เอกลักษณ์ล้านนา - ฟ้อนผี

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/11/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ฟ้อนผี

การฟ้อนผีหรือการรำบูชาผีในล้านนาจำแนกได้เป็น ๔ อย่าง คือ

•  ฟ้อนผีเจ้านาย ผีบ้านผีเมือง

•  ฟ้อนผีมด

•  ฟ้อนผีเมง

•  ฟ้อนผีมดซอนแมง

ซึ่งจะได้แยกกล่าวแต่ละอย่างโดยสังเขป ดังนี้

  • ฟ้อนผีเจ้านาย ผีบ้านผีเมือง

การฟ้อนผีทั้ง ผีเจ้านาย หรือ ผีบ้านผีเมือง นี้ เป็นพิธีกรรมในการ เลี้ยงผี หรือสังเวยผี แต่เพิ่มการฟ้อนเพื่อความคึกคัก สนุกสนานแก่พิธีกรรม ซึ่งมักจะจัดขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม

การฟ้อนผีเจ้านาย หรือ ผีบ้านผีเมือง นี้คล้ายกับการ ฟ้อนผีมดผีเมง ทั้งการแต่งกายและดนตรี แต่จะไม่มีโหนผ้าเหมือน ผีเมง และไม่มีกิจกรรมการละเล่นเหมือนผีมด สำหรับเครื่องสังเวยกับพิธีกรรมต่างๆ ก็คลาดเครื่องกันไปไม่มากนัก (ดูเพิ่มที่ ผีเจ้านาย )

การฟ้อนผีเจ้านาย เป็น การเลี้ยงผีหรือฟ้อนผีเพื่อสังเวยผีเทพหรือผีอารักษ์ซึ่งทำหน้าที่รักษาบ้าน เมือง มีประวัติความเป็นมาที่เก่งกล้า เช่น เจ้าพ่อประตูผาของลำปาง เจ้าหลังคำแดงของเชียงใหม่ ในการสังเวยผีดังกล่าวนี้จะกระทำที่ “ หอผี ” โดย ม้าขี่ หรือคนทรงจะนำเครื่องเซ่นต่างๆ ไปสังเวยแล้วจะเอาพานเครื่องคารวะไปเชิญเจ้าพ่อที่หอผีให้ประทับทรงจากนั้น คนทรงก็จะแต่งตัวตามแบบที่เจ้าพ่อชอบ ออกไปฟ้อนที่หน้าหอผี เครื่องแต่งตัวที่จัดเตรียมไว้มีผ้าโสร่งสีต่างๆ ทั้งลายตาหมากรุกและผ้าพื้น เสื้อผ่าอกแขนยาว ผ้าคาดเอว ผ้าโพกศีรษะและผ้าคล้องคอสีต่างๆ ในขณะเดียวกัน คนทรงของเทพเจ้าต่างๆ ที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธีก็จะแต่งตัวแล้วออกไปร่วมฟ้อน โดยมีวงดนตรี กลองเต่งถิ้ง ประโคมเสียงสนั่น

  • ฟ้อนผีมด

ผีมด เป็นผีประจำตระกูลหรือผีบรรพบุรุษซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผีที่ทำหน้าที่มด คือดูแลลูกหลานในตระกูล อย่างคำว่ามดลูก คือส่วนที่ดูแลทารกในครรภ์ เป็นต้น จากการสังเกตพฤติกรรมการละเล่นที่ปรากฏในขบวนการฟ้อนผีมด เช่น การปัดต่อปัดแตน ยิงนก ยิงกระรอกกระแต คล้องช้างคล้องม้า ชนไก่ ทำไร่ทำสวน ทอดแห ฟ้อนดาบ และถ่อเรือถ่อแพ เห็นว่าเป็นพฤติกรรมของชายหรือพ่อบ้านที่พึงกระทำในการดำรงชีวิต จึงเห็นว่า ผีมด น่าจะเป็นผีฝ่ายพ่อหรือการสืบจากฝ่ายบิดา ซึ่งต่างไปจาก ผีเมง ที่แสดงพฤติกรรมแง่การคลอดบุตรและการปรุงอาหารเป็นกิจกรรมเด่น ซึ่งส่อแสดงว่า ผีเมง เป็นผีของฝ่ายหญิง

การฟ้อนผีมด นี้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมการ เลี้ยงผี หรือสังเวยผี ซึ่งการ เลี้ยงผี จะมีทั้งการ เลี้ยงดัก คือ ทำพิธีสังเวยอย่างเงียบๆ ภายในตระกูล ส่วนที่ทำพิธี ฟ้อนผี นั้น โดยมากกำหนดจัดเลี้ยงสามปีต่อครั้งหรือในกรณีแก้บนให้ลูกหลาน ซึ่งในการแก้บนนั้น ผู้ประสงค์จะแก้บนจะนำเงินไปมอบให้ เค้าผี (อ่าน “ เก๊าผี ” ) หรือผู้ดูแลผีประจำตระกูลดำเนินการต่างๆ ให้ แต่หากเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสืบทอดประเพณีแล้ว เค้าผีคือหญิงอาวุโสของกลุ่มสกุลที่นับถือผีเดียวกันและเป็นผู้ครอบครองบ้าน ที่มีหอผีของสายสกุลตั้งอยู่ จะรวบรวมเงินจากลูกหลานเครือญาติใน ผีเดียวกัน คือตระกูลเดียวกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย

เมื่อถึงวันกำหนด ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนแล้ว เค้าผี จะได้บอกกล่าวให้แก่ ผีปู่ย่า ได้ทราบว่าจะมีพิธีกรรมการ ฟ้อนผีมด พร้อมทั้งไป ไฅว่ผี หรือแจ้งข่าวแก่คนทั้งหลายที่เป็น ผีเดียวกัน ได้ทราบ ขณะเดียวกันจะเชิญผีในตระกูลอื่นให้ไปร่วมงานด้วย โดย เค้าผี จะนำพานข้าวตอกดอกไม้หรือผลไม้และอาหารไปบอกกล่าวแก่ เค้าผี ในสกุลที่ใกล้ชิดเพื่อเชิญไปร่วมงาน ผู้ที่ได้รับการ ไฅว่ผี ก็จะนำพานหรือสิ่งที่นำไปเชิญนั้นวางบน หิ้งผีปู่ย่า ในเรือนของตน พร้อมกับบอกกล่าวให้ ผีปู่ย่า ประทับทรงไปในงานนั้น

วันแรกของการ ฟ้อนผีมด คือ วันดา หรือวันเตรียมการหรือ วันข่าว คือประชาสัมพันธ์งาน โดยกิจกรรมทั้งหลายจะเริ่มตั้งแต่ประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป ลูกหลาน ผีเดียวกัน ที่เป็นชายก็จะไปร่วมกันเตรียมสถานที่ในบริเวณบ้าน โดยปลูก ผาม หรือ ผามเพียง (อ่าน “ ผามเปียง ” ) คือปะรำทำด้วยไม้ไผ่เป็นโรงหลังคาราบ มุงด้วยหญ้าคาหรือทางมะพร้าว พื้นปูด้วยเสื่อรำแพน ภายในผามจะมีหิ้งวางเครื่องสังเวยซึ่งสูงจากพื้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร ต่ำลงมาจากหิ้งนั้นจะมีราวสำหรับพาดผ้าเครื่องแต่งตัวของผีแต่ละตน เมื่อเสร็จจากการสร้างผามก็จะเตรียมทำอุปกรณ์เครื่องละเล่นของผี เช่น เรือ ธนู และอุปกรณ์ต่างๆ

บนหิ้งผีนั้นจะมี ขัน หรือพานจำนวน ๑๒ ใบ ใส่ เครื่อง ๑๒ คือ เครื่องคารวะ เช่น หมากพลูธูปเทียนอย่างละ ๑๒ ชิ้น รวมทั้งเหล้าอีก ๑ ไห (คือสุราขาว ๑ ขวด) ขันดังกล่าวจัดไว้สำหรับผีหรือเจ้าพ่อ ซึ่งแม้จะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละสกุลแต่ส่วนใหญ่พบว่า “ เจ้าพ่อ ” ที่รับเครื่องสังเวยในงาน ฟ้อนผีมด ในจังหวัดลำปาง คือ

•  เจ้าพ่อตนหลวง (หัวหน้าใหญ่)

•  เจ้าพระญาไฮ

•  เจ้าพระญาผาเบี้ย

•  เจ้าฝนแสนห่า

•  เจ้าบ่าวใหญ่

•  เจ้าสาว

•  เจ้าฟ้า

•  เจ้าแสนหมอน

•  เจ้าอารักษ์

•  เจ้าหมอนแสน (หม่อนแสน)

•  เจ้าสร้อยฟ้าลาวัลย์

•  เจ้าอ้อนแอ้น

นอกจากนั้นก็จะจัด ขันตั้งกลอง (อ่าน “ ขันตั้งก๋อง ” ) ซึ่งประกอบด้วย ขันตั้งหลวง ใส่ เครื่อง ๘ คือ ดอกไม้ธูปเทียนอย่างละแปดชิ้น เทียนหนัก ๑ บาท ๑ คู่ หนัก ๑ เฟื้อง ๑ คู่ ผ้าขาวผ้าแดงอย่างละหนึ่งพับ พร้อมกับเบี้ย ๑๓๐๐ นอกจากนั้นยังมี ขันโท้งฟ้า (อ่าน “ ขันโต๊งฟ้า ” ) ซึ่งเป็น ขันเครื่องสี่ คือหมากพลูธูปเทียนอย่างละสี่ชุด นอกจากนั้นจะมีเนื้อหมูสามชั้นประมาณครึ่งกิโลกรัม และมะพร้าวอ่อนหนึ่งลูก

เมื่อลูกหลานฝ่ายชาย เตรียมการดังกล่าวนั้นเสร็จก็พอดีเป็นเวลาประมาณเที่ยงวัน เมื่อกินอาหารกลางวันแล้ว ดนตรีที่ว่าจ้างมาบรรเลงคือวงกลอง เต่งถิ้ง หรือ กลองถืดถึ้ง ซึ่ง ประกอบด้วยตะโพนหรือกลองสองหน้าขนาดกลาง กลองขัดจังหวะ ระนาด ฆ้องวง ปี่แนเล็กและใหญ่ พร้อมกับฉิ่งและฉาบ ซึ่งเมือจัดเครื่องดนตรีเข้าที่แล้วก็จะเริ่มบรรเลง โดยหัวหน้าวงจะ ขึ้นขันกลอง (อ่าน “ ขึ้นขัน ก๋อง ” ) คือนำ ขันกลอง หรือ พานครูที่จัดให้มานั้นบูชาครูของตน แล้วเอาเหล้าลูบที่หน้ากลองเพื่อให้ผีกลองได้กิน ซึ่งจะช่วยให้เสียงจากกลองนั้นเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ได้ยิน ถัดจากนั้นจึงจะเริ่มพิธีปัดไก่ โดย เค้าผี จะยกขันตั้ง เพื่อเชิญผีเจ้าตนหลวง และเจ้าระดับรองลงไปอีก ๔ องค์ คือเจ้าพระญาไฮ เจ้าพระญาผาเบี้ย เจ้าฝนแสนห่าและเจ้าสร้อยฟ้าลาวัลย์ประทับทรง เมื่อเจ้าพ่อเข้าประทับทรงนั้น ม้าขี่ หรือคนทรงของเจ้าพ่อต่างๆ จะฟุบหน้าลงกับพื้น เค้าผี จะนำน้ำส้มป่อยจากหิ้งเครื่องเซ่นมาพรมให้แล้ว ม้าขี ่จะลุกขึ้นฟ้อนในผาม ม้าขี่ ที่นั่งอยู่ก็จะเริ่มแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่จัดได้ทับชุดที่นุ่งอยู่ จากนั้นร่างทรงของ เจ้าตนหลวง ซึ่ง เป็นผีปู่ย่าของตระกูลจะใช้หอกที่เตรียมไว้ ทำท่าแทงไก่ ๒ ตัวที่ขังไว้ในชะลอม เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายและเพื่อให้พิธีกรรมดำเนินไปด้วยดี บรรดาลูกหลานในตระกูลจะเข้าไปในผามเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อตนหลวง เจ้าพ่อจะผูกข้อมือและอวยพรแก่ทุกคน แล้วผีทั้งหลายจะเริ่มประทับทรงแล้วฟ้อนไปมาในผามโดยไม่มีท่ารำที่เป็นรูป แบบ ฟ้อนไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ นาฬิกา ก็จะเริ่ม ลาทรง ม้าขี่ จะล้มลงบนเสื่อและฟุบกับหมอนที่จัดไว้บน หอผี เป็นอันจบกิจกรรมในวันแรก
วันที่สองเป็นวันฟ้อนผีจริง กิจกรรมจะเริ่มประมาณ ๐๘.๓๐ นาฬิกา โดย เค้าผี จะ นำเครื่องสังเวย ประกอบด้วยหัวหมูดิบพร้อมขาทั้งสี่เพื่อสมมติเป็นหมูทั้งตัว ไก่ ๔ ตัว ลาบ แกงอ่อม หมูปิ้ง ตับปิ้ง ยำไส้ ไส้อั่ว ขนมคือข้าวต้มมัด สุราและมะพร้าว นำเครื่องสังเวยดังกล่าวไปวางไว้ที่หอผี แล้วกล่าวอัญเชิญผีปู่ย่าให้มารับเครื่องสังเวยพร้อมกับร่วมสนุกสนานในพิธี นั้น เมื่อถึงเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา บรรดาลูกหลานเครือญาติจะชุมนุมในผาม เค้าผี จะจุดธูปบอกกล่าวแก่แม่ธรณีประตูบ้านเพื่อขออนุญาตให้ผีอื่นที่เชิญไว้เข้ามาในบ้าน เสร็จแล้ว เค้าผี จะยก ขันตั้ง ที่เตรียมไว้ไปเชิญ เจ้าตนหลวง หรือผีปู่ย่าให้ประทับใน ม้าขี่ หรือร่างทรงซึ่งเป็นคนในสายสกุลเท่านั้น ม้าขี่ จะมีการเปลี่ยนจากปกติแล้วจะวิ่งเข้าในผาม ที่นั่งผาม หรือหญิงที่ชำนาญในพิธีกรรมและคอยควบคุมพิธีอยู่จะช่วยแต่งตัว โดยนำโสร่ง เสื้อและผ้าโพกศีรษะที่เตรียมไว้สวมทับชุดเดิม เสร็จแล้ว เจ้าตนหลวง จะ ทักทายลูกหลานที่เข้าร่วมพิธีโดยใช้สรรพนามเรียกลูกลานว่า “ เหลนหน้อย ” ในช่วงนี้ดนตรีจะหยุดบรรเลง ลูกหลานอาจเข้าไปขอให้ผีปู่ย่าช่วยรักษาโรคหรือปัดเป่าเคราะห์โดยการเสกคาถา เป่ากระหม่อมให้ หรือขอให้ผีปู่ย่าช่วยทำนายโชคเคราะห์ต่างๆ ต่อจากนั้นเจ้าองค์อื่นๆ และผีที่ได้รับเชิญจะเริ่มประทับทรงและเข้าร่วมการฟ้อนในกลุ่มเจ้าในร่างทรง ด้วยกัน แต่เจ้าบางองค์อาจจะฟ้อนดาบกับ กำลัง หรือชายที่ชำนาญในพิธีกรรมและจะคอยเล่นหรือเป็นลูกคู่กับเจ้าที่เข้าทรงนั้น

พอถึงเวลาเที่ยงวันก็จะมีการเลี้ยงอาหารผี ลูกหลานในสายสกุลจะลำเลียง ขันโตก คือ ตุลุ่มบรรจุอาหารเป็นชุดๆ ประกอบด้วยอาหารในโอกาสพิเศษ เช่น ลาบ แกงอ่อน ยำชิ้นไก่ เนื้อย่าง ไส้อั่ว เหล้า หมาก พลู บุหรี่ ขนม ข้าวต้มมัด ฯลฯ ประมาณ ๓๐ ชุดเท่าจำนวนผีในร่างทรง ขันโตกนั้นจะจัดวางในผามแล้วเชิญให้ร่วมกินข้าว ผีในร่างทรงโดยมี เจ้าตนหลวง หรือผีปู่ย่าจะถือดาบที่มีเทียนไขจุดไฟติดที่ปลายดาบนำเหล่าผีเดินวนตามจังหวะดนตรีไปรอบๆ ขันโตก พร้อมทั้งเอาดาบจี้ไปที่ ขันโตก สองถึงสามรอบเป็นสัญลักษณ์ว่าผีกินอาหาร จากนั้นผีจะออกจากร่างทรง แล้วลูกหลานและคนทรงจะร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

กิจกรรมในภาคบ่ายจะเริ่มในเวลาประมาณบ่ายโมงหรือกว่านั้นเล็กน้อย เสียงดนตรีจากวงกลอง เต่งถิ้ง หรือ ถืดถึ้ง จะ ดังกระหึ่ม ผีทั้งหลายจะเข้าประทับทรงแล้วฟ้อนต่อไป บ้างจะแสดงอิทธิฤทธิ์บ้างกระโดดโลดเต้น บ้างก็จะ “ จ๊อย ” คือขับเพลงแบบล้านนา และเมื่อได้เวลาก็จะดำเนินพิธีกรรมและการละเล่นตามขนบโบราณ ดังนี้

พิธีโท้งฟ้า (อ่าน “ โต้งฟ้า ” ) ซึ่งเจ้าพ่อ พระญาเบี้ย จะ เป็นเจ้าพิธี เจ้าพ่อนี้จะนุ่งโสร่งมีผ้าโพกศีระษะและสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยหอยเบี้ย ร้อยสลับกับใบพลู ในมือมีกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำท่อนหนึ่ง ซึ่งมีใบตองปิดรัดไว้ ถือกวัดแกว่ง ฟ้อนตามจังหวะเพลง เมื่อได้จังหวะก็จะใช้นิ้วกระทุ้งใบตองให้เป็นรูแล้วสลัดน้ำให้กระเซ็นไปถูก คนที่รุมล้อมอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกัน กำลัง จะเดินตาม พระญาเบี้ย คน หนึ่งตีฆ้องทำด้วยไข่ต้มปอกเปลือกร้อยด้วยตอก อีกคนหนึ่งเป่า “ แน ” คือ ปี่ปากผายที่ทำด้วยกล้วยหรือใบมะพร้าวขด การทำพิธีนี้เชื่อว่าจะทำให้เกิดน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ และคนที่ได้รับน้ำในพิธีจะปราศจากโรคภัยทั้งปวง

จากนั้นจะเป็นพิธี ปัดต่อปัดแตน (อ่าน “ ปั๊ดต่อปั๊ดแต๋น ” ) คือปัดตัวต่อตัวแตน กำลัง จะ แจกทางมะพร้าวที่มัดเป็นกำให้ผีที่กำลังฟ้อนอยู่นั้น แล้วเอาข้าวสารโปรยเข้าไปในผามพร้อมกับตะโกนว่า “ ต่อแตนมาแล้ว ” ผีทั้งหลายจะเอาผ้าที่คล้องคออยู่นั้นขึ้นคลุมศีรษะ พร้อมกับใช้กำทางมะพร้าวฟาดไปที่ เข้าแฅบเข้าแตน คือข้าวเกรียบและขนมนางเล็ดที่แขวนไว้กับขื่อผาม และใช้ธนูหรือหน้าไม้ยิงไปยังนกที่ทำแขวนไว้ในผาม กำลัง จะคอยติดตามเก็บนกที่ผียิงตกลงมาใส่ย่ามไปจนหมด

ปัดต่อปัดแตนแล้วก็จะมีพิธีการยิงรอกยิงกระแต (อ่าน “ ญิงฮอกญิงขะแต๋ ” ) คือยิงกระรอกและกระแต (บางแห่งว่า “ กระแต ” หมายถึง กระต่ายพันธุ์ท้องถิ่น) กำลัง จะถือรูปกระรอกกระแตที่แกะ สลักจากหยวกมาถือแล้วฟ้อนไปมาเพื่อล่อให้ผีใช้ธนูหรือหน้าไม้ยิง บางครั้งเมื่อผียิงไม่ถูกก็จะติดสินบนกำลังด้วยสุราจนมึนเมาเพื่อให้ “ กระรอกกระแต ” เคลื่อนไหวน้อยลงและจะยิงได้โดยง่าย พิธีนี้ถือว่าช่วยทำลายศัตรูที่เบียดเบียนผลผลิตทางการเกษตรและยังทำลายผี รายและศัตรูได้ด้วย

การฟ้อนดาบ ถือ ว่าเป็นการแสดงฝีมือเชิงดาบ โดยผีระดับหัวหน้าจะจับคู่กันฟ้อนดาบแสดงฝีมือท่ามกลางเสียงดนตรีที่เร้าใจ บางครั้งผีในร่างทรงอาจมีการฟันแทงกันบ้าง เพื่อทดสอบความขลังและความคงกระพันอีกด้วย

การถ่อเรือถ่อแพ เป็น การละเล่นชุดสุดท้ายก่อนที่ผีจะอำลาจากกัน จะใช้หุ่นจำลองขนาดพอเหมาะเป็นเรือและแพอย่างละลำผีทั้งหลายจะถือพายและถ่อจำลองทำท่าพายเรือและถ่อแพจากลานบ้านเข้าสู่ผาม ผีทั้งหลายจะต้องช่วยกันประคับประคองเรือแพให้ไปถึงที่หมาย โดยมี กำลัง คอย บอกทางและอุปสรรคตามระยะทาง อีกทั้งยังคอยแจกสุราให้แก่ผีด้วย ในระหว่างการถ่อเรือถ่อแพนั้นก็จะมีการสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานด้วย การละเล่นชุดนี้เป็นสัญลักษณ์ว่าไปค้าขายได้เงินทองกลับบ้าน

การละเล่นจะจบลงในเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกา ผีทั้งหลายจะร่วมฟ้อนอำลากันอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับบอกกล่าวกันว่าจะพบกันใหม่ในการฟ้อนผีครั้งต่อไป หลังจากนั้นผีจะทยอยกันออกจากร่างทรงโดยไปฟุบหน้าลงกับหมอนบนหอผี เมื่อร่างทรงรู้สึกตัวแล้วก็จะนำน้ำส้มป่อยลูบหน้าและศีรษะพร้อมกับแสดงท่า อ่อนเพลีย ภายในผามยังคงมี เจ้าตนหลวง หรือผีปู่ย่าให้พรแก่ลูกหลานอีกครั้งหนึ่ง จากนั้น ที่นั่งผาม จะดับเทียนที่ ขันเทียนหลวง แล้วยก ขันเทียน หรือ พานเทียนให้แก่ผีปู่ย่าเพื่อมอบแก่เจ้าภาพที่ประกอบพิธี แล้วยกขันตั้งบนหิ้งเครื่องสังเวยให้ผีปู่ย่ามอบให้แก่ม้าขี่หรือร่างทรงของ ผีต่างๆ ที่มาในพิธี พร้อมกับมอบห่อผ้าเครื่องแต่งตัวให้ลูกหลานเก็บรักษาไว้ จากนั้นผีปู่ย่าก็จะออกจากร่างทรงโดยวิธีการเดียวกับผีตนอื่นๆ ดนตรีหยุดบรรเลง ก็เป็นจบพิธีกรรมในการฟ้อนผีมด ลูกหลานจะช่วยกันรื้อผามและแบ่งเครื่องสังเวยกลับไปยังบ้านของตนต่อไป

กิจกรรมในภาคบ่ายจะเริ่มในเวลาประมาณบ่ายโมงหรือกว่านั้นเล็กน้อย เสียงดนตรีจากวงกลอง เต่งถิ้ง หรือ ถืดถึ้ง จะ ดังกระหึ่ม ผีทั้งหลายจะเข้าประทับทรงแล้วฟ้อนต่อไป บ้างจะแสดงอิทธิฤทธิ์บ้างกระโดดโลดเต้น บ้างก็จะ “ จ๊อย ” คือขับเพลงแบบล้านนา และเมื่อได้เวลาก็จะดำเนินพิธีกรรมและการละเล่นตามขนบโบราณ ดังนี้

พิธีโท้งฟ้า (อ่าน “ โต้งฟ้า ” ) ซึ่งเจ้าพ่อ พระญาเบี้ย จะ เป็นเจ้าพิธี เจ้าพ่อนี้จะนุ่งโสร่งมีผ้าโพกศีระษะและสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยหอยเบี้ย ร้อยสลับกับใบพลู ในมือมีกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำท่อนหนึ่ง ซึ่งมีใบตองปิดรัดไว้ ถือกวัดแกว่ง ฟ้อนตามจังหวะเพลง เมื่อได้จังหวะก็จะใช้นิ้วกระทุ้งใบตองให้เป็นรูแล้วสลัดน้ำให้กระเซ็นไปถูก คนที่รุมล้อมอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกัน กำลัง จะเดินตาม พระญาเบี้ย คน หนึ่งตีฆ้องทำด้วยไข่ต้มปอกเปลือกร้อยด้วยตอก อีกคนหนึ่งเป่า “ แน ” คือ ปี่ปากผายที่ทำด้วยกล้วยหรือใบมะพร้าวขด การทำพิธีนี้เชื่อว่าจะทำให้เกิดน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ และคนที่ได้รับน้ำในพิธีจะปราศจากโรคภัยทั้งปวง

จากนั้นจะเป็นพิธี ปัดต่อปัดแตน (อ่าน “ ปั๊ดต่อปั๊ดแต๋น ” ) คือปัดตัวต่อตัวแตน กำลัง จะ แจกทางมะพร้าวที่มัดเป็นกำให้ผีที่กำลังฟ้อนอยู่นั้น แล้วเอาข้าวสารโปรยเข้าไปในผามพร้อมกับตะโกนว่า “ ต่อแตนมาแล้ว ” ผีทั้งหลายจะเอาผ้าที่คล้องคออยู่นั้นขึ้นคลุมศีรษะ พร้อมกับใช้กำทางมะพร้าวฟาดไปที่ เข้าแฅบเข้าแตน คือข้าวเกรียบและขนมนางเล็ดที่แขวนไว้กับขื่อผาม และใช้ธนูหรือหน้าไม้ยิงไปยังนกที่ทำแขวนไว้ในผาม กำลัง จะคอยติดตามเก็บนกที่ผียิงตกลงมาใส่ย่ามไปจนหมด

ปัดต่อปัดแตนแล้วก็จะมีพิธีการยิงรอกยิงกระแต (อ่าน “ ญิงฮอกญิงขะแต๋ ” ) คือยิงกระรอกและกระแต (บางแห่งว่า “ กระแต ” หมายถึง กระต่ายพันธุ์ท้องถิ่น) กำลัง จะถือรูปกระรอกกระแตที่แกะ สลักจากหยวกมาถือแล้วฟ้อนไปมาเพื่อล่อให้ผีใช้ธนูหรือหน้าไม้ยิง บางครั้งเมื่อผียิงไม่ถูกก็จะติดสินบนกำลังด้วยสุราจนมึนเมาเพื่อให้ “ กระรอกกระแต ” เคลื่อนไหวน้อยลงและจะยิงได้โดยง่าย พิธีนี้ถือว่าช่วยทำลายศัตรูที่เบียดเบียนผลผลิตทางการเกษตรและยังทำลายผี รายและศัตรูได้ด้วย

การฟ้อนดาบ ถือ ว่าเป็นการแสดงฝีมือเชิงดาบ โดยผีระดับหัวหน้าจะจับคู่กันฟ้อนดาบแสดงฝีมือท่ามกลางเสียงดนตรีที่เร้าใจ บางครั้งผีในร่างทรงอาจมีการฟันแทงกันบ้าง เพื่อทดสอบความขลังและความคงกระพันอีกด้วย

การถ่อเรือถ่อแพ เป็น การละเล่นชุดสุดท้ายก่อนที่ผีจะอำลาจากกัน จะใช้หุ่นจำลองขนาดพอเหมาะเป็นเรือและแพอย่างละลำ ผีทั้งหลายจะถือพายและถ่อจำลองทำท่าพายเรือและถ่อแพจากลานบ้านเข้าสู่ผาม ผีทั้งหลายจะต้องช่วยกันประคับประคองเรือแพให้ไปถึงที่หมาย โดยมี กำลัง คอย บอกทางและอุปสรรคตามระยะทาง อีกทั้งยังคอยแจกสุราให้แก่ผีด้วย ในระหว่างการถ่อเรือถ่อแพนั้นก็จะมีการสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานด้วย การละเล่นชุดนี้เป็นสัญลักษณ์ว่าไปค้าขายได้เงินทองกลับบ้าน

การละเล่นจะจบลงในเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกา ผีทั้งหลายจะร่วมฟ้อนอำลากันอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับบอกกล่าวกันว่าจะพบกันใหม่ในการฟ้อนผีครั้งต่อไป หลังจากนั้นผีจะทยอยกันออกจากร่างทรงโดยไปฟุบหน้าลงกับหมอนบนหอผี เมื่อร่างทรงรู้สึกตัวแล้วก็จะนำน้ำส้มป่อยลูบหน้าและศีรษะพร้อมกับแสดงท่า อ่อนเพลีย ภายในผามยังคงมี เจ้าตนหลวง หรือผีปู่ย่าให้พรแก่ลูกหลานอีกครั้งหนึ่ง จากนั้น ที่นั่งผาม จะดับเทียนที่ ขันเทียนหลวง แล้วยก ขันเทียน หรือ พานเทียนให้แก่ผีปู่ย่าเพื่อมอบแก่เจ้าภาพที่ประกอบพิธี แล้วยกขันตั้งบนหิ้งเครื่องสังเวยให้ผีปู่ย่ามอบให้แก่ม้าขี่หรือร่างทรงของ ผีต่างๆ ที่มาในพิธี พร้อมกับมอบห่อผ้าเครื่องแต่งตัวให้ลูกหลานเก็บรักษาไว้ จากนั้นผีปู่ย่าก็จะออกจากร่างทรงโดยวิธีการเดียวกับผีตนอื่นๆ ดนตรีหยุดบรรเลง ก็เป็นจบพิธีกรรมในการฟ้อนผีมด ลูกหลานจะช่วยกันรื้อผามและแบ่งเครื่องสังเวยกลับไปยังบ้านของตนต่อไป

วันที่สองของงานหรือวันทำพิธีฟ้องผีนั้น จะเริ่มประมาณ ๐๘.๐๐ นาฬิกา เมื่อคณะดนตรีปี่พาทย์มาถึงผามพิธีแล้ว ที่นั่งผาม คือหญิงที่คอยดูแลการดำเนินกิจกรรมการฟ้อนผีจะหยิบ ผ้าพกปี้ (ผ้าแดงห่อช่อเฉียงพร้ามอญ หมาก เมี่ยง บุหรี่ ข้าวตอก) จากหิ้งไปเชิญคณะนักดนตรีเข้าสู่ผาม แล้วนำ ผ้าพกปี้ ไปไว้บนหิ้งตามเดิม เมื่อนักดนตรีจัดวางเครื่องดนตรีเข้าที่แล้ว หัวหน้าวงจะทำพิธี ขึ้นขันกลอง หรือ โยงขันกลอง (อ่าน “ โญงขันก๋อง ” ) คือทำพิธีคารวะครูดนตรีของตน จากนั้นจึงรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน พอเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ดนตรีจะเริ่มบรรเลงเพลง เค้าห้า (อ่าน “ เก๊าห้า ” ) หรือต้นหว้า ที่นั่งผาม ยกพานเชิญผีปู่ย่ามาที่ เค้าห้า หรือต้นไม้หว้า จุดเทียนวางกระทงขนมไว้ที่ เค้าห้า กล่าวเชิญ ผีผ้าขาว ให้เข้าประทับในร่างทรงของสายสกุล และกล่าวขอให้นำความสวัสดีมีชัยมาสู่ลูกหลาน จากนั้น ที่นั่งผาม จะเด็ดใบหว้าหนึ่งกำมือ เค้าผีเด็ดสามกำมือ แล้ว เค้าผี นำใบไม้หว้าทั้งหมดไปเสียบที่มุมหลังคาผามทั้งสี่ทิศ ที่นั่งผาม นำ พานเชิญผีปู่ย่ากลับไปวางไว้บนหิ้ง จากนั้นลูกหลานจะแห่ต้นกล้วยเข้าผาม โดยถือว่าต้นกล้วยเป็นสัญลักษณ์ของการสืบทอดสายสกุล ดุจเดียวกับการแตกหน่อของกอกล้วย (และอาจคิดได้ว่าต้นกล้วยเป็นสื่อนำผีเข้าสู่ผามก็ได้) กำลัง นำ ต้นกล้วยพาดไว้กับราวผ้าแล้วเอาดาบเล่มหนึ่งมาสับคาไว้ที่ต้นกล้วย วางกระทงขนมบนต้นกล้วยพร้อมกับจุดเทียนสองแท่งติดที่ปลายและด้ามดาบ ทำพิธีเลี้ยงผีหัวกล้วย โดยให้ลูกหลานนั่งล้อมหัวกล้วยและล้างหัวกล้วยด้วยน้ำส้มป่อย นำดาบอีกเล่มหนึ่งมาฟันต้นกล้วยเจ็ดครั้งโยไม่ให้ขาด เสร็จแล้วจึงฟันอีกครั้งหนึ่งให้ขาดเป็นสองท่อน ท่อนหนึ่งให้ แม่เตากำ นำไปทำอาหาร อีกท่อนหนึ่งเก็บไว้เล่นซ่อนหัวกล้วยในตอนบ่าย จากนั้นผีผ้าขาวจะเข้าทรงและ ที่นั่งผาม จะ แต่งตัวให้ด้วยผ้าซิ่น เสื้อและผ้าคลุมผมสีขาว แล้วนำผีผ้าขาวไปรับการรดน้ำดำหัวที่ต้นหว้า โดยรดน้ำส้มป่อยที่มือและเท้าของผีผ้าขาว ผีผ้าขาวแจกด้ายผูกมือลูกหลาน เสร็จแล้ว ที่นั่งผาม นำ ผ้าพกปี้ ให้ผีผ้าขาวคอนเข้าผาม ซึ่งผีผ้าขาวจะแกล้งทำ ผ้าพกปี้ ตกลงที่กลางผาม ที่นั่งผาม เก็บห่อผ้านั้นไปวางบนหิ้งเครื่องสังเวย จากนั้นผีผ้าขาวจะบูชาพระธาตุตะโก้งที่เมืองหงสาวดี โดยจุด จองแหลง ถวาย อาหาร แล้วฟ้อนไปรอบๆ ผาม สักครู่หนึ่งก็เป็นอันเสร็จในส่วนพิธีกรรม จากนั้นจะเชิญผีต่างๆ ในสายสกุลเข้าประทับทรงโดยเริ่มตามลำดับ ดังนี้

ลำดับแรก ผีสองพี่น้อง (อ่าน “ ผีสองปี้น้อง ” ) เข้าประทับทรง ม้าขี่ ของผีสองพี่น้องเอาน้ำส้มป่อยลูบศีรษะแล้วปิดตาโหน ผ้าจ่อง เพื่อเชิญให้ผีเข้าทรง ดนตรีจะบรรเลง “ มอญฟ้อนผี ” บอกสัญญาณการ จ่องผ้า เมื่อผีเข้าทรงแล้ว ที่นั่งผาม จะแต่งตัวให้โดยนำโสร่งมาสวมทับชุดเดิมและคาดผ้าแดงไว้ใต้อก โพกศีรษะด้วยผ้าแดง ผีสองพี่น้องรับถาดผ้าจาก ที่นั่งผาม แล้วโยกถาดผ้าไปมา แล้วที่นั่งผามรับถาดและเอาผ้าไปพาดที่ราวโดยถือว่าผ้านั้นได้ผ่านพิธีกรรมแล้ว

ลำดับที่สอง คือ ผีขุนเสิ้ก หรือผีขุนศึกเข้าประทับทรงโดยร่างทรงจะ ห้อยผ้าจ่อง หรือโหนผ้าที่จัดไว้เพื่อเชิญผีขุนศึกให้เข้าสู่ร่างทรง ในการโหน ผ้าจ่อง ทุกครั้งดนตรีจะบรรเลงเพลง “ มอญฟ้อนผี ” สิ่งพิเศษที่บอกถึงการ ห้อยผ้า เมื่อผีขุนศึกเข้าทรงแล้วก็จะเอาน้ำส้มป่อยพรมให้แก่ลูกหลาน พร้อมทั้งแจกน้ำมะพร้าวให้ เค้าผี และ ลูกหลานได้ดื่มเพื่อความมีโชคมีชัย ผีขุนศึกราดเหล้าลงบนเครื่องดนตรี โดยเชื่อว่าจะทำให้เสียงดนตรีไพเราะมากขึ้น จากนั้นจะทำพิธีฆ่าหมูฆ่าไก่โดยฟ้อนไปมาสักครู่หนึ่ง แล้วใช้ดาบจิ้มไปที่หมูและไก่เป็นๆ ที่เตรียมไว้เพื่อแสดงว่าได้เวลาฆ่าสัตว์นั้นแล้ว ลูกหลานจะนำหมูและไก่ไปชำแหละ หมูชำแหละจะถูกไม้ไผ่หนีบทั้งตัว เรียกว่า หมูคาบ (อ่าน “ หมูก๊าบ ” ) และนำไปพาดกับหลังคาผาม ส่วนไก่เมื่อชำแหละแล้วจะนำไปต้มที่ เตากำ เพื่อใช้สังเวยต่อไป จากนั้นจึงนำ ลา คือดาบชนิดหนึ่งมาทำพิธีเลี้ยง ผีลา ที่ต้นหว้านอกผาม

ถัดจากนั้น ผีบ่าวผีสาว จะเข้าประทับทรง โดยร่างทรงผีสาวจะแต่งตัวเสริมสวยด้วยการทาแป้ง หวีผม ส่องกระจก แล้วทำบุญผ่าน ผ้าจ่อง ที่ถือว่าโยงไปถึงผีปู่ย่า จากนั้นผีสาวจะ ห้อยผ้าจ่อง ส่วย ผีบ่าว จะ ใช้ดาบคอนกล้วยเข้ามาในผาม ดนตรีมักบรรเลง “ เพลงมอญซ่อนผ้า ” ให้ผีบ่าวผีสาวเกี้ยวกัน ฝ่ายผีบ่าวจะพยายามต้อนผีสาวโดยเอาหล้าให้ผีสาวดื่มแล้วแอบล้วงเอาขนมในพาน ที่ผีสาวถือไว้ เมื่อทำได้ก็จะถือว่าแต่งงานกันได้ ผีสาวจะป้อนขนมให้ผีบ่าว ซึ่งแสดงถึงการยอมรับ จากนั้นผีบ่าวจะพาผีสาวฟ้อนไปรอบๆ ผาม

ถัดนั้นผีสองพี่น้อง ในร่างคนทรงสองคนลงกินเครื่องสังเวยที่ประกอบด้วย ขาว เหล้า ไข่ ขนม กล้วย และน้ำเสร็จแล้วก็ฟ้อนไปรอบๆ ผาม

ต่อมาผีปู่ย่าหมู่ห้า ในร่างของ ม้าขี่ ห้าคน ประกอบด้วย เจ้าตนปู่ตนเถ้า เจ้ากัมปละ เจ้าแสงอาทิตย์ เจ้าแสงจันทร์ และ เจ้ารุ้งตะวัน จะ ห้อยผ้าจ่อง เชิญประทับทรงแล้วฟ้อนไปรอบๆ ผาม สักระยะหนึ่ง เจ้ารุ้งตะวัน จะทำพิธีถอนเสาแก้วอาถรรพณ์ เมื่อมิให้เกิดเหตุร้ายในช่วงการฟ้อนผี จากนั้นก็ฟ้อนไปรอบผาม

พิธีกรรมดังกล่าวนี้จะทำในช่วงเช้า พอเที่ยงวัน กำลัง จะ เลี้ยงผีผาม โดย ยกเครื่องสังเวย ซึ่งประกอบด้วย หัวหมูต้ม ลาบ แกงอ่อม ไส้อั่ว หมูปิ้ง ไก่ต้ม ยำไก่ ข้าว และน้ำ โดยวางอาหารนั้นไว้กลางผามมีลูกหลานมานั่งแวดล้อม กำลัง จะ กล่าวเชิญผีให้มากินเครื่องสังเวย พร้อมกับคนอาหารนั้นให้กระจายกลิ่นให้ผีได้กินโดยสูดดมกลิ่นไออาหาร เมื่อเห็นว่าผีกินอิ่มแล้ว ญาติพี่น้องจะยกเอาอาหารนั้นไปรับประทานร่วมกัน แล้วก็จะพักผ่อนกันทั้งผีและคน

พอถึงเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกา พิธีกรรมการฟ้อนผีก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยผีปู่ย่าและผีที่ได้รับเชิญจะฟ้อนและมีการละเล่นต่างๆ ดังนี้

การชนไก่ เป็นการละเล่นระหว่างผีปู่ย่าในร่างทรงกับ กำลัง โดย กำลัง จะ ถือไก่จริง ส่วนผีปู่ย่าถือไก่ที่ทำด้วยผ้ามัดเป็นปมให้ดูคล้ายหัวไก่ ขณะที่ไก่จริงและไก่ปลอม “ ชนกัน ” นั้น บรรดาลูกหลานจะเชียร์และโปรยข้าวสาร ดนตรีจะทำเพลงที่เร้าใจ เมื่อชนไก่ได้พักหนึ่ง ไก่ของผีปู่ย่าก็จะชนะ

การล่อหัวกล้วย หัวของต้นกล้วยหรือหน่อกล้วยที่เข้าพิธีในภาคเช้าจะถูกทำเป็นก้อนกลมเล็กให้ กำลัง ถือซ่อนไว้แล้วหลอกล่อให้ผีปู่ย่าชิงเอาไป เมื่อผีปู่ย่าชิงไม่ได้ก็จะขอแลกด้วยเหล้าหรือไก่ แต่ฝ่าย กำลัง ไม่ยอมแลก และในที่สุดก็นำหัวกล้วยมาวางให้ผีปู่ย่าฟันเป็นสองท่อน ส่วนหนึ่งใส่ในหม้อ แม่เตากำ กับอีกส่วนหนึ่งให้นำไปไว้บนเครื่องบูชา

การสังเวย ผีขุนศึก ในการสังเวยดังกล่าวนี้ กำลัง จะใช้ หมูคาบ ที่พาดไว้กับหลังคาผาม โดย กำลัง จะตัดชิ้นเนื้อส่วนต่างๆ ให้มีขุนศึกในร่างทรงกิน ผีขุนศึกจะ ห้อยผ้าจ่อง คาบ เอาหมูที่ยื่นให้แล้วสะบัดเนื้อหมูลงไปในกระบุงหรือตะกร้าท่ามกลางเสียง เชียร์และเสียงดนตรีที่ดังเร้าใจ การสังเวยผีขุนศึกนี้เพื่อที่ผีปู่ย่าจะไม่อดอยากจนกลายเป็น ผีกละ/ผีกะ

ถัดจากนั้นเป็นการละเล่นชุดสุดท้ายคือ ถ่อเรือถ่อแพ ลูกหลานจะช่วยกันถ่อแพโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น ไม้คาบ ไม้เหิบ ไม้ กระทุ้งที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องดนตรี แล้วเชิญขันตั้งมาวางไว้บนแพสมมติที่ต่อขึ้นมา แล้วช่วยกันลากถอยไปมาให้คล้ายกับการถ่อเรือถ่อแพ ถือว่าแทนการไปหาเงินทาองที่เมืองเมาะตะมะมาให้ลูกหลานที่ร่วมในพิธี ขณะที่ถ่อเรือนั้น ก็จะมีการสาดน้ำจนเปียกปอน ทั้งนี้หลายแหล่งจะไม่มีการฟ้อนผีเมงในการชนไก่หรือถ่อเรือถ่อแพ

พิธีการ ฟ้อนผีเมง จะ สิ้นสุดด้วยการที่ลูกหลานนำต้นหว้าไปลอยน้ำเพื่อลอยเคราะห์ และถือเอาก้อนอิฐก้อนหินเข้าบ้าน โดยถือเป็นสัญลักษณ์ว่าได้เงินได้ทอง จากนั้นก็แบ่ง ขันตั้ง หรือพานเครื่องสังเวยให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี โดย ที่นั่งผาม จะ ได้ข้าวสารทั้งหมดบนหิ้งเครื่องสังเวยพร้อมทั้งเหล้า หมาก พลู และเงิน จำนวน ๑๐๐ บาท ส่วนขันตั้งบนหิ้งก็จะแบ่งให้แก่ร่างทรงของเจ้าแต่ละองค์ เจ้าภาพจะนำเงินใส่ซองให้กำลัง แม่เตากำ และ แม่เตาเหล้า ส่วนเครื่องสังเวยก็แบ่งกันในหมู่ญาติพี่น้อง

ในวันคำรบสามของการ ฟ้อนผีเมง พิธีจะเริ่มในเวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา โดยมีการทำพิธีเลี้ยง ผีผ้าจ่อง ที่กลางผาม กำลัง จะใช้กระด้งคว่ำรองรับให้ ผ้าจ่อง ห้อยอยู่กลางกระด้ง แล้ววางอาหาร ได้แก่ แกงหยวกกล้วย ลาบ แกงอ่อม เนื้อปิ้ง เหล้า น้ำมะพร้าว ขนม วางไว้รอบๆ ผ้าจ่อง แล้วกล่าวเชิญ ผีผ้าจ่อง ให้มารับเครื่องสังเวย แล้วนำอาหารอีกชุดหนึ่งที่เหมือนกับใช้เลี้ยง ผีผ้าจ่อง ไปเลี้ยงผีปู่ย่าที่หอผี เค้าผี กล่าว เชิญผีปู่ย่าให้มารับเครื่องสังเวยและบอกกล่าวให้ผีปู่ย่ารับทราบว่า พิธีกรรมในการฟ้อนผีนั้นได้เสร็จสิ้นแลงแล้ว ขอให้ผีปู่ย่าได้ปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้อยู่ดีมีสุขและเจริญรุ่งเรือง เมื่อถึงวาระก็จะได้ทำพิธีฟ้อนผีอีก จากนั้น เค้าผี ลูกหลาน กำลัง และ ที่นั่งผาม ก็จะรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน เสร็จแล้วจึงปลด ผ้าจ่อง ลงและรื้อผาม ก็เป็นอันจบพิธีโดยสมบูรณ์

  • ฟ้อนผีมดซอนเมง

ผีมดซอนเมง หมาย ถึงผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษที่เกิดจากผู้สืบสายสกุลผีมดและผีเมงแต่งงานกัน ทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีสายสกุลผีมดและผีเมงซอนหรือแทรกผสมกันอยู่ เมื่อจะทำพิธีฟ้อนผีหรือสังเวยผีบรรพบุรุษ ก็ต้องมีพิธีกรรมของทั้งผีมดและผีเมงซอนผสมกันอยู่ ซึ่งมีแนวปฏิบัติดังนี้

เมื่อถึงกำหนดที่ต้อง ฟ้อนผีคือครบสามปีแล้ว ก็จะฟ้อนผีกันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม ซึ่งจะมีการตกลงกำหนดการต่างๆ ในเครือญาติ และกำหนดให้เค้าผีหรือหญิงผู้มีอาวุโส ซึ่งครอบครองบ้านที่มีหอผีอยู่เป็นผู้ดำเนินการ แต่คนในสายสกุลผู้อื่นอาจรับภาระแทนก็ได้ เหมือนอย่างกรณีของฟ้อนผีมดหรือผีเมงนั้น เมื่อตกลงการต่างๆ แล้ว เจ้าภาพก็จะเริ่ม ไฅว่ผี หรือ ข่าว คือนำพานข้าวตอกดอกไม้ไปเชิญผีที่รู้จักคุ้นเคยให้ไปร่วมงานในวันที่กำหนด
วันแรกของพิธี ฟ้อนผีมดซอนเมง ก็คือ วันข่าว หรือวันที่มีการบอกกล่าวกัน จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกา ผู้ชายที่เป็นลูกหลานในสายสกุลจะช่วยกันสร้าง ผาม หรือปะรำพิธี ซึ่งผามของ ผีมดซอนเมง นี้ จะสร้างเป็นสองตอน คือด้านหน้าเป็นปะรำหลังคาเรียบที่มุงด้วยหญ้าคา หรือทางมะพร้าว (ปัจจุบันนิยมใช้เต็นท์แทน) ด้านหลังสร้างเป็นโรงเรือนทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามีจั่วมุงด้วยหญ้าคา ซึ่งเป็นผามของผีเมงและส่วนผามของผีเมงนี้มีผ้าแดงที่เรียกว่า ผ้าจ่อง ห้อยไว้สำหรับผีเมงจะปิดตาโยนตัว ในขณะเชิญผีเข้าประทับทรงภายในผามมีหิ้งสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร สำหรับวาง ขันตั้ง หรือ พานเครื่องสังเวย ด้านล่างของหิ้งจะมีราวสำหรับพาดผ้าโสร่ง เสื้อ และผ้าโพกหัว สำหรับผีในร่างทรงสวมใส่ ด้านซ้ายของหิ้งเครื่องสังเวยจะเป็นที่ตั้งของวงดนตรีที่เรียกว่าวง เต่งถิ้ง หรือ ถืดถึ้ง ซึ่งประกอบด้วยกลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง แน หรือปี่อย่างปี่ชวา สว่าห รือ ฉาบ อย่างที่ใช้ในการฟ้อนผีเมง ด้านหน้าจะมี (กิ่ง) ต้นหว้าปลูกไว้ในวงล้อมของสายสิญจน์ เมื่อสร้างผามเสร็จแล้วก็จะกินอาหารเช้าด้วยกัน หลังจากนั้นก็จะเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ขันตั้ง หรือพานเครื่องสังเวย ขันเทียนหลวง หรือพานสำหรับเทียนมงคลในพิธี และอื่นๆ จนได้เวลาอาหารก็จะร่วมรับประทานอาหารและพักผ่อน พอได้เวลาประมาณ ๑๔.๓๐ นาฬิกา ก็จะเริ่ม ฟ้อนข่าว หรือฟ้อนเพื่อบอกกล่าวให้คนใกล้เคียงได้ทราบ ในขณะซ้อมก็มีการประโคมดนตรีตามโบราณประเพณี เค้าผี หรือเจ้าภาพจะใช้ผ้าจ่องปิดตาโยนตัวไปกับผ้าจ่องเพื่อเชิญผีปู่ย่าเข้าทรง เมื่อผีปู่ย่าเข้าทรงแล้ว ที่นั่งผาม จะช่วยแต่งตัวให้ โดยให้สวมโสร่งและเสื้อทับชุดเดิม มีผ้าโพกศีรษะ จากนั้น เจ้าพ่อกองหาน/กองหาญ (อ่าน “ เจ้าป้อ ก๋องหาน ” ) จะเข้าทรง ที่นั่งผาม จะดูแลเครื่องแต่งกายเช่นเคย ลูกหลานก็จะไปรับพรจากทั้งผีปู่ย่าและเจ้าพ่อกองหาน ที่นั่งผาม จะนำเทียนติดไฟมาให้เจ้าพ่อกองหานอม หลังจากนั้นผีอื่นๆ จะทยอยกันเข้าประทับทรง ม้าขี่ หรือร่างทรงบางคนอาจวิ่งไปโหนผ้าจ่อง บางคนอาจเป็นลมล้มลง ซึ่ง ที่นั่งผาม ก็จะนำนำส้มป่อยมาให้ร่างทรงลูบหน้าแล้วเชิญให้ไปฟ้อนที่ผาม การฟ้อนจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ นาฬิกา ที่นั่งผาม จะนำพานบายศรีให้ เค้าผี ถือเดินวนรอบต้นหว้าที่หน้าผามสามรอบ โดยมีผีอื่นๆ ฟ้อนตามหลัง เมื่อวนเสร็จแล้ว จึงนำพานบายศรีไปวางไว้บนหิ้ง จากนั้น ผีปู่ย่า และ ผีต่างๆ ก็จะฟ้อนไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ นาฬิกา ลูกหลานก็จะขอให้ผีปู่ย่าพักเสียก่อนเพื่อเตรียมตัวสำหรับพิธีกรรมต่างๆ ในวันรุ่งขึ้น ผีปู่ย่าออกจากร่างทรงโดยโหนผ้าจ่องแล้วล้มลงกับพื้น ผีอื่นๆ ก็ออกจากร่างทรงอย่างเดียวกัน ดนตรีก็จะหยุดบรรเลง

วันที่สองในพิธี ฟ้อนผีมดซอนเมง ที่เรียกว่า วันเลี้ยง ก่อน เริ่มพิธี เจ้าภาพจะปิดประตูรั้วบ้านเพื่อมิให้ผีอื่นเข้ามารบกวนพิธี และจะจุดธูปบอกแม่ธรณีเจ้าที่เพื่อขอนุญาตให้ผีที่ได้รับเชิญเข้ามาในบริเวณ พิธีได้ จากนั้นจึงเปิดประตูรั้งบ้าน เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ นาฬิกา เจ้าภาพหรือ เค้าผี (แล้วแต่ผู้รับผิดชอบงาน) จะโหนผ้าจ่องเพื่อเชิญผีปู่ย่าเข้าประทับทรง ซึ่งดนตรีจะต้องบรรเลงเพลงสัญญาณประจำเวลาที่ผีโหนผ้า คือ เพลงมอญฟ้อนผี หลังจากนั้นจึงจะบรรเลงเพลงอื่นๆ ต่อไป เมื่อผีปู่ย่าเข้าสู่ร่าง ม้าขี่ แล้ว ที่นั่งผาม จะนำพานเชิญและเหล้าขาวขวดหนึ่งมามอบให้แก่ผีปู่ย่า ผีปู่ย่าจะชูขวดเหล้าเหนือศีรษะแล้วเดินวนรอบ เค้าห้า หรือต้นไม้หว้า ๓ รอบ แล้วเอาเหล้าราดโคนไม้หว้า จากนั้น ที่นั่งผาม จะจุด เทียนหลวง บนหิ้งเครื่องสังเวย เทียนหลวง นี้จะต้องจุดไว้ตลอดเวลาที่ทำพิธี ถ้า เทียนหลวง ดับ ก่อนเสร็จพิธีก็จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ทั้งหมด ผีปู่ย่ามอบห่อผ้าให้ที่นั่งผามนำไปพาดไว้ที่ราวผ้าใต้หิ้งเครื่องสังเวย จากนั้นจึงแจกด้ายผูกข้อมือแก่ลูกหลานที่มาร่วมพิธี ผีอื่นๆ ในตระกูลเข้าประทับทรงรวมทั้ง เจ้าพ่อกองหาน กำลัง จะนำ พานเชิญซึ่งมีเหล้าขาวขวดหนึ่ง และขันน้ำส้มป่อยไปเชิญร่างทรงของผีต่างๆ ที่มาร่วมพิธี ร่างทรงของเจ้าพ่อดังกล่าวก็จะส่งซองใส่เงินให้ แล้วรับขวดเหล้าและเอาน้ำส้มป่อยลูบศีรษะนั่งอยู่สักครู่ก็จะแสดงอาการว่าผี เข้าทรง ซึ่งอาจมีการวิ่งเข้าในผามพร้อมกับส่งเสียงตะโกน บางคนฟุบลงกับพื้น บางคนก็ร้องไห้ เมื่อ ที่นั่งผาม เห็น อาการดังกล่าวก็จะไปเชิญให้ไปฟ้อนในผาม หรือบางครั้งผีที่กำลังฟ้อนอยู่ก็อาจเอาผ้าคล้องคอของคนคล้องคอผีอื่น ที่กำลังเข้าทรงอยู่ให้ไปฟ้อนกับตนก็มี กำลัง และ ที่นั่งผาม จะ คอยบริการทั้งด้านเครื่องแต่งกาย เหล้า เมี่ยง บุหรี่ หรือน้ำ มาให้ผีในร่างทรง ผีดังกล่าวอาจ “ จ๊อย ” คือขับเพลงแบบล้านนา อาจพูดภาษาไทใหญ่ต่างๆ กันไปในช่วงนี้ ลูกหลานที่เจ็บป่วยหรือมีเคราะห์ก็จะเข้าไปหาผีปู่ย่า หรือเจ้ากองหานช่วยแก้ไขปัดเป่าโดยการเสกคาถาแล้วเป่าลงที่ศีรษะ หรือบางครั้งก็อาจทำน้ำมนต์ให้ การฟ้อนจะดำเนินเรื่อยไปจนถึงเที่ยงวัน เค้าผี หรือเจ้าภาพจะเลี้ยงผีปู่ย่าและผีที่มาในพิธี โดยนำ ขันโตก หรือ พานสำรับกับข้าวมีอาหารพิเศษต่างๆ เช่น ลาบ แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว ยำชิ้นไก่ พร้อมทั้งขนม เหล้าและน้ำมาวางไว้ แจกดาบที่ปลายติดด้วยเทียนจุดไฟให้กับผีต่างๆ ผีในร่างทรงนำโดยผีปู่ย่าและผีที่สำคัญที่สุดคือ ผีเจ้ากองหานจะเอาปลายดาบชี้ไปที่อาหารและเดินวนสามรอบ ถือว่าผีกินข้าวเสร็จแล้ว จากนั้นจึงลาทรงและลูกหลานกับร่างทรง และผู้ร่วมพิธีจะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

พิธีในภาคบ่ายจะเริ่มขึ้นในเวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ นาฬิกา วงดนตรีเริ่มบรรเลงสำหรับการฟ้อนผี ผีต่างๆ จะทยอยกันเข้าประทับในร่างของ ม้าขี่ แล้ว เริ่มฟ้อนในผาม ขณะเดียวกันก็ถือโอกาสทักทายลูกหลาน ถามถึงคนที่ไม่ได้มาร่วมพิธี บางองค์ก็ดุด่าลูกหลานที่ประพฤติไม่เหมาะสม ลูกหลานอาจไปขอโชคลาภ (หวย) ซึ่งเจ้าพ่อก็จะบอกใบ้ให้หรือเขียนใส่กระดาษให้บางทีก็จะบอกลูกหลานว่าในวัน ออกผลสลากนั้น เจ้าแต่ละองค์อาจแย่งกันเข้ากำกับการออกเลข ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขเพี้ยนจากที่ให้ไปบ้าง หากมีตนใดเกิดแสดงอาการเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ลูกหลานก็จะเข้าไปซักถามความเป็นอยู่ หากผีเมาสุราอาละวาด เค้าผีก็ จะเข้าไปห้ามปรามและเตือนให้ฟ้อนโดยเรียบร้อย การฟ้อนจะดำเนินไปจนเวลาประมาณ ๑๕.๓๐ นาฬิกา ก็จะเริ่มการละเล่นของผี ดังนี้

เริ่มด้วยการ ยิงนก และ ปัดต่อปัดแตน โดย กำลัง จะแจกธนูหรือหน้าไม้พร้อมดาบ (ทุกอย่างทำอย่างจำลอง) ให้กับผีต่างๆ ทั้งนี้เพราะในผามจะมีนกกระดาษพับห้อยไว้ มี เข้าแฅบเข้าแตน (อ่าน “ เข้าแคบเข้าแต๋น ” ) คือเข้าเกรียบและขนมนางเล็ดห้อยไว้สมมติว่าเป็นรังต่อรังแตน มีข้าวเหนียวปั้นติดไว้ที่ต้นหว้า สมมติว่าเป็นตัวต่อหรือผึ้ง ผีทั้งหลายจะยิงลูกดอกและถือดาบฟันไปที่นกและตัวต่อตัวแตน โดยมี กำลัง ตามไปเก็บนกและตัวต่อตัวแตนที่ผียิงหรือฟันได้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผลได้จากการหาของป่าล่าสัตว์

ถัดจากนั้นเป็นการ คล้องช้างคล้องม้า (อ่าน “ ก้องจ๊างก๊องม้า ” ) โดยกำลังจะนำรูปที่สลักเป็นรูปช้าง รูปม้า เข้ามาในผาม ผีจะใช้ผ้าที่คล้องประจำอยู่ที่คอของตนไล่คล้องเอาช้างหรือม้าจาก กำลัง ผู้ที่อยู่โดยรอบก็จะส่งเสียงเชียร์ให้ฝ่ายผีปู่ย่าเอาชนะให้ได้ ซึ่งในที่สุด กำลัง ก็ต้องยอมแพ้ให้ผีคล้องช้างม้าไป อันเป็นสัญลักษณ์ว่าผีปู่ย่าสามารถทำให้เกิดความงอกงามด้านสัตว์ใช้งาน

ต่อจากนั้นเป็นการชนไก่ ซึ่งเป็นการละเล่นของผีโดยมี กำลัง เป็นตัวเสริมเช่นเดียวกับการเล่นอย่างอื่น โดย กำลัง จะ ถือไก่จริง ส่วนผีปู่ย่าจะใช้ผ้าผูกเป็นปมคล้ายกับไก่ไล่ชนกับไก่จริง ดนตรีที่เคยดังอยู่เรื่อยมานั้นก็ดูเหมือนจะโหมให้เร้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดไก่ของผีปู่ย่าก็จะชนะอีก อันหมายความว่าผีปู่ย่าสามารถอำนวยให้เกิดชัยชนะแม้ในการพนันขันต่อ

การละเล่นอันดับท้ายสุดคือการ ถ่อเรือ โดย กำลัง จะนำเรือจำลองออกไปไว้นอกผาม ที่หัวเรือมีเชือกโยงมาให้ผีปู่ย่าและผีอื่นๆ จับไว้ ชายหนุ่มประมาณ ๕ คนช่วย กำลัง ดึงเรือไว้มิให้ถูกลากเข้าผาม คนที่ดูอยู่ก็ช่วยกันเอาน้ำสาดฝ่ายของ กำลัง เมื่อฝ่ายผีปู่ย่าดึงเรือเข้าผามไม่สำเร็จก็จะเอาเหล้าให้ กำลัง และ ชายหนุ่มเหล่านั้นกิน ซึ่งท้ายสุดผีปู่ย่าก็จะต้องดึงเรือเข้าผามได้ ทั้งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ผีปู่ย่าไปค้าและต้องลงลากจูงเรือผ่านอุปสรรคมาจนได้

การฟ้อนและการละเล่นของผีทั้งหลายที่ดำเนินต่อเนื่องกันมานั้น จะเสร็จสิ้นลงในเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ นาฬิกา ผีอื่นๆ จะทยอยกันออกจากร่างทรง แต่ผีปู่ย่าในร่างของเจ้าภาพหรือ เค้าผี มัก จะฟ้อนต่อไปอีก จนลูกหลานต้องเข้าไปบอกว่าเย็นมากแล้ว ขอพักผ่อนและเก็บข้าวเก็บของ และว่าคราวหน้าอีกสามปีก็จะจัดให้ผีปู่ย่าได้สนุกเช่นนี้อีก ผีปู่ย่าก็จะอวยพรแก่ลูกหลานอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงไปโหนที่ ผ้าจ่อง ออกจากร่างทรง ดนตรีบรรเลงเพลงมอญเป็นจบพิธี ลูกหลานจะแบ่งเครื่องสังเวยแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน

ในวันที่สามของการฟ้อนผี จะเริ่มในเวลาประมาณ ๐๗.๓๐ นาฬิกา เค้าผี ที่นั่งผาม กำลัง และลูกหลานจะพร้อมกันที่หอผีแล้วทำพิธี เลี้ยงผี หรือ สังเวยผีปู่ย่าที่หอผีอีกครั้งหนึ่ง อาหารที่ใช้ในการนี้ย่อมเป็นอาหารพิเศษ เช่น ลาบ แกงอ่อม ยำชิ้นไก่ แกงฮังเล แกงหยวกกล้วย หมูปิ้ง ขนม เหล้า และน้ำ ฯลฯ เจ้าภาพกล่าวเชิญผีปู่ย่ามารับเครื่องสังเวยและขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครองลูก หลานให้อยู่ดีมีสุข เมื่อเห็นว่าผีปู่ย่ากินอาหารเสร็จแล้ว ลูกหลานก็จะนำอาหารดังกล่าวไปรับประทานร่วมกัน จากนั้นจึงช่วยกันรื้อผามและเก็บข้าวของต่างๆ

  • ฟ้อนมูเซอ

ฟ้อนมูเซอ เป็นกระบวนฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อแสดงในงานรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวงานสมโภชช้าง เผือกใน พ.ศ.๒๔๗๐ โดยเฉพาะ ใช้ฟ้อนกับคำประพันธ์ประเภทคร่าวซอ ทำนองซอโยนก ซอยิ้น ซอจ๊อยเชียงแสน โดยกวีล้านนา ความว่า

ทำนองโยนก

สรวมชีพ ข้าบาทไท้ อภิวาทไหว้ เหนือเกศี ดิลกรัฐนฤบดี แทบฝ่าธุลีละอองบาท พระเดชพระคุณ พระปกเกล้า ไพร่ฟ้าอยู่ชุ่มสุข เย็นเนอ

ทำนองซอยิ้น

สา น้อมเกล้า ข้าพระพุทธเจ้า กราบทูลฉลอง บทรัตน์ พระยุคลทอง ใต้ผ่าละอองธุลีพระบาท บรมนารถ พระปกเกศเกล้า ยังพระแม่เจ้า บรมราชินี ทรงบุญฤทธิ์ พระบารมี เปนที่ยินดี ทุกคนน้อยใหญ่

จังหวัดเชียงใหม่ ไพร่ฟ้าข้าเจ้า ทังหนุ่มทังเถ้า ทั่วทิศตังผอง ได้พิงเพิ่งพะ พระร่มโพธิ์ทอง เปนฉัตรเรืองรอง ปกบังกั้งเกศ

พอรู้ข่าวสาส์น เสด็จประเวศน์ อินท์ทิพย์เทพ ก็โมทนา หื้อสายเมฆะ ฟ้าฝนธารา ไหลหลั่งลงมา ทั่วพื้นแผ่นหล้า

ธัญญาหาร พฤกษะเข้ากล้า ของปลูกลูกไม้ ก็บริบูรณ์ เพราะเพื่อเจ้าฟ้า มหากระกูล ท่านทรงบุญคุณ มีเปนอเนก

อารักษ์เชนเมือง อันเรืองฤทธิ์เดช ทังเทเวศร์เจ้า ก็แส้งแปลงปัน หื้อกุญชเรศร์ เศวตรเรืองพรรณ เกิดมาเตื่อมทัน สมพารพระบาท

พระปรมินทร์ ประชาธิปกโลกนารถ ปิยมหาราช หน่อพุทธางกูร คันบ่ใช่เชื้อ เจ้าตนทรงบุญ ฉัททันต์ขะกูล ไป่ห่อนมาเกิด

วันนี้หนา เปนวันล้ำเลิศ เปนวันประเสิฐ ฤกษ์งามยามดี จึ่งทำมังคละ เบิกบายรวายศรี ตามปาเวณี สมโภชช้างแก้ว

ศรีสวัสดิ์ พิพัฒน์ผ่องแผ้ว เชิญขวัญช้างแก้ว จงรีบจรดล จุ่งมาเปนช้าง ที่นั่งมงคล โดยพระจอมพล เจ้าตนเลิศหล้า

จุ่งสุขสำราญ แต่นี้ไปหน้า หื้อเจ้าอยู่ม่วน กินดี เปนพาหนะ คู่บารมี เฉลิมพระเกียรตินฤบดี ตลอดเท้ากุ้มเถ้า

ทำนองซอจ๊อยเชียงแสน

ยอประหนม บังคมก่ายเกล้า เท่านี้กราบทูลองค์ ขอหื้อทรงเดชฤทธิ์ ทั่วท้าวแสนโขง พายหน้าทรงคะนิงใด อย่าได้คลาไคลเนิ่นช้า หื้อจอมนรินทร์ปิ่นฟ้า อยู่เสวยราชย์ยืนต่อ

ระบวนฟ้อนมูเซอนี้ แต่เดิมใช้ผู้หญิงฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็นสาวกระเหรี่ยงหรือยางที่มีสามีแล้ว คือนุ่งผ้าถุงสีหนึ่ง สวมเสื้อสีหนึ่ง มีเครื่องประดับตามแต่จะหาได้พอสมควร มักเป็นผ้านุ่งสีดำ เสื้อคอแหลมทรงกระสอบ ไม่มีแขน หลังจากจบท่ารำตามคำร้องแล้ว จะมีการฟ้อนเข้ารูปเป็น “ ป้อม ” เหมือนการรำโคม และบางทีก็ทำเป็นรูป “ มังกร ” มีช่างฟ้อนรำ “ ล่อแก้ว ” อยู่ข้างหน้า ๑ คน การฟ้อนชุดนี้ต้องใช้ผู้แสดงไม่น้อยกว่า ๙ คน จึงจะสามารถสร้างรูปหรือเข้ารูปได้

หลังจากแสดงถวายทอด พระเนตร รัชกาลที่ ๗ และพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ แล้วมิได้มีการนำออกแสดงที่ใดอีกเลย ต่อมาเจ้าแม่บัวทิพย์ธิดาเจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้นำท่าฟ้อนมาปรับปรุง พร้อมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้องบางส่วนเสียใหม่ แล้วนำออกแสดงเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นเหตุให้เกิดชื่อใหม่ว่า “ ระบำซอ ” เพราะแสดงตามทำนองซอ ส่วนการแต่งกายก็ยังคงแต่งแบบเดิม ที่ใช้แต่งเมื่อรับเสด็จฯ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ สำหรับวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนยังคงเป็นแบบวงปี่พาทย์ผสมพิเศษ เช่นเดียวกับวงที่ใช้บรรเลงประกอบฟ้อนกำเบ้อหรือฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาอยู่ นั้นเอง

ปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๓๗) เกิดปัญหาเกี่ยวกับ “ รูปแบบการแต่งกาย ” ของผู้แสดงชุดนี้ กล่าวคือ ในอดีตแต่งกายตามที่กล่าวไว้แล้ว โดยมีรูปการแสดงชุดนี้ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในกองจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ แต่ปัจจุบันนิยมแต่งกายด้วยผ้านุ่งและเสื้อสีชมพู มีริบบิ้นคาดผมโดยอ้างและยืนยันว่าเป็นการแต่งกายตามแบบแผนในยุคนั้น

  • ฟ้อนเมืองกลายลาย (อ่าน “ ฟ้อนเมืองก๋ายลาย ” )

ชื่อของการฟ้อนแบบนี้ น่าจะหมายถึงฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพราะ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นบ้านในล้านนา กลาย หมายถึง การปรับเปลี่ยน (ลีลาท่าฟ้อน) และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึง ลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา

ฟ้อนเมืองกลายลายได้ มีการค้นพบโดยนาสุชาติ กันชัย และนายสนั่น ธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๑ ที่ประชุมไทลื้อบ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ชาวไทลื้อกลุ่มนี้อพยพมาจากเมืองหางสหภาพพม่า
ฟ้อนเมืองกลายลาย นี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อบ้านแสนตองที่มี มาแต่เดิมหรือไม่ เท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน จึงมีการสันนิษฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้ลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป็นฟ้อนที่ยอมรับกับในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อนๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้น ได้เคยไปฟ้อนถวายต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว

ท่าฟ้อน

การฟ้อนเมืองกลายลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้ แต่เมื่อจะแลกลาย (ใส่ลีลาลูกเล่นกับผู้ฟ้อนคนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือนๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้

•  ไหว้ •. บิดบัวบาน •  เสือลากหาง •. ลากลง •  แทงบ่วง • กาตากปีก •  ใต้ศอก • เท้าแอว •  ยกเข่า • ยกเอว •  เต็กลาย (แลกลาย) • เล่นศอก •  เต็กลายลุกยืน • บัวบานกว้าง

ส่วน ท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษาฯ ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด ๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่แล้ว มีหลายท่าที่ศิลปินในท้องถิ่นลืมชื่อ จึงเรียกตามลักษณะการฟ้อน ซึ่งชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและการฝึกซ้อม โดยมีท่าต่างๆ ดังนี้

๑. ไหว้ ๒. บิดบัวบาน ๓. เสือลากหาง ๔. แทงบ่วง ๕. กาตากปีก ๖. ใต้ศอก ๗.  ไล่ศอก ๘. จีบข้างเอวหมุน ๙. บัวบานคว่ำหงาย ๑๐.ยกเอวสูง

๑๑.แลกลาย ๑๒.ใต้ศอก (นั่ง-ยืน) ๑๓.แลกลาย ๑๔.ยกเอวต่ำ ๑๕.บัวบานคว่ำหงาย ๑๖.ม้วนไหม (เข่า) ๑๗.ใต้ศอกลงนั่ง ๑๘.ตวัดเกล้า

๑๙.ใต้ศอกลุก ๒๐.ไหว้

การแต่งกาย

เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิษฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน อันเกิดจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทาน คือ เครื่องไทยทาน ผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่นๆ ที่ฟ้อนพื้นเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่วมขบวนด้วย ดังนั้นการแต่งกายของฟ้อนแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสื้อผ้ามาอย่างไรก็ฟ้อนในชุดนั้นได้เลย

ดนตรีประกอบการฟ้อน

ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตใช้กลองสิ้งหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน บางทีเรียก “ แห่มองซิงมอง ” บางครั้งก็ใช้กลองตึ่งนง (กลองแอว) ปัจจุบันนี้ใช้กลองมองเซิงแห่ประโคมประกอบฟ้อน ซึ่งเริ่มมีเมื่อประมาณ ๔๐ ปี มานี้เอง

ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการแพร่หลายในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป

ฟ้อนยองเป็น ฟ้อนที่ประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔ โดยโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ฟ้อนยอง) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (มพชส.) ของโรงเรียนวชิรป่าซางร่วมมือกับสภาตำบลนครเจดีย์ และกรรมการพัฒนาสตรีตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวยอง เนื่องจากในพื้นที่อำเภอป่าซาง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยอง หรือที่เรียกว่า “ คนยอง ” ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนสิบทอดกันมาช้านาน ดังนั้นจึงสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมของชาวไทยองขึ้นมาในรูปของฟ้อนรำ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาวยอง และเผยแพร่ให้ปรากฏแก่คนทั่วไป

การแต่งกาย

ผู้ฟ้อนจะแต่งกายแบบกุลสตรีชาวยอง โดยสวมเสื้อแบบปกป้าย ผูกมัดชายด้านข้าคล้ายเสื้อของชาวจีนในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล ต่อชายซิ่นสีเขียว โพกศีรษะแบบเคียนรอบศีรษะด้วยผ้าสีขาว เกล้าผมมวย และประดับกายด้วยเครื่องเงิน

เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ

ใช้เพลง “ ฝ้ายคำ ” ซึ่งแต่งโดย นายสุชาติ กันชัย เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาและเป็นสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากคณะผู้จัดทำฟ้อนยองเห็นว่า ทำนองเพลงฝ้ายคำเหมาะสมกับลักษณะของชาวยอง คื อ รักความสงบ ชอบสันโดษ นุ่มนวลอ่อนหวาน ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของชาวยองได้อย่างเด่นชัด

  • ฟ้อนโยคีถวายไฟ

ฟ้อนโยคีถวายไฟ เป็น กระบวนฟ้อนชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากดำริของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ เป็นการคิดขึ้นเพื่อเตรียมรับเสด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจฯ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ โดยจ้างครูฟ้อนชาวพม่ามาถ่ายทอดให้ แล้วมอบหมายหน้าที่ให้พ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี คหบดีชาวเชียงใหม่ดำเนินการทั้งหมด การฟ้อนครั้งแรกคราวนั้นใช้ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมดเพราะเพลงที่ใช้ร้องเป็นบท ร้องของผู้ชาย และท่าฟ้อนเกือบทั้งหมดจะใช้การเคลื่อนไวด้วยการเต้นเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงเพียงครั้งเดียว

ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเชิญไปร่วมแสดงในงานเผยแพร่วัฒนธรรมประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ที่ท้องสนามหลวง เจ้าแก้วนวรัฐฯ จึงได้ฟื้นฟูการแสดงชุดนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมอบหมายให้พ่อเลี้ยงน้อยสมเป็นผู้จัดการเช่นเดิม พ่อเลี้ยงน้อยสมได้มอบหมายให้นางทวีลักษณ์ สามะบุตร หลานสาวเป็นผู้ฝึกหัดช่างฟ้อนชุดใหม่ โดยเปลี่ยนเป้ฯ “ หญิง ” ทั้งหมด เพราะนางเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูพม่าคนแรก จุดประสงค์ครั้งแรกของพ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี (เดิมชื่ออูลานดู่) ต้องการให้บุตรหลานแสดงต้อนรับกรมพระนครสวรรค์ฯ แต่แม่เลี้ยงบุญปั๋นผู้ภรรยาไม่ยอมให้บุตรหลานสาวๆ ออกแสดงฟ้อนโยคีถวายไฟโดยช่างฟ้อนหญิงนี้ เคยจัดให้มีขึ้นอีกก่อนไปแสดงที่กรุงเทพฯ ในงานประจำปีโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ทางโรงเรียนทูลเชิญพระราชชายาฯ เสด็จไปเป็นประธานฯ ทรงทอดพระเนตรฟ้อนชุดนี้ด้วย และทรงพอพระทัย จึงเรียกนางทวีลักษณ์ไปสอนให้ตัวละครของพระองค์ อันได้แก่ นางสมพันธ์ โชตนา นางขิมทอง ณ เชียงใหม่ นางยุพดี สุขเกษม นางอัญชัน ปิ่นทอง นางนวลฉวี เสนาคำ นางสมหมาย ยุกตยุตร นางสมพร สุรจินดา เป็นเหตุให้แพร่หลายมาจนทุกวันนี้

การแต่งกายของผู้แสดงชุดนี้ แต่งเป็นชายพม่า โพกผ้า นุ่งโสร่งป้าย (ข้าง) หน้า มือถือไม้เท้า ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการฟ้อน แต่ไม่มีการร้อง และมักจัดผู้แสดงฟ้อนเป็นคู่ จัดรูปการแสดงแบบปกติ คือ คู่หน้าหรือคู่ที่หนึ่ง อยู่หน้าสุดติดขอบเวที คู่ที่สอง แสดงอยู่ต่ำลงมา ผู้แสดงทั้งสองจะยืน (ระยะ) แคบลงมา คู่ที่สาม แสดงอยู่ต่ำกว่าคู่ที่สอง ยืนแสดงแคบกว่าคู่ที่สอง ในวงการนักแสดงนักวิชาการนาฏศิลป์ เรียกว่า “ ยืนเป็นรูปปาก (ปลา) ฉลาม ” ท่ารำส่วนมากเป็นการเต้นตามจังหวะเพลงมากกว่ารำ

  • ฟ้อนล้างผาม

การฟ้อนล้างผาม นี้เป็นการฟ้อนที่จัดขึ้นเมื่อการเลี้ยงดูผู้มาช่วยงานทั้งหลายในเมื่องานฉลองที่จัดขึ้นนั้นสิ้นสุดลง

ทั้งนี้มีอนุสนธิว่าชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวต่อสู้ เป็นชนชาติที่ใจบุญสุนทานชอบทำบุญ ซึ่งการทำบุญหรือจัดงานปอยแต่ละครั้ง มักจะทำเป็นงานใหญ่ จึงมีคำกล่าวอยู่เสมอในกลุ่มชาวล้านนา “ กิ๋นตานมีงานเหมือนม่านเงี้ยวต่องสู้ ” หรือ “ กินอย่างม่าน ทานอย่างเงี้ยว ”

ในอดีตหลังจากการจัดงานปอย ชาวไทใหญ่ ชาวต่อสู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและเข้าสู่วัยกลางคนจะช่วยกันเก็บกวาดสิ่งของ ในโรงครัวของวัดให้เรียบร้อย ได้แก่ เครื่องครัวหุงหาอาหาร กระทะ หม้อหุงข้าว หรือสิ่งต่างๆ ไว้ตามเดิม จากนั้นก็มีการรื่นเริง โดยการตีกลองมองเซิงพร้อมกับฟ้อนรำ เดินไปตามบ้านต่างๆ ที่เป็นชาวเงี้ยว ชาวต่องสู้ โดยเฉพาะบ้านเจ้าศรัทธา ได้แก่ เจ้าภาพที่จัดงานปอย เพื่อรับ “ ตกชู ” หรือเงินรางวัลอันเป็นสินน้ำใจตอบแทนที่มาช่วยงาน การฟ้อนรำนี้เรียกกันว่า ฟ้อนล้างผาม คือการฟ้อนเพื่อเก็บกวาด ผาม หรือปะรำที่จัดสร้างขึ้นในงาน ผู้ฟ้อนมักถือไม้ด้ามหรือไม้พายข้าวขนาดใหญ่ไปด้วย ในช่วง ฟ้อนล้างผาม นี้ จะมีเสียงกลอง มองเซิง และ มอง หรือฆ้องชุดดังสนั่นเคลื่อนเข้าไปตามหมู่บ้านของเจ้าศรัทธาดังกล่าว

  • ฟ้อนเล็บ/ฟ้อนแห่ครัวทาน

ฟ้อนเล็บเป็นการแสดงประกอบขบวนแห่ครัวทานและมักจะเรียกว่า ฟ้อนแห่ครัวทาน คือ การฟ้อนนำเครื่องไทยทาน โดยแต่ละวัดจะมีช่างฟ้อนซึ่งเป็นลูกหลานของชาวบ้านที่เป็น “ ศรัทธา ” ของวัดนั้นๆ มักจะมีการฝึกซ้อมฟ้อนกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมตัวช่างฟ้อนให้พร้อมในการแสดงงาน พอย (อ่าน “ ปอย ” ) คืองานวัดต่างๆ ผู้ที่เป็นครูฝึกซ้อมคือช่างฟ้อนรุ่นพี่ รุ่นแม่ รุ่นย่ายาย ตามแต่ผู้ใดจะว่าง รูปแบบกระบวนลีลาท่าฟ้อน แล้วแต่จะตกลงกันกำหนดขึ้นมาในแต่ละคณะ โดยไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน

การฟ้อนชนิดนี้มีมาแต่โบราณ เรียกกันในท้องถิ่นว่า “ ฟ้อนเมือง ” เห็นจะเป็นเพราะว่า การฟ้อนชนิดนี้เป็นแบบศิลปะที่มีขึ้นในท้องถิ่นพื้นเมืองนั้นเอง สมัยก่อนมีการรักษาศิลปะการฟ้อนชนิดนี้ไว้ในคุ้มหลวงด้วย ในสมัยที่ “ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ” ทรงจัดให้มีคณะฟ้อนอยู่ในคุ้มหลวง มีการคิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้มีลีลาอ่อนช้อยงดงามและมีการปรับปรุงเครื่องแต่ง กายให้สวยงามยิ่งกว่าคณะช่างฟ้อนของศรัทธาวัด

ฟ้อนเล็บ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่คนภาคอื่นๆ ในคราวงานสมโภชพระเศวตคชเดชดิลก ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๔ เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้รวบรวมเด็กๆ ในคุ้ม แล้วให้ครูหลวงเป็นผู้ฝึกหัด เจ้าแก้วนวรัฐให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ประทานหม่อมแส ซึ่งเป็นหม่อมของท่านเป็นผู้กำกับและควบคุม ทั้งให้คำแนะนำในการฝึกหัดฟ้อน มีการปรับปรุงท่าและเครื่องแต่งกายให้สวยงามขึ้น

เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ขึ้น ได้เชิญนางสมพันธ์ โชตนา ซึ่งเป็นบุคคลท่านหนึ่งที่เคยได้รับการฝึกหัดฟ้อนในคุ้ม ให้เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้แก่นักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ด้วย


เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายของช่างฟ้อนเล็บ เป็นการแต่งกายตามประเพณีของชาวบ้านล้านนาซึ่งประกอบด้วย

•  ผ้าซิ่น อาจเป็นผ้าซิ่นตีนต่อ หรือซิ่นตีนจก ลายขวางลำตัว สีต่างๆ

•  เสื้อแขนยาวทรงกระบอก คอกลม หรือคอจีนผ่าอกประดับลูกไม้หรือระบาย สีต่างๆ โดยจะให้เข้ากันกับสีผ้าซิ่น

•  ผ้าสโบ อาจใช้สีเข้ากันกับชุดหรือสีตัดกันก็ได้ พาดเฉลียงบ่าซ้ายไปเอวขวา อาจมีสังวาลตัวพาดทับสไบเพื่อเพิ่มความสวยงาม

•  เกล้าผม ขมวดมวยข้างท้ายทอย ทัดดอกไม้ เช่น ดอกเอื้อง ฯลฯ

•  เล็บ ทำด้วยทองเหลือง เป็นรูปกรวย ปลายงอน สวมที่นิ้วมือ ทั้งซ้ายขวา ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ รวม ๘ เล็บ ขัดถูให้มันวาว

•  อุบะ อาจจะทัดหรือไม่ก็ได้


เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีใช้บรรเลงประกอบจังหวะในการฟ้อนเล็บ เรียกว่า วงตึ่งนง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ต่อไปนี้

๑. กลองเอว ๒. กลองตะหลดปด ๓. ฉาบหรือสว่า ๔. ค้องอุ้ย (ฆ้องใหญ่) ๕. ค้องโหม้ง (ฆ้องเล็ก) ๖. แนหน้อย (ปี่แนน้อย) ๗. แนหลวง (ปี่แนหลวง)

วิธีการแสดง

การฟ้อนเล็บ จะใช้ผู้แสดงหญิงประมาณ ๘-๑๒ คน จับคู่ตั้งเป็น ๒ แถว แต่อาจมีการแปรแถวแปรขบวนแล้วแต่จะกำหนด จังหวะการเดินเท้าเป็นไปตามเสียงดนตรี ซึ่งจะนับได้ ๗ จังหวะ ก้าวเท้าไปได้ ๗ เก้าพอดี ดังนี้

ก้าวที่ ๑ เสียงดนตรี ต๊ะ

ก้าวที่ ๒ เสียงดนตรี ตึ่ง

ก้าวที่ ๓ เสียงดนตรี โนง

ก้าวที่ ๓ เสียงดนตรี ต๊ะ

ก้าวที่ ๓ เสียงดนตรี ตึ่ง

ก้าวที่ ๓ เสียงดนตรี ต๊ก

ก้าวที่ ๓ เสียงดนตรี โถง

แล้ววนกลับไปก้าวที่ ๒ ต๊ะ อีกครั้งอาจจะมีการตีจังหวะ “ ต๊ะ ” ช้ำถี่ๆ เพื่อเป็นสัญญาณให้ช่างฟ้อนเปลี่ยนป่าก็ได้

ลีลาท่า

การฟ้อนในขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดของศรัทธาชาวบ้าน มิได้กำหนดลีลาท่าไว้เป็นมาตรฐานแน่นอน แล้วแต่ครูผู้ฝึกจะกำหนดแผนการฟ้อนว่าเริ่มต้นที่ทำใด ลงท้ายด้วยท่าใด โดยอาจจะกำหนดและแบ่งลีลาท่ามือเป็นไปตามกำหนดเวลาในการฟ้อน เช่น หากมีเวลาฟ้อนมาก ก็กำหนดหลายๆ ท่า หากมีเวลาในการฟ้อนน้อย ก็ลดท่าลง

ลีลาท่าที่ยกตัวอย่างต่อไป เป็นท่าฟ้อนเล็บที่มีการฝึกหัดโดย นางสมพันธ์ โชตนา ผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ด้านศิลปะการแสดงพื้นเมืองซึ่งกำหนดท่าฟ้อนเล็บไว้จำนวน ๑๗ ท่า ดังนี้

ท่าจีบส่งหลัง ให้ จีบมือทั้งสองข้าง ตรงหน้าระดับเอวแล้วม้วนลอดใต้แขน ส่งทอดออกไปข้างหลัง ทอดแขนให้ตึงไปทั้งสองข้าง พร้อมกับก้าวเท้าเดินไปครบ ๗ จังหวะ ตามจังหวะเสียงดนตรี

ท่าเชื่อม มือทั้งสองตังวงไว้ระดับศีรษะ มือซ้ายจีบหงาย มือขวาตั้งไว้ระดับไหล่ เหยียดแขนให้ตึง

ท่าบิดบัวบาน มือซ้ายจีบคว่ำ มือขวาตั้งวง ข้อมือชนกันยกไว้ระดับใบหน้า โดยห่างจากหน้าพอประมาณ

ท่าสอนกลางอัมพร มือหนึ่งจีบคว่ำลง แล้วดึงจีบขึ้นหงายมืออีกมือหนึ่งเหยียดแขนตึงไว้ระดับไหล่ หน้ามองมือสูง

ท่าจีบสูงส่งหลัง มือหนึ่งตั้งวงไว้ระดับศีรษะ อีกมือหนึ่งจีบส่งแขนไปข้างหลัง

ท่าบัวชูฝัก มือหนึ่งตั้งหงายขึ้นระดับศีรษะอีกมือหนึ่งตั้งไว้ที่ชายพก

ท่ากราย มือหนึ่งตั้งหงายขึ้นระดับศีรษะ อีกมือหนึ่งจีบส่งไปข้างหลัง

ท่าสะบัดจีบ มือหนึ่งจีบระดับศีรษะ อีกมือหนึ่งตั้งวงระดับศีรษะแล้วสะบัดไปเรื่อยๆ

ท่าผาลาเพียงไหล่ มือหนึ่งตั้งวงไว้ระดับศีรษะ มือข้างหนึ่งยื่นออกไปข้างลำตัว งอแขนหงายท้องแขน หักข้อมือลง

ท่าสอดสร้อย มือหนึ่งตั้งวงระดับศีรษะ อีกมือหนึ่งจีบหงายที่ชายพกเอียงศีรษะไปข้างที่มือจีบ

ท่ากินนรรำ มือข้าหนึ่งตั้งวง อีกมือหนึ่งจีบหงายระดับไหล่

ท่ายอดตอง มือหนึ่งตั้งวงที่ชายพก มือหนึ่งจีบระดับศีรษะ

ท่าพรหมสี่หน้า มือทั้ง ๒ ตั้งหงายระดับศีรษะ แบะไปข้างๆ เหมือนแบบถาด

ท่ากระต่ายต้องแร้ว มือทั้ง ๒ ข้างตั้งวงให้ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่

ท่าจีบคู่งอแขน มือทั้ง ๒ ข้างจีบหงายอยู่ระดับไหล่

ท่าหย่อนมือ มือหนึ่งตั้งระดับศีรษะ อีกมือหนึ่งตั้งวงระดับไหล่ งอแขนเข้ามาแล้วเหยียดตึงออกไป ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ท่าตากปีก มือทั้ง ๒ ตั้งวงระดับไหล่ชิดกันตรงหน้าแล้วแยกมือกางแขนออกไปทั้ง ๒ ข้าง เหยียดให้ตึง

ท่าวันทาบัวบาน เอาฝ่ามือติดกัน ปลายนิ้วแยก แล้วยกสูงขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผาก

  • ฟ้อนสาวไหม

พบว่าการฟ้อนสาวไหม ปรากฏอยู่สองแบบ คือฟ้อนสาวไหมในการ ฟ้อนเชิง หรือร่ายรำท่าต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งมีลีลากระบวนท่าที่แน่นอน ( ดูที่ ฟ้อนเชิง ) และการ ฟ้อนสาวไหม ที่เป็นการฟ้อนของหญิงที่แสดงความเคลื่อนไหวในลีลาร่ายรำที่นุ่มนวล มิได้ร้อนแรงเหมือนอย่างที่ปรากฏในเชิงต่อสู้

ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย นายกุย สุภาวสิทธิ์ ชาวอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียน เชิง มาจากพ่อครูปวน ซึ่งนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้เป็น ครูเชิง หรือผู้สอน ฟ้อนเชิง คือ การฟ้อนด้วยมือเปล่าของผู้ชายในลีลาร่ายรำในเชิงต่อสู้ ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๔๙๕ “ พ่อครูกุย ” ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ละแวกวัดศรีทรายมูล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และนายกุย สุภาวสิทธิ์ หรือ “ พ่อครูกุย ” ได้ถ่ายทอดการฟ้อนให้แก่ธิดา คือ แม่ครูบัวเรียว (สภุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ เมื่อแม่ครูมีอายุราว ๗ ขวบ

ต่อ มานายโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดนตรีและนาฏศิลป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งนายโมก็ได้ช่วยฟื้นฟูวง กลองเต่งถิ้ง ของ วัด สอนนาฏศิลป์และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวก็ได้ฝึกนาฏศิลป์กับนายโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศรีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาก็มักจะนำนักดนตรีและ ช่างฟ้อน ไปช่วยงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเฉพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการ ฟ้อนสาวไหม เชิง ต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและลงจังหวะดนตรีแบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนที่แต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้ นั้น ก็เริ่มใช้วง เต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤๅษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาก็เห็นว่าไม่กระชับ จึงเลือกใช้เพลง “ สาวไหม ” แทน ซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่านบอกว่าคือเพลง “ ลาวสมเด็จ ” แต่บางท่านก็ว่าเป็นเพลงที่นายโมดัดแปลงจากเพลง “ ลาวสมเด็จ ” เพื่อใช้ประกอบกับการ ฟ้อนสาวไหม

ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๓ คณะศรัทธาจากวัดศรีทรายมูลได้ไปช่วยการฟ้อนที่วัดถ้ำปุ่มถ้ำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น นายอินทร์หล่อ สรรพศรี ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยชั้นครูของเชียงรายได้ไปเห็นการฟ้อนสาวไหมของแม่ครูบัว เรียวด้วย ต่อมาเมื่อนายอินทร์หล่อได้ชมการฟ้อนสาวไหมนั้นอีกที่งานวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย นายอินทร์หล่อจึงทำความรู้จักกับแม่ครูบัวเรียว และได้เชิญให้พบกับภรรยาของตนคือนางพลอยสี สรรพศรี ซึ่งเป็นช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีด้วย “ แม่ครูพลอยสี ” ได้ช่วยปรับปรุงการฟ้อนสาวไหมของแม่ครูบัวเรียวให้สมบูรณ์ขึ้นโดยเฉพาด้าน “ นาฏจิต ” หลังจากนั้น แม่ครูพลอยศรีก็ได้เรียงท่าการฟ้อนเป็นภาษาสมัยใหม่ ดังนี้

•  ไหว้ (นั่ง) •  บิดบัวบาน •  บังสุริยา •  ม้วนไหมใต้ศอกซ้าย •  ม้วนไหมใต้ศอกขวา •  ม้วนไหมซ้ายล่าง •  ม้วนไหมขวาล่าง • สาวไหมกับเข่าซ้าย •  ม้วนไหมวงศอก •  สาวไหมช่วงสั้นรอบตัว •  ว้น (ม้วน) ไหมซ้าย •  สาวช่วงยาวรอบตัว (หมุนตัวเดินวงกลม) •  คลี่ปมไหม •  พุ่งกระสวยเล็ก •  สาวขึ้นข้างหน้า •  ขึงไหมข้างหน้า •  ม้วนเป็นขดโดยใช้ศอกซ้าย •  ม้วนเป็นขดโดยใช้ศอกขวา •  สาวรอบตัวอีก •  เอามาม้วนใต้ศอกซ้ายอีก •  ไหว้ (นั่ง)

หลังจากนั้น ฟ้อนสาวไหม อย่าง ปรับปรุงใหม่ก็ได้รับการเผยแพร่ให้กว้างขวางขึ้นตามลำดับ จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้เชิญแม่ครูพลอยสีให้ไปถ่ายทอดการฟ้อนแบบนี้ให้ และได้บรรจุการฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในวิทยาลัย เพลงที่วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ใช้ประกอบการ ฟ้อนสาวไหม นี้ คือ “ เพลงซอปั่นฝ้าย ” ท่อนแรกเป็นทำนองซอของจังหวัดน่าน ซึ่งนายไชยลังกา เครือเสน เป็นผู้แต่ง ส่วนท่อนที่สองนั้น เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ แต่งขึ้นเพิ่มเติม วงดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนนี้คือวงดนตรีประเภท “ สะล้อ-ซึ่ง ”

ส่วนการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวนั้นก็ยังคงถ่ายทอดแก่ศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีท่ารำที่เป็นมาตรฐาน ๑๓ ท่า คือ

๑. เทพนม ๒. บิดบัวบาน ๓. สาวไหมช่วงยาว ๔. ม้วนไหมซ้าย ๕. ม้วนไหมขวา ๖. ม้วนไหมกวง ๗. ม้วนไหมใต้เข่า ๘. ม้วนไหมใต้ศอก ๙. สาวไหมรอบตัว ๑๐.ปั่นไหมในวง ๑๑.พุ่งหลอดไหม ๑๒.คลี่ปมไหม ๑๓.ทอเป็นผืนผ้า

อนึ่งคำว่า ไหม ในการ ฟ้อนสาวไหม นี้ เมื่อดูจากกรรมวิธีที่แสดงออกผ่านลีลาการฟ้อนแล้ว เห็นว่าเป็นการสาวไหมที่ได้จากการปั่นฝ้าย ไม่น่าจะหมายถึงไหมที่ได้จากดักแด้ แต่คำว่า “ ไหม ” ในภาษาล้านนาแปลได้ทั้งว่า ด้ายที่ได้จากฝ้าย หรือที่ได้จากดักแด้ด้วย ดังเช่น ในเรื่อง อุทธรา หรือ เต่าน้อยอองคำ คือ ปลาบู่ทองฉบับล้านนานั้น กล่าวว่าในอดีตชาตินางอุทธราเคยต้มรังดักแด้เพื่อทำผ้าไหม ผลของการต้มดักแด้นั้นทำให้นางต้องถูกผลักลงไปตายในหม้อน้ำร้อนอย่างที่เคย ต้มรังไหมนั้น เหตุนี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปสมัยก่อนไม่นิยมใช้ผ้าไหม

  • ฟ้อนหริภุญชัย

ฟ้อนหริภุญชัย ประดิษฐ์ ขึ้นโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรกชัย มหัทธนะสิน อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นการประดิษฐ์ท่าฟ้อนตามจินตนาการสู่อดีต สมมติว่าเป็นการฟ้อนในคุ้มหลวงของนางจามเทวี กษัตริย์เมืองหริภุญชัย ท่าฟ้อนจะเป็นแบบผสมผสานกันระหว่างท่ารำของภาคกลาง ท่าฟ้อนจะเป็นแบบผสมผสานกันระหว่างท่ารำของภาคกลาง ท่าฟ้อนแบบมอญ-พม่า และท่าฟ้อนแบบเมืองเหนือ ลักษณะเด่นของฟ้อนชนิดนี้คือ มีลีลาอ่อนช้อย สง่างามและอลังการแบบวังหลวง

ท่าฟ้อน

ท่าฟ้อนหริภุญชัย ผู้ประดิษฐ์ได้ตั้งชื่อท่าฟ้อนโดยแต่งเป็นร่ายล้านนาดังนี้

“ เบิกฟ้า ทอดผ้าหริภุญชัย เกรียงไกรสัตตบงกช ร่ายอธิยศบารมี กั้งสัตรู ข่มสูหื้ออยู่ใต้ฟ้า อุบลต้องเกิงกาง ซาบซ่านรัศมี เบญจกัลยาณีหศรีหลวงเวียง เพียงนางพญากราย โผดผายทศพิธราชธรรมวิวิธ สถิตเหนือปฐพี ร่วมขวัญกษัตรี เทวีแปลงเมือง เมลืองวิลังคะพ่าย ไพร่ฟ้าหน้าใส หริภุญชัยยั่งยืนเทอญ ”

  • ฟ้อนหอก

หอกเป็นอาวุธโบราณที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ศิลปะหรือชั้นเชิงการต่อสู้ด้วยหอกจึงมีการกล่าวถึงและมีการบันทึกไว้ ทั้งที่ปรากฏในตำราอาวุธโบราณ เอกสารพับหนังสาและในคัมภีร์ใบลาน ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของพุทธศาสนาในล้านนา

ฟ้อนหอกเป็นศิลปะการร่ายรำ โดยนำอาวุธหอกมาประกอบมีการนำเอา แม่ท่าเชิงหอก มาร่ายรำด้วยลีลางดงามและต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อความเพลิดเพลิน ตื่นเต้นเร้าใจ

การฟ้อนหอกดาบไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคใดสมัยใด แต่มีปรากฏในยุคหนึ่งซึ่งได้มีการบันทึกเป็นเรื่องราวใน “ ตำนานสิงหนวัติ ” จากหนังสือ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ (กรมศิลปากร, ๒๔๗๙ หน้า ๑๗๕-๑๗๘) กล่าวว่า

ในสมัยพระญาสมประหยาแม่ใน ลูกพระญาแสนเมืองมา ได้เป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พวกฮ่อก็ยกกองทัพมาตีล้านนา พระญาสามประหยาแม่ในและมหาเถรศิริวังโสก็กระทำการบูชาเคราะห์เมือง ทำให้เหล่าเทวดาเมืองพึงพอใจ จึงบันดาลให้ฟ้าผ่ากองทัพฮ่อจนแตกพ่ายหนีไปจากล้านนา แต่พวกฮ่อก็ไปก่อกวนเมืองยองและสิบสองพันนา บ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างเจ้าพระญาสามประหยาแม่ในจึงให้ขุนแสงยกทัพไปปราบ ฮ่อจนพ่ายไป จากนั้นขุนแสงจึงให้เจ้าเมืองยอง (พระญาอนุรุทธ) และชาวเมืองกลับเข้าไปอยู่ในเมืองตามเดิม

ในการนี้ขุนแสงก็ได้มีโองการให้เจ้าเมืองยองกระทำตามประเพณีของกษัตริย์ คือ เมื่อถึงวันสังขานต์ปีใหม่ ก็ให้เจ้าเมืองยองมากระทำการคารวะดำหัวขุนแสง (ต่อมาได้เป็นท้าวศรีสุวรรณคำล้านนา ได้ครองเมืองเชียงแสน) และให้เจ้าเมืองยองนำเอาช่างฟ้อนหอกฟ้อนดาบ ลงไปฟ้อนบูชามหากษัตริย์เชียงใหม่ (พระญาสามประหยาแม่ใน) เป็นประเพณีทุกปี

  • ฟ้อนหางนกยูง

ฟ้อนหางนกยูง เป็น การฟ้อนกึ่งพิธีกรรมกึ่งความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง เพราะมีความเชื่อสืบกันมาว่า “ หางนกยูง ” นั้นสามารถปัดเป่าขับไล่ความเลวร้ายต่างๆ ให้มลายไปได้ ในการฟ้อนหางนกยูงนี้จะใช้ผู้ฟ้อนอย่างน้อย ๒ คนขึ้นไป ผู้ฟ้อนจะเป็นคู่ชายหญิงเพียง ๑ คู่ สองคนก็ได้ จะเป็นชายทั้งสองคนก็ได้ หรือเป็นหญิงทั้งสองคนก็ได้ ช่างฟ้อนจะถือหางนกยูงไว้ในมือข้างละ ๑ กำ แล้วร่ายรำไปตามกระบวนที่ได้รับถ่ายทอดมาซึ่งแตกต่างกันออกไป

สำหรับวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อน บางท้องถิ่นใช้วงกลองก้นยาวหรือกลองปูเจ่ ซึ่งประกอบไปด้วย สว่าหรือฉาบ ๑ คู่ กลองก้นยาว ๑ ลูก ฆ้องขนาดต่างๆ ๑ ชุด (๕-๗ ลูก) แต่บางท้องถิ่นใช้วง พาทย์ค้อง (อ่าน “ ป้าดก๊อง ” ) แบบพื้นเมือง หรือใช้สะล้อ ซึง ปี่ หรือ ขลุ่ย แทน ส่วนการแต่งกายของผู้ฟ้อนนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ฟ้อน ผนวกกับเครื่องแต่งกายตามเผ่าพันธุ์ หากเป็นการฟ้อนของกลุ่มชนที่มีเชื้อสายม่าน (พม่า) ก็นิยมแต่งกายแบบชายพม่า หญิงพม่า มีเชื้อสายมอญ ก็แต่งแบบมอญ หากเป็นชนพื้นเมืองที่ไม่อาจจัดเข้าพวกใดพวกหนึ่งได้ ก็นิยมแต่งตามความพอใจหรือเท่าที่หามาได้ เพราะไม่มีกฎกติการะบุไว้ ส่วนทำนองเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนนั้นไม่อาจทราบได้ว่าเป็นทำนองเพลง ที่มีชื่อว่าอะไร เพราะการฟ้อนชนิดนี้ได้เลือนหายไประยะหนึ่งและเพิ่งรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในช่วง ทศวรรษนี้เอง

  • ฟ้อนแห่ครัวทาน

การฟ้อนแห่ครัวทาน เป็น กระบวนการฟ้อนแบบเก่าที่ฟ้อนด้วยท่าทางในเชิงนาฏศิลป์ของชาวบ้านที่มีศรัทธา ต่อพุทธศาสนา ท่าฟ้อนแต่ละท่าจะแตกต่างกันตามภูมิปัญญาของผู้ประดิษฐ์ และจัดเรียงร้อยจากท่าที่ ๑ ไปท่าที่ ๒,๓, ๔ จนหมดกระบวนฟ้อน ซึ่งมีท่าไม่มากนัก และวกลับตั้งต้นใหม่ ผู้ฟ้อนหรือช่างฟ้อนเป็นผู้หญิงทั้งหมด มีจำนวนตั้งแต่ ๘ คนขึ้นไป แต่ละคนจะสวม เล็บ ที่ทำด้วยทองเหลืองทรงกรวยปลายแหลมที่นิ้วทั้ง ๘ ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ ดังนี้จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันค่อนข้างจะแพร่หลายว่า ฟ้อนเล็บ

การฟ้อนแห่ครัวทาน หรือ ฟ้อนเล็บ นี้ เดิมใช้วงดนตรีพื้นเมืองล้านนา ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๖ ชนิดร่วมบรรเลง ได้แก่ ฆ้อง กลองหลวงหรือกลองแอว กลองตะหลดปด สว่า หรือ ฉาบ แนน้อย (เล็ก) แนหลวง (ใหญ่) บรรเลงประกอบการฟ้อนการฟ้อนชนิดนี้ใช้ฟ้อนนำขบวนครัวทานหรือเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายพระภิกษุ สงฆ์ และในกรณีที่เจ้านายฟ้อนเพื่อนำเครื่องราชสักการะขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนั้น ก็ใช้การฟ้อนแบบนี้ด้วย โดยที่เจ้านายที่ฟ้อนนั้นจะไม่ใส่ เล็บ

สำหรับการต่างกายของช่างฟ้อนนั้น ส่วนมานิยมแต่งกายแบบสตรีล้านนาทั่วไป คือสวมเสื้อนุ่งผ้าซิ่นตีนต่อ