สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "แวง"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "แวง"
        


    แวง มีหน้าที่รับทง(ต๋ง) ก่อนปูไม้พื้นเรือน และยึดเสาด้านล่างเพื่อป้องกันเสาเรือนโยก มีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยม ที่กึ่งกลางของแวงจะมีเสาตอม่อ(เสาป๊อก/เสาตุ๊กตา)รับน้ำหนักอยู่ ภาคกลางเรียก "แวง" ว่า "รอด" ส่วนเสาป๊อกช่วยทำหน้าที่รับน้ำหนักพื้นเรือน ไม่ให้หย่อนท้องช้าง

การประกอบแวงเข้ากับเสา จะบากเสาให้เป็นบ่าเพื่อรับแวง หรือบางกรณีอาจใช้ "หูแป้น" บางครั้งเรียก "ไม้คอบ(ก็อบ)" คือไม้รองเพื่อรับน้ำหนักแวง

เรือนโบราณ จะลอดแวงเข้ารูของเสาที่เจาะไว้ ยุดต่อมานิยมบากเสาเพื่อรับแวง ได้แก่ "แวงเดี่ยว" "แวงคู่/แวงคีบ" และอาจเสริมความแข็งแรง ในการรับน้ำหนักด้วยไม้คอบ(ก๊อบ)(หูแป้น)

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์  อินถาบุตร
และนักศึกษาสาขาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/02.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่