วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
08/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

เพลงเรืออยุธยา

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  พระนครศรีอยุธยา

  • อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น

อุปกรณ์การเล่น
๑. เรือหมู เรือพายม้า หรือเรือสำปั้น ๒ ลำ
๒. กรับพวง
๓. ฉิ่ง

วิธีการเล่น
ในการเล่นเพลงเรือจะต้องเริ่มด้วยการไหว้ครูได้ครบ ๓ กลอนหรือตอน คือ
ตอนที่ ๑ บทไหว้พระพุทธ บทไหว้พระธรรม บทไหว้พระสงฆ์
ตอนที่ ๒ ไหว้บิดา มารดา
ตอนที่ ๓ ไหว้ครู อาจารย์

เพลงเรือมีเพลงหลักอยู่ ๖ ตอน คือ
๑. เพลงปลอบ
๒. เพลงประ
๓. เพลงผูกรัก ลักหาพาหนี
๔. ชิงชู้ (หึงหวงฝ่ายชาย)
๕. ตีหมากผัวหรือตีหมากขัว (หึงหวงฝ่ายหญิง)
๖. เพลงจาก

ลักษณะการร้องเพลงเรือจะเป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชายและหญิง ซึ่งพายเรือกันฝ่ายละลำ แต่ละฝ่ายจะมีต้นเสียง คือ คนร้องนำ และมีลูกคู่รับของแต่ละฝ่าย เครื่องดนตรีใช้ประกอบ คือ กรับและฉิ่ง การแต่งกายฝ่ายชายนุ่งกางเกงแพร หรือโจงกระเบน ใส่เสื้อไม่จำกัดสีไม่จำกัดแบบ มีผ้าขาวม้าคาดพุง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบนสีทึบๆ เสื้อเป็นคอกลมแขน ๓ ส่วน นิยมใส่สีเดียวกันทั้งลำเรือ สวนใส่เครื่องประดับเต็มที่

  • โอกาสที่เล่น

เพลงเรืออยุธยาเป็นเพลงพื้นบ้านเล่นอยู่ตามลุ่มน้ำทั่วไป เล่นเฉพาะในเทศกาลไหว้พระที่วัดหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ไหว้วัด" คือ ตั้งแต่เดือน ๑๑ ไปจนถึงแรม ๘ ค่ำ และงานเทศกาลทอดกฐินและผ้าป่า นิยมเล่นตอนกลางคืน

  • คุณค่า

ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานและได้รู้จักทักทายกัน เป็นการเกี้ยวกันระหว่างชายและหญิง ผู้ชมจะได้รับความเพลิดเพลิน