วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
29/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

กว่าง


กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็ง ชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ DYNASTIDAE ตัวผู้มีเขายื่นไปข้างหน้าและโค้งเข้า ตอนปลายแยกเป็นสองแฉก ตัวเมียไม่มีเขา ชอบกินน้ำหวานจากอ้อยเป็นต้น

กว่างเกดจากไข่ของแม่กว่างที่ฟักตัวในดิน มีชื่อเรียกตามรูปร่าง ตามขนาด และเรียกตามแหล่งที่เกิด มี กว่างโซ้ง กว่างแซม กว่างกิ กว่างอี่มูด ( อีอู้ด หรือ อี่หลุ้ม ) กว่างซาง กว่างก่อและกว่างหน่อตัวกว่างจะเริ่มขุดออกจากดินตั้งแต่ประมาณปลายเดือนกร กฏาคม เมื่อออกจากดินแล้วกว่างจะเที่ยวบินหากินและผสมพันธุ์ อาหารของกว่างมียอดพืชผัก ยอดหน่อไม้ และกล้วยต่าง ๆอาหารที่ชอบเป็นพิเศษคือ น้ำหวานจากอ้อย

ตั้งแต่ ปลายเดือนกรกฏาคม – ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านชาวเมืองในสมัยก่อนมีเวลาว่างเพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลัง ตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การที่จะได้ตัวกว่างหรือเลือกตัวกว่าง ได้จากการหาตามสุมทุมพุ่มไม้ หรือป่าในเขตของหมู่บ้าน ตามวัดร้างที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้ใบไม้ เมื่อใช้ไม้แหย่กว่างจะทิ้งตัวลงดินหรือหญ้าและจะอำพรางตัวอยู่ อีกวิธีหนึ่งที่จะหาได้จากการตั้งกว่าง โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซมหรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบน หรือใช้กล้วยน้ำว้าใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน การแขวนไม่ให้สูงมากหรือต่ำเกินไปเรียกว่าการตั้งกว่าง ในตอนกลางคืน กว่างที่เป็น กว่างตั้ง จะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินในเวลากลางคืนให้เข้ามาหา โดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ในตอนเช้ามืดก็ไปดูว่ามีกว่างมาติดหรือไม่ เมื่อมีกว่างมาติดก็ค่อย ๆ ปลดออกลงมา ถ้าเป็นกว่างโซ้งก็นำไปเลี้ยงเพื่อไว้ชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็เก็บไว้เป็นกว่างตั้ง ถ้าเป็นกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป่องและใส่อ้อย ข้างในเลี้ยงไว้เพื่อล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน

  • กว่างก่อ

กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้ก็คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้ชนกันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งก็มักจะชนะ ทุกครั้งโดยปกติแล้ว กว่างก่อ นี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงนิยมนำมาชนแข่งขันกัน

  • กว่างกิ

หมายถึง กว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น (“ กิ ” แปลว่าสั้น ) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือขนกันกันโดยใช้เขาล่างงัด กัน แต่ไม่อาจ “ ตาม ” หรือใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิ มี 2 ชนิด คือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุย

กว่างกิขี้หมู ซึ่งกล่าวกันว่าชนิดนี้เป็นด้วงที่เกิดในบริเวณมูลสุกรเก่า ตัวเล็กและมักมีสีน้ำตาลแดง ส่วน กว่างกิทุย เป็น กว่างกิที่มีตัวใหญ่ขนาดใกล้เคียงกับ กว่างโซ้ง เพียงแต่เขาสั้นกว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ (“ ทุย ” แปลว่า กระเทย หรือครึ่งๆกลางๆ )

  • กว่างงวง / กว่างหน่อ

ตรงกับด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าว มีขนาดเล็กสีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขา กว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง

เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่น มีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขาเรียงกันจากซ้ายไปขวา ข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกัน เราเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไวชนไม่สนุก

  • กว่างแซม

มีลักษณะคล้ายกับกว่าง โซ้งแต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ ซี่ ๆ ” ตลอดเวลา พวกเด็กจะเล่นชนกว่างแซมกันเพราะแม้เด็ก ๆ จะได้ กว่างโซ้ง มาก็ตาม แต่ผู้ใหญ่ก็มักจะยึด กว่างโซ้ง ไปเสมอและเหลือแต่ กว่างแซม ไว้ให้เด็กเล่นชนกันแทน

  • กว่างโซ้ง

คือกว่างตัวผู้ขนาดใหญ่ เขายาวและหนาทั้งข้างล่าง ข้างบน นิยมใช้ชนกัน

 

  • กว่างงวง / กว่างหน่อ

ตรงกับด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าว มีขนาดเล็กสีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขา กว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน

  • กว่างซาง

เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่น มีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขาเรียงกันจากซ้ายไปขวา ข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกัน เราเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไวชนไม่สนุก

  • กว่างแซม

มีลักษณะคล้ายกับกว่าง โซ้งแต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ ซี่ ๆ ” ตลอดเวลา พวกเด็กจะเล่นชนกว่างแซมกันเพราะแม้เด็ก ๆ จะได้ กว่างโซ้ง มาก็ตาม แต่ผู้ใหญ่ก็มักจะยึด กว่างโซ้ง ไปเสมอและเหลือแต่ กว่างแซม ไว้ให้เด็กเล่นชนกันแทน

  • กว่างโซ้ง

คือกว่างตัวผู้ขนาดใหญ่ เขายาวและหนาทั้งข้างล่าง ข้างบน นิยมใช้ชนกัน

  • กว่างดอยหล่อ

ดอยหล่อ เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมาจึงมีความอดทน เป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่ หมู่บ้านดอยหล่อ เพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี

  • กว่างแม่อีหลุ้ม

คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด , กว่างแม่มูด หรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่าง ตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย

  • กว่างรัก / กว่างฮัก

กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับ กว่างแซม มากกว่า กว่างโซ้ง กว่าง ชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกันเพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้ง ไม่ได้ ดังที่ว่า “ กว่างรักน้ำใส ไว้ใจบ่ได้ ” (อ่าน “ กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้ ” )

  • กว่างหนวดขาว

ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายแพ้ เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาจะ ถอดหนี

คือไม่ยอมเข่าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่างหนวดขาวมาก้พยายามย้อมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่าง ทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำ เมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออก อีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี

  • กว่างหาง

มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่ง กว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่าวกันว่า กว่างหาง จะไม่เก่งเท่ากับกว่างโซ้ง
ลักษณะกว่างชนที่ดีและไม่ดี

ลักษณะกว่างโซ้งที่ดีนั้น ต้องมีหน้ากว้าง กางเขาออกได้เต็มที่ เขาล่างจะยาวกว่าเขาบนนิดหน่อย ถ้าเขาล่างยาวกว่าเขาบนก็จะเรียกว่า “ กว่างเขาหวิด ” ถือว่าหนีบไม่แรง ไม่แน่น

กว่างชนที่ดีนั้นส่วนหัวต้องสูง ท้ายทอยลาดลงเป็นสง่า แต่ถ้าท้ายทอยตรงโคนเขาบนเป็นปมไม่เรียบตลอด เรียกว่า “ กว่างง่อนง็อก ” ถือว่าเป็นกว่างไม่ดี มีนิสัยเหลาะแหละ “ วอกนัก ” เดี๋ยวสู้เดี๋ยวไม่สู้ เจ็บนิดเจ็บหน่อยก็ ถอดหนี ไม่สู้เอาดื้อ ๆ ถ้าเป็น กว่างหาง นั้น สีปีกของกว่างหางเป็นสีเดียวกันตลอด แต่ถ้าสีของปลายปีกออกสีแดงมันเป็นเลื่อม เรียกว่า “ เหลื้อมปลายปีก “ เป็นกว่างที่ไม่ดี ใจไม่สู้ ชนไม่เก่ง ดีแต่ท่าทางมักจะนำมาเปรียบเทียบกับคนที่เอาแต่แต่งตัว การงานไม่ดี ใจไม่ดี ไม่มีข้าวของเงินทอง เรียกว่าดีแต่ท่า หรือ “ คนเหลื้อมปลายปีก “ กว่างที่ดีต้องเป็นกว่างที่ฉลาดสอนง่าย “ เลี่ยง ” หรือกลับหลังกลับข้างได้ไว เมื่อใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้จะหนีบแน่นไม่ยอมให้หลุดง่าย ๆ เมื่อคู่ต่อสู้ถอยมันจะสอดเขาตามจนคู่ต่อสู้ตั้งหลักไม่ทัน เมื่อได้หนีบจุดสำคัญ คือตรง “ ก็อกมูยา ” หรือโคนขาหน้า ก็จะพยายามยกคู่คู่ต่อสู้ให้ตีนหลุดจากคอนและชูขึ้น แต่ถ้าตัวเองโดนหนีบจะพยายามให้หลุดจากเขาคู่ต่อสู้หรือพยายามเปลี่ยนท่าให้ เจ็บน้อยที่สุด กว่างชนที่ดีกว่างที่อดทน ถึงเจ็บมากก็ไม่ถอดใจง่าย ๆ

ตั้งกว่าง

กว่างที่นำมาเล่นหรือชนกันนั้น อาจหาได้จากป่าซึ่งมีพืชที่กว่างชอบกินเกาะอยู่ เช่น เครือรกฟ้า หรือ ฮกฟ้า หรือหน่อไม้อย่างหน่อไม้รวก กว่างอาจมาเกาะเพื่อดูดน้ำหวานจากผลบวบก็มีแต่โดยมากแล้วนักนิยมกว่างมักจะได้กว่างจากการ ตั้งกว่าง มากกว่า จะได้กว่างจากแหล่ง ธรรมชาติดังว่า การตั้งกว่างนี้ คือใช้กว่างเลี้ยงไปล่อให้กว่างป่ามากินอาหาร แล้วจึงจับมาใช้ตามประสงค์ นักนิยมกว่างอาจใช้ กว่างกิ , กว่างอีหลุ้ม หรือ กว่างแซม เป็น กว่างตั้งโดยเกาะตามแหล่งอาหารกว่างที่จัดไว้ แหล่งอาหารดังกล่าวอาจเป็นท่อนอ้อยปาก , ชิ้นอ้อยที่เสียบสานกันเป็นตะแกรง , ชิ้นอ้อยใส่ในกะลาหรือชะลอม แต่โดยมากมักจะเป็นกล้วยน้ำว้าผ่าซีกใส่กะลาที่มีไม้ตะขอเสียบอยู่นัก นิยมกว่างจะนำเอา “ ซั้งกว่าง “ ดังกล่าวนี้ไปแขวนไว้ในที่โล่ง เช่น ตามชายคาบ้านหรือตามปลาย กิ่งไม้ โดยนำไปแขวนไว้ในตอนเย็น พอเช้าตรู่ก็รีบไป “ ยกกว่าง ”

วิธีเลี้ยงกว่างชน

เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกให้กว่างดูดน้ำ หวาน ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบน ไปต่อเข้าหาหลัก ซึ่งนิยมว่าเงี่ยงปลาเค้าเป็นของสวย หรือมิฉะนั้นก็ใช้หลักไม้ไผ่ที่ขูดเอาเนื้อไม้ไปรวบไว้ที่หัวให้เป็นกระจุก มีกรวยทำด้วยกระดาษครอบโคนอ้อยซึ่งต่อเข้าตะขอมิให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้วกว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นนำลงคอนไม้เพื่อให้กว่างเคยชินกับคอน ฝึกการเลี่ยงซ้ายเลี่ยงขวากลับหน้า กลับหลัง ฝึกการลงจากอ้อยลงสู่คอนจากคอนขึ้นสู่อ้อยในการฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยม เล็ก ๆ ปลายแหลม เรียกว่า “ ไม้ผั่นกว่าง ” เป็นอุปกรณ์สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลัง คือ ให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขามาโยงกับอ้อย แล้วปล่อยกว่างไม่ให้จับอ้อย กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นออกกำลังพอสมควรแล้วจะนำกว่างไป “ ชายน้ำเหมย ” คือนำกว่างพร้อมทั้งอ้อยไปราดตามใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง มีใจฮึกเหิมอยากจะต่อสู้ตลอดเวลาส่วนกว่างกิ กว่างแซมที่ชนไม่เก่งนั้นก็จะเลี้ยงรวม ๆ กันใน “ อุ้บ ” หรือในกระติบโดยใช้กล้วย และอ้อยเป็นอาหารเช่นกัน หรืออาจรวมเอากว่างกิ และกว่างแม่อู้ดไว้ได้มากพอก็จะนำไปคั่วกินบ้างก็ได้


ไม้คอน

ไม้คอน ( อ่าน “ ไม้คอน ”) คือท่อนไม้กลมเป็นที่สำหรับให้กว่างชนกัน ทำด้วยแกนปอ หรือท่อนไม้ฉำฉายาวประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมีย จากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี “ กลิ่น “ ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกที เพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยออกคอนชนิดนี้ มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชนไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่ง ทำด้วยแกนปอหรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมากเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่งเจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็กเพื่อเป็นช่องนำกว่างตัว เมียใส่ ให้หลังของกว่างโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งเป็นระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่า ๆ กันทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกันจริง ๆ หรือมีประจำในบ่อนกว่าง

ไม้ผั่น / ไม้ผั่นกว่าง / ไม้ผัด / ไม้แหล็ด หรือ ไม้ริ้ว

ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือ ตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลง และเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา “ ผั่น ” หรือปั่นไม้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง “ หลิ้ง ๆ ” ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้า เขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนอง หรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง


การชนกว่าง

ก่อนที่จะนำกว่างมาชนกันนั้นจะต้องนำกว่างมาเทียบขนาดและสัดส่วน ที่เรียกว่า เปรียบคู่ ( อ่าน “ เผียบกู้ “) กันเสียก่อน เมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้วเจ้าของกว่าจะต้องขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกล โกง เช่น ใช้น้ำจากพริกขี้หนู ยาหม่อง หรือขี้ยาจากควันบุหรี่มาป้ายเขากว่าง ซึ่งจะต้องเช็ดปลายเขากว่างคู่ต่อสู้ให้มั่นใจก่อนชน ทั้งนี้แต่ละฝ่าย จะต้องมองดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียด โดยเกรงว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะหักขาหรือเด็ดปลายตีนกว่างของตน เป็นต้น เมื่อเปรียบกว่างและตรวจดูกว่างเรียบร้อย ก็จะตรวจดูคอนกว่างว่าเรียบร้อยมี กว่างแม่อีหลุ้ม อยู่ประจำที่ครบถ้วนแล้ว แต่ละฝ่ายก็จะวางกว่างของตนลงบนคอน หันหน้าเข้าหากันห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ 1 คืบ ปกติแล้วคอนกว่างจะวางบนขาไขว่ทั้ง 2 ข้าง ขาไขว่สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้ขาข้างละ 1 อันฝังดิน ส่วนขาข้างบนเจาะรูตรงกลางสำหรับสอดเดือยคอนที่ยาว ประมาณ 3 เซนติเมตรเข้าไป หมุนคอนไปซ้ายไปขวาได้ อีกมือหนึ่งก็จะหมุน ไม้ผั่นกับคอนให้เกิดเสียงดัง “ หลิ้ง ๆ “ กว่างเมื่อได้ยินเสียงและได้กลิ่นกว่างแม่อีหลุ้ม ก็จะตรงไปที่กว่างตัวเมียเมื่อพบกันเข้าก็จะเอาเขาสอดสลับเขากันเรียกว่า คาม กว่างตัวที่สอดเขาได้ดีกว่าและแรงมากกว่าก็จะหนีบ และดันคู่ชนไปข้างหน้าไปจนถึงขีดเครื่องหมายปลายคอน นับเป็น 1 ตามเจ้าของกว่างจะนำกว่างให้คลายการหนีบ แล้วนำมาชนกันใหม่ที่กลางคอนเมื่อกว่างตัวใดเจ็บ หรือมีความอดทนน้อยจะไม่ยอมสู้แสดงออกด้วยการถอยหลังไม่ยอมเข้าหากว่างคู้ชน ก็ถือว่าแพ้ แต่ถ้าตามกันจนครบ 12 หรือ 15 ตามแล้วแต่จะตกลงกันและไม่มีกว่างตัวใดแพ้ จะยกเลิกถือว่าเสมอกันไป

ในการชนกว่างแต่ละครั้งมักจะมีการวางเดิมพันกัน เพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ถ้าชนกว่างในบ่อนนั้น คู่ต่อสู้จะต้องไปวางเงินที่เจ้าหน้าที่ของบ่อนเพื่อความแน่นอน กว่างที่ชนะก็ทำให้เจ้าของมีหน้ามีตา แต่ถ้ากว่างแพ้แล้วมักจะถูกหักคอทิ้ง เพราะเจ้าของต้องเสียทั้งหน้าและเสียทั้งเงิน