ประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง - ประเพณีกวนข้าวทิพย์

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
02/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  สระบุรี

  • ช่วงเวลา

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพระราชพิธีกระทำในเดือน ๑๐ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดในเดือน ๑๒ บางแห่งจะจัดในเดือน ๑ ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกล้าในท้องนามีรวงข้าว และเครื่องกวนข้าวทิพย์ประกอบด้วยถั่ว นม น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย งา เนย น้ำกะทิ และนมที่คั้นจากรวงข้าว

  • ความสำคัญ

ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สอดแทรกในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
จังหวัดสิงห์บุรียังคงรักษาประเพณีกวนข้าวทิพย์ โดยมีเหลืออยู่เพียง ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านพัฒนาโภคาภิวัฒน์ หมู่บ้านวัดกุฎีทอง และหมู่บ้านในอำเภอพรหมบุรี ซึ่งยัง คงรักษาประเพณี และมีความเชื่อถืออย่างมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดี แฝงด้วยจริยธรรมและคติธรรมอยู่มาก และมีความพร้อมเพรียงของชาวบ้านที่ทำนา โดยเมื่อถึงเวลาจะมาร่วมกันกวนข้าวทิพย์

  • พิธีกรรม

การจัดพิธีกรรม ยังคงรักษาแบบเดิมไว้ โดยมีพราหมณ์ทำพิธี และมีสาวพรหมจารีซึ่งจะพิถีพิถันคัดเลือกจากหญิงสาวที่ยังไม่มีระดู ด้วยต้องการบริสุทธิ์สำหรับสาวพรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธี ต้องสมาทานศีล ๘ และต้องถือปฏิบัติตามองค์ศีลอย่างมั่นคง

  • สาระ

ข้าวทิพย์เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ป้องกันโรค