เครื่องมือของใช้ล้านนา - สะทวง ( อ่านว่า “ สะตวง ”)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

สะทวง ( อ่านว่า “ สะตวง ”)
 

สะทวง คือกระบะสำหรับใส่เครื่องเซ่นไหว้หรือเครื่องบัตรพลี ปกติจะทำด้วยกาบกล้วยเป็นกรอบสี่เหลี่ยม กว้างตั้งแต่ประมาณ 1 คืน ถึง 1 ศอก การทำนั้นใช้กาบกล้วยกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวตามลักษณะการใช้งานมาหักมุมเป็นเหลี่ยม ซึ่งโดยมากจะเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดตามความต้องการ ตรงกลางเสียบด้วยตอกไม้ไผ่ชนิดแข็งให้พอวางของได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ใช้เพียง 1 สะทวง ก็อาจทำเป็นสะทวงอย่างดีหน่อย คือจะสานด้วยตกไม้ไผ่ทั้งแผง แล้วจึงร้อยเชือกทั้ง 4 มุม เมื่อเสร็จพิธีกรรมแล้วก็นำไปแขวนไว้ตามกิ่งไม้ หรือตามนอกรั้วบ้าน

สะทวง อาจะทำให้มีสามมุมเรียกว่า สะทวงสามแจ่ง โดยที่ปกติแล้วจะเป็นสะทวงสี่แจ่ง คือกระบะบัตรพลีทำเป็นสี่มุม และยังมีสะทวงห้าแจ่ง คือกระบะกาบกล้วยที่มีห้ามุมสำหรับการทำพิธีที่แตกต่างกันไปตามกำหนดของ พิธีกรรมแต่ละอย่างไป