วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

บทความ นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  6  ธันวาคม 2548 - ฟ้อนดาบ (2)

ฟ้อนดาบ (2)

ชื่อท่ารำในการฟ้อนดาบที่ได้เสนอไปวันจันทร์ก่อนมีรายละเอียดในการปรับเปลี่ยน และข้ออธิบาย ซึ่งในที่นี้จะยึดเอาท่ารำของพ่อครูคำ  กาไวย์ เป็นหลัก ดังนี้

1. บิดบัวบาน 
บางแห่งหรือบางสำนักเรียก บัวบาน


   2. เกี้ยวเกล้า  บางแห่งเรียก เกล้าเกี้ยว หรือหมอมุงเมือง


   3. ล้วงใต้เท้ายกแหลก ท่านี้เป็นการบัญญัติขึ้นใหม่โดยแตกออกจากท่าเกี้ยวเกล้าที่ฟ้อนอยู่ส่วนบน โดยท่าใหม่นี้จะใช้ดาบล้วงใต้เท้า ซึ่งเป็นการเคลื่อนดาบให้สามารถคลุมส่วนล่างของร่างกายได้


   4. มัดแกลบก้องลงวาง โดยทั่วไปเรียก หมัดนอนแกลบ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าฟ้อนอย่างไร แต่ท่ารำของครูคำ  กาไวย์ จะไข้วขา เอี้ยวตัวเหมือนการมัดตอก


   5. เสือลากหางเหล้นรอก ทั่วไปมักเรียก เสือลากหาง หรือเสือต่อหาง ซึ่งมักจะมีท่าตามมาว่ากวางเหลียวเหล่า ซึ่งทั้งเสือลากหาง และ กวางเหลียวเหล่า ต่างก็ยังไม่ชัดเจนเรื่อง ท่าฟ้อน ในขณะที่ท่าของครูคำ  กาไวย์ กำหนดให้สมมุติเท้าเป็นหางเสือแล้วยกยื่นไปด้านหลัง


   6. ช้างงาทอกตวงเต็ก ซึ่งพบในมหาชาติฉบับสร้อยสังกรนั้น ทั่วไปเรียก ช้างงาทอก


7. กำแพงเพ็กดินแตก
ชื่อของแม่ท่านี้ยังไม่พบในตำราของสำนักอื่น


8. ฟ้าแมบบ่อทันหัน
ชื่อและท่าฟ้อนของแม่ท่านี้ยังไม่พบในสำนักอื่นเช่นกัน


9. ช้างงาบานเดินอาจ
บางแห่งเรียก ช้างงาแบน


10. ปลาต้อนหาดเหินเหียน
ทั่วไปมักเรียกคลาดเคลื่อนกัน เช่น ปลาเหลื่อมหาด ปลาเหลื้อมหาด ปลาเหลี่ยมหาด และปลาเลียมหาด เป็นต้น


  11. อินท์ทือเทียนถ่อมถ้า ทั่วไปเรียกทือเทียนหรือ ถือเทียน


12. เกินก่ายฟ้า
  ท่านี้ไม่ปรากฏว่าพบในสำนักอื่น


13. สวักก้นพระยาอินท์
ท่านี้ไม่ปรากฏว่ามีในสำนักอื่นเช่นกัน


14. แซวซูดน้ำบินเหิน
  ทั่วไปเรียก แซวซูดน้ำ หรือ แซวจุ่มน้ำ


15. สางลายเดินเกี้ยวกล่อม
ทั่วไปเรียก สาง สนส้น สวนส้น หรือสำส้น เพราะในขณะฟ้อนจะให้ส่วนส้นของด้ามดาบสวนทางกัน และสางออกเป็นการสลับกัน
คีมไฮฮ่อม  ทั่วไปเรียก คีมไฮ


16. ถีบฮ้วง 
ท่านี้มาจาก ฮ้วง ซึ่งมีทั้ง  “ฮ้วง” ด้านล่างและด้านบน โดยคำ “ฮ้วง” แปลว่าอ้อมหรือรอบ การฟ้อนดาบโดยอ้อมดาบเป็นวงโดยรอบด้านหน้าแล้วหยุด เอาปลายดาบแตะไขว้กันทั้งด้านล่างและด้านบนเรียกว่า “ฮ้วง” เมื่อถีบดาบให้แยกจากกันจึงเรียก ถีบฮ้วง


  17. ควงโค้งไหล่สองแขน เป็นชื่อที่ตั้งใหม่เนื่องจากการควงดาบทั้งสองมือทั่วไปเรียก แวนควง


  18. วนแวนล้วงหนีบ เป็นชื่อที่บัญญัติใหม่ ทั่วไปเรียก เหน็บแฮ้ คือสอดดาบเข้าที่รักแร้


19. ชักรีบแทงสวน
เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


  20. มนม้วนสีไคล ทั่วไปเรียก สีไคล


21. ชักแทงใหม่ถือสัน
เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


  22. ช้างตกมันหมุนวนเวียนรอบ  เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยเหตุจากแสดงถึงการทรงตัวของผู้ฟ้อน


  23. เสือคาบรอกลายแสง  เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่จากท่าที่แสดงการหลอกล่อ


24. สินส้น
เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


25. สินปลาย
  เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


26. ลายแทง 
เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


27. กอดแยง 
เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่


28. แทงวัน 
เป็นท่าและชื่อที่มีอยู่ทั่วไป


  29. ฟันโข่  เป็นท่าและชื่อที่มีอยู่ทั่วไปเช่นกัน


30. บัวบานโล่
เป็นท่าฟ้อนผสมของท่าบิดบัวบาน และเกี้ยวเกล้า


31. ลายสาง
  ทั่วไปเรียก สาง หรือ สางลาย

 

อย่างไรก็ตามการฟ้อนดาบนั้นมีหลากหลายครูอาจารย์ หากจะนำมาถ่ายทอดทั้งหมดคงเป็นการยากยิ่ง ดังนั้นการบัญญัติชื่อท่าขึ้นใหม่ให้จดจำง่าย จึงนับเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการสืบทอดในเชิงปฏิบัติได้ดีอีกทางหนึ่ง


สนั่น   ธรรมธิ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยจรัสพันธ์  ตันตระกูล และเสาวณีย์  คำวงค์)

 
ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่