การนวดหรือฟาดข้าว - การซ้อมขี้เฟื้อน

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/11/2008
ที่มา: 
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/

การนวดหรือฟาดข้าว - การซ้อมขี้เฟื้อน
ในขณะที่ฟาดข้าวจะมีที่ข้าวที่หักหลุดออกจากมัดหรือไม้หนีบ ร่วงลงไปบนกองข้าวโดยที่ยังมีข้าวเปลือกติดอยู่ที่รวงข้าว บางคนเรียกว่า “ขี้เฟื้อน” หรือ “ขี้เฮอะ” หรือ “ขี้ข้าว” ในขั้นตอนนี้การทำให้ข้าวเปลือกที่ติดอยู่ที่รวงข้าวหลุดออกจากรวง เรียกว่า “ซ้อมขี้เฟื้อน” หรือ “เอาขี้เฟื้อน” หรือ “เอาขี้เฮอะ” หรือ “เล่นขี้ข้าว”



:: การซ้อมขี้เฟื้อน ::

เมื่อมีขี้เฟื้อนปะปนในกองข้าวเปลือก ชาวไร่ชาวนาจะใช้ไม้เขี่ยหรือกวาดขี้เฟื้อนออกจากกองข้าวเปลือก มายังบริเวณข้างๆ กองข้าวเปลือกภายในตารางนั้น ไม้ที่ใช้กวาดหรือคราดนี้มีลักษณะทั่วไปประกอบด้วยด้ามไม้ยาวประมาณ 1.5 เมตร และซี่สำหรับใช้คราด
ไม้ที่ใช้คราดนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น “ไม้สางข้าว” หรือ “ขอชางหรือคราด” หรือ “ไม้ขอ” หรือ “แป่นแป๋” หรือ “ไม้ขัด” ฯลฯ


:: ไม้สางข้าวของชาวไทใหญ่ ::


:: ไม้สางข้าวอีกแบบหนึ่ง :: (ภาพโดยคุณชรินทร์ แจ่มจิตต์)


:: ไม้ขัด :: (ต้องตากหญ้าขัดมอนให้แห้งก่อน จึงจะนำมามัดกับด้ามไม้เพื่อใช้งาน)


:: คราดทำด้วยไม้ :: (ภาพโดยคุณชรินทร์ แจ่มจิตต์)


:: คราดที่ทำด้วยเหล็ก ::

:: ไม้ขอของชาวไทใหญ่ ::

หลังจากกวาดขี้เฟื้อนออกมาจากกองข้าวเปลือกแล้ว บางคนจะใช้ไม้เป๋ฟาดที่ขี้เฟื้อนนั้นในลักษณะเดียวกับการฟาดข้าวเฟ่า บางคนจะใช้ “เค็ดมะพร้าว” (ทะลายมะพร้าวที่เอาผลมะพร้าวออกหมดแล้ว) บางคนจะใช้ฟางข้าว (ประมาณกำมือหนึ่ง) มาพันกันเป็นเกลียว หรือใช้ไม้หนีบหรือม้าว ฟาดไปที่ขี้เฟื้อนนั้น หรือใช้เท้าเหยียบไปบนขี้เฟื้อนแทนการใช้ไม้ฟาด
ในการซ้อมขี้เฟื้อนโดยใช้ไม้ขอของชาวไทใหญ่นั้น จะใช้ไม้ไผ่ที่ส่วนหัวมีลักษณะโค้งงอเกี่ยวขี้เฟื้อนออกมาจากกองข้าวเปลือก แล้วใช้ไม้ไผ่อีกด้ามฟาดไปที่ขี้เฟื้อน


:: การใช้ไม้เป๋ ::


:: สาธิตการใช้ไม้ขอ ::


:: เค็ดมะพร้าว ::


ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/
และ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า