สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "แป๋จ๋อง"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "แป๋จ๋อง"


แป๋จ๋องหรืออกไก่ เป็นเครื่องบนสุด ใช้ไม้สักแต่งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาวตลอดความยาวเรือน และจะยื่นหัวท้ายออกเลยหน้าจั่วหน้าเรือนและจั่วหลังเรือน ทั้งสองด้าน เป็นเครื่องไม้ที่ตั้งอยู่ยอดสุดของโครงหลังคา ยึดติดกับเสาดั้ง หน้าจั่ว และตั้งโย้(ไทย-จั่นทัน)

การวางแป๋จ๋อง วางทะแยงเอาเหลี่ยมขึ้น โดยเจาะรูแป๋จ๋องให้เสียบเข้ากับยอดเสาดั้งได้พอดี และไม่วางหน้าไม้ในแนวนอนบนตัวดั้ง เหมือนเช่นปัจจุบัน

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์ อินถาบุตร
และ นักศึกษาสาขาวิชาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/09.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่