การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ไม้โถกเถก หรือขาโถกเถก

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
14/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ไม้โถกเถก หรือขาโถกเถก

 

ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  อุดรธานี

เป็นการเล่นต่อขาให้สูงสันนิษฐานว่าจะมาจากการทีผู้ใหญ่ใช้วิธีการนี้เดินข้าม น้ำ หรือ เข้าป่าเข้าพง แต่ไม่มีรองเท้าสวมใส่กันหนามไหน่ เมื่อป่าพงหมดไปมีรองเท้าสวมใส่ป้องกันหนามไหน่ได้ก็คงจะเลิกใช้กัน แต่เด็กนำมาเป็นของเล่น เล่นกันให้สนุกสนาน

  • อุปกรณ์ในการเล่น

ไม้ไผ่ท่อนเล็กขนาดพอเหมาะมือจับได้มั่น ๒ ท่อน ยาวท่อนละประมาณ ๑.๕๐ - ๒ เมตร เลือกไม้ไผ่ที่มีแขนงที่แข็งแรงยื่นออกมาจากบ้องโดยกะขนาดให้ได้ความสูงใน การที่จะขึ้นไปยืนและก้าวเดินได้ตามที่ต้องการ หากหาไม้ไผ่ที่แขนงแข็งแรงจากปล้องไม่ได้ คะเนความสูงตามที่ต้องการแล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นเจาะรูจากที่ทำเครื่องหมายให้ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หาไม้เหนียว ๆ แข็งแรง หรือเหล็กสอดเข้าไปในรูทำสลัก และหาไม้ไผ่ท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ คู่ ไม้ไผ่คู่นี้เลือกตัดให้มีปล้องไม้ไผ่อยู่ตรงกลาง เหนือปล้องไม้ไผ่ด้านหนึ่งเจาะเป็นรูกว้างพอที่จะสวมไม้ไผ่ท่อนยาวได้ให้ลง มาวางอยู่บนแขนงไม้ที่ยื่นจากปล้องหรือลงบนไม้หรือเหล็กที่ทำสลักไว้เวลา เล่นขึ้นไปเหยียบบนท่อนไม้ที่สวมไม้ท่อนยาววางเท้าให้มั่นๆและจับไม้ท่อนยาว ให้ตั้งตรง ก้าวเดินไปคล้ายเดินธรรมดา หากหัดจนชำนิชำนาญก็พาไม้วิ่งได้รวดเร็ว ถ้าต้องเดินสูงมากจะทำรูสลักสูง เวลาขึ้นไปยืนบนไม้โถกเถกต้องใช้บันไดบ้านหรือกำแพงสำหรับพิงไม้โถกเถกแล้ว ขึ้นไปยืน

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

เล่นได้ทุกโอกาสเด็ก ๆ จะวิ่งแข่งกัน หรือเล่นในงานโรงเรียนเป็นการแข่งขันระหว่างชั้นปี หรือในเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ เทศกาลกฐินจะมีกีฬาหมู่บ้านเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีก็จะจัดแข่งขัน เดินวิ่งไม้โถกเถก

  • คุณค่าสาระและแนวคิด

การเล่นไม้โถกเถก จะทำให้ผู้เล่นรู้จักระมัดระวังตนไม่ประมาทไม้โถกเถกเป็นภูมิปัญญาของชาว บ้านที่คิดทำของเล่นให้เด็ก ๆ จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
การแข่งขันวิ่งไม้โถกเถกทำให้เกิดความสามัคคีทั้งผู้ล่นและผู้มาให้กำลังใจ และความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนได้รับความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลือง การเลือกตัดไม้ไผ่มาทำไม้โถกเถก การฝึกเดินเป็นการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญาจากคนหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งต่อไป

ปัจจุบันการเล่นไม้โถกเถกไม่ค่อยนิยมเล่นแล้วในหมู่เด็กในอีสาน นอกจากในบางท้องถิ่น เพราะมีของเล่นอื่น ๆ ที่สามารถหาซื้ออุปกรณ์มาเล่นกันได้สะดวกขึ้น ค่านิยมจากภายนอกเข้าไปกำหนดและวางรูปแบบที่ว่าเป็นสากล การศึกษา การเรียนการสอนเป็นการละเล่นที่เป็นสากลนิยม ไม่มีเรื่องของท้องถิ่น การสืบทอดภูมิปัญญาในการประดิษฐ์ของเล่นพื้นถิ่นจึงค่อย ๆ หายไปจนคนรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ และปัจจุบัน ป่าไม้ถูกทำลายลงมาก บ้านกับป่าแยกจากกันไกลกัน การจัดหาไม้ไผ่มาทำของเล่นจึงเป็นเรื่องยุ่งยาก และราคาแพง ถ้าต้องซื้อหา

การเล่นไม้โถกเถก เป็นอันตรายต่อเด็กผู้ใหญ่มักจะห้ามปรามหรือไม่ทำให้เล่น การละเล่นประเภทนี้จึงหายไป แต่แท้จริงการละเล่นไม้โถกเถกนั้น เป็นการละเล่นสากลประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็นิยมเช่นกัน ละครสัตว์ทุกคณะมีการเล่นไม้โถกเถก ในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศฝรั่งเศสก็มีการเล่นไม้โถกเถกเช่นกัน