วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

กลอง ( อ่าน ‘' ก๋อง '')


กลอง เป็นเครื่องดนตรีปะเภทตีซึ่งขึงด้วยหนังสัตว์เชื่อกันว่ากลองเป็นเครื่อง ดนตรีที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกในโลก พัฒนามาจากท่อนไม้ที่ใช้ไม้กระทุ้งเพื่อให้เกิดเป็นจังหวะต่อมามีการาขุด ท่อนไม้ให้เป็นโพรง เอาหนังสัตว์มาหุ้มแล้วกระทุ้งเพื่อให้เกิดเสียง แล้วประดิษฐ์ขึ้นมาให้มีขนาดตามต้องการหรือตามโอกาสที่จะใช้ แต่เดิมมานั้นเชื่อกันว่ามีเทพประจำอยู่ที่กลองแต่ละใบ ดังนั้นขั้นตอนในการทำกลองจะต้องมีพิธีกรรมประกอบเกือบทุกขั้นตอน และการตีกลองก็ตีเฉพาะกาลเท่านั้นดังจะเห็นได้จากสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้สร้างกลองและกลองแต่ละใบจะต้องดีเฉพาะเหตุ เช่น ตีบอกเวลา หรือตีแจ้งเหตุ อย่างกลองไพรีพินาศจะดีเมื่อมีศัตรูข้าศึกมาประชิดเมือง หรือในภาคเหนือทางเขตล้านนาจะมีธรรมเนียมที่เจ้าผู้ครองเมืองมักจะสร้างกลอง ประจำเมืองขึ้น เรียกว่า กลองอุ่นเมือง ใช้ตีเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่เมือง เป็นต้น

สำหรับกลองที่ปรากฏในภาคเหนือของประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑ . กลองที่ใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น กลองประจำเมือง กลองประจำวัด กลองหลวง เป็นต้น

๒ . กลองที่ใช้ประกอบการละเล่นและการแสดง เช่นกลองแอว กลองปูเจ่ กลองตะหลดปด กลองสะบัดชัย กลองเต่งถิ้ง กลองป่งโป้ง กลองมองเซิง กลองสิ้งหม้อง กลองแอว

ในที่นี้จะกล่าวถึงกลองแต่ละชนิดในรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

กลองก้นยาว ดูที่ กลองปู่เจ่

กลองกบ คือมโหระทึก เป็นที่ทำด้วยทองสำริดหรือทองเหลือง แต่ส่วนมากทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงหรือดีบุก เป็นกลองหน้าเดียว รูปทรงกระบอก ตรงกลางคอดเล็กน้อย มีขนาดต่าง ๆ ส่วนฐานกลวง มีหูหล่อติดข้างตัวกลอง ๒ คู่ สำหรับร้อยเชือกหามหรือแขวนกับหลัก ที่หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ มักมีรูปกบหรือเขียดอยู่ที่ขอบด้านบนโดยรอบทางล้านนาจึงเรียก

ค้องกบ ( อ่าน ‘' ก๊องกบ '') หรือค้องเขียด ตีด้วยไม้ ๒ อัน เสียงดังกังวาน อาจตีในลักษณะตั้งลอยเหนือพื้นหรือตะแคงอย่างฆ้อง

ในล้านนาแม้จะพบว่ามีกลองชนิดอยู่บ้าง อย่างในวิหารวัดพระธาติหริภุญชัย เป็นต้น แต่ไม่พบข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนว่าใช้ในงานพิธีใดบ้าง ปัจจุบันได้มีการนำออกใช้งานเป็นครั้งคราว เช่นเมื่อราว พ . ศ . ๒๕๓๗ ในขบวนแห่พระหยกเชียงรายมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ในขบวนแห่พบว่ามีการตีกลองกบหรือกลองมโหระทึกด้วย

สำหรับประเทศไทยทางภาคกลาง มีหลักฐานการใช้กลองมโหระทึกนี้ในงานราชพิธีต่าง ๆ อย่างปรากฏในไตรภูมิพระร่วงและในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา ซึ่งราชพิธีเสด็จไปทรงเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไปก็มี การเป่าแตรและกระทั่งมโหระทึกด้วยเช่นกัน

จากการศึกษาด้านโบราณคดี มีการขุดค้นพบกลองมโหระทึกหลายแห่ง ตั้งแต่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนลงมาถึงประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นประเทศฟิลิปปินส์ และเกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบทุกภาคนักโบราณคดีส่วนมากลงความเห็นว่า กลอง

มโหระทึก นี้น่าจะทำเป็นครั้งแรกในสมัยโลหะตอนปลาย หรือประมาณ ๒ , ๕๐๐ - ๑ , ๙๐๐ ปีต่อมา ตรงกับสมัยสำริดช่วงสุดท้ายของเวียดนามซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สมัยวัฒนธรรมดองซอนหรือดงเชิน (Dong Sonian Culture) มีระยะเวลาอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร๋หรือตรงกับช่วงเวลาเหลี่ยมกันระหว่าง สมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนกับวัฒนธรรมเทียน การทำกลองประเภทนี้ยังมีสืบเนื่องกันต่อมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งพบว่าชนบางเผ่าในสหภาพพม่ายังทำกลองมโหระทึกอยู่

ลักษณะของกลองมโหระทึก หากจำแนกตามยุคสมัยมีความแตกต่างกัน ดังนี้


กลองมโหระทึกสมัยวัฒนธรรมดองซอน

มีความสูงประมาณ ๔๒ – ๖๓ เซนติเมตร รูปร่างกลองส่วนบทเป็นตัวกล่องคล้ายโทนมโนรี

ส่วนร่างเป็นฐานรองรับตัวกลอง มี ๔ หู เชิงฐานผายออกคล้ายเชิงบาตร บนหน้ากลองมีลายรูปนกปากยาวบินวนจากซ้ายไปขาว กับมีลายรูปวงกลมมีจุดอยู่กลาง ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นทแยง มีรูปหอยหรือกบอยู่ริมหน้ากลองประจำอยู่ ๔ ทิศ ๆ ละ ๑ ตัว ด้านข้างกลองมีลวดลายอยู่โดยรอบ เป็นรูปเรือยาวมีคนนั่ง มีขนนกปักอยู่บนศรีษะ มีเครื่องดนตรีว่างใกล้ ๆ คน มีรูปสัตว์ เช่น กวาง เสือ และลายเรขาคณิตด้วย ในประเทศไทยพบกลองมโหระทึกลักษณะนี้ที่เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ตราด ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ในประเทศจีนพบทางตะวันตกมณฑลยูนนาน ประเทศเวียดนามพบที่ลุ่มแม่น้ำแดง และที่ตุงลัม (Tung Lam) จังหวัดฮาเตย (Ha Tay) ประเทศลาวพบที่หลวงพระบาง ปะเทศมาเลเซียพบที่รัฐสลังงอและรัฐปาหัง ปรเทศอินโดนีเซียพบที่สะมารังและเกาะบาหลี และประเทศกัมพูชาที่เมืองพระตะบอง เป็นต้น
กลองมโหระทึกสมัยประวัติศาสตร์

รูปร่างกลอง
ส่วนบทที่เป็นตัวกลองค่อนข้างแบน ส่วนล่างที่เป็นฐานรูปทรงกระบอก บนหน้ากลองมีลายวงกลมซ้อนกันเป็นแถวรอบหน้ากลอง ระหว่างลายวงกลมมีลายปลา นกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นทแยงที่ขนานกัน หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นทแยงที่ขนานกัน หรือลายเชือกถัก บนริมหน้ากลองมีรูปกบเกาะซ้อนกัน ๒ - ๖ ตัวประจำทั้ง ๔ ทิศ บางใบก็เป็นรูปนกยูงแทน ด้านข้างกลองเรียบไม่มีลวดลาย แต่มีรูปสัตว์ เช่น ช้าง หอยทาก จักจั่น ซึ่งขนาดเล็กมาก เดินตามกันเป็นแถวอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่ง

นอกจากนี้ แล้วนักโบราณคดีบางท่านยังได้จำแนกกลองมโหระทึกออกเป็นแบบต่าง ๆ หลายแบบ ตามลักษณะรูปทรง ขนาดลวดลายบนตัวกลองและบนหน้ากลอง เป็นต้น

สำหรับความมุ่งหมายในการทำกลองมโหระทึก ทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัย

ประวัติศาสตร์มีการสรุปไว้ดังนี้

๑ ) ใช้ตีในงานพิธีต่าง ๆ เช่นพิธีขอฝน รักษาคนไข้ ขับไล่ภูตผี และในพิธีเกี่ยวกับคนตาย

๒ ) ใช้ประโคมเป็นดนตรี

๓ ) ใช้ตีเป็นสัญญาณเมื่อมีข้าศึกหรือเมื่อออกศึก

๔ ) ใช้เป็นของรางวัล หรือเครื่องบรรณาการ

๕ ) ใช้เป็นที่แสดงถึงความมีฐานะหรือสถานภาพที่สูงของผู้ครอบครอง


วิธีทำกลองกบหรือกลองมโหระทึก

มีหลักฐานเป็นเอกสารเป็นภาษาพม่ากล่าวถึงวิธีการทำกลองมโหระทึก ซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทย โดยกล่าวถึงขั้นตอนการทำกลองมโหระทึกดังนี้

มีหลักฐานเป็นเอกสารเป็นภาษาพม่ากล่าวถึงวิธีการทำกลองมโหระทึก ซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทย โดยกล่าวถึงขั้นตอนการทำกลองมโหระทึกดังนี้

ขั้นแรกจะใช้ไม้ทำรูปกลองตามต้องการแล้วเอาดินเหนียวชนิดเหลือง ๒ ส่วน แกลบ ๑ ส่วนผสมกัน แล้วพอกที่ไม้ซึ่งทำเป็นรูปกลองนั้น จากนั้นใช้ดินเหนียวกับมูลวัวในปริมาณเท่ากัน ผสมให้เข้ากันแล้วพอกรูปกลองให้เรียบเสมอ ทิ้งไว้ให้แห้งพอควร ใช้ไม้แบน ๆ ตีให้เรียบเสมอกัน ใช้ขี้ผึ้งพอกอีกชั้นหนึ่ง ขุดแต่งขี้ผึ้งให้บางเสมอกัน คือนิ้วหนึ่งแบ่งเป็น ๘ ส่วน ขูดออกให้เหลือเพียงส่วนเดียว แล้วใช้ไม้ซึ่งแกะสลักเป็นรูปสัตว์หรือลวดลายต่าง ๆ ประทับบนขี้ผึ้งที่พอกไว้ นำขึ้ผึ้งมาปั้นรูปกบเกาะซ้อนกันสามตัวติดไว้บนหน้ากลองเมื่อเสร็จเรียบร้อย แล้ว นำดินเหนียวแห้งตำละเอียด กรองด้วยผ้า แล้วพอกบนขี้ผึ้ง ๓ ชั้น แล้วนำดินเหนียวและมูลวัวผสมกันพอกอีกชั้นหนึ่งโดยให้หนาประมาณ ๑ นิ้ว แล้วใช้ดินเหนียว ๑ ส่วน แกลบ ๑ ส่วน ผสมกันพอกลงให้หนา ๓ นิ้วหรือมากกว่านี้ ทิ้งไว้ให้แห้งดีแล้วนำหุ่นกลองไบ่เผาไฟให้ร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออกมา ซึ่งก่อนที่จะเอาหุ่นกลองเผาไฟนั้นต้องทำรูที่ฐานกลองไว้เพื่อขี้ผึ้งไหลออก มาได้หมด

เมื่อขี้ผึ้งไหลออกมาหมดแล้ว นำหุ่นกลองนั้นไปเผาไฟจนสุกเหมือนการเผาหม้อดินแล้วนำออกมาในขณะที่ยังร้อน อยู่การเทโลหะหล่อหุ่นกลองจะต้องเทขณะที่พิมพ์กลองยังร้อนอยู่ โดยต้องใช้ปริมาณโลหะให้พอดีกับขนาดของกลองตามมาตราส่วนทองแดงหนัก ๒๔ จ๊อย ตะกั่ว ๔ จ๊อย ดีบุก ๑๕ จ๊าบ ใส่เบ้าหลอมละลายดีแล้วก็เทลงที่ตีนพิมพ์กลองนั้นเวลาเทอย่าให้โลหะเย็นเป็น อันขาด ( ๑จ๊อยเท่ากับ ๒ ชั่ง ๑๒ ตำลึง . ๑จ๊าบเท่ากับ ๔ สลึง ๔ หุน ) เมื่อหล่อเสร็จทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงทุบดินพอกนั้นออก ก็จะไกลองโลหะรูปทรงตามพิมพ์ ซึ่งหากตรงไหนไม่เรียบก็ใช้ตะไบถู และที่ไหนบางหรือหนาไม่เท่ากัน ก็ใช้เหล็กดีชนิดแข็งขูดออกให้เสมอกัน ก็จะได้กลองกบ หรือค้องกบ คือกลองมโหระทึกตามต้องการ
กลองงูงา

เป็นกลองชนิดหนึ่ง มีกล่าวไว้ใน มังรายธรรมศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏรายละเอียด


กลองชุม ( อ่าน ‘' ก๋องจุม '')

กลองชุม คือกลองชุด ซึ่งเป็นกลองหลายใบที่ใช้บรรเลงร่วมกัน อาจมี ๓ , ๕ , ๗ , ๙ , ใบ มีกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพบว่ามีใช้ในการแห่พระธาตุของวัดพระธาตุ ศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อีกด้วย


กลองดิน ( อ่าน '' ก๋องดิน '')

กลองดิน เป็นกลองที่ทำขึ้นเพื่อใช้ตีในระหว่างเข้าพรรษาหากฝนฟ้าไม่ติดตามฤดูกาล เป็นการตีเพื่อเรียกฝน เมื่อเห็นว่าฝนทิ้งช่วงไปนาน ๆ

การทำกลองดินนี้ ทำโดยการขุดดินให้มีขนาดประมาณกว้าง ๑ เมตร ทรงกลมลึกประมาณ ๑ . ๕ เมตร หรืออาจจะเล็กกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ หนังหุ้มนั้นก็ใช้หนังวัวหรือหนังควายและไม่มีการพิถีพิถันในการนี้ให้ห่าง ปากหลุมตามสมควร คือประมาณไม่เกิน ๑ ศอก เอาหนังมาตัดให้ใกล้เคียงกับปากหลุมพอประมาณ เสร็จแล้วก็เจาะรูตามริมของผืนหนังทั่วทั้งผืน ใช้เชือกหรือหวายร้อยรูเหล่านี้แล้วมัดกับหลักให้แน่น ๆ โดยอาจจะนำหนังกลองนั้นไปชุบน้ำเพื่อให้อ่อนตัวก็ได้ เสียงกลองดินนี้ว่ากันว่า หากทำได้เหมาะเจาะ สามารถได้ยินเสียงไกลนับเป็นกิโลเมตร ปัจจุบันหาฟังได้ยาก เพราะคตินิยมในเรื่องนี้เปลี่ยนไปแล้ว

กลองตะหลดปด

กลองตะหลดปด เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังสองหน้าลักษณะการหุ้มหน้ากลองใช้สายเร่งเสียงดึงโดย โยงสายเร่งเสีายงสอดสลับกันไปมาระหว่างคร่าวหูหิ่งทั้งสองหน้า ตัวกลองมีลักษณะยาวคล้ายกลองแขก ทำได้ไม้เนื้อแข็ง ขุดเจาะโพรงภายในทั้งสองหน้าอยู่ในลักษณะบัวค่ำและบัวหงาย มีท่อนำเสียงตรงกลาง


วิธีทำกลองตะหลดปด

กลองตะหลดปดเป็นกลองสองหน้า ด้านที่หน้ากว้างกว่าอีกด้านหนึ่งเรียกว่า ‘' หน้าใหญ่ '' ส่วนอีกด้านหนึ่งจะแคบกว่าเรียกว่า ‘' หน้าหน้อย ''( หน้าเล็ก )

การทำ กลองตะหลดปดสมัยโบราณ ใช้ความกว้างของกลองหน้าใหญ่เป็นตัวกำหนดความยาวของตัวกลองคือความยาว ของกลองประมาณ ๓ เท่าของหน้าใหญ่ เช่นหน้ากลองใหญ่กว้าง ๗ นิ้ว ตัวกลองจะยาวประมาณ ๒๑ นิ้ว

ขุดเจาะภายในให้มีลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย โดยเจาะโพรงให้ลึกเท่ากับความกว้างของหน้ากลองแต่ละหน้ากล่าวคือ ด้านหน้าใหญ่ให้ลึกเท่าหน้าใหญ่ ด้านหน้าหน้อยลึกเท่าด้านหน้าหน้อยสัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดขนาด หน้าจะกว้าง ๖ นิ้ว และ ๗ นิ้ว

ปัจจุบัน ช่างกลองบางคนได้ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อคุณภาพของเสียงกลองตามประสบการณ์ของ ช่างกลอง กล่าวคือตัวกลองยาวประมาณ ๔ เท่าของหน้ากลองใหญ่

โพรงภายในยังอยู่ในลักษณะบัวคว่ำหงาย แต่โครงสร้างเปลี่ยนไปโดยแบ่งความลึก ตามความยาวของตัวกลองเป็น ๓ ส่วน สองส่วนแรกเป็นขนาดที่วัดจากจุดศูนย์กลางของท่อนำเสียงไปจากหน้ากลองด้าน เล็ก สัดส่วนที่นิยมปัจจุบันคือด้านหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๘ – ๑๐ นิ้ว ด้านหน้าเล็กประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว สัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดขนาดหน้ากว้าง ๘ และ ๑๐ นิ้ว

หนังที่ใช้หุ้มหน้ากลองนิยมใช้หนังวัว การหุ้มใช้วิธีขึงให้ตึงโดยใช้สายเร่งเสียงยึดโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งของทั้ง สองหน้า และเนื่องจากการตีจะตีหน้ากลองด้านเล็กหน้าเดียวด้านหน้าเล็กจึงใช้หนังที่ หนากว่าหน้าใหญ่
การติดขี้จ่ากลอง

กลองตะหลดปดโดยทั่วไป ไม่นิยมขี้จ่ากลอง ( ถ่วงหน้า ) แต่บางครั้งหากหน้ากลองตึงหรือหย่อนเกินไปทำให้เสียงไม่เข้ากับฆ้อง จึงต้องติดจ่าหรือขี้จ่าเพื่อปรับเสียงให้เข้ากับเสียงฆ้อง โดยจะติดหน้าหลองด้านใหญ่ โดยเริ่มติดแต่น้อยและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกว่าจะได้เสีายงตามที่ต้องการ

โอกาสที่ใช้ตี

กลอง ตะหลดปด ใช้ตีประกอบจังหวะร่วมกับกลองแอวซึ่งอาจเป็นวง กลองตึ่งนง เปิ้งมง ตกเส้ง หรือกลองอืดก็ได้ วงกลองเหล่านี้มักบรรเลงเป็นมหรสพในงานขบวนแห่โดยทั่วไป


กลองตึ่งโนง

โดยทั่วไปมักหมายถึง กลองแอว ซึ่งบรรเลงพร้อมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก ได้แก่ สว่า ( ฉาบ ) กลองตะหลดปด ค้องอุ้ย ค้องโหย้ง แนหลวง ( แตรขนาดใหญ่ ) แนหน้อย ( แตรขนาดเล็ก )( ดูเพิ่มที่กลองแอว )

กลองตุบ ดูที่ กลองต็อบ

กลองต็อบ

เป็นกลองขนาดย่อม ๓ ใบ มีหน้าเดียวหรือสองหน้าแขวนหรือผูกไว้ข้าง ๆ กลองบูชา และใช้ตีร่วมกัน บ้างเรียกว่า กลองตุบ


กลองเต่งถิ้ง

กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า มีสายโยงเร่งเสียงและมีขาตั้ง รูปร่างลักษณะคล้ายตะโพนมอญชื่อกลองเรียกได้ตามเสียงกลองขณะที่ตีเสียงดัง ‘' เต่ง - ถิ้ง ''

โครงสร้างของกลองเต่งถิ้ง มีลักษณะคล้ายตะโพนมอญมาก ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะม่วงหรือไม้ขนุน หน้ากลองด้านหนึ่งหว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง โดยหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๖ – ๑๘ นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ ๑๑ – ๑๓ นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ ๒๖ – ๒๘ นิ้ว

หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งทั้งสองหน้า ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว ก่อนตีจะติดขี้จ่าหรือถ่วงหน้ากลองทั้งสองด้านให้ดังกังวาน

กลองเต่งกิ้ง ปกติคู่กับกลอง ป่งโป้ง ในวง เต่งถึ้ ซึ่งใช้แห่ในงานบุญของวัด แห่ขบวนงานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา และในการฟ้อนผีอีกด้วย
กลองถิ้งหม้อง ดูที่ กลองสิ้งหม้อง
กลองเถ่งถิ้ง ดูที่ กลองเต่งถิ้ง
กลองเถิ้งบ้อง ดูที่ กลองสิ้งหม้อง
กลองเถิดเถิ้ง ดูที่ กลองหลวง

กลองป่าโป้ง

กลองป่าโป้ง เป็นกลองสองหน้าขึงด้วยหนัง มีสายโยงเร่งเสียงและขาตั้ง รูปร่างลีกษณะคล้ายตะโพน ชื่อกลองได้ตามเสียงที่เวลาตีดัง ‘' ป่ง - โป้ง ''

วิธีสร้าง

กลองป่งโป้งสร้างจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้มะม่วง เป็นต้น ไม้ที่ใช้ต้องเป็นไม้ที่แห้งสนิท ขุดเจาะเป็นโพรงภายใน โดยหน้าหนึ่งกว้างอีกหน้าหนึ่งประมาณ ๒ นิ้ว ความยาวของตัวกลองยาวประมาณเท่ากับความกว้างของทั้งสองหน้ารวมกัน กล่าวคือ ขนาดหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว หน้าเล็กกว้าง ๘ นิ้ว ความยาวของตัวกลองยาวประมาณ ๑๘ นิ้ว

หน้ากลองทั้งสองหน้าขึงด้วยหนัง ซึ่งมักนิยมใช้หนังวัววิธีการขึงนั้นใช้สายโยงเร่งเสียงระหว่างคร่าวหูหิ่ง ทั้งสองหน้าให้ดึงจนหนังอยู่ตัว


การติดขี้จ่า

กลองป่งโป้งถ้าจะให้มีเสียงดีและดังกังวานต้องติดขี้จ่า คือนำข้าวเหนียวบดผสมขี้เถ้าแล้วติดตรงกลางของหน้าหลองทั้งสองหน้า ให้หน้าใหญ่มีเสียงดัง ‘' ป่ง '' หน้าเล็กเสียงดัง '' โป้ง '' โดยเทียบเสียงคู่ ๔ คือ ซอล - โด หรือ คู่ ๕ คือโด - ซอลก็ได้

โอกาสที่ใช้กลองป่งโป้ง

ใช้ตีประกอบจังหวะใช้วงกลองเต่งถิ้ง และวงสะล้อ - ซึง ซึ่งนิยมบรรเลงกันโดยทั่วไปเขตภาคเหนือตอนบน

กลองปุ่งปุ้ง เป็นตะโพนขนาดเล็กกว่า กลองปุ่มผิ้ง บ้างเรียก กลองเต่งถิ้ง

กลองปุ่มผิ้ง เป็นตะโพนขนาดใหญ่คล้ายตะโพนมอญบ้างเรียก กลองเต่งถิ้ง

กลองปูชา

กลองปูชา หรือ กลองบูชา เป็นกลองที่สร้างขึ้นสำหรับถวายวัด เพื่อเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อที่ว่าเสียงกลองจะดังไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้า เพื่อให้บรรดาเหล่าเทพยดาทั้งหลายเป็นสักขีพยานในการทำบุญทุก ๆ ครั้ง ดังนั้นกลองปูชา จึงมีประจำอยู่ตามวัดต่าง ๆ โดยจะมีการติดตั้งไว้ในหอกลอง และจะไม่มีกรเคลื่อนย้ายใด ๆ
ลักษณะกลองปูชา

กลองปูชาเป็นกลองชุด ประกอบด้วยกลองใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างต่ำประมาณ ๑ เมตร สูงประมาณ ๒ . ๕๐ เมตร บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กลองตั้ง ทำด้วยไม้หนังวัว หนังกวาง ปัจจุบันนิยมใช้หนังควาย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีความทนทาน ด้านข้างจะเจาะรูกลมขนาดประมาณ ๓ - ๔ เดือย กลองตุบ หรือกลอง กลองลูกตุบ แต่ละใบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๕๐ เซนติเมตร สำหรับไว้ตีเพื่อให้เกิดเสียงที่ขัดกัน ทำให้เกิดท่วงทำนองที่ไพเราะ

ในการตีทำนองทั่วไปจังหวะช้าและทำนองสะบัดชัยจะมีฉาบใหญ่และฆ้องชุดตีประกอบ กลองปูชานี้จะตีในวันโกน วันพระ เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเตือนให้ชาวบ้านสำรวมอยู่ในศีลในธรรม


อุปกรณ์ในการตีกลองปูชา

ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงแตกต่าง ได้แก่

๑ . ไม้ตีใหญ่หรือกลองตั้ง เป็นไม้ยาวขนาด ๑ ฟุต ปลายหุ้มด้วยผ้าให้หนา ใช้ตีให้เกิดเสียงทุ้มกังวาน

๒ . ไม้ตีกลองเล็ก หรือกลองตุบ เป็นไม้กีบเสียงตีเป็นแบบฟาดแส้ เรียกว่า '' ไม้แสะ '' นิยมตีเมื่อกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา ประกาศให้เทพยดารับรู้การทำบุญทำกุศลครั้งนี้ เช่น เมื่อมีการสวมยอดเจดีย์ เบิกเนตรพระ ฯลฯ

การตีกลองปูชาไม่มีการเทียบเสียง แต่จะเป็นการถ่วงหนังกลองหรือติดขี้จ่ากลองให้เสียงกังวาน ด้วยข้าวเหนียวบดกับขี้เถ้า


โฉลกกลองปูชา

บุคคล ผู้ใดจะสร้างกลองปูชา ให้ได้ลักษณะที่เป็นมงคลให้วัดเอาหน้ากลองได้ขนาดเท่าใดแล้ว ให้แงเป็น ๘ ส่วนได้เท่าใดแล้ว เอา ๓ คูณ แล้วเอา ๘ หาร ถ้าได้เศษทายดังนี้

เศษ ๑ ชื่อว่า นันทเภรี ตีเมื่อใดเกิดปีติยินดีแก่ผู้ที่ได้ยินเสียงกลองนั้น

เศษ ๒ ชื่อว่า วิโยคเภรี ตีเมื่อใดผู้ที่ได้ยินก็ไม่เกิดความยินดี

เศษ ๓ ชื่อว่า เดชเภรี ตีเมื่อใดก็เกิดความชื่นชมยินดี

เศษ ๔ ชื่อว่า มรณเภรี ตีเมื่อใดจิตใจไม่ชมชื่นยินดี

เศษ ๕ ชื่อว่า ชัยยเภรี ตีเมื่อใดใจกล้า ยอตั้งหน้าสาธุการ

เศษ ๖ ชื่อว่า ตีเมื่อใดย่อมให้หวาดวิตกกังวล

เศษ ๗ ชื่อว่า มังคลเภรี ตีเมื่อใดย่อมทำให้หายเสียยังทุกข์โทษ เกิดปราโมทย์ยินดี

เศษ ๐ ชื่อว่า โกธเสรี ตีเมื่อใดย่อมให้โทษโกรธเคืองกัน

กลอง ปูชาที่ดีเชื่อกันว่า ต้องมีการเขียนคาถาใส่ใบตาล ใบลาน แผ่นเงิน หรือแผ่นทองบรรจุลงในผลมะตูมแห้ง แล้วปิดทองแขวนไว้ในกลองปูชาเพื่อเป็นหัวใจของกลองปูชา ซึ่งบ้างก็ว่า ทำให้กลองมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ทางด้านเมตตามหานิยม

ในการ ถวายกลองปูชาแก่วัด จะมีการเชิญผู้มียศศักดิ์มาเป็นประธาน แล้วให้คนถือเครื่องมือเป็นต้นว่า หอก ดาบ มีด ขวาน และคีมปากนกแก้ว ตั้งด่านอยู่ที่ประตูวัด เมื่อกลองมาถึง ก็จะถามผู้นำเอากลองมาว่า เมื่อเอากลองมาไว้วัดแล้วจะมีประโยชน์อันใด ฝ่ายที่นำกลองมาก็จะชี้แจงถึงความสำคัญของกลองนี้ว่าเป็นกลองศักดิ์สิทธิ์ ที่จะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง และกลองนี้ยังจะช่วยรักษาเมือง ป้องกันข้าศึกศัตรู ทั้งยังจะช่วยรักษาค้ำชูพุทธศาสนาให้มั่นคงอยู่ในบ้านเมืองอีกด้วย เมื่อมีการชี้แจงกันแล้ว จะมีผู้นำเครื่องบูชาประกอบด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ออกไปรับ และนำคีมปากติดตั้งในวัด และจะมีพิธีกรรมต่าง ๆ ในการประดิษฐานกลอง


กองบรรเลงกลองปูชา

ในการแห่กลองปูชา แต่เดิมจะตีเวลากลางคืน ประมาณ ๒๐ . ๐๐ นาฬิกา โดยใช้เพลงแห่ประกอบด้วย สำหรับเพลงที่ใช้นั้นโดยทั่วไปที่ใช้กันมี ๔ เพลง คือ

๑ . เพลงเสือขบตุ๊

๒ . เพลงสาวหลับเต๊อะ

๓ . เพลงล่องน่าน

๔ . เมื่อมีงานถวายสลากภัตต์จะมีการตีฟาดแส้ด้วย


การตีกลองปูชานี้ ถ้าไม่มีเรื่องจำเป็นแล้ว จะห้ามตีพร่ำเพรื่อ เพราะถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ผู้ตีกลองปูชาแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้เดี่ยวกลอง และผู้เล่นประกอบ การตีกลองจะตีเกริ่นด้วยบทนำที่เรียกว่า บทกระสวน ก่อน ๓ ครั้ง จากนั้นจึงตีตามความถนัดของผู้ตีแต่ละบุคล โดยมีฆ้อง ฉาบ กลองตะหลดปด คอยเป็นตัวยืน ให้จังหวะ การตีกลองปูชาจะมีความไพเราะอยู่ที่ผู้เดี่ยวกลองซึ่งจะต้องใช้ลูกเล่นในการ ตีกลองทั้ง ๔ ใบ ( ใบใหญ่ ๑ ใบ ใบเล็ก ๓ ใบ ) ให้ประสมประสานกันให้เกิดท่วงทำนองอันไพเราะ เมื่อตีกลองไปพอสมควรแล้ว จึงจะลงทำนองด้วยบทกระสวนอีก ๓ ครั้ง ผู้ตีไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกัน

กลองปูชา ใช้ตีในโอกาสต่าง ๆดังนี้

๑ . ตีบอกกล่าวการประชุมชาวบ้าน

๒ . หลังจากพระเทศน์ของวัด เช่น งานปอยหลวง ถวายสลากภัตต์

๔ . ตีในคืนก่อนวันพระ เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้ชาวบ้านทราบว่านรุ่งขึ้นจะเป็นวันพระ จะได้เตรียมตัวมาทำบุญที่วัด

ประเพณีการตีกลองปูชา

การตีกลองปูชา พบมากในเขตจังหวัดภาคเหนือและในรัฐฉานของพม่า แต่ปัจจุบันปรากฏว่าผู้มีความชำนาญในการตีกลองปูชาตามแบบประเพณีดั้งเดิม เสียชีวิตไปเป้นจำนวนมากจึงทำให้ความนิยมในการตีกลองปูชาลดจำนวนลงไปด้วย ดังจะพบว่าในบางวัดมีกลองปูชาเก็บรักษาไว้ แต่ไม่มีผู้สามารถตีได้ จึงทำให้กลองปูชาถูกปล่อยปละละเลยทอดทิ้งไว้อย่างน่าเสียดาย

สำหรับปัจจุบันนี้ เท่าที่พบว่ามีการตีกลองปูชากันอยู่มาก คือในแถบอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดลำพูน โดยจะเป็นการตีกลองปูชาแบบประสมวง เช่น ในเขตอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอเมืองลำพูนบางหมู่บ้าน เช่น บ้านเหมืองจี้ บ้านแป้น เป็นต้น ในแถบจังหวัดเชียงใหม่

พบมากที่อำเภอจอมทองและวัดบางแห่งของอำเภอสันทราย อำเภอสันกำเพลง ในเขตจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และบางแห่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งในการตีกลองปูชาในแต่ละจังหวัดจะมีท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีการตีเป็นปกติในคืนวันโกนที่จังหวัดน่าน

จากการศึกษารวบรวมของพระครูสังวรญาณ เจ้าคณะอำเภอบ้านโฮ่ง เรื่องเกร็ดความรู้เรื่องกลอง และจากงานเขียนของอาจารย์สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์ เรื่องกลองปูชากับพิธีกรรม ทำให้ทราบว่ามีการทำพิธีกรรมในเกือบทุกขั้นตอนของการทำกลอง

กลองปู่เจ่

กลองปู่เจ่ เป็นกลองหน้าเดียวรูปร่างคล้ายกลองยาวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น อุเจ่ อู่เจ่ ปุ๊ดเจ่ ปั๊ดเจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า

กลองก้นยาว ส่วนชาวไทลื้อเรียกกลองชนิดนี้ว่า กลองตีนช้าง ( อ่าน ‘' ก๋องตี๋นจ๊าง '')


วิธีสร้างกลองปู้เจ่

อันดับแรกต้องคัดเลือกไม้ที่จะนำมาสร้างเป็นตัวกลองก่อน ไม่นิยมกันมาก ได้แก่ ไม้ซ้อ ไม้ขนุน เมื่อได้ไม้แล้วนำมาถากพอเป็นรูปร่าง จากนั้นจึงกลึงและเจาะตามลำดับ

ขนาดและสัดส่วนของตัวกลอง เดิมนั้นวัดขนาดโดยใช้ขนาดของหน้ากลองเป็นหลักสำหรับกำหนดส่วนสัดอื่น ๆ คือความยาวของไหกลองไปถึงส่วนคอด ( แอวกลอง ) ยาวเป็น ๑ ๑ / ๒ เท่าของหน้ากลอง ความยาวส่วนคอดยาว ๑ เท่าของหน้ากลองและความยาวส่วนท้ายกลองยาวเป็น ๒ เท่าของหน้ากลองตามสูตร

แต่ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขบางส่วน จากประสบการณ์ของ สล่ากลอง ( ช่างทำกลอง ) เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงตามที่นิยมกันอยู่ โดยกำหนดสัดส่วนหน้ากลองกว้างประมาณ ๒๕ – ๒๘ เซนติเมตร ความยาวของไหกลองประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ความยาวจากไหถึงคอดประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ความยาวส่วนคอดประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และความยาวส่วนท้ายประมาณ ๔๗ – ๕๐ เซนติเมตร

สำหรับหนังที่ใช้ขึงเป็นหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวตัวเมียอายุ ๓ - ๔ ปี ไม่มีรอยแส้ และต้องเป้นหนังจากลำตัวด้านซ้ายเพราะมีลักษณะบางไม่ด้านหรือหนาเหมือนหนัง จากลำตัวด้านขาวที่ถูกนอนทับ การขึงหรือหุ้มหน้ากลอง ขึงให้ตึงโดยสายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บช้าง ( ดูทีเพิ่มที่ กลองแอว )
การติดถ่วงหรือขี้จ่ากลอง

เสียงกลอง จะดังกังวานไพเราะ ต้องมีการติดถ่วงหน้าหรือติดขี้จ่ากลองซึ่งหมายถึง การติดขี้จ่าที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก บดผสมขี้เถ้าละเอียด ในการติดนั้นเริ่มจากศูนย์กลางของหน้ากลองแผ่ออก ในขณะที่ติดจะทดลองตีฟังเสียงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้เสียงตามต้องการ

การประสมวง

การประสมวงใช้กลองปู่เจ่ใบเดียว ฉาบขนาดกลาง ๑ คู่ และฆ้องโหม่ง ประมาณ ๓ - ๕ ใบ

จังหวะและลีลาการตี

จังหวะ ของวงกลองปู่เจ่นั้นค่อนข้างจะเร่งเร็ว โดยมีฆ้องโหม่งตียืนจังหวะด้วยความพร้อมเพรียง สำหรับกรตีกลองนั้น ผู้ตีจะต้องมีลีลาประกอบ คือสะพายกลองย่อตัวขึ้นลงตามจังหวะ ขาข้างหนึ่งมักเหยียดไปข้างหลังขนานคู่กับตัวกลองส่วนท้าย ทำอาการยักไหล่ เอียงศรีษะให้ดูน่าชม ลูกเล่นการตีที่เรียกว่า ‘' ลีลาหน้ากลอง ‘' , มักละเอียดซับซ้อน คือใช้ทั้งฝ่ามือ นิ้วมือ กำปั้น ตีเต็มเสียง ครึ่งเสียง ลักจังหวะ มีการกดหน้ากลองให้เกิดเสียงต่าง ๆ หลากเสียง ส่วนฉาบนั้น นอกจากจะได้ตีขัดจังหวะระหว่างฆ้องโหม่งและกลองแล้วยังมีลีลาหลอกล่อกับคนตี กลองอีกหลายลักษณะ เช่น ตีหน้า ตีหลัง ลอดใต้ขาตบกับพื้น เข้าหาและออกจากคนตีกลองด้วยเชิงรุกเชิงรับและหนีอย่างมีชั้นเชิง เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมเกิดความประทับใจ

โอกาสในการตี

การตีกลองปู่เจ่มักพบเห็นในงานบุญของวัด ขบวนแห่ต่าง ๆรวมถึงการแห่หรือประโคมประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบเต้นโต ฟ้อนนางนก กระทั่งการปล่อยว่าควัน โคมไฟ จุดบอกไฟ เป็นต้น

กลอง ปู่เจ่ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยม จึงมักพบการตีกลองนี้ในงานบุญหรืองานประเพณีสำคัญต่าง ๆ ในเชียงใหม่ ลำพูน เป็นต้น และมักมีการจัดประกวดการตีกลองชนิดนี้อยู่เสมอ

กลองมองเซิง

กลองมองเซิง คือกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้ามีสายโยงเร่งเสียง รูปร่างคล้ายตะโพนมอญ ไม่มีขาตั้ง แต่มีสายสร้อยสำหรับคล้องคอเวลาตี ชื่อกลองมองเซิง เป็นภาษาไทใหญ่ คำว่า

‘' มอง ‘' แปลว่า ‘' ฆ้อง '' เซิง '' แปลว่า ‘' ชุด '' กลองมองเซิงจึงหมายถึงกลองที่ใช้ฆ้องเป็นชุด เพราะวงกลองมองเซิงจะเน้นเสียงฆ้องเป็นหลักใหญ่

วิธีสร้าง

ตัวกลองมองเซิงสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะม่วง ไม้ขนุน ไม้ประดู่ หน้ากลองด้านหนึ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งเล็กหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๑๖ – ๑๘ นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ ๑๑ – ๑๓ นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ ๒๖ – ๒๘ นิ้ว ภายในขุดเจาะเป็นโพรง ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย หนังหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวขึงทั้งสองหน้า โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่ง ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว