วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
08/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

รำโทน

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  อ่างทอง

ว่า "รำโทน" สันนิษฐานว่าเรียกเลียนเสียง ตามเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ คือ "โทน" การรำโทน เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ชาวไทยนิยมเล่นกันในเทศกาลต่างๆ

อุปกรณ์การเล่น
อุปกรณ์ประกอบการเล่นรำโทนคือ ฉิ่ง กรับ โทน การแต่งกายของผู้เล่น จะเป็นแบบพื้นบ้าน ไทยนิยม หรือสากลนิยม เป็นการรำคู่ ระหว่างชายกับหญิง ให้เข้ากับจังหวะโทน และรำเป็นวง

วิธีการเล่น
การเล่นรำโทน ผู้เล่นจะเดินรำไปรอบๆ วง ประกอบจังหวะด้วย ฉิ่ง กรับ โทน มีคนร้องเพลงและ ปรบมือ ท่ารำนั้นไม่มีการกำหนดเป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว

ตัวอย่างบทร้อง
๑. หวอ หวอ หวอ หวอทีไร จิตใจฉันให้นึกกลุ้ม
เสียงมันดังบูม บูม ชวนกันลงหลุมหลบภัย
หวอทีไร ฟัง ฟังไประเบิดเวลา
๒. เธอจ๋าชื่ออะไร บอกได้ไหมฉันไม่รู้จัก
วันหน้าจะได้ทายทัก เรารู้จักกันแหละดี
สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี น้องกับพี่ฝันดีตลอดคืน.
๓. ชัดช้าพญาหงส์ ปีกอ่อนร่อนลงในดงมะขวิด
เขยิบเข้าไปใกล้ หัวไหล่เช้าไปชิด
เอื้อมมือสะกิด นิดหน่อยไม่เป็นไร.

  • โอกาสที่เล่น

นิยมเล่นกันในเทศกาลต่างๆ

  • คุณค่า/แนวคิด/สาระ

การเล่นรำโทนเล่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด หลังจากสิ้นภาวะสงคราม ในหมู่บ้านในเขตอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ปัจจุบัน คือแหล่งสืบสานเพลง "รำโทน" ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีผู้คิดแต่งบทร้องประดิษฐ์ทำนองเพลงให้เข้ากับจังหวะหน้าทับของโทนที่ใช้ เดิมบทร้องจะเป็นบทเชิญชวน สัพยอก หยอกเย้า และบทชมโฉม บทรำพันรักระหว่างหนุ่มสาว บทพรอดพร่ำร่ำลา เป็นบทร้องที่สัมผัสง่าย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชาชนนิยมเล่นรำโทนกันมาก โดยดัดแปลงเนื้อเพลงให้เข้ากับสภาวะสงคราม ทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในกลุ่มชน รวมทั้งเกิดความสนุกสนาน