พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/12/2007
ที่มา: 
พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล / ศิวรรณ คุ้มโห

รัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพ:Ram5.jpg

[แก้ไข] พระราชประวัติ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” ได้ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ได้ทรงศึกษาด้านวิชาการและโบราณราชประเพณีต่างๆ นอกจากนั้นพระบรมชนกนาถทรงจ้างครูซึ่งเป็นสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษ ด้วยพระบรมชนกนาถเห็นว่าต่อไปในกาลข้างหน้าจะจำเป็นอย่างมาก รวมถึงพระบรมชนกนาถได้สั่งสอนวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น วิชารัฐศาสตร์ โหราศาสตร์เป็นต้น ด้วยพระองค์เองอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ป่าอย่างรุนแรง และเมื่อถึงพระบรมมหาราชวังก็ทรงเสด็จสวรรคต

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 เหล่าพระราชวงศ์เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้ประชุมกันและตกลงถวายพระราชสมบัติแก่รัชทายาทของพระองค์ คือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา เท่านั้นเกรงว่าจะไม่สามารถทรงบริหารบ้านเมืองให้สู่ความสงบเรียบร้อยได้ กรมหลวงเทเวศน์ จึงเสนอว่า ขอให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปก่อนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อพระองค์ทรงผนวชและเมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ให้ทรงขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อในโอกาสต่อไป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์จักรีที่ขึ้นครองราชย์ในขณะที่ทรงพระเยาว์เช่นนี้ และเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เมื่อมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงทรงมีโอกาสศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย และด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ในปี พ.ศ. 2413 หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี ทรงได้เสด็จประพาสต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะไปเยือนประเทศสิงคโปร์และขวา (อินโอนีเซีย) ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จไปเยือนประเทศอินเดียและพม่า พระองค์ได้ทงพบเห็นและศึกษาแบบแผนการปกครองแบบอย่างตะวันตก และได้ทรงนำข้อดีและข้อเสียมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และนับเป็นครั้งแรกท่พระมหากษัตริย์ เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน และทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่า “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ” ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามเดิมว่า “พระองคืเจ้าเสาวภาผ่องศรี” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 97 พระองค์ประสูติในพระอัครมเหสี มี 9 พระองค์

1. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุหรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 10 พรรษา

2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายวชิราวุธ ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าตรีเพชรตมธำรง ประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2424 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา

4. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถประสูติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2425 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463

5. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2428

6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์มในวันที่ประสูติ

7. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าห้าอัษฎางค์เดชากุล กรมหลวงนครราชสีมา ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ.2466

8. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑารุธราดิลก กรมขุนเพชรบูรรือินทราชัย ประสุติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466

9. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมธิราช ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเนื่องด้วยทรงพระชราภาพมากและทรงตรากตรำพระราชภารกิจมากมาย พระองค์ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวนที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษานับว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เพียบพร้อมไปด้วยพระคุณธรรม พระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ มากมาย เป็นเอนกอนันต์

 

[แก้ไข] พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


[แก้ไข] เลิกทาส

ทาสตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันคือ

1.ทาสสินไถ่

2.ทาสในเรือนเบี้ย

3.ทาสได้มาแต่บิดามารดา

4.ทาสท่านให้

5.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ

6.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย

7.ทาสเชลยศึก

ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่าง ๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนาง เสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่มไอาจสร้างความเป็นไทแก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไปพระองค์ทรงใช้ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาส ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2441 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทางทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก

ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้น พระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะ ที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงิน ให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัว พระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลือยู่ในพระราชอาราจักรของพระองค์ท่านอีก โดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียว ซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาสเลิกทาส ก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้น

 

[แก้ไข] การไปรษณีย์ การโทรเลขและการโทรศัพท์

ประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิดภาคีสหภาพสากลไปรษณีย์เมื่อปี พ.ศ. 2428 เพื่อนำวิทยาการทางการสื่อสารเข้ามาใช้ปรับปรุงแก้ไขการสื่อสารทางไปรษณีย์ ที่มีการก่อตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้มาได้ 2 ปีแล้ว โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ โดยใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทยจนการไปรษณีย์ได้ดำเนินมาจนทุกวันนี้

เมื่อการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ การโทรเลข การโทรเลขทำการทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยให้วิศวกรชาวอังกฤษ 2 นาย ช่วยกันประกอบขึ้นมา แต่ว่าการทำงานของท่านทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากเมืองไทยในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นทางกระทรวงกลาโหม จึงได้รับงานนี้มาทำเองซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการ ด้วยระยะทาง 45 กิโลเมตร พร้อมกันนี้ยังวางท่อสายเคเบิลไปถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเดินทางเข้าออก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโทรเลขขึ้นอีกสายหนึ่ง คือสายกรุงเทพฯ – บางปะอิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วเปิดดำเนินการได้ไม่นานก็ทรงโปรดให้สร้างต่อจนถึงพระนครศรีอยุธยา เมื่อความเจริญทางโทรเลขมีมากขึ้นตามลำดับ ทรงโปรดให้ขยายเส้นทางออกไปโดยไม่สิ้นสุดอีกหลายสายและทรงโปรดเกล้าฯ ให้การไปรษณีย์ และโทรเลขรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข นับตั้งแต่บัดนั้นมา

เมื่อมีความเจริญทางไปรษณีย์และโทรเลขมากขึ้น การโทรศัพท์ก็ได้เริ่มขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมยังเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยกระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า โทรศัพท์ เข้ามาทดลองใช้ในปี พ.ศ. 2424 โดยการติดตั้งทดลองใช้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองสมุทรปราการใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 3 ปี ก็เป็นอันสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2429 พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้ทั่วกันจนกระทั่งทุกวันนี้การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ได้ก้าวหน้าด้วยวิทยาการที่เริ่มต้นขึ้นจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญมาจนทุกวันนี้

 

[แก้ไข] ด้านการปกครอง

ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองจากเดิมที่ยึดการบริหารจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น การปกครองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับกาลสมัย โดยมอบหมายงานให้ละเอียดมากขึ้นด้วยการเพิ่มกรมต่าง ๆ ให้มีมากถึง 12 กรม

1. กรมมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช

2. กรมพระกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตกและเมืองมลายู

การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้น ๆ ให้ได้ผลเต็มที่

3. กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เนื่องด้วยในขณะนั้นประเทศไทยมีการติดต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าขาย หรือการเจริญสัมพันธ์ไมตรีทางการทูต

4. กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง

5. กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักาากฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีโปลิศหรือตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ

6. กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันคือ มีหน้าที่ในการดูแล ควบคุมการเพราะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม

7. กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน และนำมาบริหารใช้ในงานต่าง ๆ

8. กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินคดีต่าง ๆ ที่เป็นทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน

9. กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการในกรมทหารบก ทหารเรือ และควบคุมดูแลส่วนที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทหาร

10. กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสั่งสอนอบรมพระสงฆ์ สอนหนังสือให้กับประชาชนทั่วไป

11. กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานช่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข เป็นต้น แม้แต่การสร้างทางรถไฟ

12. กรมมุรธธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวกับงานราชการทั้งหมด

 

[แก้ไข] การพยาบาลและสาธารณสุข

พระองค์ทรงดำริที่จะสร้างโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาประชาชน ด้วยการรักษาแบบยากลางบ้านนั้นล้าสมัย ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาด พระองค์ทรงแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นทรงเล็งเห็นที่บริเวณริมคลองบางกอกน้อย เหมาะสำหรับการสร้างโรงพยาบาล ด้วยสามารถไปมาได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ ที่นั้น และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง ประเดิมการสร้างโรงพยาบาล เพื่อเปิดทำการรักษาแก่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่ยังไม่ทันเสร็จก็ทรงเสด็จทิวงคตเสียก่อน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลจากเดิมเป็น โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและด้วยพระองค์ได้บริจาคเงินในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ถึง 56,000 บาท เพื่อเป็นการก่อสร้งตึกสำหรับสอนวิชาการแพทย์ และพระราชทานสิ่งก่อสร้างในงานพระเมรุพระศพของเจ้าฟ้ามาเป็นสิ่งปลูกสร้างเรือนคนไข้ในโรงพยาบาลแห่งนี้

 

[แก้ไข] ด้านกฎหมาย

การชำระกฎหมายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาเพื่อให้มีความทันสมัย ให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากต่างประเทศมาดำเนินการให้

ในปี พ.ศ. 2451 มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อันเป็นลักษณะกฎหมายอาญาฉบับแรกที่นำขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ใหม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาทำกฎหมายประมวลอาญาแผ่นดินและการพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยพิจารณาความแพ่งและพระธรรมมูญแห่งศาลยุติธรรม แต่ยังมิทันสำเร็จดี ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นในปี พ.ศ. 2440 โดยมีพระเจ้าลูกเธอ กรมหลวงราชบุรีพิเราะฤทธิ์ ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกเฟอร์เมียมเป็นผู้อำนวยการ เมื่อสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้แล้ว บทลงโทษแบบจารีตดั้งเดิมจึงถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงในรัชกาลของพระองค์เอง เพราะมีกฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษที่เป็นหลักการพิจารณาที่ดีกว่าเดิมและทันสมัยกว่าเดิมและทันสมัยกว่าด้วย

 

[แก้ไข] ปรับปรุงการขนส่งและการสื่อสาร

ในปี พ.ศ. 2431 โปรดให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจ เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟ จกกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศ แล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่ยังจังหวัดใหญ่ทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้ เสร็จสิ้นเมือปี พ.ศ.2434 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไปครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็น “รถไฟหลวง” แห่งแรกของไทย

 

[แก้ไข] การไฟฟ้า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล เมื่อทรงมีโอกาสไปประพาสตางประเทศได้ทรงทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนารถ เป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรก ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทรงโอนกิจการเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค้อคอีเลคตริกซิตี้ ชินดิเคท เข้ามาดำเนินงานต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับรถรางอีกด้วย ต่อมาทั้ง 2 บริษัทได้ร่วมกันจัดสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาอีกด้วย นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก

 

[แก้ไข] เปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา

ในปี พ.ศ. 2417 โปรดพระราชทานให้ทำธนบัตรขึ้นใช้เรียกว่า “อัฐ” เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับเหรียญทองแดง 1 อัฐ แต่ใช้เพียง 1 ปี ก็เลิกไปเพราะประชาชนไม่นิยมใช้ ต่อมาทรงตั้งกรมธนบัตรขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นตั๋วสัญญาขึ้นใช้แทนเงิน กรมธนบัตรได้เริ่มใช้ตั๋วสัญญาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2445 เป็นครั้งแรกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการผลิตธนบัตรรุ่นแรกออกมา 5 ชนิด คือ 1,000 บาท 100 บาท 20บาท 10 บาท 5 บาท ส่วนภายหลังมีธนบัตรใบละ 1 บาทออกมาด้วย รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดหน่วยเงินตรา โดยใช้หน่วยทศนิยม เรียนว่า สตางค์ กำหนดให้ 100 สตางค์ เท่ากับ 1 บาท พร้อมกับผลิตเหรียญสตางค์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า เบี้ยสตางค์ มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ ราคม 20 สตางค์ 10 สตางค์ 4 สตางค์ 2 สตางค์ครึ่งใช้ปนกับเหรียญเสี้ยว อิฐ

 

[แก้ไข] ด้านการเศรษฐกิจ

เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และเพื่อทำให้การเก็บภาษีอากร เพื่อบำรุงประเทศชาติ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี พระองค์โปรดให้สร้าง พอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมเงินรายได้ของแผ่นดินให้เป็นที่เป็นทาง ไม่กระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีพนักงานบัญชี คอยดูแลตรวจสอบ ทางกฎหมายภาษีอากร ตราไว้เป็นพระราชบัญญัติเป็นการวางหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่ตามสากลนิยม เพื่อตราพระราชบัญญัติการเก็บภาษีแบบใหม่ ก็ทรงค่อย ๆ ยกเลิกภาษีแบบเก่า ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร โดยโปรดเกล้าฯ ให้เทศาภิบาลเป็นผู้จัดเก็บ จึงทำให้การเก็บภาษีดีขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเก็บภาษี ทรงเปลี่ยนระบบการคลังเสียใหม่ด้วยเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นเอกเทศ แยกพระคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ และยกหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นมาเป็นกระทรวงการคลัง พร้อมโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติ เพื่อเป็นหลักในการจับจ่ายใช้สอยเงินของแผ่นดินอย่างถูกต้อง

 

[แก้ไข] การตั้งธนาคาร

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยยันตมงคล) เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้รวบรวมกลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการเงิน มาร่วมกันจัดตั้งธนาคารที่เป็นของคนไทยขึ้นมาครั้งแรก ในปี พ.ศ. เรียกว่ากลุ่ม บุคคลัภย์ ดำเนินกิจการธนาคารไปด้วยดีตลอดระยะเวลา 2 ปี ต่อมากลุ่มของพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงขอพระบรมราชาอนุญาต จดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด โดยดำเนินกิจการแบบสากลแต่บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นซึ่งทำให้มีธนาคารของคนไทยแห่งแรกเกิดขึ้นมาและดำเนินกิจการโดยคไทยทั้งสิ้น

 

[แก้ไข] การประปา

พระองค์ท่านทรงเห็นว่าประเทศไทยควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค เนื่องจากการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองอาจก่อให้เกิดโรคระบาดดังที่เป้นมาในอดีตได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กักกันน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี ทำการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องน้ำประปาให้แก่ประชาชน แต่การประปายังมิทันได้เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

 

[แก้ไข] การสร้างวัด

วัดที่สำคัญในพระพุทะศาสนาของเมืองไทยในปัจจุบันนี้ มีหลายวัดที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดที่ทรงสร้างขึ้นมาใหม่รวมทั้งวัดที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ได้แก่ วัดเบญจมบพิธฯ วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางค์นิมิตร วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม (เกาะสีชัง จ.ชลบุรี) เมื่อพระองค์ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นมาและวัดเก่าแก่ที่เสื่อมโทรมนั้นพระองค์ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี วัดสุวรรณดาราม และพระปฐมเจดีย์ ทรงสร้างต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์

 

[แก้ไข] การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเปิดสอนให้กับประชาชนทั่วไปให้ได้รับการศึกษากันโดยทั่วไป เพราะการศึกษาในสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัด จึงไม่ทั่วถึง เมื่อมีการสร้างโรงเรียนและเมื่อการศึกษาเจริญก้าวหน้าเท่ากับเป็การบ่งบอกถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยมีหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ สอนวิชาให้กับผู้เข้ารับราชการ จะได้มีความรู้ในการทำงานและบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อการศึกษาได้กว้างไกลไปสู่ความนิยมของประชาชน รวมถึงได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประกอบอาชีพได้หลายทาง เมื่อการศึกษาได้เจริญมากขึ้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างโรงเรียนเพื่อสอนภาษาอังกฤษเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อมีโรงเรียนหลวงเกิดขึ้นหลายแห่งจึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้เขียนตำราเรียนขึ้นมา เรียกว่า แบบเรียนหลวง 6 เล่ม คือมูลบรรณกิจ วาหนิติริกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ ตำราทั้ง 6 เล่มนี้พระยาศรีสุนทรโวหารเขียนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2427 และโปรดให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วยเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และทรงโปรดให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นอีกหลายแห่งกระจัดกระจายไปตามวัดต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัดคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บุตรหลานของประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้กัน การศึกษาขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับด้วยความสนใจของประชาชนที่ต้องการมีความรู้มากขึ้น จึงโปรดให้โอนโรงเรียนเหล่านี้ให้อู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพิมพ์ตำราสอนพระราชทาน เพื่อเป็นตำราในการเรียนการสอนด้วย

ส่วนการศึกษาของสตรีนั้น พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสตรี ชื่อว่า โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา ในปีพ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นโรงเรียนเพื่อสตรีแห่งแรกของประเทศไทย และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนสตรีอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยทรงเห็นว่การศึกษาของสตรีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเพราะโลกได้เจริญขึ้นไปมากแล้ว การเรียนจึงจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าบุรุษหรือสตรี

 

[แก้ไข] การเสด็จประพาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางกาและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง

ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาอินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น

ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจจากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น

[แก้ไข] เสด็จประพาสยุโรป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 โดยประเทศที่ได้เสด็จประพาส คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออกสเตรเลีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์และเยอรมัน ทั้งนี้มีเหตุผลอยู่หลายประการในการเสด็จประพาสครั้งนี้ คือ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการสู้รบกันอยู่ การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมากษัตริย์ไทย

ในปี พ.ศ 2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย ทั้งนี้มีความประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ

 

[แก้ไข] การปกครอง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระองค์ทรงมิได้ปฏิบัติพระองค์แบบผูกขาดอำนาจแต่เพียงผู้เดียวไม่ พระองค์ทรงให้อิสระทางความคิดและทรงแต่งตั้งบุคคลเพื่อถวายความคิดเห็นแก่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นองคมนตรีสภาเสนาบดีสภา และรัฐมนตรีสภา พระองค์ทรงแต่งตั้งสภาเหล่านี้ เพื่อเป็นการถวายความคิดเป็นที่ปรึกษาเป็นแบบอย่างที่จะนำพาประเทศชาติให้พบกับความเจริญรุ่งเรือง

นับว่าเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงดำริและริเริ่มในแผ่นดินทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่มุ่งหวังให้ประเทศชาติได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว แต่มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทันที ด้วยทรงพระกังวลว่าประชาชนยังอาจไม่สามารถรับได้ด้วยยังไม่พัฒนามากนักในด้านการศึกษา ด้วยมีสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ก็มีความคิดของข้าราชการแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งเห็นชอบกับความทันสมัยในรูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่อีกกลุ่มหนึ่งยังคงยึดถือหลักการปกครองในแบบเก่า และได้ทรงเตือนสติให้แก่บรรดาเหล่าข้าราชการที่เข้าถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ว่า

“ในเมื่อมีสองฝักสองฝ่ายเกิดขึ้น จะเป็นอุปสรรคต่อสิ่งสำคัญกว่าหรือไม่ และจะเหมาะสมถึงกาลเทศะแค่ไหน โดยต้องคำนึงถึงความสามัคคีเป็นหลัก พวกที่ติดราชการในยุโรปนั้น ๆ มาถือเป็นความติดตัว มาจัดการในเมืองไทย ที่ไม่เป็นการถูกกันเลย ด้วยพื้นเพการงานทั้งปวงไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมและประเพณีก็ต่างกันเหมือนกับการที่จะไปลอกเอาตำราทำนาปลูกข้าวสาลีในเมืองยุดรป มาปลูกข้าวเหนียว ข้าเจ้าในเมืองไทย ก็ไม่อาจได้ผลอันใด หากเราไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน หรือว่าจะเป็นความคิดอีกส่วนหนึ่ง เห็นว่าธรรมเนียมแบบอย่างอันใด จำเป็นต้องเอาธรรมเนียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อจะให้เป็นที่นับถือของคนในประเทศยุโรปว่าเป็นคนมีชาติมีธรรมเนียมเสมอกัน และเป็นการง่ายที่จะจัดเพราะไม่ต้องคิดแบบอย่างอันใด ยกแต่ตำราของเขามาแปลงเป็นไทย จัดการไปตามนั้นคงจะได้ผลเหมือนกับที่เขาเห็นผลมาแล้ว ถ้าหากผู้ซึ่งเข้ารับราชการปกครองรักษาแผ่ดินจะพร้อมใจกันเห็นควรจะจัดการเปลี่ยนแปลงโดยความหักโหมนี้หมดไปด้วยกันก็นับว่าเป็นการสามัคคี แต่สามัคคีอย่างนี้ก็ไม่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือให้บ้านเมืองมีความเจริญโดยเร็วนัก เพราะเหตุว่าจะถูกขัดขวางต่าง ๆ กีดกันอยู่มากเป็นต้นว่า ถ้าจะเลิกศาสนาที่นับถือกันมาหลายชั่วอายุคนให้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งติดอยู่ในน้ำใจของผู้ที่ตามมา แต่จะเริ่มเบื้องต้นขึ้นเท่านั้น ก็จะเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ๆ จนบางทีจะไม่ได้ทันจัดการอันใดสิ่งเดียว ผู้ปกครองที่เป็นสามัคคีหมู่นั้นจะลับไปเสียก่อน บ้านเมืองมีความเจริญแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าความสามัคคีที่ต้องการในเมืองไทยเวลานี้มีอยู่ทางเดียวที่จะพร้อมในกันโดยทางกลาง…….”

ด้วยเช่นนี้จึงควรเตรียมความพร้อมให้กับบ้านเมืองและประชาชนเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการใดใดลงไป

 

[แก้ไข] ด้านวรรณกรรม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองหนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ

1. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ.2421 โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโครงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

2. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.2431 ลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

3. บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.2448 ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

4. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2449 เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วโดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง 9 เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป

5. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่างๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ

 

[แก้ไข] ด้านสถาปัตยกรรม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้งยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้

1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง

2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน

3. พระที่นั่งจักกรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง

4. พระราชวังดุสิต

5. พระบรมราชนิเวศน์

6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม

 

[แก้ไข] บทสรุป


รัชสมัยอันยาวนานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหลายอย่างเกิดขึ้น ทรงยกเลิกและปรับปรุงแนวความคิดบางอย่างที่ไม่ดีแต่เดิม ให้เป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้าขึ้น การที่พระองค์ได้ทรงเสด็ตประพาสไปตามสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในพระราชอาณาจักร หรือในต่างประเทศทั้งในแถบเอเซียและยุโรป ทรงไดนำสิ่งที่พบเห็นต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมประเพณี การปกครอง เหล่านี้ มาปรับปรุงแก้ไขสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากชาวต่างประเทศในพระปรีชาสามารถว่า ทรงเป็นนักปกคลองและนักการทูตที่ยิ่งใหญ่ ทรงตัดสินพระทัยด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลถึงแม้ว่าวัฒนธรรมตะวันตกกำลังคุกคามประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นก็ตาม ทรงยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของความเจริญในประเทศตะวันตก ด้วยการยอมรับแบบแผนที่เรียกว่า ศิวิไลซ์ พระองค์ทรงใช้วิจารณญาณในการประยุกต์อารยธรรมตะวันตกให้ผสมผสานเข้ากับสังคมไทยอย่างมีชั้นเชิง ทั้งนี้พระองค์ทรงยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระปิยะมหาราช”

และในวโรกาสที่ทรงคลองราชย์ครบ 40 ปี เสนาบดีได้ปรึกษาหารือในการสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาถวาย โดยสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อถวาย โดยสร้างเป็นพระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานอยู่ ณ ลานพระบรมราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นวันรัชมังคลาภิเษกด้วย


แหล่งอ้างอิง