เครื่องมือของใช้ล้านนา - หม้อ

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
22/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

หม้อ
 
หม้อซึ่งเป็นภาชนะดินเผาประเภทใช้ความร้อนต่ำนี้ มีใช้กันโดยทั่วไปในกลุ่มชาวบ้านล้านนาเพราะราคาถูกหาซื้อง่ายแหล่งที่พบว่า มีการทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้อยู่ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันแห่งหนึ่ง คือบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งมีกรรมวิธีในการผลิตดังนี้

ดินที่ใช้ปั้นหม้อ
โดยทั่วไปมักเป็นดินร่วนปนดินเหนียว (Clay loam) หรือดินเหนียวปนทราย (Sandy Clay loam) ซึ่งมักจะเป็นดินที่ขุดจากท้องนา สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลเข้มปนเทา ซึ่งจากการวิเคราะห์โดย X-ray Fluorescence พบว่ามีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูงถึงร้อยละ 3.80-4.35 และจากการวิเคราะห์โดย X-ray diffractometer พบว่าดินเช่นนี้มีเฟลด์สปาร์ ทั้งชนิดโปตัสเซียมเฟลด์สปาร์และโซเดียม ดินเกาลิน และควอตซ์

การเตรียมดินเพื่อปั้นหม้อหรือเครื่องใช้ดินเผานี้
เริ่มจากการนำดินที่แห้งสนิทแล้วมาบดให้ละเอียด ในอดีตใช้วิธีตำด้วยครก แต่ปัจจุบันใช้เครื่องบดดิน ร่อนดินที่ละเอียดนั้นด้วยตะแกรง จากนั้นจึงนำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนประมาณดิน 5 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน นวดให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วใช้ใบตองหรือใบกล้วยคุลมหมักดินไว้หนึ่งคืน ซึ่งในกรณีนี้ชาวบ้านก็นิยมใช้ถุงพลาสติกแทนวัสดุธรรมชาติ

การขึ้นรูปหม้อหรือเครื่องใช้ดินเผาแบบนี้
ใช้ทั้งวิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและวิธีแบบผสม ดังนี้ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนที่ทำจากไม้เป้นแผ่นแบนกลมมีที่เสียบด้านล่างโดย เสียบกับแกนไม้ที่ปักไว้กับดิน ขณะที่ปั้นจะใช้มือหมุนให้แป้นหมุนไปด้วยซึ่งอาจใช้มอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยหมุน ได้ในกรณีทำภาชนะขนาดใหญ่และต้องการปริมาณมาก

การขึ้นรูปเริ่มจากการนำดินที่หมักไว้ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดพอเหมาะกับภาชนะที่ต้องการ ขึ้นรูปแล้วกดให้ติดกับตรงจุดศูนย์กลางของแป้นหมุน เพราะหากไม่อยู่ตรงศูนย์กลงแล้วภาชนะจะบิดเบี้ยไม่ได้รูปทรงตามต้องการ จากนั้นใช้มือคลึงเป็นรูปครึ่งวงกลมในลักษณะใช้มือวางครอบลงบนดินหลวม ๆ จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองค่อย ๆ จับประคองดินค่อย ๆ รีดดินให้สูง ในขณะที่ตรงกลางจะกลวงเป็นรูปทรงกระบอก แล้วใช้มือแต่งผิวและความโค้งเว้าตามต้องการ จากนั้นใช้เศษผ้าเรียบชุบน้ำหมาด ๆ ช่วยขัดแต่งผิให้เรียบเสมอกัน เมื่อได้ภาชนะรูปทรงตามประสงค์แล้ว ก็ใช้ลวดหรือด้ายตัดที่ก้นภาชนะโดยการจับปลายสองข้างของลวดให้ตึง ตัดที่ก้นภาชนะให้หลุดจากแป้น ทิ้งให้หมาด แล้วจึงนำไปผึ่งให้แห้งรอการตกแต่งต่อไป

ส่วนวิธีการขึ้นรูปแบบวิธีผสม
ซึ่งมักทำกับภาชนะที่มีขนาดใหญ่ เมื่อขึ้นรูปก้นภาชนะแล้วนำดินที่หมักไว้มาปั้นเป็นเส้นกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว ขดไปตามรูปทรงของภาชนะ จากนั้นหมุนแป้นหมุนใช้มือกรอให้ดินติดกันสนิท ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสร็จ ซึ่งในการทำภาชนะขนาดใหญ่จะใช้เวลานาน เนื่องจากขณะปั้นต้องรอให้ฐานหรือส่วนก้นภาชนะค่อย ๆ หมาดและมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักจากส่วนบนได้เสียก่อน ซึ่งขณะรอปั้นนี้จะใช้ผ้าชุบน้ำปิดส่วนที่ต้องการจะปั้นต่อไว้ ภาชนะที่ต้องทำเป็นส่วน ๆ ไว้รอเพื่อต่อ เช่น การปั้นน้ำต้นชาวบ้านจะขึ้นรูปตัวน้ำต้นไว้ 6-10 ลูกก่อน แล้วปั้นส่วนคอ พอหมาดแข็งแรงแล้วจึงนำมาต่อกันด้วยน้ำดินข้นหรือน้ำสลิป

ส่วนการขึ้นรูปด้วยมือ ส่วนใหญ่พบว่าเป็นการปั้นส่วนประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ของภาชนะ งวงหู หรือลายหยักตกแต่ง เป็นต้น

การตกแต่งลวดลายและสีสันจะทำหลังจากผลิตภัณฑ์แห้ง ลวดลายที่นิยมทำกันมากก็คือ การทำลายนูน โดยการนำดินมาปั้นแปะกับผลิตภัณฑ์ แล้ทาด้วยดินสำหรับแต่งสีผสมน้ำมันโซล่า ทิ้งไว้ให้หมาดก่อนลงมือทำลวดลาย ซึ่งพบว่ามีทั้งลายขูดขีดลายกดประทับด้วยเครื่องมือง่าย ๆ ที่หาได้จากครอบครัว จากนั้นนำไปทำให้มันวาด้วยการขัดด้วยหินกรดที่มีผิวเรียบ การขัดด้วยหินกรวดเป็นการอัดอนุภาคของดินให้แน่น สีแดงที่ติดบนผลิตภัณฑ์ก็คือ Iron Oxide โดยมีน้ำมันเป็นตัวช่วยให้เกิดความลื่นในการขัด เมื่อเผาผลิตภัณฑ์ น้ำมันก็จะระเหยไป ส่วนดินแต่งสีจะยังคงอยู่ จากการขัดทำให้ผิดภาชนะแน่นและทำให้มันวาวด้วย

การทำให้แห้ง ชาวบ้านมักใช้ธรรมชาติ เช่น ลมและแสงแดด ซึ่งต้องคำนึงถึงภาชนะด้วย ถ้าเป็นภาชนะขนาดเล็ก นิยมตากแดดให้แห้ง ถ้าภาชนะขนาดใหญ่จะใช้การผึ่งลมเพราะถ้าถ้าหากนำไปตากแดด น้ำจะระเหยออกเร็วเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายได้

การเผาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแรงไฟต่ำนี้ จะใช้อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 825 ๐ C โดยใช้ pyrometer วัสดุเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาได้จากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ฟืน เศษไม้เป็นการเผาแบบเตาเปิด ใช้เวลาในการเผานับตั้งแต่เริ่มจุดไฟจนผลิตภัณฑ์สุกประมาณ 3-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดผลิตภัณฑ์

หากใช้เตาเผาแบบ up draft ที่มีปล่องไฟค่อนข้างใหญ่นั้น เมื่อบรรจุผลิตภัณฑ์เตาเรียบร้อยแล้วต้องใช้เศหม้อแตกปิดด้านบนเพื่อมิให้ เปลวความร้อนเคลื่อนที่ออกเร็วเกินไป ซึ่งทำให้สิ้นเปลือกเชื้อเพลิง การเผาในเตานี้จะเริ่มต้นจากการอุ่นเตา ซึ่งในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อุณหภูมิขณะอุ่นเตาประมาณ 70 ๐ C จากนั้นจะเริ่มขึ้นไฟให้อุณหภูมิสูงขึ้นอีกเพื่อเป็นการไล่น้ำออกจาก ผลิตภัณฑ์ อุณหภูมิประมาณ 240 ๐ C ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จากนั้นรักษาระดับความร้อนให้คงที่ประมาณ 40 นาที จึงเริ่มโหมไฟ ช่วงนี้อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เปลวไฟท่วมเตา ให้นำเศษไม้ไผ่สุมบนเตาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ด้านบนสุกให้ทั่ว ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงหยุดใส่ฟืน เป็นอันเสร็จขบวนการเผา

การทำให้เกิดสีดำ โดยการนำผลิตภัณฑ์ที่ยังร้อนอยู่ใส่ลงในกองขี้เลื่อยกลบขณะที่ยังร้อน ผลิตภัณฑ์จะกลายเป็นสีดำ ซึ่งเรียกว่าการเกิด Carbon Black เมื่อเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เพราะปริมาณอากาศไม่เพียงพอจึงเกิดเขม่าถ่านสีดำที่มีขนาดละเอียดไปติดบนผิว ของผลิตภัณฑ์

หม้อในแง่ภาชนะดินเผาที่พบและใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนา มีประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  • หม้อกา ( อ่าน “ หม้อก๋า ”)

หม้อ กา หมายถึง กาต้มน้ำซึ่งเป็นภาชนะเครื่องครัวตามแบบของวิถีชีวิตปัจจุบัน เพียงแต่เรียกให้มีสำเนียงล้านนา คือ “ ก๋า ” หมายถึงกาต้มน้ำ แต่มีคำว่า “ หม้อ ” เสริมเพื่อจำแนกความเป็นภาชนะ มิให้เข้าใจว่าเป็น “ อีกา ” ซึ่งหมายถึงสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง

  • หม้อแกง ( อ่าน “ หม้อแก๋ง ”)

หม้อแกง เป็นภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหารโดยเฉพาะประเภทแกง มีหลายขนาด ซึ่งชาวบ้านจะเลือกให้พอเหมาะกับการปรุงอาหารในครอบครัวของตน โดยปกติแล้วหม้อแกงทั่วไป จะมีความกว้างประมาณ 8 นิ้ว สูงประมาณ 4 นิ้ว เป็นภาชนะที่มีรูปทรงเตี้ย ปากภาชนะผายออก มีก้นตื้นเหมาะแก่การใช้ประกอบอาหาร ก้นกลม ชนิดมีหูจะมีหูจับทั้งสองข้างที่ปากหม้อ ใช้สำหรับประกอบอาหารทั้งต้มและแกง

ก่อนการใช้หม้อแกง ชาวบ้านจะล้างเสียก่อนโดยนำไปตั้งบนเตาติดไฟและเอาแกลบหรือถ่านที่ยังไมิ่ด ไฟใส่ในหม้อนั้น ปล่อยให้ไฟแรงขึ้นจนแกลบหรือถ่านติดไฟแล้วปล่อยให้ไฟราและให้หม้อเย็นลงเอง เชื่อว่าจะช่วยมิให้มีน้ำหยดลงจากหม้อแกงนั้นในขณะใช้งาน

  • หม้อเข้าหม่า

หม้อเข้าหม่า หรือ หม้อเข้าแช่ หมายถึง หม้อที่ใช้แช่ข้าวสารข้าวเหนียวทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่ที่จะนึ่งข้าวนั้นในตอน เช้าของวันรุ่นขึ้น หม้อดังกล่าวมักใช้หม้อน้ำคาบหรือหม้อน้ำเคลือบ คือหม้อที่มีความแกร่งสูง ผ่านการเผาแล้วทาด้วยน้ำยาเคลือบแล้วจึงเผาอีกครึ้งหนึ่งเหมือนกับเครื่อง ปั้นดินเผาแรงไฟสูงโดยทั่วไป โดยมากน้ำคาบหรือน้ำยาเคลือบนั้นทำให้หม้อเมื่อเผาแล้วมีสีนวสลหรือสีน้ำตาล อ่อน ตัวหม้อจะเป็นหม้อก้นเรียบและทรงกระบอก โดยส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้างเล็กน้อย ส่วนปากกลม

ก่อนที่จะใช้หม้อแบบนี้หม่าข้าว ชาวล้านนาจะไปขอเอาน้ำเชื้อ คือน้ำที่ผ่านการแช่ข้าวมาจากเพื่อนบ้านเติมลงในหม้อใหม่เสียก่อน แล้วจึงจะใส่ข้าวสารกะให้พอดีกับการริโภคของคนในครอบครัและเติมให้สูงกว่า ข้าวนั้นอย่างน้อยประมาณหนึ่งฝ่ามือ ทั้งนี้ ต้องใช้มือคนข้าวในน้ำเพื่อมิให้ข้าวจับกันแน่นเป็นก้อนซึ่งเมื่อนึ่งแล้ว ข้าวจะไม่นิ่มอย่างที่ควรจะเป็น

ในกรณีที่ต้องหม่าข้าวในปริมาณมากเพื่อเลี้ยงชาวบ้านอย่างในงานขึ้นเรือนใหม่ หรืองานอื่น ๆ นั้น บางบ้านอาจใช้เรือทั้งลำเป็นหม้อข้าวหม่าก็เคยทำเป็นปกติอยู่แล้ว

  • หม้องวง

หม้องวง หมายถึง หม้อที่มีพวยยื่นออกมาจากตัวหม้อเป็นภาชนะดินเผาที่ใช้สำหรับตัวน้ำร้อนมี ลักษณะคล้ายกาน้ำปัจจุบัน มีหูหิ้ว พวกกามีขนาดเล็กและสั้นและมีฝาปิดด้านมีการขึ้นรูปด้วยมือ ไม่มีการตกแต่งลวดลาย ขนาดที่พบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 นิ้ว สูงประมาณ 8.5 นิ้ว

หม้องวงนี้ ถือว่าชาวล้านนาได้ใช้วัสดุในท้องถิ่นของตนประดิษฐ์ขึ้นเลียนแบบกาต้มน้ำอัน เป็นเครื่องใช้ที่เห็นในท้องตลาด อีกประการหนึ่ง ในระยะที่ยังไม่มีอะลูมิเนียมใช้กันแพร่หลายนั้น กาต้มน้ำมีราคาค่อยข้างสูงกว่าที่ชาวบ้านจะซื้อหาได้ และเห็นว่าการใช้หม้อต่อมสำหรับต้มน้ำตามแบบเก่านั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก จึงได้ใช้ดินเหนียวและกรรมวิธีการปั้นหม้อของชาวบ้านมา สร้างหม้องวงขึ้นเพื่อทดแทนกาน้ำที่ต้องซื้อจากต่างถิ่นและหาได้ยากนั้น


  • หม้อต่อม

หม้อต่อม เป็นภาชนะดินเผาทรงเตี้ย ปากผายออกเล็กน้อย ขอบปากแบบ คอคอดกว่าหม้อแกง ก้นหม้อกลม ใช้สำหรับต้มน้ำ ต้มยาสมุนไพร ต้มน้ำอาบศพ ขนาดทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 นิ้ว สูง 7.0 นิ้ว การปั้นมักขึ้นรูปด้วยมือ มีการตกแต่งด้วยลายขูดขีดอย่างง่ายกันลื่น

ส่วน ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับหม้อต่อมนั้น ชาวบ้านจะใช้หม้อต่อมใส่ข้าวสาร ข้าวเปลือก ดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อบวงสรวงผีปู่ยาทุก ๆ ปี โดยจะเก็บหม้อไว้ต่างหาก ไม่นำมาใช้ประกอบอาหาร พอเสร็จงานก็จะคว่ำเก็บไว้ อีกความเชื่อหนึ่งก็คือ หม้อต่อมจะใช้ในการต้มน้ำอาบศพ แล้วเอาน้ำที่เหลือล้างบันได เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยล้างซ้ำอีกครั้ง จากนั้นจะโยนหม้อทิ้งลงตรงลานบ้านเพราะเป็นนิมิตรหมายว่าหม้อแตกแล้ว แสดงว่าสังขารแตกแล้ว ร่างกายแตกสลายไปแล้ว เป็นเครื่องหมายว่ามนุษย์ต้องแตกดังไปตามธรรมชาติ

  • หม้อน้ำ

หม้อน้ำ เป็นภาชนะดินเผาที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำดื่มหรือน้ำใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งจะมีการแยกขนาดตามการใช้งานหม้อน้ำที่พบมีขนาดเฉลี่ยนความกว้างประมาณ 12 นิ้ว สูง 10 นิ้ว มีลักษณะอ้วนกลมมีฝาปิด โดยทั่วไปมักจะไม่มีลวดลายแต่หากจะมีลวดลายประกอบแล้วมักจะทำเป็นลายเชิง อยู่บริเวณคอหม้อ และจะเรียกหม้อน้ำที่มีลวดลายนี้ว่า หม้อน้ำดอกหม้อน้ำเท่าที่พบมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

หม้อก้นเรียบจะมีขนาดใหญ่อ้วนกลมและหนักกว่าหม้อน้ำชนิดอื่น ลักษณะก้นหม้อจะเรียบตั้งได้ ปากหม้อกว้างตัวหม้ออ้วน ที่คอหรือไหล่หม้อทำลายหยักยกเป็นขอบและมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีดเป็นริ้ว ปากหม้อทำเป็นขอบกลมประมาณ 0. 5 นิ้ว

หม้อก้นกลม มีลักษณะก้นกลม ตัวหม้อกลม ไม่มีการทำคอและไหล่หม้อ ลักษณะคล้ายหม้อสาว แต่ขนาดเล็กและสูงเพรียวกว่า ที่ฝาหม้อมีการตกแต่งด้วยลายขอบหยักเช่นกันเวลาตั้งจะใช้ตั่งหม้อคอยประคอมิ ให้ล้ม ตั่งหม้อดังกล่าวอาจเป็นกะละมัง เศษกระเบื้อง หรือเศษไม้ไผ่ที่เหลือจากการเหลามาขดแล้วมัดเป็นวงกลม ใช้รองก้นหม้อไม่ให้ล้ม

หม้อที่มีเชิงหรือตีน เป็นหม้อที่มีเชิงหรือตีนตั้งได้ ตัวหม้ออ้วนสูงเพรียว ปากแคบ ขอบปากกลมหนาประมาณ 0.5 นิ้ว คอและไหล่หม้อมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีด และไหล่หม้อทำเป็นขอบหยัก ฝาหม้อมีการตกแงด้วยลายหยักเช่นกัน

การขึ้นรูปน้ำหม้อใช้การขึ้นรุปโดยการใช้ไม้ตีและหินดุเป็นการขึ้นรูปแบบเส้นขด

เวลาใส่น้ำดื่ม บางแห่งใส่หินที่เก็บมาจากแม่น้ำหรือลำธารต้นน้ำ เป็นหินสีขาวหรือสีแดงเรียบกลม ขนาดประมาณ 1 นิ้ว ใส่ไว้ 3 ก้อน เชื่อว่าทำให้น้ำในหม้อเย็น และไม่นิยมล้างตัวหม้อด้านนอก ปล่อยให้พืชจำพวกมอสหรือเฟินขึ้น ทำให้น้ำในหม้อเย็น นอกจากนี้การทำลวดลายขูดขีดรอบตัวหม้อทำให้เพิ่มพื้นผิวในการระเหยของน้ำ ทดให้น้ำนั้นเย็นอีกด้วย

ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำดื่มนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์หรือปีใหม่เมือง จะนิยมเปลี่ยนหม้อน้ำใหม่ โดยเชื่อว่าเมื่อนำหม้อใหม่เข้าบ้านจะพบแต่สิ่งใหม่ ๆ ดี ๆ ตลอดปี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ส่วนหม้อน้ำใบเดิมก็มักจะนำไปใส่น้ำในครัว ใส่น้ำล้างเท้า ปลูกต้นไม้ หรือคว่ำไว้เฉย ๆ

หม้อน้ำ ถ้ามีขนาดบรรจุน้ำประมาณหนึ่งปี๊บ และตั้งอยู่ในห้องน้ำสำหรับอาบน้ำ จะเรียกว่าหม้อน้ำอาบ หากมีขนาดย่อมลงมากกว่านี้หรือเป็นแบบเดียวกับหม้อน้ำดื่ม แต่ตั้งไว้ในบริเวณสำหรับล้างภาชนะ จะเรียกหม้อน้ำดังกล่าวว่า หม้อน้ำซวะ หากเป็นหม้อน้ำขนาดค่อนข้างใหญ่แต่ก้นเรียบ ตั้งไว้ในบริเวณเชิงบันไดบ้าน จะเรียกว่า น้ำหม้อซ่วยตีน คือหม้อบรรจุน้ำสำหรับล้างเท้า เป็นต้น
หม้อน้ำดอก

ลักษณะของหม้อน้ำดอกมีรูปทรงเป็นทรงตั้งสูง ส่วนบนกว้าง เป็นประเภทฝาจุกมีปลายแหลม การผายของหม้อผายออกไปตรง ๆ ส่วนฐานตั้งสองแคบ ความสูงประมาณ 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต โครงสร้างเป็นดินทั้งหมดสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1. ส่วนคอ
เป็นส่วนที่สวยงามที่สุด ประกอบด้วยปากหม้อ คอหม้อ ซึ่งผายออกกว้างที่สุด บริเวณคอหม้อจะตกแต่งลวดลาย เช่น รูปทรงกระจังทรงสามเหลี่ยม และขอบลายหยักรอบคอหม้อ

2. ส่วนตัวหม้อ
จะสอบแคบเข้าต่อจากส่วนคอหม้อลงไป ไม่มีลดลายประดับแต่อย่างใด

3. ส่วนก้นหม้อ จะมีฐานสำหรับวางบนพื้นราบเป็นส่วนที่แคบที่สุดของหม้อ

ขั้นตอนการผลิต

1. เตรียมดินดำจากนา นำมาผสมกับทราย ( ที่ใช้ก่อสร้างทั่วไป การผสมทรายเพื่อช่วยไม่ให้หม้อแตกขณะเผา ) ซึ่งร่อนด้วยตะแกรง กรองเอาเศษผงกรวดทั้ง ขณะผสมจะต้องนวดให้เข้ากันจนเป็นดินเหนียวที่มีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสมนำ ไปเก็บใส่ถุงพลาสติกเพื่อป้องกันดินแห้ง - แข็งตัว

2. นำดินที่เตรียมแล้วมาตีให้แบนเป็นวงกลมแล้วขึ้นรูปเป็นตัวหม้อ
จากนั้นจึงใช้ผ้าชุบน้ำจับที่ขอบบนของหม้อแล้รูดโดยรอบ ขอบบนจะบานออกเป็นปากหม้อ ใช้ไม้ตี - ตบ บริเวณปากให้เรียบเสมอกัน นำไปผึ่งแดด

3. นำหม้อที่ผึ่งแดดพอประมาณมาตกแต่งลวดลายโดยใช้ไม้ดุนที่มีเส้นตบริเวณคอหม้อ ขณะเดียวกันใช้มือหนึ่งถือหินดุ ประกบด้านในหม้อคอยดันดินให้ตรงกับตำแหน่งที่ตบขั้นตอนนี้จะช่วยให้รูปทรง หม้อป้อมมากขึ้น อีกทั้งการใช้ไม้ตีจะช่วยไล่ฟองอากาศในดินอีกด้วย

4. จากนั้นจึงใช้ไม้ตีลาย ตีบริเวณ คอหม้อ ลายที่นิยม คือลายเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ประเภทลายกระจัง นอกจากนี้ยังตกแต่งโดยนำดินมาเป็นเส้นยาว ๆ ชุบน้ำวางโดยรอบส่วนที่กว้างที่สุดของหม้อแล้วใช้ไม้สับลายให้เป็นร่อง – เป็นรอยหยักโดยรอบ นำไปผึ่งแดดอีกครั้ง

5. การทำฐานหม้อ ( ก้นหม้อ )
โดยใช้ดินตีเป็นเส้นยาวต่อบริเวณฐานหม้อแต่งให้เรียบเสมอกันนำไปผึ่งแดดอีก ครั้ง ( ประมาณ 2 วัน ) ก่อนนำไปทาสี และเผาซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายอนึ่ง สีที่ใช้ในการเผาจะใช้ดินแดงผสมน้ำ แล้วใช้เศษผ้าชุบน้ำดินแดงทาโดยรอบหม้อด้านนอก ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงนำไปเผา ( การเผากลางแจ้งโดยใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว เศษไม้ ฯลฯ )

  • หม้อไฟ

หม้อไฟ เป็นอุปกรณ์จำเป็นอย่างหนึ่งในพิธีปลงศพหม้อไฟนี้ได้จากการนำเปลือกมะพร้าว ทุบให้นุ่มแล้วอัดลงในหม้อต่อมหรือหม้อดินขนาดเล็กมีคอคอด นำหม้อนี้ใส่สาแหรก แล้วแขวนกับท่อนไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร จัดหาผู้คอนหม้อไฟนี้นำหน้าศพไปสู่ป่าช้า และใช้ไฟจากหม้อไฟนี้จุดเพลิงสำหรับเผาศพในการเคลื่อนขบวนส่งศพไปสู่ป่าเร่ว ( อ่าน “ ป่าเฮ่ว ”) หรือป่าช้า มักจะเห็นควันจากหม้อไฟนี้เป็นทางยาวนำหน้าขบวนเสมอ

  • หม้อสาว

หม้อสาว เป็นหม้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 นิ้ว สูง 15 นิ้ว มีลักษณะเป็นหม้อที่มีส่วนปากผายออก ขอบปากแบน ส่วนคอหม้อคอดเข้าเล็กน้อย ตัวหม้ออ้วนกลม ก้นกลมทำลวดลายขูดขีดอย่างง่ายดายเพื่อกันลื่น การขึ้นรูปมักขึ้นรูปด้วยมือแล้วใช้ไม้ตีแต่งผิวให้เรียบ

ประโยชน์ ใช้สอยขงหม้อสาว ใบขนาดกลางใช้สำหรับต้มน้ำอุ่นอาบ ใส่ข้าวสาร ต้มและย้อมฝ้าย ใช้แช่คราสำหรับย้อมสีฝ้าย ใช้เป็นหม้อต้มแกง สำหรับเลี้ยงคนจำนวนมาก ส่วนหม้อสาวขนาดใหญ่ใช้สำหรับต้มกลั่นเหล้า นอกจากนี้บางชนิดมีทรงต่ำเรียกว่า หม้อสาวทรงต่ำ บางท้องที่เรียก “ หม้อแถ่ว ”


  • หม้อหนึ่ง

หม้อหนึ้ง หรือหม้อสำหรับใช้การนึ่งอย่างนึ่งข้าวในชีวิตประจำวัน เป็นภาชนะดินเผาทรงเตี้ยมีขอบปากยื่นเฉียงออกมาเพื่อใช้รองรับไหสำหรับนึ่ง ข้าว เป็นต้น คอจะคอดเข้าก้นกลม

การขึ้นรูปหม้อหนึ่งจะกระทำด้วยมือตกแต่งด้วยลายขูดขีดที่ตัวหม้อเทานั้น ขนาดที่พบโดยเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางราว 12 นิ้ว สูงประมาณ 7 นิ้ว

เมื่อได้หม้อมาใหม่นั้น หากจะนำหม้อหนึ้งไปใช้งานนึ่งข้าวทันทีแล้วก็อาจไม่ได้กินข้าวเลยก็ได้ เพราะมักจะมีน้ำซึมลงจากหม้อเป็นระยะ ๆ และถ้าซึมมากอาจถึงกับทำให้ไฟดับก็ได้ ดังั้นในการใช้ต้องลางหม้ออย่างเดียวกบหม้อแกงเสียก่อนจึงจะได้ ในกรณีหม้อหนึ้งนี้อาจลางโดยใช้คร่งทาไปตามก้นหม้อ ด้านในเพื่อทำลดการรั่วซึมของหม้อหนึ้งได้

ส่วนความเชื่อที่เกี่ยวกับหม้อหนึ้ง คือ การเสี่ยงทายด้วยผีหม้อหนึ้ง ผีย่าหม้อหนึ้ง หรือ ผีปู่ดำย่าดำ ชาวบ้านเชื่อกันว่าผีหม้อหนึ้งสามารถปกปักษ์รักษาเจ้าบ้านได้ บางครั้งจะมากกว่าผีเจ้าที่อีก โดยมีคำบอกเล่าว่า ครั้งหนึ่งผีตนหนึ่งจะเข้าบ้าน ผีเจ้าที่สู้ไม่ได้ ผีหม้อหนึ้งจึงมาสู้และเอาชนะได้ ซึ่งอาจเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเคารพนับถือข้าว การให้ความสำคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักของชาวล้านนา ในการเสี่ยงทายด้วยการลงผีหม้อหนึ่ง จะทำในกรณีที่ลูกหลานไม่สบาย เด็กร้องไห้งอแง นิยมทำในตอนเย็น โดยประกอบหม้อหนึ่งกับไหข้าวเหมือนตอนหนึ้งข้าว เอาไม้มาพาดทำเป็นแขนและเอาเสื้อมานุ่ง จัดกระด้งหรือถาดข้าวสารไว้เบื้องหน้ามีดอกไม้ธูปเทียนบูชา และให้ผู้หญิงช่วยกันประคอง เมื่อถามถึงอาการป่วยไข้หรือเด็กไม่สบายด้วยคำถามนำเพื่อให้ผีหม้อหนึ้งตอบ รับหรือปฏิเสธ โดยหม้อหนึ้งจะสั่นหรือใช้ “ มือ ” ทำเครื่องหมายบนถาดข้าวสาร เช่น ในกรณีที่เด็กเกิดมาไม่นานแล้วร้องไห้ ชาวบ้านจะถามว่าเป็นใครมาเกิด แล้วอยากได้สิ่งใดรับขวัญ และให้ใครเป็นผู้รับขวัญ เช่น ตามาเกิด อยากได้ของเหลืองก็ต้องนำสิ่งของที่มีสีเหลือง เช่น ทอง หากไม่มีเงินซื้อ ก็ใช้เพียงเหรียญสตางค์เจาะรูผูกไว้ที่ข้อมือ เชื่อว่าเด็กจะอยู่สบายไม่ร้องไห้อีกต่อไป

  • หม้อไหดอก

หม้อไหดอก ใช้สำหรับใส่ดอกไม้สดโดยเฉพาะยอดของหมากผู้หมากเมีย หรือดอกไม้แห้งไว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พบว่ามักมีหม้อไหดอกจำนวนสามใบใส่น้ำ และมียอดหมากผู้หมากเมียดังกล่าววางไว้บนหิ้งพระ และพบตามหอผีหรือศาลเทพารักษ์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน แต่มักใช้จำนวนคู่ มิได้ใช้สามใบอย่างการบูชาพระ

หม้อไหดอกเป็นภาชนะดินเผาทรงกระบอกที่มีปากผายออก มีการทำเป็นริ้วบริเวณปากภาชนะ มักมีเอวคอดเข้าตัวผายออกเล็กน้อยมีก้นแบน ชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกขานอาจเป็นหม้อน้ำดอก หรือหม้อดอก ก็มี ขนาดที่พบเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว สูง 7 นิ้ว ขึ้นรูปด้วยการใช้แป้นหมุน มีการตกแต่งด้วยการเขียนสีเป็นลวดลายดอกไม้ ใบไม้

หม้อไหดอกนี้ ยังหมายรวมถึงลวดลายอย่างที่เรียกว่า “ บูรณฆฎะ ” ซึ่งปรากฎตามคอสองของวิหารวัดปงยางคก และวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น ซึ่งเป็นลวดลายรูปแจกันดอกไม้อีกด้วย

  • หม้ออุ่ง

หม้ออุ่ง หรือโอ่งแบบล้านนานั้น มีขนาดไม่ใหญ่อย่างโอ่งของภาคกลาง นิยมใช้บรรจุเกลือหรือก้อนน้ำอ้อยตั้งไว้ในห้องครัวหรือบริเวณเตาไฟ ( ปลาร้านิยมบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ )

หม้ออุ่งเป็นภาชนะดินเคลือบซึ่งเผาด้วยไฟแรงสูง มักเคลือบด้วยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ขนาดกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว สูงประมาณ 10-12 นิ้ว โป่งกลาง ส่วนก้นแบนเรียบเพื่อให้ตั้งกับพื้นได้ ส่วนคอคอดเข้าพอให้มือที่กำวัตถุลอดเข้าออกได้สะดวก พบว่ามีหม้ออุ่งบางใบที่ส่วนคอยื่นออกเป็นรูปถ้วยสำหรับขังน้ำเพื่อกันมิให้ มดหรือแมลงเข้าไปในหม้ออุ่งนั้นได้ เชื่อว่าหม้ออุ่งดังกล่าวน่าจะใช้บรรจุก้อน้ำอ้อย

ในระยะหลัง เมื่อมีการติดต่อกับภาคกลาง โดยเฉพาะอิทธิพลของจีนแล้ว ล้านนาจึงรบเอาหม้ออุ่ง อีกสองประเภทและปรับเรียกชื่อจากหม้ออุ่ง เหลือเพียงอุ่ง เพื่อเทียบกับคำว่า “ โอ่ง ” คือ อุ่งไหหลวง และ อุ่งไหซอง

อุ่งหรือโอ่งทั้งสองที่รับมานี้มีลักษณะที่ล้านนาเรียกว่าไหเพราะส่วนสูงมากกว่า ส่วนกว้างและส่วนที่โป่งของภาชนะมิได้โป่งที่ส่วนท้อง แต่โป่งที่ส่วนไหล่ และที่โป่งนั้นก็มิได้โป่งมากนัก

อุ่งไหลวง คือ โอ่งที่มีทรงอย่างไหและมีรูปตัวลวงหรือมังกรประดับอยู่ คือเรียกได้ว่าอุ่งไหลวง หมายถึง “ โอ่งลายมังกร ” ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้ว การขึ้นรูปขึ้นด้วยมือ ตกแต่งด้วยลายขูดขีด

ส่วน อุ่งไหซองเป็นภาชนะดินเผาสำหรับใส่เครื่องดอง เช่น ดองผัก หมักปลา หรือใช้สำหรับใส่เกลือไว้ในครัว จึงต้องมีปากแคบและขอบปากกลม ก้นแบนตั้งได้ คำว่า “ ซอง ” มาจากการที่มีหวายสานเป็น “ ซอง ” อย่างสาแหรกมีหูสำหรับหิ้วใส่ไว้ จึงเรียกว่า “ อุ่งไหซอง ”
หม้ออุ้บ

  • หม้ออุ้บ คือ หม้อดินที่มีลักษณะคล้ายหม้อน้ำแต่ขนาดย่อมกว่า ใช้เพื่อเก็บสิ่งของมิให้เล็ดลอดออก เช่น ใช้ใส่ถ่านไฟแดงเพื่อดับไฟ ใช้บรรจุอาหารห่อบางอย่างเพื่อตั้งรับความร้อนให้สุกแทนการหมกในขี้เถ้าร้อน ใช้บรรจุเครื่องเทศ และอาจใช้เก็บ “ กว่าง ” ซึ่งเป็นแมลงมีเขาเลี้ยงไว้ชนกันได้อีกด้วย

ลักษณะ ทั่วไปเป็นหม้อก้นเรียบป่องกลาง ที่คอหรือไหล่หม้อทำลายหยักยกเป็นขอบและมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีดเป็นริ้ว ปากหม้อทำเป็นขอบกลมประมาณ 0.5 นิ้ว มีฝาปิด


  • หม้อห้อม

ความหมายของ หม้อห้อม แปลได้ว่าหม้อที่บรรจุ น้ำห้อม ซึ่งใช้ในการย้อมผ้าให้เป็น “ สีห้อม ” คือสีน้ำเงินหรือสีคราม ซึ่งก่อนหน้านี้นิยมเขียนเป็น “ ม่อฮ่อม ”

ในการเตรียมน้ำห้อมเพื่อย้อมผ้านั้น จะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ หม้อสาว คือหม้อดินเผาขนาดใหญ่ ( ระยะหลังนิยมใช้โอ่งมังกรหรือถังเหล็ก ) และพืชที่ให้สีห้อม คือ คราม ซึ่งเป็นไม้พุ่มชนิด Indigofera tinctoria Linn. ในวงศ์ LEGUMINOSAE ส่วนห้อมเป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Baphicacanthus cusia Brem. ในวงศ์ ACANTHACEAE ทั้งสองชนิดเป็นพืชที่ให้สีน้ำเงินในการย้อมผ้า

ผู้ย้อมผ้าจะเก็บห้อมหรือครามมาใช้โดยเก็บมาเป็นฟ่อนทั้งใบและก้านเมื่อยังไม่ ออกดอก แช่ฟ่อนครามหรือห้อมลงน้ำไว้ 1 คืน พลิกด้านบนลงอีก 1 คืน จนพืชเปื่อยจะมีกลิ่นเหม็นและน้ำจะเป็นสีเขียว บีบน้ำออกและเอากิ่งก้านทิ้งไปจากนั้นนำครามหรือห้อมชุดใหม่มาแช่ไว้อีก ครั้งหนึ่ง และบีบเอาน้ำออก น้ำจะเพิ่มกลิ่นเหม็นขึ้นอีก และมีสีออกฟ้า ๆ ใส่ปูนเคี้ยวหมากลงกวนในน้ำนั้นจนกระทั่งน้ำเป็นฟอง และกลิ่นจะเปลี่ยนจากเหม็นเป็นหอม น้ำจะกลายเป็นสีน้ำเงินแก่ แล้วจึงกรองเอาแต่น้ำลงใส่หม้อดินขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หม้อห้อม

โดยเฉพาะในการย้อมด้วยครามนั้น เมื่อบรรจุน้ำครามลงหม้อห้อมแล้วก็จะใส่ฝักส้มป่อยเผาขมิ้น น้ำด่างซึ่งได้จากการเกรอะขี้เถ้า และเหล้าป่าลงไป นำด้ายไจเล็ก ๆ ลงใส่ไว้ 3-4 วัน แล้วจึงนำผ้าหรือฝ้ายที่ต้องการย้อมแช่น้ำบิดพอหมาดลงแช่ พลิกหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำขึ้นตากแดด การย้อมจะย้อมวันละสองครั้งคือเช้าและเย็น ย้อมประมาณ 6 ครั้ง จะได้สีที่พอดี

จากหนังสือ ผ้าล้านนา ยวน ลื้อ ลาว กล่าวว่า ฝ้ายหรือผ้าที่จะนำไปย้อมในหม้อห้อมจะต้องอยู่ในสภาพชื้น การย้อมครั้งแรกจะได้สีออกเขียว ผู้ย้อมส่วนมากมักจะใช้น้ำย้อมมากกว่าหนึ่งหม้อ โดยจะนำไปย้อมอีกครั้งในหม้อต่อไป ในช่วงการย้อมนั้น ผ้าจะถูกขยำประมาณ 15 นาที เพื่อให้สีเข้าเนื้อผ้าได้ทั่วถึง กว่าจะได้สีครามแท้จริงอาจจะต้องย้อมถึง 10 ครั้ง ผ้าฝ้ายที่นำไปย้อมนั้นจะยังไม่นำไปชำระล้างจนกว่าการย้อมครั้งสุดท้ายจะ สิ้นสุดลง ชาวไทลื้อตากฝ้ายกลางแดดชาวลาวจะเก็บฝ้ายไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดและไว้ในที่ ร่ม สีผ้าย้อมของชาวลาวจะมีสีแก่เพราะหลังการย้อมแต่ละครั้ง ฝ้ายจะถูกอากาศ ฝ้ายสีที่ถูกอากาศจะมีสีฟ้า ส่วนฝ้ายที่ไม่ถูกอากาศจะมีสีเขียว หลังจากการย้อมครั้งสุดท้ายแล้ว ผ้าจะตกสีเวลาซักแต่จะไม่กินผ้าสีขาว

  • หม้อคำตวง , วัด

วัดหม้อคำตวง ตั้งอยู่เลขที่ 119 ถนนศรีภูมิ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติ ของวัดหม้อคำตวงมีดังนี้ คือสร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2019 สันนิษฐานว่าเดิมชื่อ “ วัดหมื่นคำตวง ” ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น “ วัดหม้อคำตวง ” อนึ่ง ทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเพื่อ พ . ศ . 2330 โดยมีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร

อาคารเสนาสนะของวัดประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น กุฎิสงฆ์ศาลาทรงน้ำพระเจ้าทันใจและวิหารทรงล้านนาซึ่งหน้าบันประกอบด้วยลวด ลายพรรณ