พิธีกรรมภาคเหนือ - พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
14/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  เชียงใหม่

ช่วงเวลา ระยะเวลาในการจัดพิธีกรรมสืบชะตาเมืองเชียงใหม่อยู่ในระหว่างเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี หรือเมื่อบ้านเมืองประสบความแห้งแล้ง

  • ความสำคัญ

พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ เป็นพิธีใหญ่ที่ต้องอาศัยคนและเครื่องประกอบพิธีมาก เป็นประเพณีที่มีคุณค่าในด้านให้กำลังใจ บำรุงขวัญ สร้างจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดี และความสามัคคีระหว่างชนชั้นปกครองและประชาชน จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้

  • พิธีกรรม

พิธีสืบชะตาและทำบุญเมืองเชียงใหม่ สถานที่ทำพิธีคือบริเวณกลางใจเมือง ประตูเมือง และแจ่งเมืองจำนวน ๑๐ แห่ง ได้แก่ กลางเวียง ประตูช้างเผือก ประตูท่าแพ ประตูเชียงใหม่ ประตูสวนปรุง ประตูสวนดอกแจ่งศรีภูมิ แจ่งก๊ะต๊ำ แจ่งกู่เรือง และแจ่งหัวลิน


เครื่องประกอบพิธี ได้แก่
๑. จัดทำประรำพิธีทั้ง ๑๐ แห่ง พร้อมจัดอาสนะสำหรับพระเตรียมอาหารคาว-หวาน โต๊ะรับบริจาคเงินและอื่น ๆ
๒. นิมนต์พระสงฆ์ตามที่กำหนดไว้ ๙ องค์
๓. เตรียมเครื่องทำพิธีสืบชะตาเมือง ประกอบด้วย จ่อ ๑๐๘ ได้แก่ ไม้ค้ำ ๓ เล่ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย จ่อตุง กล้วย ๑ เครือ มะพร้าว ๑ ทะลาย หมาก พลู บุหรี่ ขนม ธูป เทียน ดอกไม้ น้ำ ข้าวตอก เป็นต้น
๔. เตรียมคัมภีร์สำหรับเทศน์
๕. เตรียมเครื่องบูชาท้าวจตุโลกบาลและเทพเจ้าประจำเมือง
๖. เตรียมข้าวปลาอาหาร คาว-หวาน และเครื่องไทยทานสำหรับถวายพระสงฆ์
๗. โยงสายสิญจน์จากบริเวณอื่น ๆ เข้าสู่ใจกลางเวียงอันเป็นต้นพิธี
การทำพิธี จะมีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่งคือจำนวนพระสงฆ์ที่ทำพิธีบริเวณกลาง เวียงจะมีเพียง ๙รูป นอกนั้นจุดอื่น ๆ มี ๑๑ รูป รวมทั้งหมด ๑๐๘ รูป อันเป็นเครื่องหมายแห่งมงคล ๑๐๘ ในศาสนาพราหมณ์ส่วนทางศาสนาพุทธหมายถึง พระพุทธคุณ ๕๖ พระธรรมคุณ ๓๘ และพระสังฆคุณ ๑๔ รวมเป็น ๑๐๘ รูปเช่นเดียวกัน

  • พิธีกรรม

เริ่มเวลา ๐๖.๐๐ น. ประชาชนพร้อมใจร่วมกันทำบุญตักบาตร
เวลา ๐๗.๐๐ น. พระอาจารย์ทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
เวลา ๐๙.๓๐ น. จุดพลุสัญญาณ ๓ ครั้งจากลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์แล้วจึงเริ่มประกอบพิธีพร้อมกันทุกจุด คือ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทุกคนในพิธีเอาสายสิญจ์มาคล้องศีรษะ ประชาชนทุกคนไหว้พระ สมาทานเบญจศีล พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วแสดงพระธรรมเทศนาศาสนากริกวิจารณสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เป็นมงคลจากนั้นจึงถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลถึงเทพยดาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลายพระวิญญาณของพ่อขุนมังรายผู้สร้างเมืองเชียงใหม่และพระวิญญาณเจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่ทุก พระองค์เวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. เสร็จพิธี ประชาชนทุกคนที่มาร่วมงานร่วมรับประทานอาหารโดยพร้อมเพรียงกันและทุกคนจะ แบ่งเส้นด้ายสายสิญจน์ที่ผูกเป็นแผงตาข่ายบนต้นมามัดข้อมือแล้วยังนำกลับไป ฝากคนทางบ้านที่ไม่ได้มาร่วมพิธีเพื่อเป็นศิริมงคลอีกด้วย

  • สาระ

ประเพณีทำบุญเมืองและพิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ เป็นพิธีที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งในหลาย ๆ ด้านกล่าวคือ เป็นการให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่ผู้คนในเมือง เป็นการบำรุงขวัญสร้างจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดี สร้างความสมัครสมานสามัคคีของชาวเมืองเชียงใหม่ และแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองเชียงใหม่