้ ตามคติความเชื่อของคนในล้านนา ในการทำ ทุง ประกอบการเทศน์นี้ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเชื่อว่าจะได้อานิสงส์มาก

นอกจากนี้ การใช้ทุงประกอบการเทศน์ “ พระเจ้าสิบชาติ ” ยังต้องให้สอดคล้องกับการเทศนาธรรมเรื่องต่าง ๆ ในทศชาติอีกด้วย ดังนี้

๑ . ทุงดิน

๒ . ทุงทราย

๓ . ทุงไม้

๔ . ทุงชืน ( ธงดีบุก )

๕ . ทุงเหียก ( ธงดีบุก )

๖ . ทุงเหล็ก

๗ . ทุงทอง ( ธงโลหะ )

๘ . ทุงเข้าเปลือก ( ธงข้าวเปลือก )

๙ . ทุงเข้าสาน ( ธงข้าวสาร )

๑๐ . ทุงเงิน

๑๑ . ทุงฅำ ( ธงทองฅำ )

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรก คือ เตมิยชาดก

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๒ คือ ชนกกุมาร

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๓ คือ สุวรรณสาม

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๔ คือ เนมิราช

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๕ คือ มโหสถ

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๖ คือ ภูริทัต

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่๗ คือ จันทกุมารชาดก

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๘ คือ นารถชาดก

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๙ คือ วิธูรบัณฑิต

ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๑๐ คือ เวสสันดร

ใช้ประกอบการเทศน์เรื่อง สิทธาตถ์ หรือ สิทธาตถ์ออกบวช คือ

เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช

๔ . ทุงที่ใช้เป็นเครื่องพุทธบูชา ทุง ที่ใช้ตกแต่งสถานที่ที่มีงานสมโภชนั้น ส่วนหนึ่งก็ถือเป็นเครื่องพุทธบูชาด้วยเช่นกันด้วยถือว่า ทุง ที่ใช้ในงานมงคลก็ถือเป็นสิ่งมงคลทั้งสิ้น ส่วน ทุง ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องพุทธบูชาเฉพาะนั้น ได้แก่ ทุงซาววา ( ยี่สิบวา ) หรือ ทุงพันวา ทุง ดังกล่าวนี้เป็น ทุงชัย ชนิดหนึ่งมีขนาดความกว้างยาวมากกว่า ทุงชัย โดยไม่จำเป็นต้องมีความยาวครบตามจำนวนวาที่ใช้เรียกชื่อ ทุง ก็ได้ ดังที่พบว่า ทุงพันวา นั้น โดยปกติจะยาวประมาณสิบวา

ลักษณะการใช้งาน เนื่องจากเป็น ทุง ที่มีความยาว และผืนใหญ่มาก จึงไม่อาจหา คันทุง ที่ ใช้ปักได้ ดังนั้นจึงให้ประดับในวิหารโดยการพาดไปมาตามขื่อ หรือตอกตะปูโยงไปมาภายในอาคาร บางแห่งใช้แห่ร่วมขบวน โดยให้ผู้ร่วมขบวนเดินถือชายธงต่อ ๆ กัน

ในวัดของชาวไทลื้อหรือวัดของชาวไทเขิน จะมีผู้ทำ ทุง ลักษณะคล้ายกับ ทุงชัย แต่สวยงา และวิจิตรบรรจงกว่า บางผืนมีลวดลายปักด้วยด้ายสีมันวาว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือชาดกต่าง ๆ แล้วนำ ทุง อันสวยงามเหล่านี้นำไปแขวนไว้ในวิหาร หรือหน้าพระประธานในวิหาร ถือเป็น ทุง ที่ใช้เป็นเครื่องพุทธบูชาทั้งสิ้น

ความเชื่อและอานิสงส์การทานทุง

ผลดีในการทาน ทุง หรืออานิสงส์ในการถวายธงปฏากนี้ ปรากฏในคัมภีร์ใบลานชื่อ สังขยาโลก จารด้วยตัวอักษรธรรมล้านนา มีภิกษุรูปหนึ่งได้ไปเห็นไม้ตายแห้งท่อนหนึ่ง มีลักษณะยาวงามดีมาก ท่านก็นึกที่จะเอาต้นไม้ไปทำเป็นเสา ทุง บูชา ไว้ ในวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ แต่บังเอิญท่านมีอันเป็นลมปัจจุบันถึงแก่กรรมลงในทันที ก่อนที่วิญญาณของท่านจะออกจากร่าง ท่านมีจิตประหวัดถึงไม้ท่อนนั้น จึงทำให้ต้องไปปฏิสนธิเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ไม้ต้นนั้น ได้รับทุกขเวทนาเป็นเวลานาน ท่านจึงดลใจให้ชาวบ้านทราบว่า เวลานี้ท่านได้มาเกิดเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ไม้ต้นนั้น หากพวกชาวบ้านมีศรัทธาอยากจะให้ท่านพ้นจากกองทุกข์ ก็ขอให้สร้าง ทุงเหล็กทุงทอง ถวายทานไว้ในพระศาสนา จึงจะช่วยบันดาลให้ท่านหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ได้ เมื่อชาวบ้านทราบเช่นนั้น ก็สร้าง ทุงเหล็กทุงทอง ถวายไว้ในพระศาสนา พระภิกษุรูปนั้นจึงพ้นจากกองทุกข์ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง …

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏศักราช มีความดังนี้ สิงห์คุตต์อำมาตย์เอาทุงไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่และพระเจดีย์คีรีครั้นสิ้น อายุจะไปตกนรก พระยายมราชก็แสดง ทุง นั้นให้เห็นแล้วกล่าวว่า “ เมื่อท่านทำบุญวันนั้น ท่านยังกรวดน้ำแผ่กุศลถึงเราและบัดนี้ท่านจงขึ้นไปบนสวรรค์เทอญ ”

และอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ยังมีนายพรานผู้หนึ่งล่าเนื้อมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี จนถึงอายุได้ ๔๘ ปี วันหนึ่งเข้าป่าไปเพื่อจะล่าเนื้อ บังเอิญไปถึงวัดศรีโคมคำ ( จังหวัดพะเยา ) ได้เห็นพระปฏิมากรองค์ใหญ่และมีการประดับ ทุง เป็นพุทธบูชาเมื่อยามลมพัดต้อง เกิดความสวยงามก็พึงพอใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกลับถึงบ้านก็จัดแจงหาผ้ามาทำ ทุง แล้วเอาไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่นั้น ครั้นนายพรานผู้นี้ตายไป พระยายมราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดนั้น ทุง ที่ นายพรานเคยทำเพื่อถวายพระประธานองค์ใหญ่นั้นก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรก เสีย พระยายมราชจึงพิจารณาดูแล้วก็บอกให้นายพรานขึ้นไปอยู่บนสวรรค์

สำหรับรายละเอียดของ ทุง แต่ละชนิด จะได้กล่าวถึงตามลำดับดังนี้

  • ทุงกระด้าง

ทุงกระด้าง มี ลักษณะเป็นธงตะขาบที่ทำด้วยแผ่นไม้สังกะสีหรือวัสดุอื่น มีลายประดับ ที่ส่วนปลายทั้งสองด้านมักจะทำให้แหลมขนาดพอเหมาะกับเส า ใช้แขวนติดไว้กับเสาโดยปลายแหลมด้านหนึ่งชี้บ อีกด้านหนึ่งจะชี้ลงข้างล่าง ลวดลายที่แกะสลักบน ทุงกระด้าง นั้น ได้แก่ ลายพรรณพฤกษา ลายดอกไม้ ลายสัตว์ต่าง ๆ ( สัตว์ประจำปีเกิด ) นอกจากนี้ยังนิยมทาสีหรือประดับด้วยกระจกสี ตลอดจนมีการลงรักปิดทองอีกด้วย นิยมใช้ ทุง ชนิดนี้ติดตั้งในวิหารเพื่อบูชาพระประธานติดตั้งไว้หน้าโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ และแม้กระทั่งกลางลานวัดทั้งนี้ ทุงกระด้าง ที่ประดับอยู่ภายนอกอาคารจะใช้วัสดุหลากหลาย เช่น ไม้ ไม้และสังกะสี หรือปูนซีเมนต์ ก็ได้ ส่วน ทุงเหล็กทุงทอง ซึ่งแม้จะเป็น ทุงกระด้าง ก็จริง แต่มีบทบาทต่างออกไปจากที่กล่าวมานี้

ลักษณะลวดลายของ ทุงกระด้าง อาจจะแยกออกได้ ๓ รูปแบบคือ

๑ . ทุงกระด้าง ที่มีลักษณะส่วนกลางพองนูนออกมาซึ่งจะเห็นลวดลายเต็ม ทุง ทั้งแผ่น ทุง ในรูปแบบเช่นนี้มักจะทำด้วยสังกะสี เมื่อมองผ่านลาย ทุง ลง ไปจะเห็นพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เป็นสีต่าง ๆ แวววาว แผ่นสังกะสีฉลุมักนิยมทาสีทองสีเหลือง หรือสีอ่อน ๆ เช่น สีชมพู สีขาว เป็นต้น นอกจากนี้ ทุงกระด้าง ยังอาจตกแต่งด้วยกระจกสีหรือลงรักปิดทองก็ได้

๒ . ทุงกระด้าง ที่ประดับกระจกตรงส่วนกลางแทนการปิดทอง กระจกที่ใช้จะเป็นกระจกเกรียบ หรือกระจกเงาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วางเรียงให้พอเหมาะกับความยาวของ ทุงกระด้าง บริเวณ ที่ทำด้วยสังกะสีนั้นจะมีการตกแต่งเป็นลวดลายฉลุบ้าง หรือตัดสังกะสีเป็นรูปกลีบดอกไม้บ้าง แล้วจึงทาสีทับลายนั้นอีกครั้งหนึ่ง หรืออาจประดับด้วยกระดาษสีเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นก็ได้

๓ . ทุงกระด้าง ที่ประดับด้วยไม้ซ้อนทับกันจนเป็นชั้น ทุง แบบนี้ จะซ้อนไม้ที่มีขนาดต่างกันซ้อนทับกันในบริเวณส่วนกลางของ ทุง และปลายแหลมของ ทุง ทั้ง ๒ ข้างจะใช้สังกะสีฉลุลายทำการตกแต่ง และใช้กระจกสีตัดเป็นลวดลายดอกไม้ บนแผ่นไม้ชั้นบนสุด และจะมีการประดับด้วยสังกะสีฉลุลายที่ปลายไม้ทั้ง ๒ ข้างทุกแผ่นที่ซ้อนทับกัน

๔ . ทุงกระด้าง ที่แบ่งเป็นช่องตามแนวขวาง ทุง แบบนี้จะพบเฉพาะภายนอกอาคารเท่านั้น วัสดุที่ใช้ทำ ทุง ชนิดนี้ อาจใช้ไม้หรือปูนซีเมนต์ ส่วนลวดลายที่พบมักจะเป็นลวดลายพรรณพฤกษา

๕ . ทุงกระด้าง คู่ที่ใช้เสาร่วมกัน ทุง แบบนี้ปรากฏอยู่ภายนอกอาคารเช่นกัน แต่พิเศษคือจะมี ทุงกระด้าง ๒ แผ่นติดประกอบลงบนเสาต้นเดียวกัน
ทุงเข้าเปลือก / ทุงเข้าสาร

มีลักษณะวิธีทำและวัสดุที่ใช้เหมือนกับ ทุงซาย หรือทุงที่ทำด้วยทราย เพียงแต่ใช้ข้าวเปลือกหรือข่าวสารแทนทรายเท่านั้น ( ดูเพิ่มที่ ทุงดิน )

  • ทุงค่าฅิง ( อ่าน “ ตุงก้าฅิง ”)

ทุงค่าฅิง แปลว่าธงที่แทนตัวเองหรือสูงเท่ากับตัวเอง ( เท่ากับตัวเจ้าของ ทุง ) ทุงค่าฅิง นี้ส่วนมากทำด้วยกระดาษสาแต่จะใช้กระดาษชนิดอื่น หรือผ้าก็ได้ มีความกว้างประมาณ ๘ นิ้วยาวเท่ากับความสูงของเจ้าของ ทุง ลักษณะเหมือน ทุง โดยทั่วไปไม่มีการประดับตกแต่งแต่อย่างใด ผูกกับคัน ทุง ที่มีความยาวกว่าตัว ทุง เล็กน้อยเท่านั้น

โอกาสการใช้ ทุงค่าฅิง คือใช้ในการสืบชะตาคนที่ต้องการสืบชะตาซึ่งมัดป่วยออด ๆ แอด ๆ หรือมีเหตุที่ต้องสืบชะตาการเอา ทุง เข้าพิธีโดยมัดคันทุง รวมกับไม้สามขาที่ใช้ในพิธีสืบชะตา เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จะนำ ทุง และไม้สามขาและสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมนี้ไปไว้ที่ต้นโพธิ์ที่อยู่บริเวณวัด ( ดูเพิ่มที่สืบชาตา )

  • ทุงค้าง ( อ่าน “ ตุงก๊าง ”)

เป็นทุง ที่ใช้ในการถวายทาน โดยมีการแยกประเภทตามสีและลักษณะการถวายทานที่ต่างกัน เช่น ทุงค้างสีขาว ที่มีความกว้างประมาณ ๑ คืบเศษๆ ยาวประมาณ ๕ ศอกถึง ๖ ศอก ใช้ถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ถวายทานเองในชาติหน้า ทุงค้างสีเหลือง ใช้ถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น
ทุงเงิน / ทุงฅำ

ทุงเงินทุงฅำ หมายถึง ทุง ที่ทำด้วยเงินและทองคำ ใช้ดลหะเงินหรือทองคำมาตีเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วตัดเป็นรูป ทุง เนื่องจากเงินและทองคำมีราคาแพง จึงทำเป็นรูป ทุง เล็ก ๆ มีการแกะลายหรือดุนให้เป็นรูปต่าง ๆ อย่างสวยงาม พบที่วัดในเชียงตุง สหภาพพม่า เช่น วัดพระแก้ว วัดเชียงยืน วัดจอมคำ วัดหัวข่วง เป็นต้น

เนื่องจากเงินและทองคำมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กระดาษสีเงินและสีทองทำ ทุง แทนโลหะ

  • ทุงเจดีย์ซาย ( อ่าน “ ตุงเจ๋ดีซาย ”)

ทุงเจดีย์ซาย เป็น ทุง ที่ ใช้ปักประดับที่เจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ ทำด้วยกระดาษสีต่าง ๆ หลายสี ส่วนมากทำจากกระดาษที่ใช้ทำว่าว มีขนาดกว้างประมาณ ๓ - ๔ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๒ – ๑๓ นิ้ว รูปร่างของ ทุงเจดีย์ซาย นี้มีหลายแบบ บ้างก็ทำเป็นรูปคนคือมาหัว ลำตัว แขน ขา หรือบางคนก็ประดิษฐ์เป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม ที่ลำตัวของ ทุง นั้น บ้างก็ตกแต่งด้วยกระดาษสีสันต่าง ๆ หรือบ้างก็ใช้การฉลุลายโดยการตัดด้วยกรรไกรก็มี

เมื่อได้ ทุง แล้ว ก็จะนำด้ายมาร้อยตรงส่วนหัวของทุงแล้วผูกติดกับกิ่งไม้ที่ยื่นเป็นแผง เช่น กิ่งเขืองหรือกิ่งไม้ไผ่เพื่อนำไปปักเจดีย์ทรายในวัดในเทศกาลสงกรานต์ จำนวนของ ทุงเจดีย์ซาย ที่แขวนกับแขนงไม้นั้น อาจจะจัดให้เท่ากับสมาชิกในครอบครัว หรือมากกว่าก็ได้

  • ทุงชัย ( อ่าน “ ตุงไจ ”)

ทุงประเภทนี้อาจจะเรียกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติของสิ่งที่ใช้ประดิษฐ์ เช่น ถ้าทำจากผ้าก็จะเรียกว่า ทุงผ้า โดย ใช้ผ้าแถบกว้างประมาณ ๘ – ๑๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร แบ่งลำตัวออกเป็นประมาณ ๑๕ ท่อน ยาวท่อนละ ๑๒ นิ้ว มีไม้ไผ่อันเล็ก ๆ พาดขวางลำตัวเพื่อไม่ให้พันตัวเอง จะทำด้วยกระดาษที่ค่อนข้างแข็งก็ได้ ถ้าเป็นผ้า ใช้ได้ทั้งผ้าทึบหรือผ้าโปร่ง ถ้าเป็นผ้าทอทั้งผืน อาจจะทอแบบ ทุง ทึบมีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายเจดีย์ ลายปราสาท เป็นต้น หรืออาจจะทอเป็น ทุงใย คือทอเฉพาะที่ข้อ กว้างประมาณ ๑ นิ้ว เท่านั้นนอกนั้นปล่อยให้ยาวเห็นแต่ฝ้ายเส้นยืน

ส่วนทุงผ้า ของชาวไทลื้อนั้น นิยมทอด้วยเทคนิคการขิดหรือจกซึ่งมีลวดลายสวยงาม โครงสร้างอย่างหนึ่งที่สำคัญคือส่วนล่างสุดนิยมทอเป็นรูปปราสาท มีรูปต้นไม้ ดอกไม้ นก คน ช้าง ม้า ฯลฯ ล้อมอยู่และรูปสิ่งของเครื่องของบางอย่าง เช่น น้ำต้น ( คนโท ) ขันดอก ( พานดอกไม้ ) เป็นต้น แต่ละช่วงของลวดลายจะคั่นด้วยการสอดไม้ไผ่เป็นปล้อง ๆ ลวดลายในช่วงบนนั้นอาจเป็นรูปเรอ ช้าง ม้า หงส์ นก นาค ดอกไม้ ต้นไม้ ฯลฯ

ทุงผ้าส่วนใหญ่จะใช้ผ้าฝ้ายสีขาวลวดลายขิดสีดำและแดงเป็นเส้นพุ่น แต่บางผืนก็อาจใช้สีแดงและมีเส้นพุ่นหลากสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ เป็นต้น และในปัจจุบัน ยังพบว่ามีผู้ทอผ้า ทุง เป็นสีธงชาติด้วย

นอกจากทุงผ้า และ ทุงใย แล้ว อาจใช้กรรมวิธีการผลิตอย่างง่าย ๆ คือใช้ผ้าสีแดงหรือขวาตัดให้มีขนาดยาวตามรูปแบบของ ทุง แล้วใช้กระดาษทองตัดหรือฉลุเป็นลวดลายทากาวติดลงบนผ้าให้เกิดลวดลายแล้วตกแต่งด้วยพู่ห้อยต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง

ส่วนหางและส่วนหัวของไม้ที่สอดขวางลำตัวของ ทุงชัย และ ทุงใย นี้จะตกแต่งด้วยวัสดุเป็นรูปดอกไม้หรือพู่ห้อยหรือแต่งเป็นอุบะเพื่อให้เกิดความสวยงามอีกด้วย

ส่วนหัวของ ทุง ที่แขวงกับเสาไม้ไผ่ก็นิยมทำเป็นโครงรูปปราสาทหรือทำเป็นรูปวงกรมสามห่วง ใช้ไม้ฉลุหรือไม้ไผ่ขดมัดเป็นโครงให้แข็งแรง แล้วผูกกับ ค้างทุง ซึ่งเป็นส่วนปลายเสาลำไม้ไผ่ที่ใช้เป็น คันทุง ค้างทุง ( อ่าน “ ก้างตุง ”) นี้ต้องทำให้หมุนได้ เพราะเมื่อ ทุง ถูกลมพัดจะได้ไม่พันตัวเอง การปัก ทุง เพื่อเป็นการบอกว่าบริเวณดังกล่าวจะมีงานฉลองสมโภชนั้นจะปัก ทุง ให้ห่างกันประมาณ ๘ – ๑๐ เมตร เป็นแนวสองฟากถนนสู่บริเวณที่มีงาน ทั้งนี้ ในการถวาย ทุงชัย นั้น เจ้าภาพจะนำไปถวายพระสองสามวันก่อนที่จะมีงานฉลอง โดยเตรียมกรวยดอกไม้ธูปเทียนผูกติดกับ ค้างทุง ไปด้วย ซึ่งพระก็จะให้พรเป็นราย ๆ แล้วนำ ทุง ดังกล่าวไปติดตั้งเรียงตามทางที่นำเข้าสู่วัดหรือตามเส้นทางที่ ครัวทาน หรือขบวนแห่เครื่องไทยทานจะผ่านนั้น

ทุงชัย นี้ ในช่วงหลังมีผู้นำมาใช้ร่วมกับขบวนแห่ด้วยโดยที่แต่เดิมนั้นนิยมใช้ ช่อช้าง ( อ่าน “ จ้อจ๊าง ”) นำหน้าขบวนแห่

  • ทุงช้าง ( อ่าน “ ตุงจ๊าง ”)

เป็น ทุงชัย ชนิดหนึ่งแต่มีขนาดใหญ่กว่า จึงเรียกว่า ทุงช้าง มีความกว้างประมาณ ๒ - ๓ ฟุต ยาวประมาณ ๔ เมตร ทำด้วยกระดาษเป็นส่วนใหญ่ บางแห่งนำเอาตอกไม้ไผ่มาทำเป็นโครงเพื่อให้คงรูปทรง การปัก ทุงช้าง นั้น ต้องใช้คัน ทุง เป็นไม้ไผ่ลำใหญ่ ๆ ยาว ๆ เช่น ไม้สีสุก หรือไม้ซาง เป็นต้น

  • ทุงชืน ( อ่าน “ ตุงจืน ”)

ทุงชืน คือ ทุง ที่ทำจากตะกั่ว วิธีทำ หลอมตะกั่วให้ละลายแล้วนำไปเทลงในแบบพิมพ์รูป ทุง ร้อยส่วนหัว ทุง แล้วผูกติดกับคันก็ใช้ได้ เนื่องจากทำยากและวัสดุมีราคาแพง ทุง ที่เป็นโลหะจึงมีขนาดเล็ก บางแห่งก็ใช้กระดาษตัดเป็นรูปทุงแล้วทาด้วยสีตะกั่ว หรือใช้กระดาษมีสีอย่างตะกั่วก็ใช้ประกอบพิธีได้

  • ทุงซาย ( อ่าน “ ตุงซาย ”)

ทุงซาย คือธงตะขาบทำด้วยทราย มีลักษณะ และขนาดและใช้วัสดุในการทำเหมือน ทุงดิน ทุกประการ เมื่อเสร็จแล้วใช้กาวแป้งเปียกหรือยางไม้ เช่น ยางมะตูมทาให้ทั่วตัว ทุง แล้วเอาทรายละเอียดโรยให้ทั่วจนไม่เห็นตัววัสดุที่เป็นตัว ทุง ทิ้งไว้ให้แห้ง ผูกติดคันให้เรียบร้อย ( ดูเพิ่มที่ ทุงดิน )

  • ทุงดิน

ทุงดิน เป็น ทุง ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๔ - ๕ นิ้ว ทำจากไม้ กระดาษ หรือ กาบโปก ( กาบไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ) ตัดเป็นรูป ทุง แล้วทาด้วยดินเหนียวให้ทั่วตากให้แห้ง ร้อยหัว ทุง กับคันไม้ที่ยาวประมาณ ๒๐ นิ้ว

  • ทุงแดง / ทุงผีตายโหง / ทุงค้างแดง ( อ่าน “ ตุงก๊างแดง ”)

ลักษณะคล้ายกับ ทุงชัย เป็น ทุง สี แดง มีความกว้างประมาณ ๑ คืบ และยาวตั้งแต่ ๓๐ เซนติเมตร จนถึง ๒ เมตร บ้างก็ว่ายาวเท่ากับความสูงของผู้ตายและปักให้ปลายหางแตะพื้นดิน มักทำให้มีหัวและหางแหลม

วิธีทำ นำผ้าหรือกระดาษมาพับครึ่งแล้วจึงตัดให้เป็นรูปร่าง ริมด้านขวาและมุมด้านซ้ายมีลวดลายเหมือนกับริมทางซ้ายตัดให้เป็นแผ่นเล็กและ ยาวตามความต้องการ ด้านที่เป็นหัวผูกด้วยเส้นฝ้ายและผูกกับปลายของคันทุง

การใช้งาน ใช้ ในพิธีสูตรถอนศพที่ตายผิดปกติ เช่น ตายเพราะอุบัติเหตุต่าง ๆ จะใช้ทุงปักไว้ตรงบริเวณที่ตาย ก่อเจดีย์ทรายเท่ากับอายุของผู้ตาย ปักช่อน้อยบนเจดีย์ทรายให้ครบเมื่อเห็นทุงแดงและกองทรายช่อน้อย ณ จุดใด ก็หมายถึงบริเวณดังกล่าวมีคนตายอย่างไม่ดีไม่งามหรือตายโหง โดยเฉพาะตามบริเวณข้างถนนนอกเมือง
ทุงบอก

ทุงบอก หมายถึง ทุง รูปกระบอกที่มีโครงทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงกลมอยู่ภายใน มีลักษณะเหมือนกระบอกไม้ จึงเรียกว่า ทุงบอก ส่วนรอบ ๆ โครงไม้นั้น จะหุ้มด้วยผ้าทั้งผ้าดิบ ผ้าโปร่ง ผ้าดอก ด้ายเส้นยืน หรือกระดาษก็ได้ ทำเป็นท่อน ๆ เหมือนกับ ทุงชัย ผิด กันตรงลักษณะกลมเท่านั้นตรงข้อมีการประดับประดาให้สวยงาม ชายด้านล่างมีการร้อยอุบะไว้ด้วย มีความยาวประมาณ ๗ , ๙ , ๑๑ ท่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘ นิ้ว

ส่วนทุงบอก อีกอย่างหนึ่งเห็นว่าอยู่ในลักษณะกระบอก ไม้เรี้ย หรือ ไม้เฮี้ย ยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร ใส่ข้าวเปลือก ข้าวสารและใส่ทรายแขวนปนอยู่กับ ทุงเหล็กทุงทอง

ทุงบอก มีลักษณะคล้ายกับ ทุงงวงช้าง ที่ใช้ประดับตกแต่งในวิหารวัดไทลื้อ ส่วนปลายด้านล่างของ ทุง จะทำคล้ายกับงวงช้าง โดยการยัดนุ่นเพื่อให้คงรูปอยู่ได้

  • ทุงพระบด , พระบฏ , พระบฅ

ทุงพระบด หรือ พระบต ซึ่งเห็นว่ามาจากภาษาขอมแปลว่าพระพุทธรูปบนแผ่นผ้า เป็น ทุง ที่ มีลักษณะเป็นผืนผ้าใบหรือกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากประมาณ ๘๐ x ๑๐๐ เซนติเมตร กรอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้เพื่อให้ตึง ทุงพระบต จะเป็นรูปพระพุทธรูป ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปบูชาประทับนั่ง

ลักษณะการใช้งานของ ทุงพระบด ใช้ ประดับไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ โดยการแขวนไว้กับผนังด้านหลังพระประธานทั้งสองข้าง เนื่องจากจะเป็นของที่ต้องประดับคู่กันดังนั้นการเอารูปพระมาแขวนไว้ ต้องเป็นแบบเดียวกัน และต้องมีขนาดเท่ากันอีกด้วย ถ้าจะให้สวยงามแล้ว ทุงพระบด ทั้งสองผืนต้องต้องมีความเก่า – ใหม่ ใกล้เคียงกันด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการใช้พระบตแทนพระพุทธรูปเมื่อมีการทำพิธีนอกสถานที่ โดยกาง พระบต แทนการประดิษฐานพระพุทธรูปได้เช่นกัน พบว่า พระบต ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะมีข้อความบันทึกไว้ที่ชาย พระบต นั้นและเรียกว่า “ พุทธพิมพา ” ซึ่งแปลว่าพระพุทธรูป ( ดูเพิ่มที่ พระ )

  • ทุงไม้

ทำด้วยไม้กระดาน กว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาวไม่เกิน ๑ เมตร ตัดหรือแกะสลักเป็นรูป ทุงชัย บางแห่งมีการแกะลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงแล้วลงรักปิดทอง เป็นของหาดูได้ยาก ส่วนมากจะพบในเชียงตุง สหภาพพม่า ทุงไม้ บางตัวมีการจารด้วยอักษรธรรมบอกปีที่สร้างไว้ด้วย

  • ทุงลื้อ ( อ่าน “ ตุงลื้อ ”)

เรื่องราวเกี่ยวกับ “ ทุง ” ของชนเผ่าไทลื้อนี้ เป็นข้อเขียนที่ ไข่มุก อุทยาวลี เรียบเรียงจาก สิบสองปันนามรดกผ้า : ภูมิปัญญาคนไทย และ ผ้าล้านนา ยวน ลื้อ ลาว โดยกล่าวว่า วัฒนธรรมความเชื่อของชาวไทลื้อเกี่ยวกับพุทธศาสนาประการหนึ่ง คือความเชื่อเรื่องการทำบุญโดยถวายสิ่งทอแก่วัด โดยเฉพาะ ทุงผ้า ที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลายความเชื่อทางศาสนา ซึ่งเป็นที่มาของการทอทุงผ้าถวายวัดของชาวไทลื้อมาจากตำนานพื้นบ้านเรื่อง กาเผือก เนื้อหาของตำนานเรื่องนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ตำนานพระเจ้าห้าตน อัน ได้แก่พระพุทธเจ้าทั้งห้าคือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะและพระอริยเมตไตรย เนื้อเรื่องเน้นคติธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อพระคุณของพ่อ – แม่ โดยการทำทุงเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศส่วนกุศลไปถึงมีเนื้อเรื่องโดยย่อ ดังนี้

“ เมื่อพระสัพพัญญูพระเจ้าห้าตนลงมาเกิดในท้องแม่กาเผือก เพื่อสร้างบุญกุศลสืบไปนั้น ยังมีแม่กาเผือกตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นไม้ ไข่ออกมา ๕ ฟอง ขณะออกไปหากินได้เกิดพายุจัด ฝนตกลงมาทำให้ไข่ทั้ง ๕ ฟองไหลไปตามกระแสน้ำ ไข่ทั้ง ๕ฟอง มีผู้พบและนำไปเลี้ยง ส่วนแม่กาเผือกกลับมาไม่เห็นไข่ก็เสียใจ จนสิ้นใจไปอยู่บนเมืองสวรรค์อยู่ต่อมาไข่ทั้ง ๕ เติบโตขึ้นมาเป็นหนุ่ม ได้ออกบวชจนสำเร็จโพธิญาณ ทั้งหมดได้มาพบกันต่างก็คิดจะทำบุญอุทิศให้กับผู้ให้กำเนิดตน ต่างคนจึงทำทุงขึ้นตามสัญลักษณ์ของผู้ที่เลี้ยงตนมา คือ พระกกุสันธะทำเป็นรูปไก่ พระโกนาคมนะทำเป็นรูปนาค พระกัสสะปะทำเป็นรูปเต่า พระโคตมะทำเป็นรูปตาวัวและพระอริยเมตไตรยทำเป็นรูปค้อนสำหรับทุบผ้า อันเป็นสัญลักษณ์หมายถึงคนซักผ้า หรือแม่ชักไหม แล้วเอาไปถวายเป็นพุทธบูชา แต่ไม่ถึงพ่อแม่ที่แท้จริง แม่กาเผือกจึงบินมาบอกจุดประทีปทำไส้เป็นรูปตีนกา ลูกทั้งห้าจึงอุทิศส่วนกุศลไปถึงแม่กาเผือกได้ ( ดูเพิ่มที่ กาเผือก )

เรื่องการเผือกนี้เป็นตำนานอธิบายส่วนประกอบของทุงว่ามีความหมายถึงพระพุทธเจ้า ๕ องค์ ดังนี้ คือ หัวทุง คือ ไม้ซักผ้าแทนคนซักผ้า หรือพระอริยเมตไตรย รูปไก่และส่วนบนของทุงแทนไก่ คือกกุสันกะ รูปนาคคือลำตัวที่ยาวของทุง และใบไฮ ( ครีบของทุง ) แทนนาค หรือโกนาคมนะส่วนลวดลายตารางเกล็ดเต่า คือพระกัสสปะ หมากตาวัวหรือลูกกลมประดับทุงแทนวัว คือโคตมะ

อนึ่งตำนานพระเจ้าห้าตน หรือ กาเผือก ดังที่กล่าวมานี้ ในล้านนาทั่วไปมักจะเป็นที่มาของการจุดประทีปโคมไฟหรือมีใจความตรงกับคัมภีร์เรื่อง อานิสงส์ผางประทีป ด้วย คติความเชื่อทางศาสนาดังกล่าวมาแล้ว ชาวไทลื้อจึงนิยมทำทุงถวายวัดด้วยวัสดุหลายอย่าง โดยเฉพาะทุงผ้าโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้างตั้งแต่ ๑๕ – ๕๐ เซนติเมตร มีความยาวตั้งแต่ ๑ - ๖ เมตร โครงสร้างของทุงจะประกอบด้วยส่วนหัวและหาง โดยมีไม้ไผ่สอดคั่วเป็นระยะ ๆ และนิยมตกแต่งด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษผ้า กระดาษ ไหมพรม ทำเป็นพู่ห้อยประดับตลอดทั้งผืนส่วนหัวทุงมักจะทำเป็นรูปโครงปราสาท โดยใช้ไม้แผ่นใหญ่หรือใช้ไม้ขนาดเล็กกว้างประมาณ ๔ - ๕ เซนติเมตร เรียงติดต่อกันหลายชิ้น แล้วยึดด้วยเชือก และบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงกลมมัดต่อกันเป็นโครง ส่วนหางทุงก็ตกแต่งชายด้วยเส้นฝ้าย ( เส้นยืน ) ถักมัดเป็นตาข่ายห้อยลงมา ประดับด้วยอุบะเป็นพู่ห้อยจากวัสดุกระดาษ เศษผ้า หรือไหมพรมหลากสี

ทุงผ้าในวัดไทลื้อ มี ๔ อย่าง คือ ทุงผ้าทอลวดลาย ทุงผ้าสี ทุงใย และทุงแต้ม ทุงแต่ละอย่างมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

๑ . ทุงผ้าทอลวดลาย

ทุงผ้าที่ทอด้วยเทคนิคขิดและจก เป็นลวดลายต่าง ๆ ชาวไทลื้อสิบสองปันนามักเรียกขานว่า ทุงดอก โดย ทั่วไปทุงดอกจะทอด้วยเส้นฝ้ายสีขาว ส่วนลวดลายจะมีหลายสี เช่น สีดำแดง เขียว เหลือง ม่วง ฟ้า เป็นต้น และจะทอลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ปราสาท ต้นไม้ ดอกไม้ คน ช้าง ม้า หงส์ พานดอกไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ทุงผ้าทอแต่ละต้องมีลายปรากฏอยู่อย่างน้อย ๓ อย่าง คือ ลายปราสาท รูปสัตว์ และต้นไม้

ทุงผ้าทอบางผืนปลายจะทอเป็นลวดลายยาวประมาณ ๑ เมตร ส่วนบนขึ้นไปจะเป็นเพียงด้ายเส้นยืน คั่วด้วยไม้ไผ่เป็นช่วง ๆ สลับทับทอเป็นผืนผ้าที่มักมีลวดลายเป็นแถวเล็ก ๆ ประดับอยู่ด้วย

๒ . ทุงผ้าสี

ทุงผ้าสี นั้นไม่มีลวดลาย อาจทำขึ้นจากผ้าฮำ หรือผ้าจากโรงงาน มีสีต่าง ๆ เช่น ดำ แดง ขาว ม่วง เหลือง เขียว เป็นต้น ทุงทำทำจากผ้าสีนั้นจะมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

๒ . ๑ ทุงไชย หรือ ทุงชัย เป็น ทุงผ้าผืนยาว มีไม้ไผ่คั่นเป็นช่วง ๆ ส่วนหางทุงปลายจะเรียวเล็กลง และห้อยประดับด้วยกระจับผ้าที่ยัดไส้ข้างในด้วย ทุงชนิดนี้เท่าที่พบมักอยู่ในวิหาร ส่วนใหญ่เป็นพื้นสีขาว อนึ่ง ทุงไชยที่ประดับอยู่ในบริเวณที่ประกอบพิธีมงคลอื่น ๆ เช่น พิธีทำบุญบ่อน้ำ ก็มักเป็นทุงสีต่าง ๆ สวยงาม เช่น ดำ แดง เขียว ขาว เหลือง เป็นต้น

๒ . ๒ ทุงซาววา คำว่า ซาว แปลว่า ยี่สิบ ดังนั้น คำว่า ทุงซาววา ก็ คือทุง ๒๐ วา ทุงชนิดนี้มีลักษณะเหมือนทุงไชย แต่ต่างกันที่มีความยาวมากว่า โดยทั่วไปทุงชนิดนี้จะมีสีขาว ยาวประมาณ ๖ - ๗ เมตร คือไม่ถึง “ ซาววา ” หรือ ๔๐ เมตร ห้อยแขวนอยู่บนเสาไม้ที่ปักอยู่บริเวณหน้าวัด จุดประสงค์ของผู้ทำทุงชนิดนี้มาถวายวัด ก็เพื่อจะสะเดาะเคราะห์ให้ตนเองหรือญาติมิตร โดยเฉพาะเมื่อเวลาเจ็บป่วย

๒ . ๓ ทุงงวงช้าง เป็นทุงผ้าสีขาวที่มีลักษณะคล้ายกับงวงของช้าง มีการตกแต่งด้วยกระดาษสีตัดเป็นพู่ห้อยเป็นช่วง ๆ ตลอดผืนทุง ทุงชนิดนี้ทำขึ้นโดยนำเอาผ้ามาหุ้มรอบโครงไม้ไผ่ที่ขดเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๖ – ๑๗ เซนติเมตร เป็นระยะส่วนหางทุงจะคล้ายกับปลายของงวงช้าง โดยยัดนุ่นไว้ข้างในเพื่อเป็นการคงรูปทรงอยู่แล้วประดับปลายสุดด้วยอุบะ เป็นพู่ห้อยลงมา

๓ . ทุงใย

ทุงใย เป็นทุงที่ใช้เส้นด้ายสีถักขึ้นหรือมัดเป็นตาข่ายรูปแบบต่าง ๆ โดยมีไม้ไผ่สอดคั่นเป็นช่วง ๆ แล้วตกแต่งด้วยพู่ห้อยตลอดทั้งผืน ทุงใยบางแบบคล้ายกับการชักใยของแมงมุมไทลื้อสิบสองพันนาจะเรียกว่า ทุงใยก้าว ( คำว่า ก้าว แปลว่า แมงมุง ) ทุงใยผ้ามักจะเป็นสีล้วน เช่นขาว เหลือง ชมพู เป็นต้น

๔ . ทุงแต้ม


คำว่า แต้ม แปล ว่า วาด หรือเขียน ทุงแต้มนี้ เป็นทุงที่ทำด้วยผ้าสีขาว แล้ววาดหรือเขียนรูปลงบนผืนผ้าคล้ายกับพระบฏ ทุงประเภทนี้ เท่าที่พบในวิหาร มี ๒ ชนิด คือ

๔ . ๑ ทุงพระเจ้าสิบตน ทุงพระเจ้าสิบตนก็คือ ทุงพระเจ้าสิบชาติ ( ทศชาติ )
โดยเขียนภาพพระพุทธรูปลงบนผืนผ้าเรียงต่อ ๆ กัน จำนวน ๑๐ รูป โดยแต่ละรูปก็จะคั่นด้วยไม้ไผ่เป็นช่วง ๆ และมีการเขียนชื่อพระชาติต่าง ๆ ด้วยอักษรไทลื้อกำกับไว้ ตามมุงด้านซ้ายมือของแต่ละรูป โยเรียงลำดับจากส่วนหัวทุงเป็นส่วนแรกว่า เตมียะ ชนก สุวรรณสาม เนมีราช ภูริทัต นารถ พรหม เวสสันดร และ สิทธัตถกุมาร ตามลำดับ

๔ . ๒ ทุงพระเจ้าซาวแปด เป็นทุงที่วาดภาพพระพุทธรูปลงบนผืนผ้าเป็นช่วง ๆ ละ ๒ รูป จำนวน ๑๔ ช่วง รวมทั้งหมด ๒๔ รูป โดยแต่ละช่วงก็จะคั่นด้วยไม่ไผ่ ทุงพระเจ้าซาวแปดนี้มีที่มาจากความเชื่อที่หมายถึงอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์

โอกาสที่มีการถวายทุง จะทำกันตลอดปีตามความศรัทธาของผู้ถวาย โดยอาจจะถวายในช่วงโอกาสทำบุญต่าง ๆ เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดผ้าป่า หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศล เป็นต้น โดนทั่วไปในการนำทุงถวายที่วัด ผู้เป็นเจ้าของทุงจะเขียนคำอุทิศถวายไว้ด้วย โดยเขียนข้อความลงบนผืนทุงส่วนบนติดกับหัวทุง บางครั้งก็จะเขียนข้อความนั้นบนกระดาษแล้วนำไปปะติดบริเวณหัวทุง ข้อความเขียนที่อุทศ จะกล่าวถึงชื่อผู้ถวายทุงและคำอธิษฐานขอให้ผลบุญที่ได้จากการถงวายทุง ช่วยให้พ้นจากการตกนรกได้ขึ้นสวรรค์ได้พบพระศรีอริยเมตไตรย และได้ถึงซึ่งพระนิพพาน ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างคำอุทิศถวายตุง

อิมํ เสตวตถา วณณนานาวิห ธชคคา อักขรคาถานี้ อันเปน … มะกกเค้าเจ้าสัทธา หมายมี อ้ายเจียง และ อีนางน้อย ทั้ง สองผัวเมียและลูกเต้า ค็มากึดล่ำขุงขวายได้ยังทุง เข้าดอกแลอักขรดวงนี้แล้ว เพื่อจักทานกับวัดหลวงเชียงบาน และจักทานเผือไว้พายหน้า และขอเทวบุตร เทวดา พระญาอินท์ พระญาพรหม ยมราชเจ้าทั้งหลาย สนำจำเจื่อแท้ ข้าแด่บุญเฮย สุทินนํ วต เม ทานํ นิพพานปจจโย โหนตุ โน นิจจํ ธุวํ ปรมํ สุขํ หื้อได้ถึงสุขนิพพาน ข้าแด่

นอกจากความเชื่อเกี่ยวกับการถวายทุงแล้ว ชาวไทลื้อยังนิยมประดิษฐ์ผ้าถวายวัดชนิดต่าง ๆ ทั้งใช้กับพระสงฆ์และพระพุทธรูป ตลอดจนคัมภีร์ทางศาสนา เช่น ผ้ามุงบน ผ้าแท่นสงฆ์ หมอนอิง ผ้ามูลจนะ ผ้าห่อคัมภีรื และผ้าเช็ดน้อย เป็นต้น

  • ทุงสามหาง

เป็นธงชนิดหนึ่งที่ใช้นำหน้าขบวนศพไปสู่สุสาน โดยให้คันหนึ่งแบกคันทุงสามหางนำหน้า ซึ่งปัจจุบันบางท้องที่จะใช้รถบรรทุกศพไปสุสาน เพราะการลากจูงศพไปตามท้องถนนไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ก็จะใช้ทุงสามหางผูกติดกับรถ หรือติดกับตัวปราสาทก็มี เมื่อไปถึงสุสานแล้วก็นำไปปักไว้ให้ชิดกับเมรุที่จะเผาศพ

อนึ่งทุงชนิดนี้อาจเป็นชนิดเดียวกับที่ปรากฏในเรื่อง ลิลิตพระลอ ก็ได้ ดังที่ว่า “… ปู่เอาธงสามชาย รายยันต์มากกว่าเก่า เขียนพระลอเจ้าอยู่กลาง สองนางแนบสองข้างกอดเจ้าช้างรัดรึง ชักทึงท้าวสู่หย้าว …”

ทุงสามหางนี้มีรูปคล้ายกับคน จากเอวลงไปแยกออกเป็น ๓ แฉก เรียกกันว่า ๓ หาง ตัดด้วยกระดาษสาหรือผ้าขาวความกว้างประมาณ ๓๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร เหตุที่ต้องทำทุงนี้ให้เป็น ๓ หาง มีท่านผู้รู้หลายท่านได้ลาก ๓ หาง เข้าไปหาธรรม เช่น หมายถึง กุศลมูล ๓ บ้าง อกุศลมูล ๓บ้าง หมายถึงวัฏฏวน ๓ คือกิเลส กรรมและวิบาก หรือแทนสังขารของมนุษย์ที่เดินทางไปสู่ความตายทุกวันบ้าง แต่ความหมายที่แท้จริงที่รู้และเข้าใจของคนสมัยดบราณมีเป็นอย่างใดยังไม่ เป็นที่ทราบแน่ชัด ในส่วนคติความเชื่อนั้น คนล้านนาถือกันว่า ผู้ตายมีเครื่องนำทางไปสู่สวรรค์ ( ดังจะได้กล่าวถึง อานิสงส์ทานทุง ในตอนท้าย )

ทุงชนิดนี้ในบางท้องที่เรียกว่าทุงอ่องแอ่ง และบางท้องที่ ( อำเภอจุน จำหวัดพะเยา ) ทำเป็นทุงสามหางขนารดเล็ก กว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๒ ศอก ใช้ทั้งหมด ๔ ตัว

วิธีทำ นำกระดาษสาหรือผ้าขาวยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๓๕ เซนติเมตร พับครึ่งตามยาวใช้กรรไกรตัดให้เป็นไหล่ และเอว คือท่อนบน ตัดจากหัวลงถึงเอวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แล้วคลี่ผ้าออก แล้วพับผ้าส่วนที่ยังไม่ได้ตัดให้เป็น ๓ ส่วนตามยาว ตัดให้เป็น ๓ แฉก หรือ ๓ หาง ส่วนปลายหางตัดให้แหลม เมื่อคลี่ผ้าออกก็จะได้รูปคล้ายกับคนครึ่งท่อนท่อนล่างเป็นหาง ๓ หาง หรือแสดงถึงลำตัวกับขาและแขนทั้ง ๒ เมื่อตัดได้รูปร่างแล้วก็มีการประดับตกแต่งโดยใช้ตอกขนาดกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หนาประมาณ ๒ เซนติเมตร ทากาวติดมี่อก ๒ อัน โดยให้ห่างกันประมาณ ๖ เซนติเมตร ติดที่เอวอีก ๒ อัน ตัดกระดาษหน้าเดียวสีดำหรือสีทองกว้างประมาณ ๑ . ๕ เวนติเมตร ทากาวปิดทับไม้ตอกนั้นอีกทีหนึ่ง เพื่อให้มองไม่เห็นไม้ การติดไม้ที่ผ้าเพื่อช่วยให้ตัวทุงแข็งไม่ให้พับได้ง่าย แล้วใช้กระดาษสีดำหรือสีทองตัดเป็นเส้นเล็กประมาณ ๑ เซนติเมตร ทากาวติดริมด้านนอกรวมทั้งหางทั้ง ๓ หาง ด้วย กลางตัว เอว และที่ปลายหางนั้นประดับด้วยดอกกากอกหรือดอกจอกทำด้วยกระดาษสีดำ

ทุง ๓ หาง ในปัจจุบันทำขึ้นเพื่อประสงค์ความสวยงามเสียมากกว่า บางแห่งทำเป็นรูปเทวดาพนมมือ มี ๓ หาง ทำเครื่องประดับของเทวดาด้วยกระดาษเงินกระดาษทองก็มี

การ ใช้งาน ทุง ๓ หางจะใช้แขวนกับไม้คันทุงยาวประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร ปักไว้ใกล้กับดลงศพ ในขณะเคลื่อนศพไปป่าช้านั้นจะให้คนแบกทุง ๓ หางนำทางไปก่อนโดยห้ามไม่ให้หันหน้ากลับไปดูข้างหลัง เมื่อไปถึงป่าช้าจะปักไว้ใกล้กับเชิงตะกอน ประโยชน์ของทุง ๓ หางที่มองเห็นคือเป็นเครื่องแสดงให้คนที่พบเห็นทราบว่าขบวนศพกำลังจะผ่านมา ทางนี้ จะได้บอกให้เด็ก ๆ วิ่งเข้าไปหลบอยู่ในบ้าน พร้อมกับเอาขี้เถ้าไปโรยประตูบ้านเพื่อป้องกันผีเข้าบ้านนั้นเอง ประโยชน์อีกอันหนึ่งไปตกแก่พวกหมอไสยศาสตร์และนักเล่นไก่ชน เพราะเชื่อว่าเอาหางทุงหางกลางมาลงเป็นผ้ายันต์ไว้กับตัวจะทำให้หญิงสาว หลงใหลในตัวผู้นั้น และยันต์ดังกล่าว เมื่อเอาไปเช็ดหัวให้น้ำไก่ชน ไก่ชนนั้นก็จะชนเก่งเอาชนะคู่ชนได้ง่ายดาย
ทุงสิบสองราศี

ทุงสิบสองสองราศี หรือ ทุงตัวเพิ่ง ซึ่ง เป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิดนี้ทำด้วยกระดาษ บางคนใช้กระดาษสาหรือจะเป็นกระดาษชนิดอื่น ๆ ก็ได้ มีความกว้างประมาณ ๔ - ๖ นิ้ว ยาวประมาณ ๑ เมตร ตัวทุงจะมีรูปสัตว์ประจำนักษัตรหรือสิบสองราศี โดยเรียงจากตัวแรกคือ หนู ไปจนถึงตัวสุดท้าย เป็นรูปหมูหรือช้าง

การประดับทุงสิบสองราศีนี้ นิยมใช้ปักเจดีย์ทรายในวัดร่วมกับทุงชนิดอื่น ๆ ในวันสงกรานต์ หรือใช้ปักกองทรายบริเวณที่ทำพิธี ทานใจบ้าน หรือ แปลงบ้าน ( ดู ใจบ้าน และ พิธีกรรมการทานใจบ้านหรือแปลงบ้าน ) การใช้ทุงสิบสองราศีนี้ มีความเชื่อกันว่าจักรราศีแม่ปีอันมีสิบสองตัวนี้ เป็นตัวนามประจำปีไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่ง เชื่อกันว่าเพื่อให้พ้นเคราะห์ โศก โรคภัย ในปี นั้น ๆ

  • ทุงไส้หมู / ทุงไส้ช้าง / ทุงพระญายอ / ทุงดอกบ้วง

ทุงชนิด นี้มีลักษณะเป็นพวงประดิษฐ์จากการนำกระดาษสีหรือกระดาษแก้งสีต่าง ๆ อย่างน้อยแผ่นละสีรวมกันพับไปมาแล้วตัด เมื่อคลี่ออกและจับหงายขึ้น ตัวทุงจะย้อยลงเป็นช่อพวงยาว ถ้ามีขนาดเล็กเรียกว่าช่อพระญายอก็มีถ้าเป็นพวงขนาดใหญ่เรียกว่า ทุงพระญายอ ( ลำปาง )

การใช้งานทุงชนิดนี้จะผูกติดกับคันยาว ๆ ประมาณ ๑ เมตร ใช้ถือร่วมขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด ประดับครัวทาน หรือปักเจดีย์ทรายในวัดในเทศกาลสงกรานต์

อนึ่งบางท้องที่ ( อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ) ใช้ประดับตกแต่งปราสาทศพเพื่อความสวยงาม โดยทำเป็นพวงใหญ่ ๆ ใช้กระดาษว่าวสีดำ หรือ ม่วง

  • ทุงเหล็ก / ทุงทอง ( อ่าน “ ตุงเหล็ก ตุงตอง ”)

ทุงเหล็กทุงทอง เป็น เครื่องใช้ในพิธีการศพอย่างหนึ่งตัวทุงทำเป็นแผ่นกว้างประมาณ ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๑ คืบ จำนวน ๑๑ อัน ซึ่งหมายถึงอดีตพระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์รวมกับพระพุทธเจ้าที่เพิ่งจะนิพพานอีก ๑ พระองค์ ( แต่ก็มีตำราบอกว่ามี ๘ , ๑๖ หรือแม้กระทั่ง ๑๐๘ อัน ) ประกอบด้วย ทุงเหล็กทุงทอง ( ทองแดงหรือทองเหลือง ) ทุงเงิน ทุงฅำ ( ทองคำ ) ทุงเหียก ( ตะกั่วผสมดีบุก ) ทุงซาย ( ทราย ) ทุงดิน คือ ทุงแต่ละชนิดทำจากวัสดุดังกล่าว แต่โดยทั่วไปมักทำด้วยไม้หรือสังกะสีแล้วใช้วัสดุนั้น ๆ ปิดไว้ ดินและทรายก็นำมาทาโรยบนกาวที่ติดไว้กับตัวทุงที่ทำด้วยไม้ ส่วนฐานเป็นไม้หรือโลหะทำเป็นเสาตั้งบนเชิง ด้านปลายอาจใช้ไม้พาดทำเป็นกากบาทหรือทำเป็นวงกลมเจาะรู แล้วใช้เชือกทำจากด้ายหรือลวดผูกทุงเข้ากับกากบาทหรือวงกลมนั้น

ทุงเหล็กทุงทอง ที่ ทำเป็นชุดไว้นี้นิยมวางไว้บนโลงศพเมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านนำมาเก็บไว้ที่วัดตามฐานชุกชีเมื่อจำเป็นต้องใช้งานอีกก็ไปนำมาใช้ โดยไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่

  • ทุงเหียก

เหียกเป็นโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับสังกะสี หรือเหล็กกับสังกะสีก็ได้ วิธีทำก็เหมือนกับการทำ ทุงชืน โดยกสนนำโลหะดังกล่าวมาหลอมละลายแล้วเทลงในแบบพิมพ์รูป ทุง