วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

บทความ นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  13  มิถุนายน  2549 - การแสดง  

    การแสดง

ในด้านการแสดง ไม่ว่าจะเป็นการฟ้อนรำหรือการบรรเลงดนตรี ล้วนมีอยู่คู่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา และการแสดงดังกล่าวย่อมมีความแปลกแยกแตกต่างกันไปตามพื้นฐานทางวัฒนธรรมของ ชาตินั้น

     

ล้านนาประเทศ เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ในความหลากหลายก็มิได้หมายความว่าวัฒนธรรมจะผสมปนเปจนแยกไม่ออก บางอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังคงดำรงอยู่ บางอย่างก็มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตตามยุคสมัย อย่างไรก็ตามความเป็นมาและความเป็นไป มีข้ออธิบายรองรับอยู่ การฟ้อนรำและดนตรีการก็เช่นกัน ย่อมมีรายละเอียดที่น่าสนใจและควรค่าแก่การศึกษา

ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามตั้งใจค้นคว้าข้อมูลที่เป็นจริง มานำเสนอในคอลัมน์ที่ชื่อ “นาฏดุริยการล้านนา” ซึ่ง นาฏะ หมายถึงการฟ้อนรำและการแสดงเชิงนาฏยกรรมทั้งหมด ส่วนดุริยะ หมายถึงดนตรีการทั้งความเป็นมา ลักษณาการ ท่วงทำนอง บทบาทหน้าที่ รวมถึงโอกาสที่ใช้แสดงด้วย สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนได้นำเสนอ ทุกๆ วันอังคาร โดยเริ่มตั้งแต่วันอังคารที่  7  ธันวาคม  2547  กระทั่งถึงวันนี้ผู้เขียนคิดว่าตนเองได้ปฏิบัติภาระกิจตามที่ได้ตั้งใจไว้ แล้ว จึงขอยุติบทบาทในเชิงข้อเขียนลง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานเขียนที่ผ่านมาคงมีประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

    สนั่น   ธรรมธิ
    
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่