เอกลักษณ์ล้านนา - เรือนไม้พื้นถิ่น จังหวัดเชียงใหม่

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/11/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

เรือนไม้พื้นถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
โดย วิชุลดา เตชรุ่งถวิล

 

1 เรือนจั่วแฝด อำเภอหางดง

2 เรือนปั้นหยาที่อำเภอสันทราย

3 เรือนจั่วเดียวขนาดใหญ่ อำเภอสันป่าตอง

4 เสาแหล่งหมาสองต้น รับน้ำหนักหลังคาลงสู่พื้นดินคลุมบันไดด้านหน้าเรือน เดิมใช้ผูกหมาเฝ้าบ้าน

5 ฮ่อมริน ช่องทางเดินระหว่างห้องนอน เป็นทั้งช่องลมและช่องแสง มุมมองจากครัวไฟไปยังเติ๋น

6 ชานด้านหน้าเรือน มีที่นั่ง พื้น และราวระเบียงตีเว้นช่องเพื่อให้อากาศโปร่ง มักพบชานลักษณะนี้ในอำเภอหางดง

7 เรือนครัวไฟ มีแม่เตาไฟเป็นกระบะดินเหนียวอัดแน่น สูงพอดีกับระดับคนยืนทำครัว ผนังด้านบนมีช่องระบายควัน

8 ช่องระบายควัน ยกหลังคาขนาดเล็กครัวไฟ

9 ช่องระบายควันอีกรูปแบบ ทำเป็นช่องบริเวณหน้าแหนบ

10 ระเบียงยื่นจากเรือนเล็กน้อยใต้ชายคาตกแต่งราวระเบียงด้วยลายฉลุไม้

พบยื่นทั้งด้านหน้าและด้านหลังรอบเติ๋นเรือนอายุ 30-70 ปี

11 ฮ้านน้ำ หรือร้านน้ำ เป็นที่ตั้งหม้อใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ ตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านหลังเรือนใกล้ครัวไฟ

12 หอเจ้าที่พบได้ทั่วไปบริเวณเรือนพื้นถิ่นเป็นศาลขนาดเล็กตั้งอยู่บนเสาเดียว

13 พิธีเซ่นบูชาผีปู่ย่าภายนอกเรือน ซึ่งมีหิ้งผีอีกแห่งในห้องนอนพ่อแม่

14 พื้นลดระดับบริเวณเติ๋นและชานใช้นั่งข่ม มีลมและแสงจากช่องฝาไหลเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน หรือรับแขก ผนังด้านตะวันออกของเติ๋นเป็นที่ตั้งหิ้งพระแบบพื้นบ้าน

15 ไม้ฉลุ บริเวณใต้หลังคาคลุมบันไดด้านหน้าเชื้อเชิญผู้มาเยือนเข้าสู่เรือน พบมากในอำเภอดอยสะเก็ด
16 ฝาไหลมองจากภายนอกเรือนเดิมมักอยู่ระดับเหนือพื้นเรือนเล็กน้อย แต่บางหลังพบทั้งผนังด้านหน้าเรือนบริเวณ เติ๋น เมื่อเปิดฝาไหลจึงดูคล้ายเป็นผนังผืนหนึ่ง

ระดับของพื้นเรือน ซึ่งเกิดจากความแตกต่างกันตามการใช้สอย มีดังนี้

1.ห้องนอน และเติ๋น สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 2.3 เมตร

2. พื้นชาน ลดระดับต่ำกว่าห้องนอนประมาณ 0.3 เมตร

3.พื้นชานตากฝน ลดระดับอีกประมาณ 0.15-0.2 เมตร เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่เรือน

ภูมิปัญญาล้านนา

ในส่วนของระดับความสูงของเรือน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อาจกล่าวได้ว่าในส่วนตัวเรือนจะมีความสูงเฉลี่ยดังนี้

ระดับพื้นดินถึงพื้นเรือน เป็นระดับความสูงใต้ถุนเรือน สูงประมาณ 2-2.3 เมตร

ความสูงของหลังคาอยู่ระหว่าง 1.5-2 เมตร

ด้วยสัดส่วนเช่นนี้จึงทำ ให้ลักษณะเรือนพื้นบ้านล้านนาดูหนักแน่น มีความโดดเด่นมั่นคง ต่างกับลักษณะเรือนไทยภาคกลางที่มีเสาล้มสอบ หลังคาอ่อนช้อย

นอกจากนี้ การออกแบบของสล่าพื้นบ้านยังคำนึงถึงการใช้สอย และความสบายของผู้อยู่อาศัยหลายประการ ที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศ และภูมิประเทศของภาคเหนือ เช่นผังพื้นมีการลดระดับเรือนแทนการกั้นห้อง เพื่อเปิดให้พื้นที่โล่งสามารถใช้งานอเนกประสงค์ ส่วนของผนังมีการเปิดช่องหน้าต่างฝาไหลทางหน้าบ้านบริเวณเติ๋น เพื่อเปิดให้ถ่ายเทอากาศขณะนั่งกับพื้นในเวลากลางวัน และจะปิดในเวลากลางคืนเพื่อมิให้ความหนาวเย็นเข้าสู่เรือน การทำฝาครัวด้วยฝาขี้หร่าย หรือฝาสานที่สามารถระบายควันได้อย่างรวดเร็ว และการทำช่องระบายควันเหนือหลังคา เพื่อช่วยระบายควันอีกทางหนึ่ง

ในส่วนของฝาเรือน ยังมีการคำนึงถึงสัดส่วนความสูงของเรือน โดยออกแบบให้สูงและทำผนังด้านบนบริเวณใต้ขื่อเป็นช่องลมเพื่อระบายความร้อน เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่แสดงผ่านออกทางงาน สถาปัตยกรรม เกือบทุกสิ่งล้วนมีเหตุผลและหลักการในการผนวกเอาความเชื่อโบราณต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างผสมผสานข้อห้ามต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้ หากผู้ใดละเมิดจะถือว่า “ ขึด ” ซึ่งเป็นเรื่องอัปมงคล หากแต่บางสิ่งที่มิได้กำหนดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิอากาศสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งทำให้รูปแบบเรือนไม้จริงช่วงระยะ 30-70 ปี แตกต่างออกไปจากเรือนกาแล เช่นการเปิดช่องหน้าต่างมากขึ้นกว่าก่อน เนื่องจากอากาศร้อนขึ้น ชานแดดซึ่งเคยมีไว้ตากพืชพันธุ์ ก็เปลี่ยนไปเป็นมีหลังคาคลุมเพื่อรักษาพื้นไม้เอาไว้ เป็นต้น
แม้ว่าหลายสิ่งอาจ เปลี่ยนแปลงไป เช่นเรือนพื้นบ้านล้านนาในลักษณะที่กล่าวถึงนี้ก็มีแนวโน้มลดจำนวนลงอย่าง รวดเร็วจนน่าใจหาย หากแต่มีบางสิ่งคงอยู่ คือน้ำใจของคนเมือง สามารถสังเกตได้จาก น้ำต้น หรือหม้อน้ำที่ตั้งไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนเสมอมิได้ขาด อันทำให้เรือนพื้นถิ่นยิ่งทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกตกทอดให้ ลูกหลานได้รับรู้สืบไป

การแพร่หลายของเรือนทรงสาละไนนี้ สันนิษฐานว่าคงเข้ามาสู่เมืองเชียงใหม่ใน ๒ กรณีคือ

1.ผ่านเข้าทางพม่า ซึ่งได้รับอิทธิพลรูปแบบเรือนจากอังกฤษมาก่อน

2. ขึ้นมาจาก เขตภาคกลาง ด้วยเส้นทางน้ำ จนกระทั่งเปิดเดินรถไฟถึงเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔

ปัจจุบันเรือนขนมปังขิงสามารถดูได้จากเรือนเก่าย่านกลางเมืองเชียงใหม่

การเข้ามาของวัฒนธรรมแบบใหม่ ๆ นี้ ทำให้ค่านิยมในสังคมล้านนาเดิม ซึ่ง ห้ามชาวบ้านสร้างเรือนไม้จริงเต็มหลัง จะต้องใช้ฝาขี้หร่าย (ฝาไม้สาน) ก็เปลี่ยนไปด้วย

เฮือนพื้นถิ่นล้านนา

จากการสำรวจในแปดอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่ริม อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย อำเภอหางดง และอำเภอสารภี

 
ส่วนประกอบโครงสร้าง

1.เสาระเบียงซักล้าง ต้นกลาง

2.เสาระเบียงต้นมุมส่วนหลังคาคลุมที่ตั้งหม้อน้ำ

3.เสารับปีกนกหลังคาคลุมเรือนครัว

4.เสาต้นริมบริเวณลดระดับชานซักล้าง

5. เสาต้นริมเรือนครัวด้านหลัง

6.เสาต้นมุมของตัวบ้านและเสาหลังคาคลุมบันได

7. เสาต้นริมด้านข้างทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของตัวบ้าน

8.เสารับปีกนกของจั่วใหญ่

9.เสาระเบียงชานตากแดดด้านหน้า

10 เสาค้ำ

11. เสาที่ไม่มีการเจาะรูยาง๖

12 เสาต้นริมหลังคาเรือนด้านหน้า

13. ตง

14. แวง

พบตัวอย่างของ เฮือนไม้พื้นถิ่น ( Vernacular timber house) ที่มีอายุระหว่าง 30-70 ปี เป็นจำนวนมาก ซึ่งเราสามารถแยกเฮือนไม้พื้นถิ่นเหล่านี้ได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ โดยพิจารณาจากลักษณะหลังคา คือ

1. เรือนจั่วเดียว ( Single gable roof house)

2. เรือนจั่วแฝด ( Double gable roof house)

3. เรือนปั้นหยา ( Pan-ya or Hip roof house)

อาจกล่าวได้ว่า เรือนจั่วแฝดเป็นรูปแบบของเรือนที่แพร่หลายมากที่สุดในช่วงดังกล่าว รองลงมาคือเรือนจั่วเดียวและเรือนปั้นหยาพบน้อยที่สุด อำเภอที่พบเรือนจั่วแฝดมากที่สุดได้แก่ อำเภอสันป่าตอง อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอหางดง

ในอำเภอสันทรายมักพบ เรือนที่นิยมทำมุขหลังคาแยกคลุมชานและบันไดหน้าที่อำเภอสารภีมักพบว่าเป็น เรือนจั่วเดียวและจั่วแฝดต่อชายคาคลุมบันไดด้านหน้า ส่วนในอำเภอสันป่าตอง มีความของรูปแบบพบทั่งเรือนจั่วเดียวและจั่วแฝดหากแต่เรือนปั้นหยาไม่ค่อยพบ อาจสืบเนื่องมาจากการสร้างเรือนจั่วเดียวคลุมพื้นที่เรือน

กว้างตามหลักโครงสร้างจะ ต้องใช้โครงหลังคาไม้ขนาดยาวและใหญ่จึงจะแข็งแรง แต่ละบ้านมีฐานะดีมีศักยภาพในการปลูกเรือน ที่อำเภอแม่ริม พบว่านิยมทำหลังคาที่ซับซ้อนแปลกออกไป มีมุขยื่นหรือทำหลังคาหักศอก ( ศอกคู้ ) มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตามฐานะที่อำเภอเมืองและอำเภอหางดงพบว่านิยมหลังคา จั่วแฝดซึ่งเป็นแบบที่สร้างได้ง่ายและพบได้ทั่วไป ส่วน พื้นที่อำเภอสันทรายเชื่อมต่อยังอำเภอดอยสะเก็ด เป็นพื้นที่ที่พบเรือนปั้นหยามากที่สุด โดยเฉพาะที่บ้านลวงเหนือ และบ้านหนองแหย่ง ในด้านลักษณะ รูปแบบ มีทั้งการยึดถือผังแบบเรือนกาแลคือเรือนจั่วแฝดและการประยุกต์การใช้หลังคา แบบใหม่ เช่น แบบปั้นหยา และมะนิลา บางครั้งพบหลังคาสองแบบในหลังเดียวกันก็มี แต่ยังคงยึดผังเรือน “ สองหลังร่วมพื้น ” มีฮ่อมรินเชื่อมเป็นทางเดนกลางบ้าน และแม้ว่าจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในรายละเอียดเฉพาะ แต่ในเรือนพื้นถิ่นเชียงใหม่ แต่ละหลังกลับมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน อันได้แก่ ตัวบ้าน นิยมหันแนวเหนือ-ใต้ เพื่อให้สัมพันธ์กับทิศทางลมและความเชื่อถือว่าเป็นสิริมงคล เรียกการวางเรือนแบบนี้ว่า “ ปลูกเรือนขวางตะวัน ”


ส่วนประกอบโครงสร้าง

1.ตั้ง

2.โย (จันทัน)

3.อกไก่หลังคาคลุมบันได

4.ขื่อหลังคาคลุมบันได

5.เสาป๊อกหลังคาเรือนขวางด้านหลัง

6 . อกไก่เรือนขวางด้านหน้า

7.ดั้งเรือนขวางด้านหน้า

8.โย (จันทัน) เรือนขวางด้านหน้า

9.ขื่อ เรือนขวางด้านหน้า

10.แปหลังคาเรือน ส่วนที่สวมกับเสาป๊อก

11.ดั้ง หลังคาด้านทิศตะวันออก

12.โย (จันทัน) หลังคาด้านทิศตะวันออก

13.แปจ๋อง (อกไก่) หลังคาด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

14.โย )จันทัน) หลังคาด้านทิศตะวันตก

15.ดั้งหลังคาทิศตะวันตก

16.โย (จันทัน) หลังคาเรือนครัว

17.ดั้งหลังคาเรือนครัว

18.แปจ๋อง(อกไก่) หลังคาเรือนครัว

ส่วนประกอบโครงสร้าง

1.ตง

2.แป้นพื้น

ใส่กลอน แปข้าง ระแนง และมุงหลังคา

1.ไม้เจนฝา
2. แป้นฝา

ส่วนประกอบโครงสร้าง

1.ราวบันได

2.ซี่ราวบันได

3.แม่บันได

4.ลูกตั้ง ลูกนอน บันได

5.ราวและซี่ระเบียงชานตากแดด

6.ส่วนประกอบของหิ้งพระ

7.ราวและซี่ระเบียงชานซักล้าง

8.ราวและซี่ระเบียงเรือนครัวบริเวณปีกนก

ตั้งเจนฝา ตีแป้นฝาภายนอก และกั้นห้อง ประกอบราวระเบียง บันได ประตู และหน้าต่าง

หลองข้าว (ยุ้งข้าว) ใช้เป็นที่เก็บข้าว นอกจากนี้ใช้เก็บเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือหากิน จับสัตว์ รวมทั้งผูกควายที่ใต้ถุน

หอเจ้าที่มีอยู่ทุกบ้าน มักอยู่ริมรั้ว ข้างบ้านด้านทิศตะวันออก มีความเชื่อเหมือนกับ “ ศาลพระภูมิ ” ของภาคกลาง โดยเจ้าของเรือนจะนำน้ำ ข้าวปลาอาหาร ดอกไม้ธูปเทียนบูชาทุกวัน หือในวันสำคัญทางศาสนา เพื่อแสดงความเคารพต่อเทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ

หอผีปู่ย่า เป็นศาลบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะพบในเรือนหลังที่เป็นต้นตระกูลโดยนับทางฝ่ายหญิง จะจัดให้มีการไหว้ผีปู่ย่าประจำทุกปี เป็นการรวมญาติพบปะสังสรรค์ของตระกูลด้วย

บ่อน้ำ และ ต๊อมน้ำ (ห้อง อาบน้ำ) มักจะอยู่ไม่ไกล อาจอยู่ข้างบ้าน หน้าบ้านหรือหลังบ้าน ซึ่งเป็นมุมที่มีต้นไม้ครึ้มเพื่อพรางสายตาเวลาอาบน้ำ ส่วนบ่อน้ำจะอยู่ตำแหน่งที่ตักน้ำใช้ไปยังครัวสะดวก

ส้วม จะอยู่เยื้องไปด้านหลังบ้านไม่ไกลจากบันไดหลังติดกับครัว ไม่นิยมสร้างบนเรือน ถือเป็นส่วนสกปรก หากอยู่บนเรือนถือว่า “ ขึด ” คือไม่เป็นสิริมงคล

ก๊างเฟือง (โรงเห็บฟาง) และ โฮง วัว ในอดีตใช้วัวควายในการทำนา จึงมีการสร้างโรงเลี้ยงควายอยู่ห่างแยกไปจากบ้านพอสมควร เพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวน แต่ก็อยู่ในระยะที่เจ้าของมองเห็น มีหลายหลัง เจาะหน้าต่างเล็ก ๆ เป็นช่องมองในเวลากลางคืน
นอกจากนี้ องค์ประกอบย่อยอื่น ๆ เช่น ร้านน้ำดื่ม และการทำหิ้งพระ ยังคงทำกันเช่นเดิม โครงสร้างเสาไม้ อันเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า เสาแหล่งหมา รับหลังคาชายคาสู่พื้นด้านหน้าเรือน ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่

สวนฮี้สวนครัวในบ้าน

องค์ประกอบหนึ่งในบริเวณบ้าน คือสวนบริเวณบันได และสวนฮี้ หรือ สวนครัว เป็นสวนผักที่เป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นเมือง เช่น ผักไผ่ สะระแหน่ ต้นหอม ใช้กินกับลาบ เป็นต้น บริเวณทางขึ้นบ้านที่ตีนบันไดจึงมักพบกาละมังหรือกระบะไม้ปลูกผักสวนครัว เหล่านี้ไว้ เพราะเป็นพื้นที่แฉะ อีกทั้งสะดวกเวลาเก็บไปรับประทาน หรือนำไปทำบุญที่วัด มีทั้งดอกบานชื่น บานไม่รู้โรย หงอนกา มักเป็นพืชมงคล ปลูกง่าย ให้สีสวย เรียกว่า “ สวนตีนบันได ” ถ้าสวนอยู่บริเวณบ่อน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่แฉะเช่นกัน จะเรียกว่า “ สวนบ่อน้ำ ” พืชที่ปลูกจะเป็นพืชที่ดูดซับน้ำ เช่น ไพล ขิง ข่า หรือไม้ใบที่ให้สีสัน สวยงาม เช่น หมากผู้หมากเมีย เป็นต้น

สวนอีกประที่พบ จะเรียกว่าผักสวนครัวรั้วกินก็ไม่ผิด คือปลูกพืชที่กินได้ เป็นทั้งไม้ประดับ เป็น และให้ความสวยงามในเวลาเดียวกัน ที่นิยมปลูกคือ ผักตำลึง กระถิน และพวกไม้เลื้อยพื้นเมืองที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ รั้วลักษณะนี้นอกจากใช้กั้นขอบเขตพื้นที่แล้ว ยังถ่ายเทลมที่พัดผ่านได้เป็นอย่างดี


การใช้สอยพื้นที่

ในช่วงกลางวัน คนเมืองจะใช้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ที่ใต้ถุนบ้าน ทั้งเกวียน ใช้นั่งพักผ่อน ทำงานหัตถกรรม จักสาน ทำไม้กวาด นอนหลับและรับแขก ส่วนบนบ้านนั้นนับเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่เจ้าของบ้านใช้เป็นห้องนอน มักพบว่ามีสองห้องนอนคู่กัน คั่นด้วยฮ่อมริน สัมพันธ์กับลักษณะของจั่วแฝด

ห้องนอนห้องหนึ่งเป็นของพ่อแม่ อยู่ด้านตะวันออก ส่วนห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นห้องนอนลูก ถือเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่เดิมมิให้คนอื่นเข้าล่วงล้ำเขตจึงมี หำยนต์ ที่เป็นแผ่นไม้ สลักลวดลายเฉพาะสวยงามแบบล้านนาติดไว้เหนือประตู หากผู้ใดก้าวข้ามไปถือว่า “ ผิดผี ” จะต้องมีพิธีเลี้ยงผีเพื่อเป็นการขอขมา

พื้นที่ห้องนอนทั้งหมดนี้มีขนาดใกล้เคียงกับพื้นที่ เติ๋น ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งอยู่ด้านหน้าสุดของเรือนติดกับห้องนอนและชาน เติ๋นจึงเหมาะสมในการใช้งานอเนกประสงค์ต่าง ๆ เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่สำคัญเป็นที่ตั้งของหิ้งพระซึ่งติดอยู่กับผนังทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตไม่มีการใช้เฟอร์นิเจอร์ จึงมีวัฒนธรรม “ การนั่งข่ม ” คือการนั่งพื้นต่างระดับที่เกิดจากการลดระดับชาน หากมีแขกมาบ้านจึงมักนั่งข่มล้อมพูดคุยกันในยามอากาศหนาวใช้พื้นที่นี้นั่ง ข่มผิงไฟในเวลากลางคืนด้วย

นอกจากรับแขกแล้ว บริเวณเติ๋นนี้ยังใช้นั่งกินขันโตกรับประทานอาหารและเป็นที่นอนลูกชายวัย หนุ่มที่ต้องออกไปแอ่วสาวในตอนกลางคืน หากกลับบ้านดึกก็เข้านอนได้โดยไม่รบกวนพ่อแม่ซึ่งนอนหลับอยู่ภายในห้อง
องค์ประกอบบนเรือนอีกส่วนที่ขาดไม่ได้คือครัว หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “ ครัวไฟ จะอยู่ด้านหลังห้องนอน จึงมักพบปัญหาควันไฟย้อนกลับเข้ามายังห้องนอน จากการสำรวจพบว่าบ้านบางหลัง เช่นที่อำเภอสันป่าตอง แก้ปัญหานี้โดยการปลูกครัวไฟแยกไปด้านข้างของเรือน แล้วทำทางเดินเชื่อมสู่ครัวด้านนอกเรือ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินผ่านห้องนอนก็ได้

ระดับของพื้นเรือน ซึ่งเกิดจากความแตกต่างกันตามการใช้สอย มีดังนี้

1.ห้องนอน และเติ๋น สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 2.3 เมตร

2. พื้นชาน ลดระดับต่ำกว่าห้องนอนประมาณ 0.3 เมตร

3.พื้นชานตากฝน ลดระดับอีกประมาณ 0.15-0.2 เมตร เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่เรือน

ภูมิปัญญาล้านนา

ในส่วนของระดับความสูงของเรือน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อาจกล่าวได้ว่าในส่วนตัวเรือนจะมีความสูงเฉลี่ยดังนี้

ระดับพื้นดินถึงพื้นเรือน เป็นระดับความสูงใต้ถุนเรือน สูงประมาณ 2-2.3 เมตร

ความสูงของหลังคาอยู่ระหว่าง 1.5-2 เมตร

ด้วยสัดส่วนเช่นนี้จึงทำให้ลักษณะเรือนพื้นบ้านล้านนาดูหนักแน่น มีความโดดเด่นมั่นคง ต่างกับลักษณะเรือนไทยภาคกลางที่มีเสาล้มสอบ หลังคาอ่อนช้อย

นอกจากนี้ การออกแบบของสล่าพื้นบ้านยังคำนึงถึงการใช้สอย และความสบายของผู้อยู่อาศัยหลายประการ ที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศ และภูมิประเทศของภาคเหนือ เช่นผังพื้นมีการลดระดับเรือนแทนการกั้นห้อง เพื่อเปิดให้พื้นที่โล่งสามารถใช้งานอเนกประสงค์ ส่วนของผนังมีการเปิดช่องหน้าต่างฝาไหลทางหน้าบ้านบริเวณเติ๋น เพื่อเปิดให้ถ่ายเทอากาศขณะนั่งกับพื้นในเวลากลางวัน และจะปิดในเวลากลางคืนเพื่อมิให้ความหนาวเย็นเข้าสู่เรือน การทำฝาครัวด้วยฝาขี้หร่าย หรือฝาสานที่สามารถระบายควันได้อย่างรวดเร็ว และการทำช่องระบายควันเหนือหลังคา เพื่อช่วยระบายควันอีกทางหนึ่ง

ในส่วนของฝาเรือน ยังมีการคำนึงถึงสัดส่วนความสูงของเรือน โดยออกแบบให้สูงและทำผนังด้านบนบริเวณใต้ขื่อเป็นช่องลมเพื่อระบายความร้อน เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่แสดงผ่านออกทางงาน สถาปัตยกรรม เกือบทุกสิ่งล้วนมีเหตุผลและหลักการในการผนวกเอาความเชื่อโบราณต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างผสมผสานข้อห้ามต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้ หากผู้ใดละเมิดจะถือว่า “ ขึด ” ซึ่งเป็นเรื่องอัปมงคล หากแต่บางสิ่งที่มิได้กำหนดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิอากาศสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งทำให้รูปแบบเรือนไม้จริงช่วงระยะ 30-70 ปี แตกต่างออกไปจากเรือนกาแล เช่นการเปิดช่องหน้าต่างมากขึ้นกว่าก่อน เนื่องจากอากาศร้อนขึ้น ชานแดดซึ่งเคยมีไว้ตากพืชพันธุ์ ก็เปลี่ยนไปเป็นมีหลังคาคลุมเพื่อรักษาพื้นไม้เอาไว้ เป็นต้น


แม้ว่าหลายสิ่งอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่นเรือนพื้นบ้านล้านนาในลักษณะที่กล่าวถึงนี้ก็มีแนวโน้มลดจำนวนลงอย่าง รวดเร็วจนน่าใจหาย หากแต่มีบางสิ่งคงอยู่ คือน้ำใจของคนเมือง สามารถสังเกตได้จาก น้ำต้น หรือหม้อน้ำที่ตั้งไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนเสมอมิได้ขาด อันทำให้เรือนพื้นถิ่นยิ่งทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกตกทอดให้ ลูกหลานได้รับรู้สืบไป