วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ถง

หมายถึง “ ถุง ” ในภาษาไทยกลาง ซึ่งได้แก่ เครื่องใช้สำหรับสิ่งของ มักทำด้วยผ้า ก้นปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว บางชนิดมีสายในตัวเพื่อใช้สะพายโดยทำเป็นสายขนาดใหญ่เรียกว่า ขาถง ถงมีหลายขนาดและหลายประเภทแยกตามการใช้งาน

อนึ่งคำว่า ถง หรือโถง นี้ยังมีความหมายว่ามัวเมาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอีกด้วย เช่น ถงภ้าย คือคนชอบเล่นไพ่อย่างหมกมุ่น ถงแม่ยิง คือชายทีหลงใหลนามวิสัย จนเรียกว่าจะขาดผู้หญิงไม่ได้ ถงเหล้า คือคนที่ชอบดื่มสุรามาก และถงด้วยบาป คือบุคคลที่หลงอยู่ในกิจกรรมที่เป็นบาปต่าง ๆ เป็นต้น

  • ถงก้นมน

หมายถึงย่ามขนาดเล็กที่ใช้บรรจุของใช้ส่วนตัวหรือของเล็ก ๆน้อย ๆ ที่ทำเป็นต้องใช้ในระหว่างการเดินทาง ตรงส่วนก้นของย่ามจะเย็บให้เป็นทรงกลม โดยมากผู้ใช้ถงก้นมนนี้จะใช้ส่วนที่เป็นขาของย่ามคล้องเข้ากับไหล่

  • ถงขนัน

หมายถึงถุงหรือย่ามขนาดเล็ก มีสายสำหรับห้อยแขวนมักใช้บรรจุของขนัน หรือเครื่องรางของขลัง โดยอาจแขวนไว้กับที่หรือใช้ห้อยคะในการเดินทางหรือไปรบก็ได้ ต่อมามักใช้เรียกในความหมายว่าถุงเก็บของมีค่าหรือถุงเงินได้ด้วย

  • ถงแขนง

หมายถึงย่ามใส่ดินปืนและกระสุนปืน มีลักษณะเป็นย่ามขนาดเล็กที่มักจะใช้ขาของย่ามนั้นมัดรวบเพื่อกันมิให้ของ ที่บรรจุอยู่นั้น ตกหายไป และมักจะบรรจุไว้ในย่ามอีกต่อหนึ่ง

  • ถงเตี่ยว

หมายถึงกระเป๋า “ เตี๋ยว ” หรือกระเป๋ากางเกง ซึ่งกระเป๋าดังกล่าวแม้จะเย็บไว้ด้านหน้า ด้านข้างหรือหลังของกางเกงก็ตาม ก็เรียกว่าถงเตี่ยว ทั้งสิ้น

  • ถงไตไก่

หมายถึงย่ามขนาดเล็กประมาณ 2 ? 3นิ้ว ถักด้วยด้ายหรือไหมพรม มีทรงมนคล้ายไตไก่ มีทรงมนคล้ายไตไก่ ใช้สำหรับใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีคุณค่า เช่น เหรียญหรือเครื่องรางของขลัง เป็นต้น

  • ถงเป้ง

ตาม ศัพท์เดิมแล้ว ถงหรือย่ามชนิดนี้ใช้เพื่อบรรจุเป้ง หรือตุ้มน้ำหนักที่ใช้เป็นมาตรฐานในการชั่ง ซึ่งมักจะทำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปหงส์ รูปช้าง หรือรูปสิงห์ มีหลายขนาดตามมาตรน้ำหนัก ต่อมา ถงเป้งมีความหมายในฐานะของถุงบรรจุของมีค่าต่าง ๆ โดยเฉพาะใช้บรรจุเงินตรา ทั้งนี้มีตำราพับสาฉบับหนึ่งซึ่งไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับต้นฉบับ ได้กล่าวถึงบุคคลที่เกิดในปีต่าง ๆ ให้ทือถงเป้ง คือใช้ถุงบรรจุของมีค่าหรือถุงเงินตามกำหนด ดังนี้

  • ถงเป้ง

ตาม ศัพท์เดิมแล้ว ถงหรือย่ามชนิดนี้ใช้เพื่อบรรจุเป้ง หรือตุ้มน้ำหนักที่ใช้เป็นมาตรฐานในการชั่ง ซึ่งมักจะทำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปหงส์ รูปช้าง หรือรูปสิงห์ มีหลายขนาดตามมาตรน้ำหนัก ต่อมา ถงเป้งมีความหมายในฐานะของถุงบรรจุของมีค่าต่าง ๆ โดยเฉพาะใช้บรรจุเงินตรา ทั้งนี้มีตำราพับสาฉบับหนึ่งซึ่งไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับต้นฉบับ ได้กล่าวถึงบุคคลที่เกิดในปีต่าง ๆ ให้ทือถงเป้ง คือใช้ถุงบรรจุของมีค่าหรือถุงเงินตามกำหนด ดังนี้

คนเกิดปีใจ้ (ชวด) ให้ทือถงเป้งลายเหลือง

คนเกิดปีเป้า (ฉลู) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น นอกขาว ในเหลือง

คนเกิดปียี (ขาล) ให้ทือถงเป้ง 3 ชั้น ในเหลือง กลางขาว นอกดำหรือเหลืองหม่น

คนเกิดปีเหม้า (เถาะ) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น นอกขาว ในเหลือง สายแดง

คนเกิดปีสี (มะโรง) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น ในแดงนอกดำ

คนเกิดปีใส้ (มะเส็ง.) ให้ทือถงเป้ง 2ชั้น นอกเขียว ในขาว

คนเกิดปีสะง้า (มะเมีย) ให้ทือถงเป้ง 3 ชั้น ในแดงกลางเหลือง นอกขาว

คนเกิดปีเม็ด (มะแม) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น ในหม่น นอกขาว

คนเกิดปีสัน (วอก) ให้ทือถงเป้ง 3 ชั้น นอกแดง กลางขาว ในเหลือง

คนเกิดปีเร้า (ระกา) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น นอกหม่น ในขาว สายเหลือง

คนเกิดปีเส็ด (จอ) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้น นอกเหลือง ในขาว

คนเกิดปีใค้ (กุน) ให้ทือถงเป้ง 2 ชั้นในขาว นอกเหลือง สายเขียวหรือแดงก็ได้

  • ถงเปอ (อ่าน ถงเป๋อ )

หมายถึงย่ามขนาดใหญ่ ใช้บรรจุของเพื่อการเดินทาง เช่น อาจบรรจุข้าวสาร อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ อาจใช้ถงเปอบรรจุของแล้วสะพายหรือหายคู่กับภาชนะอื่นก็ได้

ผ้าที่ใช้ทำถงเปอนั้นทอด้วยฟืนหน้าแคบให้เป็นผืนผ้ากว้างประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยทำเป็นลายแซงคือใช้ด้ายพุ่งที่ย้อมด้วยครามสลับกับด้ายที่ไม่ย้อม ซึ่งเมื่อทอแล้วจะเกิดเป็นลายริ้วเป็นทาง ใช้ส่วนที่เป็นขาถงหรือขาของย่ามเย็บติดกับส่วนที่เป็นตัว

ในเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีบ้าตาวอดนั้น กล่าวว่าผีบ้าตาวอด เป็นผู้ชายที่สะพายถงเปอใบโต เพื่อจะจับเด็กที่ชอบออกไปเล่นไกลบ้านในฤดูดอกงิ้วแดงและดอกทองกวาวกำลังบาน เมื่อจับเด็กได้แล้วจะใส่ในถุงชนิดนี้แล้วจะนำไปแต่งตัว หยอกล้อเล่นกัน ต่าง ๆ ก่อนที่จะฆ่าเพื่อบูชายัญ

  • ถงแป้ว

หมาย ถึงย่ามที่บรรจุห่อข้าวหรืออาหารเพื่อใช้นำหน้าศพพร้อมกับ ทุง 3 หาง (อ่าน ตุงสามหาง) ถือว่าเป็นเสบียงที่ผู้ตายจะได้นำไปบริโภคในระหว่างการเดินทาง ถงหรือย่ามดังกล่าง จะทำด้วยผ้าดิบสีขาว มีลักษณะทรงสามเหลี่ยม มีสายหิ้วหรือสายสะพาย ซึ่งต่อมามักจะทำอย่างย่ามธรรมดาและอาจแต่งด้วยกระดาษทองเป็นลวดลายให้สวย งามก็มี ถงแป้วนี้เป็นชื่อเรียกในบางท้องถิ่น และมีบทบาทอย่างเดียวกับ ถงห่อเข้าด้วน

  • ถงพา (อ่าน ถงปา)

หมายถึงย่ามขนาดไม่ใหญ่นัก ใช้เป็นที่เก็บของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น กล่องยาสูบ กล้องยาสูบ ซึ่งมักจะใช้งานบ่อย

  • ถงยาง (อ่าน ถงญาง)

หมาย ถึงย่ามแบบที่ชาวแหรี่ยงนิยมใช้ มีขนาดไม่ใหญ่นัก สีมักจะออกไปทางสีแดง นิยมใช้ด้ายทำเป็นพู่ห้อยประดับตามตัวของย่าม นอกจากนี้ ถงยาง ยังหมายถึง ถุงพลาสติก และในคนรุ่นใหม่ยังหมายถึงถุงยางอนามัยที่ใช้คุมกำเนิดด้วย

  • ถงสะชา (อ่าน ถงสะจา)

ถงสะ ชา ถงขะชา หรือ ถงซะซา หมายถึงถุงอย่างถุงตะเคียวคือถุงที่ถักด้ายให้มีตาโปร่ง มักใช้บรรจุเครื่องรางของขลังและใช้แขวนไว้กับคอโดยเฉพาะในเวลาเดินทาง

  • ถงห่อเข้าด่วน

ถงห่อ เข้าด่วน หรือถงห่อเข้า คือย่ามเสบียงทำด้วยผ้าขาวหรือกระดาษสา ตัดเย็บเป็นย่าม ในย่ามใส่ไข่ต้ม ข้าวปลาอาหาร หมาก เมี่ยง บุหรี่ และเข็มเย็บผ้า เพื่อเป็นเสบียงในการเดินทางของผู้ตายที่จะไปสู่โลกหน้าเหมือนกับที่จัด เตรียมเพื่อเดินทางตรมปกติ แต่ในพธีงานศพนั้น การเดินทางครั้งสุดท้านของผู้ตายที่เดินทางไปสู่ป่าเร่ว(อ่าน ป่าเฮ่ว) หรือป่าช้า (อ่าน ป่าจ๊า )ก็จะมีย่ามบรรจุเสบียงอาหารสำหรับการเดินทางไปด้วย ในการเตรียมงานศพแบบล้านนานั้น เมื่อเชิญศพสู่โลงหรือบนแคร่หามที่มีแมวควบ (เครื่องปิดศพทำด้วยไม้ไผ่สานลักษณะคล้ายประทุน) แล้วก็จะเตรียมถงเข้าด่วนและทุงสามหาง ไว้ด้วย โดยแขวนไว้ใกล้ ๆ กับที่ตั้งศพ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อมีการใช้โลงศพแล้วก็นิยมวางบาตรพระไว้บนโลงศพด้วย เพื่อเป็นการแสดงว่าผู้ตายได้ทำบุญ ในพระพุทธศาสนาอยู่เนืองนิตย์และเมื่อเคลื่อนศพออกมาจากสถานที่ตั้งศพนั้น ก็ให้ผู้ถือทุงสามหางสะพาย ถงห่อเข้าด่วนไปด้วย อีกทั้งยังให้นำเดินนำหน้าขบวนศพเรื่อยไปจนถึงป่าช้า