วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
05/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

การเล่นเพลงยิ้มใย

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  สุโขทัย

เพลงยิ้มใย ปัจจุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้อง คือ จะมีลูกคู่ร้องสอดรับคำว่า เชียะ เชียะ เชียะ ที่ท่อนกลางของเนื้อร้องท่อนที่หนึ่งกับร้องรับทวนซ้ำสองบทหลังสอง ครั้งแล้วจึงลงคำว่า เอ๋ยแล้วเอย
นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงยิ้มใยสุโขทัย ไม่พบที่ใด เพลงหน้าใยของทางภาคกลางก็มีลักษณะต่างกัน แต่เรียกชื่อคล้ายกันมาก

  • ลักษณะการเล่น

เป็นการเล่นของกลุ่มหนุ่มสาว

  • การแต่งกาย

แต่งกายอย่างชาวชนบทไทยในสมัยนั้น

  • สถานที่

(ลานวัด และหมู่บ้านที่เป็นทางเดินแห่ขบวน)

  • วิธีเล่น

ในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ก่อนจะสรงน้ำพระจะนำพระพุทธรูปใส่เกวียนแล้วแห่รอบหมู่บ้าน จากนั้นจึงนำไปสรง เพลงยิ้มใยนี้จะร้องเล่นกันไปในระหว่างแห่พระนั่นเอง เนื้อความทำนองร้องเล่นรื่นเริงสนุกสนาน ส่วนในเทศกาลออกพรรษา ทอดผ้าป่า ทอดกฐินนั้น ก็จะร้องเล่นกันไปในขณะเดินขบวน
เพลง ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย
(ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ
ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย
(ลูกคู่) ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย
(ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ
ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกกฐิน ชมเล่นแต่กลิ่น เอ๋ยเถิดเอย
(ลูกคู่) ชมเล่นแต่กลิ่น เอ๋ยเถิดเอ๊ย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกกฐินชมเล่นแต่กลิ่น เอ๋ยเถิดเอ่ย