พิธีกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เจ้าปู่ศรีสุทโธ คำชะโนด

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
18/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

เจ้าปู่ศรีสุทโธ คำชะโนด

ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  อุดรธานี

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพยำเกรงและศรัทธาของคนในจังหวัดอุดรธานี และอีสานตอนบน
คำชะโนดตั้งอยู่ที่ตำบลวังทอง มีรอยต่อกับตำบลบ้านม่วง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง
คำชะโนดในภาษาถิ่น คำ คือ ที่ที่มีน้ำซับไม่เคยเหือดแห้ง ชะโนด ต้นไม้ที่มีลักษณะประหลาด ประสมกันระหว่างต้นตาล และต้นมะพร้าว ชะโนดเป็นภาษาเขมร (โตนด = ต้นตาล) ชะโนดเป็นปาล์มชนิดหนึ่งไม่มีหนาม

  • ลักษณะความเชื่อ

เป็นความเชื่อที่ว่า คำชะโนดเป็นสถานที่ขึ้นลงระหว่างมนุษยพิภพกับนาคพิภพ ของพญาสุทโธนาคราช ผู้สร้างแม่น้ำโขงและเป็นเจ้าของปลาบึก ตรงกลางคำชะโนดจะมีบ่อน้ำที่ลึกมาก ผู้เฒ่าผู้แก่บ้านดุงเล่าว่าไม้ไผ่ ๖ ลำ ต่อกันก็หยั่งไม่ถึง และน้ำในบ่อไม่เคยแห้งเลย เชื่อกันว่าบ่อน้ำคำชะโนด ทะลุไปถึงแม่น้ำโขงได้
พญาสุทโธนาคราช หากประสงค์จะขึ้นมาบนมนุษยพิภพก็จะต้องมาขึ้นที่คำชะโนดเพียงแห่งเดียว บ่อน้ำนี้เป็นบ่อของพญานาคสุทโธจึงเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้ดื่มกินรักษา โรคได้ เมื่อพญานาคสุทโธนาคขึ้นมาบนมนุษยพิภพก็จะเป็นมนุษย์และมีชื่อเรียกว่าเจ้า ปู่ศรีสุทโธ
คำชะโนดมีพื้นที่ ๕๐ ไร่ มีบ่อน้ำอยู่กว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร ก่อขอบปูนสูง ๖๐ เซนติเมตร ใกล้กับบ่อน้ำจะมีศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธตั้งอยู่ ๒ ศาล เพื่อให้คนที่ไปคำชะโนดได้กราบไหว้บูชา และบนบานศาลกล่าวต่าง ๆ หากบนแล้วต้องแก้บน ถ้าไม่แก้บนจะเกิดเภทภัยร้ายแก่ผู้บนได้ความศักดิ์สิทธ์ของน้ำที่บ่อคำชะโน ดนี้ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดอุดรธานี ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
ผู้เฒ่าผู้แก่บ้านดุง เล่าว่าใครอยากจะดูปลา ดูเต่า ดูจระเข้ ไปขอเจ้าปู่ศรีสุทโธดูได้ที่วังคางฮูง เมื่อไหว้ขอดูแล้ว ประมาณ ๒ - ๓ นาที ก็จะเห็นสัตว์เหล่านี้โผล่มาให้ดู
ผู้ไม่มีอาหารจะกินจะขออาหาร กุ้ง ปู ปลา จากเจ้าปู่ก็ได้ แต่ต้องรักษาสัญญา ขอเท่าใดให้เอาไปเท่านั้น ขอเท่าที่จำเป็นหากโลภมากเอาเกินกว่าขอ เจ้าปู่จะลงโทษจะไม่ได้อะไรเลย
ในช่วงเดือนอ้าย เดือนห้า ห้ามถือผ้าสีแดงผ่านคำชะโนด เพราะจะเกิดฝนขึ้นอย่างกะทันหัน พัดกระหน่ำจนผู้ถือผ้าแดงบาดเจ็บได้ ถึงงานบุญเทศน์มหาชาติ (บุญผะเหวด) เดือน ๔ ถ้าผู้ใดได้พบชายหญิงเอาผ้าแดงพันศีรษะเข้ามาเที่ยวงานบุญผะเหวด จะต้องสร้างผาม (เพิงพัก) ไว้ให้คนเหล่านั้นพัก หากคนโพกผ้าแดงจะไปพักที่บ้านผู้ใดก็ตามจะต้องจัดให้พักในยุ้งข้าว และหากระด้งให้นอน ตกดึกมีผู้แอบไปดูก็พบว่าเป็นงูใหญ่นอนขนดตัวอยู่ในกระด้ง
มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า เคยมีผู้หญิง ๒ คนมาขอยืมเครื่องทอผ้าชาวบ้านวังทอง และขอค้างคืนที่บ้านด้วย โดยบอกว่า อย่าเปิดประตูเข้าไปโดยพลการ ถ้าเจ้าของบ้านเปิดประตูเข้าไปก็พบงูนอนอยู่ ๒ ตัว
บางครั้งมีถังตกบ่อน้ำ (น้ำส้าง) ในหมู่บ้านแต่ไปพบถังน้ำนั้นในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่คำชะโนด
มีความเชื่อมากมายในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคำชะโนด และเจ้าปู่ศรีสุทโธ เช่น ในกรณีเปรตกู้ ที่หลอกลวงชาวบ้านมาเป็นเวลานานไปเอาคำชะโนดเป็นสถานที่หลอกลวงชาวบ้านอีก จึงถูกจับได้ และเรื่องราวการหลอกลวงก็ถูกเปิดเผย จนถูกจับได้ไปฟ้องศาล และตัดสินให้จำคุก

  • ความสำคัญ

คำชะโนดมีความสำคัญในหลายด้าน
๑. เป็นความเชื่อของท้องถิ่นในเรื่องนาค เป็นสัตว์ในเทพนิยาย
๒. ความเชื่อในจิตวิญญาณ อำนาจลึกลับ ไสยเวท อันเป็นความเชื่อดั้งเดิม ของชุมชนไท - ลาว แม้ว่าจะรับนับถือพุทธศาสนาแล้วก็ตาม
๓. ความศักดิ์สิทธิ์ของคำชะโนด สามารถสร้างระบบจริยธรรมขึ้นมาควบคุมความประพฤติของชุมชน ที่อยู่ในละแวกนั้น และผู้เข้าไปเยี่ยมชมได้เช่น ไม่สวมรองเท้าเดินเข้าไปในบริเวณคำชะโนดจะต้องถอดร้องเท้าไว้ที่สะพานทาง เข้า
๓.๑ เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณคำชะโนด ก่อนอื่นทุกคนจะสำรวมกิริยาอาการ และไปไหว้พระพุทธรูปที่ศาลหลังแรก และไหว้เจ้าปู่ศรีสุทโธก่อน
๓.๒ เมื่อเข้าไปในบริเวณคำชะโนดแล้ว ไม่กล้าพูดจาหยาบคายคึกคะนอง หรือส่งเสียงเอะอะ อึกทึก ด้วยกลัวจะได้รับอันตราย
๓.๓ ไม่กล้าเด็ดใบไม้ เก็บต้นไม้พืชพรรณและสัตว์ใด ๆ ในคำชะโนด
๓.๔ การใช้น้ำในบ่อ ไม่ว่าจะเพื่อดื่มกินหรือนำกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคลจะกระทำด้วยความ เคารพยำเกรง ค่อย ๆ ตัก และตักแต่พอประมาณ ไม่กล้าทำความสกปรกเลอะเทอะบริเวณบ่อน้ำ
๓.๕ การเดินชมรอบ ๆ คำชะโนดจะเดินอย่างสำรวมอากัปกิริยา คำชะโนดมีความสำคัญในคติความเชื่อของท้องถิ่นและคำชะโนดเป็นป่าพรุน้ำจืด ขนาดใหญ่แห่งเดียวในภาคอีสาน การที่คำชะโนดศักดิ์สิทธิ์ น่ายำเกรง ทำให้ระบบนิเวศของคำชะโนดไม่ถูกทำลาย สามารถที่จะเป็นแหล่งธรรมชาติให้ศึกษา ซึ่งภาพในป่าพรุน้ำจืด และคำชะโนดจะสามารถเป็นแหล่งน้ำบริโภค และอุปโภคของชุมชนละแวกนั้นได้เป็นอย่างดีในอนาคต เมื่อรอบ ๆ คำชะโนดไม่ไกลเกิน ๑๕ กิโลเมตร เป็นแหล่งทำเกลือสินเธาว์ที่ใหญ่ที่สุดของอุดร

  • พิธีกรรม

จะมีพิธีเลี้ยงเจ้าปู่ศรีสุทโธทุกปี และจัดเป็นงานใหญ่มีทั้งพิธีเลี้ยงของชาวบ้านจะเลี้ยงในวันพุธ ก็จะจัดเครื่องเลี้ยงไปเลี้ยงที่ศาลเจ้าปู่ และหากผู้ใดที่บนบานเจ้าปู่ไว้ยังไม่ได้แก้บนก็จะถือโอกาสแก้บนไปพร้อมกับ การเลี้ยงก็ได้ จะแต่งเครื่องตามที่บนบานไว้มาเลี้ยงร่วม
อีกพิธีเลี้ยง คือทางอำเภอจะเลี้ยงเจ้าปู่ปีละ ๒ ครั้ง
จัดเป็นพิธีใหญ่
๑. เลี้ยงในวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี
๒. เลี้ยงในวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี
กระทำพิธีในตอนเช้า

  • เครื่องเลี้ยงประกอบด้วย

หัวหมู ๑ คู่
เป็ด ๑ คู่
ไก่ ๑ คู่
แป๊ะซะปลา ๑ คู่
เหล้า ๒ ขวด
น้ำเขียว น้ำดำ น้ำแดง เหลือง แดง ขาว อย่างละคู่ (จะจัดน้ำอัดลม สีขาวใช้นม)
ผลไม้ ๙ อย่าง จะเป็นอะไรก็ได้
ขัน ๕ ขัน ๘

  • พาข้าวทิพ ๒ พา (สำหรับข้าวทิพ หรือขันข้าวทิพ)

ประกอบด้วย
ข้าวต้มโรยด้วยงาสุก ถั่วคั่ว น้ำผึ้ง สำหรับละ ๙ อย่าง
นายอำเภอบ้านดุงเป็นประธานในพิธีเลี้ยง มีดนตรี แคน ซึง กลอง ประกอบ เครื่องเลี้ยงจะจัดตั้งหน้าศาลเจ้าปู่ ในฤดูกาลเข้าพรรษาจะต้องจัดผ้าขาวไปห่มให้เจ้าปู่ ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเจ้าปู่ถือศีลบวชต้องนุ่งขาวห่มขาว เมื่อออกพรรษาจะเปลี่ยนผ้าห่มให้เจ้าปู่เป็นผ้าแดง