วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
08/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ตะกร้อลอดบ่วง

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  สมุทรปราการ

  • ประวัติความเป็นมา

ศิลปะการสาธิตและการเล่นตะกร้อลอดบ่วง เป็นของไทยอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย ที่ประชาชนคนใดทำผิดกฎหมาย จะถูกทำโทษโดยการจับยัดใส่ลูกตะกร้อที่มีขนาดใหญ่มากและให้ช้างเตะไทยเราจึง ดัดแปลงโดยการศึกษาจากการเตะของช้างและนำท่าเตะแต่ละท่ามาประยุกต์เป็นท่า เตะตะกร้อแต่ละท่าในปัจจุบัน
ต่อมาคนไทยเชื้อสายจีน คือ นายยิ้ม สีหน หัวหน้าทีมวัดสิบ เป็นผู้จัดตั้งกีฬาไทยที่เรียกว่า "ตะกร้อลอดบ่วง"
การทำตะกร้อนั้นจะอาศัยฝีมือของชาว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ช่วยกันสานลูกตะกร้อ จะทำจากหวายกาหลงและหวายตะคำ ซึ่งเดิมชาวพม่าเห็นคนไทยในสมัยตอนที่อยุธยาเสียกรุงครั้งสุดท้าย ชาวพม่าได้เห็นคนไทยใช้ไม้ไผ่ทำลูกตะกร้อ พม่าจึงเกิดความคิดที่จะนำหวายมาสานประดิษฐ์เป็นตะกร้อบ้าง พม่าจึงเลียนแบบไทยโดยบังเอิญ ลูกตะกร้อเดิมเรียกว่า ตะกร้า เพราะมีลักษณะคล้ายตะกร้าและมีตาเป็นรูป ๕ เหลี่ยม และภายหลังคนไทยก็ประยุกต์จากหวายมาเป็นพลาสติกในปัจจุบัน

  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น

ลักษณะของห่วงและลูกตะกร้อ
ลูกตะกร้อที่ใช้มี ๓ ขนาด
๑. ขนาด ๑๖๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๒. ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ ขนาด ๑๘๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๓. ใช้แข่งตะกร้อลอดบ่วง ขนาด ๑๙๐-๒๐๐ กรัม
ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม ๓ วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า "ห่วงลาว" ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ นิ้ว
ห่วงที่ ๒ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงที่ ๓ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น ๗ เมตร และมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม
แต่ละท่าของตะกร้อจะมีคะแนนต่างกัน
๑. ลูกหน้าเท้า (ลูกแปร) ๓ คะแนน
๒. ลูกหลังเท้า ๑๕ คะแนน
๓. ลูกเข่า ๖ คะแนน
๔. ลูกศีรษะ ๑๐ คะแนน
๕. ลูกไหล่ ๑๒ คะแนน
๖. ลูกข้าง ๖ คะแนน
๗. ลูกบ่วงมือ ๑๒ คะแนน
๘. ลูกแข้ง ๖ คะแนน
๙. ลูกตัดไขว้ ๒๕ คะแนน
๑๐. ลูกไขว้หน้า ๒๕ คะแนน
๑๑. ลูกขึ้นม้าธรรมดา ๘ คะแนน
๑๒. ลูกขึ้นม้าบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๓. ลูกพับเพียบธรรมดา ๘ คะแนน
๑๔. ลูกพับเพียบบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๕. ลูกไขว่เข่า ๒๐ คะแนน
๑๖. ลูกตบไขว้ ๑๕ คะแนน
๑๗. ลูกไขว้ส้น ๒๐ คะแนน
๑๘. ลูกไขว้ส้นบ่วงมือ ๒๕ คะแนน
๑๙. ลูกศอกหลัง ๑๐ คะแนน
๒๐. ลูกข้างหลังธรรมดา ๑๕ คะแนน
๒๑. ลูกข้างหลังบ่วง ๒๐ คะแนน
๒๒. ลูกตบหลัง ๒๐ คะแนน
๒๓. ลูกตบหลังบ่วง ๒๕ คะแนน
๒๔. ลูกส้นหลังตรง ๓๐ คะแนน
๒๕. ลูกส้นหลังบ่วง ๓๕ คะแนน
๒๖. ลูกพับหลังบ่วง ๔๐ คะแนน เป็นลูกที่คะแนนสูงสุด

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

ตะกร้อลอดบ่วงนี้สามารถที่จะเล่นกันได้ทั่วไป ถือเป็นการนันทนาการพักผ่อนของคนไทย

  • คุณค่า / แนวคิด / สาระ

ตะกร้อลอดบ่วงนี้นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพ ทั้งในด้านร่างกายและสติปัญญาอีกด้วย เพราะการเล่นนอกจากจะใช้พลังในการเล่น ยังต้องมีสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สายตา แขน ขา ศรีษะ และสติปัญญาอีกด้วย

  • วิธีเล่น

อันดับแรกของการเล่นตะกร้อ ตะกร้อจะมีท่าพื้นฐานอยู่ ๔ ท่า คือ การเตะโดยใช้หน้าเท้าหรือลูกแปร (ลูกแปรมาจากภาษาพม่า) การเตะลูกหลังเท้า การใช้หลัง คือใช้ขาหลังเตะ และลูกใช้ศีรษะ และมีการประยุกต์ท่าพื้นฐานทั้ง ๔ ท่า กลายเป็นท่าที่พลิกแพลงโดยที่ท่าของตะกร้อลอดบ่วงมีทั้งหมด ๓๒ ท่า โดยจะมีคะแนนแตกต่างกันไปในแต่ละท่า
การเล่นตะกร้อจะใช้ผู้เล่นไม่เกิน ๗ คน และไม่ต่ำกว่า ๖ คน ตัวสำรองมีได้ ๑ คนเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลาแต่ต้องขออนุญาตเปลี่ยนตัวตอนลูกตาย ถ้าผู้เล่นถูกไล่ออกเหลือเพียง ๕ คนจะถูกปรับแพ้ การผิดกติกาแต่ละครั้งจะได้ใบเหลืองและใบแดง โดยที่ใบเหลืองจะเตือนเพียง ๒ ครั้ง ส่วนใบแดงกรรมการจะให้ออกจากการแข่งขันทันที