วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

บทความ นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  9  พฤษภาคม  2549 - ฟ้อนแง้น


    ฟ้อนแง้น

คำว่า “แง้น” หมายถึง แอ่น โค้ง หรืองอไปด้านหลัง การฟ้อนรำแล้วแอ่นลำตัวไปด้านหลังเรียกว่า “ฟ้อนแง้น”การฟ้อนแง้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ช่างขับซอหญิง โดยเฉพาะช่างขับซอในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง พะเยาและเชียงราย

  •     รูปแบบการฟ้อนและการแต่งกาย

 

ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๙ หน้า ๔๘๓๔

การฟ้อนชนิดนี้ ไม่มีรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ เพียงแต่ฟ้อนให้สวยงาม แล้วแสดงความสามารถในการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยการฟ้อนแล้วค่อย ๆ หงายลำตัวไปด้านหลังจนศีรษะถึงพื้น ผู้ชมที่ชื่นชอบก็จะวางธนบัตรให้ ผู้ฟ้อนแสดงความสามารถอ่อนตัวลงคาบธนบัตรด้วยความชื่นชม ส่วนการแต่งการนั้นก็มิได้มีรูปแบบบังคับ แต่งตามปกติสำหรับการไปขับซอตามความเหมาะสม

  •     ดนตรีที่ใช้ประกอบ

เนื่องจากการขับซอแบบเมืองน่านใช้เครื่องดนตรี เฉพาะเครื่องดีดและสีประกอบ การฟ้อนจึงอาศัยทำนองที่บรรเลงจากซึงและสะล้อเท่านั้น สำหรับจังหวะคงเป็นไปตามจังหวะของเพลง ซึ่งไม่ใช้เครื่องประกอบจังหวะแต่ประการใด

  •     โอกาสที่แสดง

ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๙ หน้า ๔๘๓๔

ช่างขับซอหรือ “ช่างซอ” จะฟ้อนในช่วงพักในการขับเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานคนอื่นได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ ไป

  •     โอกาสที่แสดง

ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๙ หน้า ๔๘๓๔

ช่างขับซอหรือ “ช่างซอ” จะฟ้อนในช่วงพักในการขับเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานคนอื่นได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ ไป

  •     วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการฟ้อนนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศแล้ว ยังเป็นการแสดงเพื่อสร้างความหลากหลายความเป็นสุนทรียรสแก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้กับคณะ นอกเหนือจากค่าสมนาคุณจากเจ้าภาพอีกด้วย ปัจจุบันการฟ้อนแง้นถูกนำมาแสดงในงานต่าง ๆ ในฐานะการแสดงประเภทฟ้อนรำ ซึ่งมีปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป
ฟ้อนหางนกยูง
ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๙  หน้า  ๔๙๐๔

ฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนโดยใช้หางนกยูงในมือร่ายรำให้สวยงาม ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
โอกาศในการแสดงมักเป็นการแสดงในงานระดับสูง เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อที่ว่าหางนกยูงจะสามารถขจัดปัดเป่า สิ่งอัปมงคลได้

    สนั่น   ธรรมธิ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยเนติ  พิเคราะห์ และเสาวณีย์  คำวงค์)

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่