วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

บทความ นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  4  ตุลาคม  2548 - แน (2)

    แน (2)

 

    ประเภทของแน

แนในล้านนามีสองประเภท คือ “แนแบบเชียงใหม่” กับ “แนแบบลำปาง” แบบเชียงใหม่มีแพร่หลายในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดลำพูน ส่วนแนแบบลำปางนั้นใช้แพร่หลายในจังหวัดลำปาง  พะเยา  เชียงราย  แพร่  และน่าน สำหรับจังหวัดเชียงรายนั้น มีการผสมผสานกัน เช่น นำเอาถะแหวหรือกะบังลมของแนแบบเชียงใหม่มาใช้กับแนแบบลำปาง บางเลาก็นำเอาถวา หรือลำโพงแนหน้อยแบบเชียงใหม่มาใส่กับแนหน้อยลำปาง เป็นต้น

    ข้อแตกต่างระหว่างแนเชียงใหม่กับแนลำปาง

แน
เชียงใหม่
ลำปาง
ลิ้นแน
ถะแหว (กะบังปี่)
รูปปากในการอมลิ้น
(Embouchure)
รูนับ (รูนิ้ว)
รูคาง (รูนิ้วค้ำ)
การวางนิ้ว
การใช้ลิ้นออกเสียง
(Tounguing)
ถวา (ลำโพง)
2  คู่ มีอมลิ้นเข้าไปในปาก 7
ไม่มี
มือบน  4  นิ้ว
มือล่าง  3  นิ้ว
ใช้ลิ้นช่วยออกเสียงน้อย
ใช้ถวาโลหะทั้งแนหน้อยและแนหลวง
3  คู่
ไม่มี
ใช้ริมฝีปากคาบลิ้นไว้ 6 มี มือบน  3  นิ้ว
มือล่าง  3  นิ้ว
นิยมใช้ลิ้นช่วยออกเสียง
แนหน้อยใช้ถวาไม้
แนหลวงใช้ถวา


ส่วน "แนเชียงราย" พบว่ามีการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบเชียงใหม่กับลำปาง คือไม่มีถะแหว (กะบังปี่) มีรูนับ  6  รู  และมีรูคางแบบลำปาง แต่ใช้ถวาโลหะแบบเชียงใหม่

    ชนิดของแน

ทั้งเชียงใหม่และลำปางมีการแบ่งแน ออกเป็น 2 ชนิด คือ แนหน้อย กับแนหลวง เคยพบว่ามีการใช้แนขนาดเล็กกว่าแนหน้อย เรียกกันว่าแนตัด มาบรรเลงในวงพาทย์ ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบการใช้แนตัดบ่อยนักแนหน้อย                 แนหน้อย  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของล้านนาที่ใช้บรรเลงคู่กับแนหลวง ซึ่งใช้ประสมวงกับวงกลองตึ่งนงและวงกลองเต่งถิ้ง

ในการบรรเลงประสมวงนั้น แนหน้อยจะเป็นตัวนำเพราะเสียงดัง สามารถปรับลีลาให้เป็นทำนองหวานซึ้ง เศร้าสลดหรือตลกเฮฮาได้ดี เสียงของแนหน้อยนั้นสูงพริ้ว ที่ภาษาล้านนาเรียกว่าเสียง “อิ้ว” หรือ “ลิ้ว” สามารถเลียนแบบเสียงธรรมชาติได้เกือบทุกอย่าง เช่น เสียงไก่ขัน เสียงคนพูด และเสียงคนร้องเพลง เป็นต้น ลีลาการบรรเลงก็มีลูกเล่นแพรวพราว มีการล้อ เหลื่อมล้ำหน้าหรือตามหลังอย่างมีศิลปะ

เพลงพื้นบ้านที่ใช้แนหน้อยบรรเลงประจำ คือเพลง “แหย่ง” ซึ่งเป็นเพลงทำนองเดียวกับเพลง “ปราสาทไหว” แต่บรรเลงคนละระดับเสียง การบรรเลงของวงต้องอาศัยแนหน้อยเป็นหลัก ดังจะจำแนกให้เห็นดังนี้

ถ้าแนหน้อยขึ้นเสียง  โด  จะเป็นเพลง แหย่งหลวงหรือปราสาทไหว
ถ้าแนหน้อยขึ้นเสียง  เร  จะเป็นเพลงปราสาทไหว
ถ้าแนหน้อยขึ้นเสียง  ซอล  จะเป็นเพลงแหย่งน้อย
ถ้าแนหน้อยขึ้นเสียง  ลา  จะเป็นเพลงปราสาทไหว


  •     แนหลวง

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของล้านนาที่ใช้บรรเลงคู่กับแนหน้อย ใช้ประสมวงกับวงกลองตึ่งนง และวงกลองเต่งถิ้ง  แนหลวงมีขนาดใหญ่กว่าแนหน้อย เสียงของแนหลวงจึงทุ้มต่ำ เวลาเล่นประสมวงจะเป่าเสียงเลอๆ คือเป่าตามทำนองหลัก ไม่มีลูกเล่นซึ่งต่างจากแนหน้อยจะมีลูกเล่นแพรวพราว สรุป

จากการศึกษาดนตรีการล้านนาที่เผยแพร่ผ่านคอลัมน์นาฏดุริยการล้านนาในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์มา โดยตลอดนั้น  จะพบว่ามีรายละเอียดมากมาย  ทั้งความเป็นมาวิวัฒนาการของเครื่องดนตรี  หน้าที่ และบทบาท   นอกจากนี้สิ่งที่ต้องสานต่อก็คือ การศึกษาและรวบรวมท่วงทำนองเพลงของล้านนา  ซึ่งพบว่ามีหลายทำนองเพลงที่ยังกระจัดกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ บางเพลงมีผู้บรรเลงได้บ้าง บางทำนองอยู่ในความทรงจำที่ต้องบรรเลงผ่านเส้นเสียงของคน  บางท่วงทำนองไปปรากฏในบทสวดหรือเพลงกล่อมลูก สิ่งเหล่านี้ถ้ามีการรวบรวมและศึกษาอย่างเป็นระบบ  ก็น่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการต่อไป

สนั่น   ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยเนติ  พิเคราะห์ และเสาวณีย์  คำวงค์ )

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้นฉบับ : http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/10/04/